ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

สงคราม COVID19 เปลี่ยนกลยุทธ์ต้องปรับ

สงคราม COVID19 เปลี่ยนกลยุทธ์ต้องปรับ HealthServ.net
สงคราม COVID19 เปลี่ยนกลยุทธ์ต้องปรับ ThumbMobile HealthServ.net

ศ.นพ.นิธิ มหานนท์ เลขาธิการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ และผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ได้ชี้ให้เห็นว่า สงคราม COVID-19 ครั้งนี้ ได้เปลี่ยนไปแล้ว เมื่อโอมิครอนได้กลายมาเป็นสายพันธุ์หลักของประเทศไทย โดยให้ข้อแนะนำเกี่ยวกับการฉีดวัคซีนป้องกันตนเองไว้



สงคราม COVID19 เปลี่ยนกลยุทธ์ต้องปรับ #1


"แม้ว่าจะไม่มีวัคซีนชนิดใดสามารถป้องกันการติดเชื้อโควิดสายพันธุ์โอมิครอนนี้ได้ดีพอในทุกช่วงอายุ แต่การได้วัคซีนอย่างน้อย 3 เข็มก็สามารถป้องกันการเกิดอาการรุนแรงและการเสียชีวิตได้ดีมากๆ เหมือนกันอย่างชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นวัคซีนชนิดใด สำหรับสายพันธุ์โอมิครอน ผู้สูงอายุและผู้ที่มีโรคเรื้อรังทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ต้องได้รับวัคซีนอย่างน้อย 3 เข็ม ก่อนเข้าสู่เดือนเมษายนนี้ เพราะจะเป็นช่วงที่ประเทศไทยมีการเคลื่อนที่ของคนมาก

เนื่องจากมีเทศกาลเช็งเม้งและสงกรานต์ เพราะประชากรในกลุ่มนี้จะมีโอกาสเสี่ยงในการป่วยหนักและเสียชีวิตได้ หากได้วัคซีนแค่ 2 เข็ม หรือน้อยกว่านั้น นอกจากนี้ ยังมีข้อมูลจากสหรัฐอเมริกาที่รายงานว่าในเด็กอายุ 5-11 ปี การได้รับวัคซีน mRNA 2 เข็มไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อได้ดีพอ สองสัปดาห์สุดท้ายของเดือนมีนาคม ควรจะรณรงค์ฉีดวัคซีนให้กลุ่มผู้สูงอายุ และผู้ที่มีโรคเรื้อรังโดยไปให้ถึงตัว ทำความเข้าใจ อธิบายให้ง่าย ๆ ให้ยอมเข้ารับวัคซีนให้ได้อย่างน้อย 3 เข็ม"
สงคราม COVID19 เปลี่ยนกลยุทธ์ต้องปรับ HealthServ


สงคราม COVID19 เปลี่ยนกลยุทธ์ต้องปรับ #2


"องค์การอนามัยโลก (WHO) และกระทรวงสาธารณสุขของประเทศไทยเตรียมที่จะปรับลดระดับความรุนแรงการระบาดของไวรัสโควิด-19 จากการระบาดใหญ่ทั่วโลกหรือ Pandemic ที่เป็นระดับสูงสุดของการระบาด มาเป็นระดับต่ำสุดของการระบาด หรือที่เรียกว่าการระบาดประจำถิ่นหรือ Endemic (ระดับ 1 ของการระบาด) ซึ่งการระบาดประจำถิ่นนี้ หมายถึงการระบาดของโรคที่เกิดขึ้นเป็นประจำในพื้นที่ ที่มีอัตราป่วยคงที่ สามารถคาดการณ์และควบคุมได้ ขอบเขตของพื้นที่การเกิดโรคอาจเป็นเมืองหรือภูมิภาค เช่น โรคไข้เลือดออกในประเทศไทย โรคมาลาเรียในทวีปแอฟริกา เป็นต้น การที่เราสามารถคาดการณ์การระบาดได้นั้นจะมีความสำคัญต่อการระวังป้องกันเป็นอย่างยิ่ง…สำหรับการระบาดของโรคไวรัสทางเดินหายใจ เช่น ไข้หวัดใหญ่ หรือไข้หวัดธรรมดานั้น ในประเทศไทยมักเกิดเป็นฤดูกาลในช่วงฤดูฝนหรือฤดูฝนต่อหนาว และมีการระบาดตามฤดูกาลอย่างสม่ำเสมอและคาดการณ์ได้ หรืออาจจะมีการระบาดเพิ่มอีกเล็กน้อยหลังจากที่เด็กนักเรียนเปิดเรียน เพราะประชากรกลุ่มเด็กสามารถแพร่กระจายเชื้อให้กับบุคคลในครอบครัวและผู้อื่นได้โดยง่าย

ดังนั้น จึงอาจมีการระบาดสองครั้งได้ในบางปี ดังนั้น การระบาดต่อไปของไวรัสโควิด-19 ที่เป็นโรคระบาดทางเดินหายใจที่จะเป็นการระบาดในระดับต่ำที่ควบคุมได้และคาดการณ์ได้ ก็น่าจะเป็นการระบาดหนักในช่วงฤดูฝนต่อฤดูหนาวเช่นเดียวกับโรคระบาดไวรัสทางเดินหายใจอื่นๆ ซึ่งเป็นไปได้ว่าโรคระบาดทางเดินหายใจจากโควิด-19 ในประเทศไทยจะเริ่มเข้ารูปการระบาดเป็นตามฤดูกาลหลังจากการระบาดของสายพันธุ์โอมิครอนทั้ง BA.1 และ BA.2 จบลงอย่างแน่นอน การระบาดต่อไปของไวรัสโควิด-19 ที่จะเป็นโรคระบาดทางเดินหายใจในระดับต่ำที่ควบคุมได้และคาดการณ์ได้ ก็น่าจะเป็นการระบาดหนักในช่วงฤดูฝนต่อหนาว เช่นเดียวกับโรคระบาดไวรัสทางเดินหายใจอื่นๆ ดังนั้น สำหรับผู้ที่ได้รับวัคซีนครบ 3 เข็มแล้ว ไม่ว่าจะเป็นวัคซีนชนิดใด หากจะฉีดเข็มที่ 4 หรือเข็มต่อไป ต้องหาจังหวะฉีดให้พอดีกับการป้องกันการระบาดใหญ่เป็นประจำในช่วงฤดูฝนต่อฤดูหนาว โดยแนะนำให้ฉีดกระตุ้นภูมิช่วงเดือนพฤษภาคมซึ่งเข้าสู่ฤดูฝนของประเทศไทย ไปจนถึงสิงหาคม และควรฉีดวัคซีนที่จะป้องกันได้ตลอดฤดูกาล"
 

เฟซบุ๊กส่วนตัว ศ.นพ.นิธิ มหานนท์
โพสต์เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2565
สงคราม COVID19 เปลี่ยนกลยุทธ์ต้องปรับ HealthServ
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด