ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

อังกฤษเปิดรายงานประเมินโอมิครอนเทียบเดลต้า พบรุนแรงน้อยกว่าครึ่ง วัคซีนกระตุ้นคือทางออก

อังกฤษเปิดรายงานประเมินโอมิครอนเทียบเดลต้า พบรุนแรงน้อยกว่าครึ่ง วัคซีนกระตุ้นคือทางออก Thumb HealthServ.net
อังกฤษเปิดรายงานประเมินโอมิครอนเทียบเดลต้า พบรุนแรงน้อยกว่าครึ่ง วัคซีนกระตุ้นคือทางออก ThumbMobile HealthServ.net

UKHSA ออกรายงานการประเมินความรุนแรงของผู้ติดเชื้อโอมิครอนเทียบกับเดลต้า และประเมินประสิทธิภาพวัคซีนต่อการลดความรุนแรง เก็บข้อมูลจากตัวอย่างกว่า 5 แสนรายในอังกฤษ ซึ่งผลที่ออกมาเรียกได้ว่าเป็นข่าวดีระดับหนึ่ง


31 ธันวาคม 64  UKHSA ออกรายงานการวิเคราะห์ เกี่ยวกับสายพันธุ์โอมิครอน ในด้านการประเมินความเสี่ยงของผู้ป่วยที่ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล  และประสิทธิภาพวัคซีนในการป้องกันไม่ให้ป่วยหนัก
 

การป้องกันความรุนแรง


ในด้านการป้องกันการป่วยหนักที่ต้องเข้าโรงพยาบาลของวัคซีนให้ผลที่ดีมาก

วัคซีนหนึ่งโดสจะลดความเสี่ยงไปได้ราว 35% สองโดสจะเพิ่มขึ้นเป็น 67% แต่จะเริ่มลดลงเมื่อผ่านไป 24 สัปดาห์ และลดลงถึง 51% เมื่อผ่านสัปดาห์ที่ 25 เป็นต้นไปหลังจากรับวัคซีนเข็มสอง

วัคซีนเข็มกระตุ้นเข็มที่สาม จะเพิ่มระดับการป้องกันขึ้นมาอยู่ที่ 68% เห็นได้ชัดเจนเมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่ได้ฉีดวัคซีน 
 

ประสิทธิภาพของฉีดวัคซีนตามจำนวนการรับวัคซีน ช่วยลดการเจ็บป่วยรุนแรง  ดังนี้
ฉีด 1 เข็มลดได้ 52% ฉีด 2 เข็มลดได้ 72% ที่ระยะห่าง 2-24 สัปดาห์จากเข็มแรก จะลดลงเหลือ 52% เมื่อ 25 สัปดาห์ขึ้นไป และเพิ่มขึ้นเป็น 88% หลังรับเข็มกระตุ้นแล้ว 2 สัปดาห์ 
 
วัคซีนทุกชนิดประสิทธิภาพลดลงในการป้องกันโอมิครอน เมื่อเทียบกับเดลต้า
- วัคซีนแอสตร้าเซเนก้า 2 โดส ไม่สามารถป้องกันโอมิครอนได้เลยเมื่อผ่าน 20 สัปดาห์ไปแล้ว 
- วัคซีนไฟเซอร์หรือโมเดอร์นา 2 โดส จะลดลงเหลือ 10% จากระดับ 65-70% เมื่อผ่านไป 20 สัปดาห์ไปแล้ว เช่นกัน
 
หากได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้น ตั้งแต่ 2-4 สัปดาห์ จะมีประสิทธิภาพกลับขึ้นมาที่ 65-70% และจะเริ่มตกลงเหลือ 55-70% เมื่อผ่านไป 5-9 สัปดาห์ และเหลือ 40-50% เมื่อผ่าน 10 สัปดาห์ขึ้นไป
 
 

 

วิเคราะห์ประสิทธิภาพวัคซีน

 
UKHSA ร่วมกับม.เคมบริดจ์ วิเคราะห์ผู้ติดเชื้อโอมิครอน 528,176 ราย และ เดลต้า 573,012 ราย ระหว่าง 22-26 พฤศิจกายน 2021 เพื่อประเมินความเสี่ยงต่อการป่วยรุนแรงหลังตรวจพบว่าติดเชื้อโอมิครอน ผลที่ได้ พบดังนี้
- ความเสี่ยงของผู้ป่วยที่ต้องเข้าห้องฉุกเฉินหรือต้องนอนในรพ. พบเพียงครึ่งเดียวเมื่อเทียบกับเดลต้า 
- หากดูเฉพาะกรณีต้องแอดมิทในรพ. (ไม่นับฉุกเฉิน) พบว่ามีเพียงหนึ่งในสามของเดลต้าเท่านั้น
 
การวิเคราะห์นี้สรุปว่า ความเสี่ยงจากการต้องเข้ารพ.เพราะโอมิครอนต่ำกว่าเดลต้า ไม่ว่าผู้ติดเชื้อจะมีหรือไม่อาการก็ตาม และภายหลังจากรับวัคซีน 2 หรือ 3 โดสแล้ว   โดยเฉพาะเมื่อฉีดเข็ม 3 แล้วลดความเสี่ยงได้ 81% เทียบกับผู้ติดเชื้อโอมิครอนที่ไม่ได้ฉีดวัคซีน 
 
 
รายงานฉบับนี้ไม่ได้ประเมินระดับความรุนแรงของผู้ป่วย ซึ่งต้องรอข้อมูลเพิ่มเติมในระยะต่อๆไป 
 

เคสวันส่งท้ายปี 

อังกฤษ รายงานจำนวนผู้ติดเชื้อวันส่งท้ายปี 31 ธันวาคม จำนวน 189,846 ราย เสียชีวิต 203 ราย จำนวนผู้ติดเชื้อโอมิครอน 17,114 ราย รวมโอมิครอนสะสม 246,780 ราย 
อังกฤษเปิดรายงานประเมินโอมิครอนเทียบเดลต้า พบรุนแรงน้อยกว่าครึ่ง วัคซีนกระตุ้นคือทางออก HealthServ
 


เสียงสะท้อน

นายซาจิด จาวิด รัฐมนตรีสาธารณสุของอังกฤษ ให้ความเห็นว่า
 
"รายงานฉบับนี้ให้ข้อมูลที่ชัดเจนถึงความสำคัญของการฉีดวัคซีน ที่จะช่วยลดการเสียชีวิตและเจ็บป่วยรุนแรง ผลวิเคราะห์บ่งบอกว่าหากคุณไม่ได้ฉีดวัคซีน จะมีความเสี่ยงที่จะเข้ารพ.กว่าคนที่ฉีดถึง 8 เท่า ไม่มีคำว่าสายที่จะเริ่มวัคซีนเข็มแรก และสำคัญที่เราทุกคนควรจะต้องรับการฉีดเข็มกระตุ้น เพื่อมุ่งหน้าสู่ศักราชใหม่ด้วยกัน" 
 
 
ซูซาน ฮอพกิ้นส์ แห่ง UKHSA กล่าวว่า 
"ผลการวิเคราะห์ชี้ไปในทิศทางเดียวกับที่เรามอง  อย่างไรก็ตาม ยังคงเร็วเกินไปที่จะยึดตามข้อสรุปนี้ การแพร่ระบาดของโอมิครอนที่ยังมีสูง และการเพิ่มขึ้นของผู้ติดเชื้อในกลุ่มผู้สูงอายุ จะยังเป็นแรงกดดันต่อ NHS ต่อไปในสัปดาห์ที่จะมาถึง (หลังปีใหม่) แต่ที่ชัดเจนก็คือ วัคซีนเข็มกระตุ้น คือวิธีที่ดีที่สุดในการปกป้องทั้งตัวคุณเองและปกป้องผู้อื่น"
 
 
COVID-19 variants identified in the UK
Latest updates on SARS-CoV-2 variants detected in the UK
UK Health Security Agency
31 ธันวาคม 2021
 
 
 
 
อังกฤษเปิดรายงานประเมินโอมิครอนเทียบเดลต้า พบรุนแรงน้อยกว่าครึ่ง วัคซีนกระตุ้นคือทางออก HealthServ

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด