ข้อมูลภาพกราฟฟิค Infographic รวบรวมจากโรงพยาบาลต่างๆ ที่นำเสนอผ่านเพจเฟซบุ๊คของรพ.นั้น Healthserv รวบรวมมาเพื่อให้ประชาชนที่สนใจ ได้เรียนรู้และได้ร่วมเผยแพร่ ส่งต่อเพื่อประโยชน์ในด้านการศึกษาเรียนรู้ในวงกว้างต่อไป - Healthserv มิได้จัดทำและไม่ได้เป็นเจ้าของผลงานกราฟฟิคเหล่านั้น ลิขสิทธิ์เป็นของรพ.เหล่านั้น
อัพเดท เชื้อโควิดกลายพันธุ์ (Omicron) กระทรวงสาธารณสุข
- แพร่ระบาดได้เร็วกว่าสายพันธุ์ที่ผ่านมา 2-5 เท่า
- ผู้ติดเชื้อ Omicron ส่วนใหญ่ไม่มีอาการ หรืออาการน้อยคล้ายโรคไข้หวัด
(ผู้ติดเชื้อในต่างประเทศส่วนใหญ่ไม่ต้องเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล)
- ยังไม่มีรายงานผู้ติดเชื้อ Omicron เสียชีวิต
มาตรการป้องกัน
- ฉีดวัคซีนโควิดให้ครอบคลุมมากที่สุด
ใช้มาตรการป้องกันส่วนบุคคลที่เข้มงวด
เช่น สวมหน้ากาก ล้างมือ เว้นระยะห่าง และ VUCA
- ยกระดับการเฝ้าระวัง ณ ช่องทางเข้าออกประเทศ และสถานที่ท่องเที่ยว
- ทำการสุ่มตรวจคัดกรองกลุ่มเสี่ยง และผู้ป่วยไข้หวัดที่เป็นกลุ่มก้อน (Cluster)
- ส่งตัวอย่างเชื้อที่พบจากผู้เดินทางหรือรายที่น่าสงสัย
ไปตรวจหาสายพันธุ์ Omicron ที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
ที่มา : กระทรวงสาธารณสุข
เพื่อสังเกตตัวเอง! อาการโควิด
#โอไมครอน หลัง สธ.แถลงพบผู้ติดเชื้อคนแรกในไทยแล้ว
▪ ปัจจุบันผู้ติดเชื้อในต่างประเทศส่วนใหญ่ไม่ต้องเข้ารักษาที่โรงพยาบาล และยังไม่มีรายงานผู้ติดเชื้อโอไมครอนเสียชีวิต
? พวกเราต้องช่วยกันยกระดับ! มาตรการป้องกัน #COVID19
✔ ฉีดวัคซีนโควิดให้ครอบคลุมมากที่สุด
✔ สวมหน้ากาก หมั่นล้างมือ เข้มงวดการเว้นระยะห่าง หลีกเลี่ยงการอยู่รวมกัน
จากข่าวล่าสุดและเป็นกระแสทั่วโลกตอนนี้ เรื่องโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่ "โอไมครอน" (Omicron) ซึ่งเพิ่งถูกค้นพบและได้รับการยืนยันอย่างเป็นทางการจากองค์การอนามัยโลก(WHO) เป็นที่เรียบร้อยว่า เป็นไวรัสโควิด-19 กลายพันธุ์ชนิดที่ 5 และถูกจัดให้เป็นเรื่องที่ "น่ากังวล" เนื่องจากยอดผู้ติดเชื้อสายพันธุ์นี้พุ่งสูงขึ้นในทวีปแอฟริกาใต้ และตรวจสอบพบแล้วในประเทศอื่นๆ ทั้งทางยุโรป ร่วมเอเชียด้วยเช่นกัน
คาดการณ์ว่า มีการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรม หรือ ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากลักษณะของไวรัส เช่น การส่งผ่านเชื้อโรค, ความรุนแรงของโรค, การหลบหลีกภาวะภูมิต้านทานของร่างกาย, การวินิจฉัยโรค หรือ การหลบหลีกการบำบัดรักษา **(เนื่องด้วยเป็นสายพันธุ์ที่พึ่งถูกค้นพบ อาจจะมีข้อมูลเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา) ซึ่งนักวิจัยก็คงดำเนินการหาข้อพิสูจน์จนถึงตอนนี้ และจากหลักฐานเบื้องต้น พบความเสี่ยงที่อัตราการติดเชื้อจากสายพันธุ์นี้จะสูงขึ้น มากกว่าสายพันธุ์อื่นๆ อีกด้วย แต่อย่างไรทาง WHO ก็ระบุว่า ต้องใช้เวลาอีก 2-3 สัปดาห์ จนกว่าจะทราบถึงผลกระทบของโควิดสายพันธุ์นี้ ถึงจะออกมาประกาศอีกครั้ง
และเนื่องจากวัคซีนที่เราไปฉีดไปแล้วก็น่าจะช่วยปกป้องเราได้ในระดับหนึ่ง แต่นอกเหนือจากนั้น
ทางโรงพยาบาลสินแพทย์ เสรีรักษ์ ก็อยากให้ทุกคน สวมหน้ากาก, หลีกเลี่ยงการเข้าไปอยู่ในที่คนเยอะๆ, ล้างมือบ่อยๆ เว้นระยะห่างต่อไป เพื่อความปลอดภัยของตนเองและบุคคลรอบข้างค่ะ
เรารู้จักเชื้อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์ “โอไมครอน” (Omicron) ดีแค่ไหน
องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ประกาศอย่างเป็นทางการให้ไวรัสโควิด-19 กลายพันธุ์ตัวใหม่ B.1.1.529 หรือสายพันธุ์ “โอไมครอน” เป็นกลุ่มที่น่ากังวล (VOC : Variant of Concern) แล้วสายพันธุ์นี้แพร่ระบาดง่ายกว่าเดิมไหม มีความรุนแรงแค่ไหน การฉีดวัคซีนยังเวิร์คอยู่ไหม ไปดูรายละเอียดกันได้เลยค่ะ
ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ Contact Center โทร. 0-2450-9999
คณะกรรมการด้านวัคซีนและภูมิคุ้มกันของประเทศสหราชอาณาจักรอังกฤษ (The Joint Committee on Vaccination and Immunisation, UK) ลดระยะห่างการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น (Booster Dose) เหลือ 3 เดือน เพื่อช่วยลดความเสี่ยงการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่ “โอมิครอน (Omicron)”
[ชมคลิป] ทำไมต้องจับตาโอมิครอน โดย แพทย์หญิงวรฉัตร เรสลี LINK
ไวรัสโควิดกลายพันธุ์ที่กำลังเป็นที่สนใจตัวล่าสุด ณ ขณะนี้
COVID สายพันธุ์ Omicron (B.1.1.529) หรือเรียกกันว่า “โอมิครอน”
- เพราะอะไรทั่วโลกต่างให้ความสนใจไวรัสสายพันธุ์นี้?
- สายพันธุ์โอมิครอน ถ้าติดแล้วอาการจะรุนแรงไหม?
- จะมาแทนที่สายพันธุ์เดลต้า (Delta) หรือเปล่า?
- เชื้อสายพันธุ์นี้ดื้อต่อวัคซีน ดื้อต่อยาไหม? การวินิจฉัยทำได้อย่างไร?
- เราจะต้องดูแลตัวเองต่างไปจากเดิมอย่างไรบ้าง?
ตอบครบทุกข้อสงสัยในคลิปเดียว โดย แพทย์หญิงวรฉัตร เรสลี
อายุรแพทย์เฉพาะทางโรคติดเชื้อ
โควิดสายพันธุ์ล่าสุด โอไมครอน Omicron
อาการ รู้สึกเพลีย ปวดเมื่อยตัว ปวดกล้ามเนื้อ ส่วนใหญ่ 2-3 วัน อาการจะดีขึ้น ไม่ไอ ไม่มีผลกระทบเรื่องได้กลิ่นรับรส
วิธีป้องกัน สวมหน้ากากเวลาพูดคุย หมั่นล้างมือ เลี่ยงการอยู่ในพื้นที่แออัด
เชื้อโควิดกลายพันธุ์ Omicron
- แพร่ระบาดได้เร็วกว่าสายพันธุ์ที่ผ่านมา 2-5 เท่า
- ผู้ติดเชื้อ Omicron ส่วนใหญ่ไม่มีอาการ หรืออาการน้อยคล้ายโรคไข้หวัด (ผู้ติดเชื้อในต่างประเทศส่วนใหญ่ไม่ต้องเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล)
- ยังไม่มีรายงานผู้ติดเชื้อ Omicron เสียชีวิต
.
มาตรการป้องกัน
- ฉีดวัคซีนโควิดให้ครอบคลุมมากที่สุด ใช้มาตรการป้องกันส่วนบุคคลที่เข้มงวด เช่น สวมหน้ากาก ล้างมือ เว้นระยะห่าง และ VUCA
- ยกระดับการเฝ้าระวัง ณ ช่องทางเข้าออกประเทศ และสถานที่ท่องเที่ยว
- ทำการสุ่มตรวจคัดกรองกลุ่มเสี่ยง และผู้ป่วยไข้หวัดที่เป็นกลุ่มก้อน
- ส่งตัวอย่างเชื้อที่พบจากผู้เดินทางหรือรายที่น่าสงสัยไปตรวจหาสายพันธุ์ Omicron ที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์