เพื่อเป็นการควบคุมให้เกิดความปลอดภัย ลดความเสี่ยงการแพร่ระบาดที่อาจเกิดแบบเป็นกลุ่มก้อนขนาดใหญ่ได้ โดยเฉพาะข้อกังวลหลังเทศกาลสงกรานต์ ฝ่ายสาธารณสุขของรัฐบาลจึงเตรียมพร้อม กำหนดเป็นมาตรการควบคุมป้องกันให้เหมาะสม โดยที่ยังคงดำรงประเพณีวัฒนธรรมไทยเอาไว้พร้อมกัน รวมทั้งกระตุ้นและฟื้นฟูเศรษฐกิจควบคู่ไปด้วยอย่างมีประสิทธิภาพ
ราชกิจจาฯ ลงวันที่ 30 มีนาคม 2565 ได้ประกาศข้อกำหนดและข้อปฏิบัติ ตามคำแนะนำของศบค. ที่เกี่ยวกับการควบคุมในช่วงเทศกาลสงกรานต์ "ข้อ 3 การปรับมาตรการควบคุมแบบบูรณาการทั่วราชอาณาจักรเป็นกรณีเฉพาะรองรับช่วงเทศกาลสงกรานต์"
มีสาระสำคัญดังนี้
ประชาชนที่จะเดินทางเพื่อการท่องเที่ยวหรือเดินทางกลับภูมิลำเนา ควรได้รับวัคชีนครบตามเกณฑ์ที่ทางราชการกำหนด เพื่อลดอัตราการแพร่โรคและการติดเชื้อรุนแรงต่อบุคคลที่มีภาวะเสี่ยง โดยเฉพาะการเข้าเยี่ยมเยียน กราบไหว้ พบปะผู้สูงอายุ ญาติพี่น้อง หรือกลุ่มเปราะบาง
แนะนำให้ประเมินความเสี่ยงสังเกตอาการของตนเอง หรือใช้ชุดตรวจและน้ำยาที่เกี่ยวข้องกับการวินิจฉัยการติดเชื้อ SARS-COV-2 (เชื้อก่อโรค COVID - 19) แบบตรวจหาแอนติเจนด้วยตนเอง (ชุดตรวจ ATK) เป็นระยะเวลาไม่เกิน 72 ชั่วโมงก่อนการเดินทาง
การพบปะ หรือการเข้าร่วมกิจกรรมรวมกลุ่ม และขอให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มเปราะบางโดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุเตรียมความพร้อม โดยเข้ารับวัคซีนเข็มกระตุ้นตามคำแนะนำของกระทรวงสาธารณสุข ทั้งนี้ เพื่อความปลอดภัยทั้งต่อตนเองและบุคคลในครอบครัว
ให้คณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานครหรือคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด แล้วแต่กรณีพิจารณากำหนดสถานที่ กิจการ หรือกิจกรรม ที่สามารถดำเนินการได้เป็นกรณีเฉพาะเพื่อการจัดกิจกรรมเทศกาลสงกรานต์เพื่อสืบสานวัฒนธรรมไทยให้เหมาะสมกับสถานการณ์และพื้นที่รับผิดชอบ ภายใต้เงื่อนไขดังต่อไปนี้
1) พื้นที่กำหนดไว้เป็นการเฉพาะหรือพื้นที่ได้รับอนุญาตให้จัดกิจกรรมเทศกาลสงกรานต์ได้
ให้ผู้ประกอบการ ผู้จัดงาน หรือผู้มีหน้าที่รับผิดชอบการจัดงาน จัดสถานที่และดำเนินกิจกรรมภายใต้มาตรการป้องกันและลดความเสี่ยงที่ก่อให้เกิดการแพร่ระบาดแบบกลุ่มก้อน รวมทั้งมาตรการปลอดภัยสำหรับองค์กร (Covid Free Setting) ตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด ดังนี้
ก. การจัดกิจกรรมในลักษณะของการเล่นน้ำหรือจัดกิจกรรมตามวัฒนธรรมประเพณี เช่น การสรงน้ำพระ รดน้ำดำหัว การละเล่นตามประเพณี การแสดงทางวัฒนธรรม ประเพณีท้องถิ่น ขบวนแห่ หรือการแสดงดนตรี สามารถกระทำได้
ข. ห้ามจัดกิจกรรมที่มีการเล่นประแป้งและกิจกรรมในลักษณะปาร์ตี้โฟม
ค. ห้ามการจำหน่ายและการบริโภคสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ในบริเวณพื้นที่จัดกิจกรรม
ง. ให้มีจุดคัดกรองบริเวณทางเข้าออกและให้มีการลงทะเบียนก่อนเข้าและออกจากสถานที่หรือพื้นที่จัดกิจกรรม
จ. ให้ควบคุมจำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรมมิให้แออัดตามขนาดของสถานที่หรือพื้นที่จัดกิจกรรมเกณฑ์ไม่น้อยกว่า < ตารางเมตรต่อผู้เข้าร่วมกิจกรรม 1 คน
2) ห้ามการเล่นน้ำ เล่นประแป้ง ปาร์ตี้โฟม หรือกิจกรรมใดๆ ที่เป็นความเสี่ยงต่อการระบาดของโรค ในพื้นที่สาธารณะและพื้นที่ซึ่งไม่ได้รับอนุญาตให้จัดกิจกรรม
3) สำหรับการจัดกิจกรรมเทศกาลสงกรานต์ในพื้นที่หมู่บ้านหรือชุมชน สามารถดำเนินการได้โดยให้ ศปก. ในพื้นที่ที่ตั้งของชุมชนนั้น ๆ หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พิจารณาอนุญาต และต้องมีมาตรการควบคุมและป้องกันโรคที่สอดคล้องกับแนวทางและมาตรการที่กำหนดในข้อกำหนดนี้ด้วย
4) สถานที่หรือการจัดกิจกรรมใดๆ ที่อาจทำให้เกิดมีความเสี่ยงต่อการระบาดของโรค ให้ผู้ประกอบการหรือผู้มีหน้าที่รับผิดชอบดำเนินมาตรการความปลอดภัยตามหลักเกณฑ์ที่ทางราชการกำหนดขึ้นเป็นการเฉพาะด้วย
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่สอดส่อง เฝ้าระวัง และติดตามการดำเนินมาตรการของผู้ประกอบการและผู้มีหน้าที่รับผิดชอบสถานที่และการจัดงานหรือกิจกรรมต่างๆ ให้เป็นไปตามมาตรการควบคุมและป้องกันโรคที่ทางราชการกำหนด หากพบว่าการจัดงานหรือกิจกรรมต่างๆ ที่ได้ผ่อนคลายให้สามารถดำเนินการได้นี้ มิได้ปฏิบัติตามหรือย่อหย่อนการดำเนินการมาตรการป้องกันและควบคุมโรคที่ทางราชการกำหนด ซึ่งอาจเป็นเหตุให้เกิดการระบาดแบบกลุ่มก้อน ให้ดำเนินการตักเตือนและให้คำแนะนำเพื่อให้ปฏิบัติตามมาตรการดังกล่าวก่อนที่จะดำเนินการตามมาตรการทางกฎหมายต่อไป
เพื่อกำกับและเฝ้าระวังการระบาดของโรค ขอความร่วมมือให้เจ้าหน้าที่และผู้ปฏิบัติงานซึ่งได้กลับมาปฏิบัติหน้าที่ภายหลังการเดินทางในช่วงเทศกาลสงกรานต์ประเมินความเสี่ยงและสังเกตอาการของตนเองในช่วงระยะเวลาหนึ่งสัปดาห์ โดยหัวหน้าส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐ เจ้าของกิจการหรือผู้ประกอบการภาคเอกชน สามารถพิจารณาตามความเหมาะสมเพื่อดำเนินมาตรการให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้งหน่วยงานได้
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ.2565 เป็นต้นไป