วัคซีนโควิด-19 ใกล้จุดหมายปลายทาง
วันนี้เราได้ข่าวดีเบื้องต้นของวัคซีน mRNA บริษัท “ไฟเซอร์ อิงค์” กับ “ไบโอเอ็นเทคฯ” ถึงประสิทธิภาพของโควิดวัคซีนประมาณ 90%
จากการศึกษายังไม่ครบกำหนดในอาสาสมัครกว่า 40,000 คน การศึกษาจะแบ่งกลุ่มเป็นให้วัคซีนโควิดและวัคซีนหลอก โดยผู้ฉีดและผู้รับวัคซีนก็ไม่รู้ว่าได้วัคซีนจริงหรือหลอกและติดตามการติดเชื้อแล้วมาคำนวนว่าถ้าฉีดวัคซีนติดเชื้อกี่คน วัคซีนหลอกติดเชื้อกี่คน มาคิดประสิทธิภาพเป็นเปอร์เซ็นต์ในการป้องกันได้ถึง 90% ก็นับว่าดีมาก
การทดลองยังไม่เสร็จ และจำนวนผู้ติดเชื้อไปแล้วจาก 40,000 คนคือ 94 คน ยังน้อยเกินกว่าเป้าหมายที่คาดไว้ว่าจำนวนผู้ที่ติดเชื้อรอให้ถึง 164 คน หรือน่าจะรอถึงเดือนหน้าก็คงรู้ประสิทธิภาพที่แท้จริง
.
วัคซีนที่อยู่ในระยะที่ 3 ทั้งชนิดเชื้อตาย วัคซีนที่ใช้ไวรัสเวกเตอร์ และ mRNA วัคซีนมี 10 ตำรับที่อยู่ในระยะที่ 3 ทำการศึกษาแบบเดียวกัน จะออกผลในเดือนหน้าอีกหลายตำรับและก็คงจะเห็นผลกันชัดเจนขึ้น
โดยปกติ RNA เป็นอนุภาคที่สลายตัวง่าย จำเป็นต้องห่อให้เป็น Nanoparticle ด้วยไขมัน วัคซีนนี้จะยากในการเก็บรักษา ขบวนการควบคุมความเย็นโดยเฉพาะ ต้องส่งในสภาพแช่แข็ง -20°C การใช้ในประเทศยากจนจะยากลำบาก วัคซีนเชื้อตายที่จริงผลิตยังรอประสิทธิภาพอยู่ น่าจะเก็บควบคุมอุณหภูมิที่ 4°C ได้ ก็จะง่ายต่อการใช้
ส่วนไวรัสเวกเตอร์ที่จะส่งเทคโนโยลีมาผลิตที่ไทย ก็จะง่ายต่อการนำไปใช้ ถ้ามีวัคซีนที่มีประสิทธิภาพสูงหลายตัวก็เห็นแสงสว่างในการควบคุมโควิดให้ได้ภายในปีหน้า 2564
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ
ศูนย์เชียวชาญเฉพาะทาง
ด้านไวรัสวิทยาคลินิก
คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ศาสตราจารย์ นายแพทย์ ยง ภู่วรวรรณ เป็นนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ ราชบัณฑิตและหัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
การศึกษา
- วิทยาศาสตรบัณฑิต (วิทยาศาสตร์การแพทย์) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- แพทยศาสตรบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- วุฒิบัตรแสดงความรู้หรือความชำนาญ การประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขากุมารเวชศาสตร์ แพทยสภาแห่งประเทศไทย
- Research fellow, King's College Hospital Medical School, London, UK
ตำแหน่งในปัจจุบัน
- ศาสตราจารย์ระดับ 11 ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- หัวหน้าโครงการวิจัยโรคอุบัติใหม่และอุบัติซ้ำของศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เกียรติประวัติและผลงานดีเด่น
รางวัล
- พ.ศ. 2532 รางวัลผลงานวิจัยดีเด่น เรื่อง ไวรัสตับอักเสบและการป้องกันจากกองทุนรัชดาภิเษกสมโภช จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- พ.ศ. 2534 รางวัลผลงานวิจัยดีเด่น เรื่อง การดูแลทารกที่คลอดจากมารดาที่เป็นพาหะไวรัสตับอักเสบ บี ผลการศึกษาระยะยาว 5 ปี กองทุนรัชดาภิเษกสมโภช จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- พ.ศ. 2536 รางวัลผลงานวิจัยดีเยี่ยม เรื่อง ปัญหาและการป้องกันไวรัสตับอักเสบในประเทศไทย จากสภาวิจัยแห่งชาติ
- พ.ศ. 2540 รางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น จากมูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในพระบรมราชูปถัมภ์
- พ.ศ. 2540 รางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
- พ.ศ. 2540 เมธีวิจัยอาวุโส สกว. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (-ปัจจุบัน)
- พ.ศ. 2546 รางวัลมหาวิทยาลัยมหิดล-บี บราวน์ เพื่อการแพทย์และสาธารณสุขไทย
- พ.ศ. 2546 รางวัลผลงานวิจัยที่ได้รับการอ้างอิง (Citation) โดยรวมสูงสุด ระหว่างปี ค.ศ. 1992 ถึงปัจจุบัน สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย
- พ.ศ. 2547 รางวัลผลงานวิจัยเด่น สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย
- พ.ศ. 2547 รางวัลอาจารย์ดีเด่นแห่งชาติ สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ สภาอาจารย์มหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย (ปอมท.)พ.ศ. 2549 รางวัลผลงานวิจัยดีเยี่ยม เรื่อง ไข้หวัดนกในประเทศ จากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
- พ.ศ. 2550 รางวัลปาฐกถาประสงค์ ตู้จินดา จากภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
- พ.ศ. 2550 รางวัลแพทย์จุฬาฯ ดีเด่นสาขานักวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพประจำปี 2550 ครบรอบ 60 ปี แพทย์จุฬาฯ
- พ.ศ. 2551 รางวัลศิษย์เก่าดีเด่น จากสมาคมศิษย์เก่า คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- พ.ศ. 2551 รับพระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยาในสาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
- พ.ศ. 2555 ได้รับรางวัลผลงานวิจัยดีเยี่ยมจาก สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
- พ.ศ. 2558 เป็นราชบัณฑิต ประเภทวิชาแพทยศาสตร์และทันตแพทยศาสตร์ สาขาวิชากุมารเวชศาสตร์ สำนักวิทยาศาสตร์
- พ.ศ. 2558 รางวัลศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ประเภทรางวัลเกียรติยศ
- พ.ศ. 2562 รางวัลแพทย์ต้นแบบ จากแพทย์สภา
- พ.ศ. 2562 รางวัลผลงานวิจัยระดับดี ประจำปีงบประมาณ
- พ.ศ. 2562 จากสำนักงาน คณะกรรมการวิจัยแห่งชาติรางวัลทุนวิจัยแกนนำ จากสำนักงานวิจัย (สวทช)
- พ.ศ. 2562 รางวัลในฐานะอุทิศตนทำงานและเผยแพร่ความรู้ทางพันธุ์ศาสตร์อย่างต่อเนื่องและทำคุณประโยชน์ต่อเนื่อง จากสมาคมพันธุศาสตร์แห่งประเทศไทย
- พ.ศ. 2562 รับพระราชทานรางวัล จากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ในฐานะผู้ทำประโยชน์ทางด้านวัคซีน (สถาบันวัคซีนแห่งชาติ)
Wikipedia