การให้บริการคลินิก Long COVID ในกทม. โดยสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร
บริการผู้ป่วยนอกแบบ One Stop Service
ผู้ป่วยสามารถเข้ารับบริการผ่าน 2 ช่องทาง
1. ผู้ป่วยมาเข้ารับบริการที่คลินิกปกติ และแพทย์วินิจฉัยอาการที่เข้าได้กัม
Long COVID-19 และ ส่งผู้ป่วยมาที่คลินิก Long COVD
2. ผู้ป่วยที่สงสัยอาการตนเองและเข้ามารับบริการที่คลินิภ Long COVID
โดยตรง
การบริการแบบออนไลน์ (Telemedicine)
ผ่านแอป “หมอ กทม.” ครอบคลุมการให้คำปรึกษา การตรวจประเมิน การส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการหรือตรวจพิเศษ การวินิจฉัย การดูแลรักษา ติดตามอาการ และการส่งต่อแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง (กรณีจำเป็น)
สิทธิการรักษา
การรักษาพยาบาลจะเป็นไปตามสิทธิของผู้ป่วย (บัตรทอง ประกันสังคม สิทธิข้าราชการ)
9 คลินิกใน 9 รพ.
รพ.กลาง
วันพฤหัสบดี เวลา 13.00-16.00 น. คลินิกประกันสุขภาพ
โทร.0-2225-1354
รพ.ตากสิน
วันจันทร์ เวลา 13.00-16.00 น. ARI Clinic
โทร.0-2437-7677
รพ.เจริญกรุงประชารักษ์
วันพุธ เวลา 09.00-12.00 น. อาคารอนุสรณ์ 20 ปี ชั้น 2
โทร.0-2289-7986
รพ.หลวงพ่อทวีศักดิ์ฯ
วันพฤหัสบดี เวลา 13.00-16.00 น. คลินิกอายุรกรรม
โทร.0-2429-3258
รพ.เวชการุณย์รัศมิ์
วันพฤหัสบดี เวลา 13.00-16.00 น. คลินิกอายุรกรรม
โทร.084-215-3278 / 0-2543-2090
รพ.ลาดกระบังฯ
วันอังคาร เวลา 08.00-12.00 น. คลินิกอายุรกรรม
โทร.0-2327-3049
รพ.ราชพิพัฒน์
วันพุธ เวลา 13.00-16.00 น. ARI Clinic
โทร. 0-2444-3900 ต่อ 8878
รพ.สิรินธร
วันอังคาร เวลา 08.00-12.00 น. คลินิกวัณโรค
โทร.0-2328-6760
รพ.ผู้สูงอายุบางขุนเทียน
วันพธ เวลา 13.00-16.00 น. คลินิกผู้ป่วยนอก
โทร.0-2452-7999
ภาวะลองโควิด คืออะไร
ผู้ป่วยโควิด 19 บางรายจะประสบกับ “กลุ่มอาการหลังโควิด 19” ซึ่งประกอบด้วยอาการเรื้อรังจำนวนมาก เราเรียกสิ่งนี้ว่า “ภาวะหลังโควิด 19” หรือ “ลองโควิด” อาการเหล่านี้อาจเกิดขึ้นทันทีหลังจากที่ผู้ป่วยฟื้นตัวจากการติดเชื้อโควิด 19 แบบเฉียบพลัน หรืออาจเป็นอาการที่เกิดขึ้นตั้งแต่ที่เริ่มป่วยและยังคงไม่หายไป อาการเหล่านี้อาจผันผวนหรือกลับมาอีกเมื่อเวลาผ่านไป ภาวะหลังโควิด 19 สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคนที่ติดเชื้อโควิด 19 แม้ว่าจะมีอาการเพียงเล็กน้อยหรือไม่มีอาการในช่วงแรกก็ตาม
ในบรรดา 200 อาการที่มีการรายงาน อาการที่พบบ่อยที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ หายใจไม่อิ่ม สมองล้า และอ่อนเพลีย ส่วนอาการที่พบได้ไม่บ่อยเท่า ได้แก่ เจ็บหน้าอก มีปัญหาในการพูด วิตกกังวลหรือซึมเศร้า ปวดกล้ามเนื้อ มีไข้ สูญเสียการได้กลิ่นและการรู้รสชาติ
รายงานเบื้องต้นระบุว่าผู้ป่วยโควิด 19 ประมาณร้อยละ 10-20 จะยังคงมีอาการเรื้อรังเป็นเวลาหลายสัปดาห์หรือหลายเดือนหลังจากการติดเชื้อ SARS-CoV-2 แบบเฉียบพลัน อย่างไรก็ตาม โควิด 19 ยังคงเป็นโรคที่ค่อนข้างใหม่และต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อให้ทราบว่าผู้ป่วยกลุ่มใดที่เสี่ยงต่อการได้รับผลกระทบระยะยาวเหล่านี้ และเพื่อให้เข้าใจสาเหตุของภาวะดังกล่าวมากขึ้น
องค์การอนามัยโลกแนะนำว่าผู้ป่วยที่ติดเชื้อโควิด 19 (ทั้งที่ได้รับการยืนยันและสงสัยว่าติด) ควรได้รับการดูแลและติดตามหากพบว่าตนมีอาการเรื้อรัง อาการใหม่ หรืออาการที่เปลี่ยนแปลงไป และควรได้รับการดูแลในหลายมิติ ทั้งจากผู้ให้บริการปฐมภูมิ (บุคลากรทางการแพทย์) ผู้เชี่ยวชาญด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพ เจ้าหน้าที่สังคมสงเคราะห์ เจ้าหน้าที่จิตสังคม และผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิต
เรายังไม่มีการรักษาเฉพาะสำหรับอาการลองโควิด เพราะเรายังไม่เข้าใจสาเหตุและการก่อตัวของอาการ อย่างไรก็ตาม หากเราเข้าใจกลไกของโรคได้ดีขึ้น เราก็จะสามารถพัฒนาวิธีการรักษาที่ตรงจุดได้
องค์การอนามัยโลกกำลังทำงานอย่างเร่งด่วนกับนักวิจัยเพื่อปรับปรุงระบบการเก็บรวบรวมข้อมูลและการรายงานเกี่ยวกับภาวะหลังโควิด 19 โครงการศึกษาภาวะหลังโควิด 19 (Post-COVID Condition Core Outcomes) จะศึกษาผู้ป่วยที่มีอาการลองโควิดและค้นหาว่ามีปัจจัยใดบ้างที่เราต้องวัดผลเพื่อทำความเข้าใจและรักษาอาการดังกล่าว
ที่มา : WHO Thailand
อาการ LONG COVID
ที่อาจจะเกิดขึ้นได้หลังหายป่วย Covid -19 แบบไหนคือลองโควิด
- อ่อนเพลีย
- เวียนศีรษะ
- หายใจลำบาก /หอบหนื่อย
- ผมร่วง
- ไอ
- วิตกกังวล / เครียด
- นอนไม่หลับ
- ความจำสั้น
- ปวดศีรษะ
- เจ็บหน้าอก
อาการไม่ดีขึ้นให้พบแพทย์ทันที