สำหรับไทย พบอัตราป่วยและเข้ารับการรักษาจากโรคความดันโลหิตสูง เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ประเด็นที่น่ากังวล จากข้อมูลที่พบว่า ผู้ที่เป็นโรคนี้ ส่วนใหญ่จะไม่ทราบว่าเป็น เนื่องจาก ไม่มีอาการใดๆ ที่ชัดเจน แต่เมื่อตรวจแล้ว จะพบว่ามีภาวะเรื้อรังเกิดขึ้นแล้ว
โรคนี้ จะพบมากในชายมากกว่าหญิง ที่อัตรส่วนชายร้อยละ 60 ต่อ 40 ในเพศหญิง
สังเกตอย่างไรว่าเป็นความดันโลหิตสูง
ค่าความดันปกติของคนทั่วไป จะมีค่าตัวบนน้อยกว่า 120 มิลลิเมตรปรอท และค่าตัวล่างน้อยกว่า 80 มิลลิเมตรปรอท
หากค่าดังกล่างสูงเกิน แรงดันในหลอดเลือดที่สูงจะไปทำลายผนังหลอดเลือดและอวัยวะสำคัญทั่วร่างกายทำให้เส้นเลือดแดงแข็ง ลดความเร็วการไหลเวียนเลือด-ออกซิเจนไปสู่หัวใจ เป็นสาเหตุเกิดภาวะหัวใจวาย เส้นเลือดในสมองอุดตัน/แตก ทำให้พิการหรืออัมพาตได้ และอาจส่งผลกระทบทำให้ไตล้มเหลวหรือภาวะไตวาย
การควบคุมป้องกัน
ทั้งนี้โรคนี้สามารถควบคุม-ป้องกันให้อยู่ในภาวะปกติได้ ทำได้ดังนี้
1. ควบคุมการรับประทานอาหารที่มีเกลือสูง เพราะเกลือโซเดียม เป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญของโรคนี้
2. ลดเลี่ยงการรับประทานอาหาร ที่ผ่านกระบวนการ (Process food) จำพวก อาหารสำเร็จรูป อาหารหรือของหมักดอง ผลิตภัณฑ์อาหารกระป๋อง รวมถึงฟาสต์ฟู๊ดอาหารขยะ ทั้งขนมถุง เบอร์เกอร์ ไก่ทอด ไส้กรอก ฯลฯ เหล่านี้ ล้วนแต่มีโซเดียมในระดับสูงทั้งสิ้น
3. ลดเลี่ยงอาหารมีไขมันสูง
4. ลดเลี่ยงอาหารที่มีน้ำตาลสูง เปลี่ยนเป็นทาน ผลไม้หวานน้อยทดแทน
5. ลดเลี่ยง เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยเด็ดขาด
6. ควรงดสูบบุหรี่ ด้วยเช่นกัน
7. ลดละเลี่ยง ภาวะเครียด เพิ่มการออกกำลังกายให้มากขึ้น และทำเป็นประจำ อาจทำได้จากการปรับกิจวัตรประจำวัน เช่น การเดินให้มากขึ้น เดินไปซื้อของ หรือขึ้นลงบรรไดในบ้าน หรือในที่ทำงาน ใช้การขึ้นบันไดแทนลิฟต์ การทำงานบ้านก็สามารถช่วยได้ไม่น้อย
8. เพิ่มการควรตรวจคัดกรองอยู่เสมอ โดยตรวจสุขภาพอย่างน้อยปีละครั้ง
9. สำหรับผู้ที่เป็นโรคนี้อยู่แล้วต้องรับประทานยาต่อเนื่องและพบแพทย์สม่ำเสมอ-วัดความดันโลหิตเป็นประจำพร้อมจดบันทึกใช้ชีวิตประจำวันได้เช่นคนปกติ