ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

4 วัคซีนสูตรไขว้ - ใช้เป็นวัคซีนหลัก 2 สูตร และ สำหรับฉีดกระตุ้น 2 สูตร

4 วัคซีนสูตรไขว้ - ใช้เป็นวัคซีนหลัก 2 สูตร และ สำหรับฉีดกระตุ้น 2 สูตร Thumb HealthServ.net
4 วัคซีนสูตรไขว้ - ใช้เป็นวัคซีนหลัก 2 สูตร และ สำหรับฉีดกระตุ้น 2 สูตร ThumbMobile HealthServ.net

สำคัญที่ 2 สูตรหลัก จะใช้ดังนี้ 1) ซิโนแวค-แอสตร้าเซนเนก้า ช่วงสิงหา-กันยา และจะเปลี่ยนเป็น 2) สูตรแอสตร้าเซนเนก้า-ไฟเซอร์ ตั้งแต่เดือนตุลาคมเป็นต้นไป เมื่อมีวัคซีนแอสตร้ามากขึ้นแล้ว (ใช้แทนซิโนแวค)

4 วัคซีนสูตรไขว้ - ใช้เป็นวัคซีนหลัก 2 สูตร และ สำหรับฉีดกระตุ้น 2 สูตร HealthServ
3 กันยายน 2564 นายแพทย์โสภณ เอี่ยมศิริถาวร รองอธิบดีกรมควบคุมโรค เปิดเผยถึงแผนการฉีดวัคซีนสูตรไขว้ของกระทรวงสาธารณสุข ว่า  "เกิดจากการวิจัยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพวัคซีนและกระตุ้นภูมิคุ้มกันเพื่อสู้กับสายพันธุ์เดลตา โดยการวิจัยของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ผลสอดคล้องกันว่า การฉีดวัคซีนสูตรไขว้ซิโนแวคตามด้วยแอสตร้าเซนเนก้า ทำให้ภูมิคุ้มกันสูงในเวลารวดเร็ว ต่อสู้กับสายพันธุ์เดลตาได้ ซึ่งหลายประเทศ เช่น เยอรมนีและอิตาลี ก็มีการฉีดสูตรไขว้แอสตร้าเซนเนก้าตามด้วยไฟเซอร์"


ผลการศึกษานี้  ศบค.จึงได้เห็นชอบการใช้ฉีดวัคซีนสูตรไขว้ "สำหรับวัคซีนหลัก" และ สูตรไขว้ "สำหรับฉีดกระตุ้น" ดังนี้

1.สูตรไขว้ สำหรับวัคซีนหลัก

จะแบ่งเป็น 2 แบบ 2 ระยะ คือ

1.1 วัคซีนสูตรไขว้ ซิโนแวคและแอสตร้าเซนเนก้า

ระยะห่าง 3-4 สัปดาห์ เป็นสูตรหลักของประเทศไทย ในช่วงเดือนสิงหาคม-กันยายน

     และในระยะต่อมา จะปรับไปใช้สูตรไขว้ 

1.2 สูตรไขว้แอสตร้าเซนเนก้าตามด้วยไฟเซอร์
ระยะห่าง 4-12 สัปดาห์  จะเป็นสูตรที่จะใช้แพร่หลายในเดือนตุลาคมเป็นต้นไป เนื่องจาก จะมีวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าและไฟเซอร์จำนวนมาก

2. สูตรไขว้ สำหรับการฉีดกระตุ้น

ในผู้ที่ฉีดซิโนแวค 2 เข็มด้วยแอสตร้าเซนเนก้า

3. ผู้ที่หายป่วยโควิดในช่วง 1-3 เดือน

ซึ่งยังไม่ได้ฉีดวัคซีนหรือฉีดวัคซีนยังไม่ครบ 2 เข็ม หรือครบ 2 เข็มแต่ไม่ถึง 14 วันแล้วติดเชื้อ ให้ฉีดกระตุ้นภูมิคุ้มกันด้วยแอสตร้าเซนเนก้าหรือไฟเซอร์ 1 เข็ม

แผนการจัดหาวัคซีน ปลายปี 2564

แผนการจัดหาวัคซีน 4 เดือนหลังของปีนี้ (กันยายน-ธันวาคม) ดังนี้ 

1. วัคซีนแอสตร้าฯ รวม 43.3 ล้านโดส 
กันยายน 7.3 ล้านโดส
ตุลาคม 10 ล้านโดส 
พฤศจิกายน 13 ล้านโดส
ธันวาคม 13 ล้านโดส
 

2. วัคซีนไฟเซอร์ รวม 30 ล้านโดส
กันยายน 2 ล้านโดส
ตุลาคม 8 ล้านโดส
พฤศจิกายน 10 ล้านโดส
ธันวาคม  10 ล้านโดส
 

3. วัคซีนซิโนแวค รวม 12 ล้านโดส 
กันยายน 6 ล้านโดส
ตุลาคม 6 ล้านโดส
 

4. วัคซีนซิโนฟาร์ม รวม 8 ล้านโดส 
จะเข้ามา กันยายน 2 ล้านโดส


5. วัคซีนโมเดอร์นา  5 ล้านโดส 
กำหนดส่งช่วงเดือนธันวาคม

 
4 วัคซีนสูตรไขว้ - ใช้เป็นวัคซีนหลัก 2 สูตร และ สำหรับฉีดกระตุ้น 2 สูตร HealthServ

โควิด 19  วัคซีน การกระตุ้นเข็ม 3

(ยง ภู่วรวรรณ  11 กันยายน 2564)

เราบุกเบิกและให้ข้อมูลการฉีดวัคซีนไขว้ ที่มีการกระตุ้นภูมิต้านทานได้ดี
 
ในทำนองเดียวกันการกระตุ้นเข็มสาม ด้วยวัคซีนต่างชนิด ก็มีผลในการกระตุ้นที่ดีมาก
 
วัคซีนเชื้อตายจะเป็นวัคซีนปูพื้นหรือรองพื้น แล้วใช้วัคซีนอื่นมาแต่ง
 
เราจะเห็นว่าการให้วัคซีน 2 เข็ม ตั้งแต่เชื้อตาย  virus Vector  และ mRNA
 
เชื้อตายภูมิจะอยู่ที่ประมาณ 100 หน่วย  ไวรัสเวกเตอร์จะอยู่ที่ประมาณเกือบ 1,000 หน่วย mRNA จะอยู่ที่ 1,700 หน่วย 
 
เมื่อกระตุ้นเข็ม 3  ในผู้ที่ได้วัคซีนเชื้อตายมาก่อน 2 ครั้ง ภูมิคุ้มกันจะกระตุ้นขึ้นสูงอย่างมากไม่ว่าจะเป็นไวรัส Vector  หรือ mRNA
 
การศึกษาของเราระดับภูมิที่สูงมาก สามารถขัดขวางไวรัสสายพันธุ์เดลต้าได้เป็นอย่างดี (ไม่ได้แสดงในที่นี้) 
อย่างไรก็ตามการได้วัคซีนครบ 2 ครั้งตามกำหนด ก็สามารถลดความรุนแรงของโรคลงได้ลดอัตราการเสียชีวิต ลดการนอนในหอผู้ป่วยวิกฤต และเกือบทุกชนิด ในอนาคตคงต้องมีการกระตุ้นครั้งที่ 3
 
พรุ่งนี้  จะแสดงผลการฉีดวัคซีน แล้วติดเชื้อ ภูมิต้านทานขึ้นสูงมากมาก เมื่อเปรียบเทียบ กับการติดเชื้อโดยไม่ได้ฉีดวัคซีน


 
 

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด