ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

รายงานการฉีดวัคซีนรายวัน เดือนมีนาคม 64 โดยกรมควบคุมโรค

รายงานการฉีดวัคซีนรายวัน เดือนมีนาคม 64 โดยกรมควบคุมโรค Thumb HealthServ.net
รายงานการฉีดวัคซีนรายวัน เดือนมีนาคม 64 โดยกรมควบคุมโรค ThumbMobile HealthServ.net

ตั้งแต่ 2 มีนาคม 2564 ถึงปัจจุบัน

รายงานการฉีดวัคซีนรายวัน เดือนมีนาคม 64 โดยกรมควบคุมโรค

26 มีนาคม 64

  • ตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์ - 25 มีนาคม 2564 ฉีดวัคซีนแล้ว 136,190 โดส
  • แบ่งเป็นผู้รับวัคซีนเข็มแรก 121,392 ราย และ
  • รับวัคซีนครบ 2 เข็ม 14,798 ราย
  • เป็นไปตามเป้าหมายโดยเดือนมีนาคมยังคงเดินหน้าฉีดวัคซีนในเข็มที่ 2 อย่างต่อเนื่อง และเมื่อมีวัคซีนเพิ่มมากขึ้นในเดือนถัดๆ ไปจะเพิ่มสถานพยาบาลฉีดวัคซีนรองรับ เช่น เดือนเมษายนจะฉีดในสถานพยาบาล 100 แห่ง หรือกรกฎาคมเพิ่มเป็น 1,500 แห่ง ทำให้การฉีดวัคซีนเป็นไปตามแผนที่กำหนด รวมถึงหากกระจายฉีดวัคซีนในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลก็จะทำให้การฉีดวัคซีนมีความครอบคลุมและรวดเร็วยิ่งขึ้น

24 มีนาคม 64

  • ตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์ - 23 มีนาคม 2564 ฉีดวัคซีนไปแล้ว 102,050 โดส
  • แบ่งเป็นผู้รับวัคซีนเข็มแรก 96,188 ราย
  • รับวัคซีนครบ 2 เข็มแล้ว 5,862 ราย
  • วัคซีนโควิด 19 ล็อตใหม่ที่ได้รับล่าสุดจำนวน 8 แสนโดสอยู่ระหว่างการตรวจรับรองรุ่นการผลิต จากนั้นองค์การเภสัชกรรมจะส่งมอบให้แก่กรมควบคุมโรค เพื่อจัดสรรและกระจายไปยังพื้นที่เป้าหมายต่อไปโดยศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด 19 (ศบค.) ได้เห็นชอบแผนการจัดสรรและการกระจายวัคซีนใน 3 พื้นที่ ได้แก่ พื้นที่ควบคุมการระบาด 6 จังหวัด, พื้นที่ท่องเที่ยว 8 จังหวัด และพื้นที่ชายแดน 8 จังหวัด รวม 22 จังหวัด จำนวน 5.9 แสนโดส

22 มีนาคม 64

  • ตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์ - 21 มีนาคม 2564 รวม 73,517  โดสคิดเป็นร้อยละ 79

18 มีนาคม 64

  • ตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์ -วันที่ 18 มีนาคม 2564 มีผู้ที่ได้รับการฉีดวัคซีนสะสม 61,791 ราย
  • เป็นผู้ชายร้อยละ 35.5 ผู้หญิงร้อยละ 64.5 อายุเฉลี่ย 44 ปี
  • เป็นบุคลากรทางการแพทย์ประมาณร้อยละ 50.25 เจ้าหน้าที่ด่านหน้ารวม อสม. ร้อยละ 11.08 ผู้มีโรคประจำตัวร้อยละ 6.26 ประชาชนกลุ่มเสี่ยงทั่วไปร้อยละ 32.39 และผู้สูงอายุ60 ปีขึ้นไป ฉีดไปแล้วร้อยละ 0.02 (ข้อมูล Official Line หมอพร้อม ณ วันที่ 19 มีนาคม 2564 เวลา 15.48 น.) เนื่องจากเพิ่งเริ่มฉีดหลังจากได้รับวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า
  • มีรายงานเป็นผื่นลมพิษ 2 รายหลังฉีดวัคซีน ซึ่งเป็นอาการที่พบได้ในการฉีดวัคซีนทั่วไป

15 มีนาคม 64

  • ตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์ - 14 มีนาคม 2564 ฉีดแล้ว 46,598 คน หรือ ร้อยละ 50 ของเป้าหมายการฉีดคือ 92,600 คน

11 มีนาคม 64

  • ตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์ - 10 มีนาคม 2564 ฉีดวัคซีนแล้ว 36,797 ราย
  • หลายจังหวัดฉีดวัคซีนได้ครบตามเป้าหมาย 100% แล้ว ได้แก่ สมุทรสงคราม ราชบุรี ชลบุรี ภูเก็ต และสุราษฎร์ธานี
  • หลายจังหวัดฉีดกลุ่มเป้าหมายได้มากกว่าร้อยละ 70  ได้แก่ ตาก นนทบุรี นครปฐม และสมุทรปราการ
  • ผู้ได้รับวัคซีนวันแรกๆ อยู่ระหว่างนัดหมายมาฉีดเข็มที่ 2 ประมาณวันที่ 21 มีนาคมเป็นต้นไป
  • การฉีดวัคซีนโดยทั่วไปอาจเกิดปฏิกิริยาได้ เช่น ปวดตึงบริเวณที่ฉีดวัคซีน ปวดกล้ามเนื้อ เป็นต้น ถือเป็นอาการเล็กน้อย หายเองได้ ไม่ต้องนอนโรงพยาบาล
  • มีระบบติดตามอาการหลังฉีด การรายงานผ่านไลน์หมอพร้อม
  • ขณะนี้ยังไม่มีการลงทะเบียนจองผ่านหมอพร้อม

10 มีนาคม 64

  • ตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์ - 9 มีนาคม 2564 รวม 10 วัน มีผู้เข้ารับการฉีดวัคซีนแล้ว 33,621 ราย
  • มีรายงานการเกิดปฏิกิริยากับร่างกาย 2,984 ราย คิดเป็นร้อยละ 8.8
  • อาการที่พบ เช่น ปวดบวมบริเวณที่ฉีด วิงเวียนศีรษะ มีไข้ต่ำๆ ปวดเมื่อยเนื้อตัว เป็นต้น ซึ่งเป็นอาการไม่รุนแรงสามารถหายได้เอง

5 มีนาคม 64

  • ตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์ - 4 มีนาคม 2564 ฉีดวัคซีนให้กับกลุ่มเป้าหมายใน 13 จังหวัด รวม 17,697 ราย
  • เป็นบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข และอสม. 15,981 ราย, เจ้าหน้าที่อื่นๆ ที่มีโอกาสสัมผัสผู้ป่วย 1,603 ราย ประชาชนที่มีโรคประจำตัว 22 ราย และประชาชนในพื้นที่เสี่ยง 91 ราย
  • ในจำนวนนี้พบผู้ที่มีอาการไม่พึงประสงค์ 270 ราย มีอาการ ปวด บวม บริเวณที่ฉีด ร้อยละ 24, คลื่นไส้ ร้อยละ15,  เวียนศีรษะ ร้อยละ 13 และปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ร้อยละ 8 ซึ่งผู้เชี่ยวชาญด้านอาการไม่พึงประสงค์จากการฉีดวัคซีน ให้ข้อมูลว่าในต่างประเทศพบได้ 1 ใน 3 ของผู้ที่รับวัคซีนโควิด 19 อาจพบอาการข้างเคียงอย่างใดอย่างหนึ่งได้
  • ในประเทศไทยมีรายงานพบผู้ที่มีอาการเพียง ร้อยละ 1.5 ซึ่งต่ำกว่าที่คาดหมายไว้ และยังไม่พบผู้ที่มีอาการรุนแรงที่เกี่ยวข้องกับวัคซีน
  • การเตรียมความพร้อมร่างกายก่อนเข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด 19 เป็นสิ่งที่จำเป็นและสำคัญ ขอให้ปฏิบัติดังนี้
    • ก่อนเข้ารับบริการฉีดวัคซีน ให้ตรวจสอบว่าเป็นกลุ่มเป้าหมายที่ได้ลงทะเบียนไว้หรือไม่,
    • พักผ่อนให้เพียงพอ ไม่ควรงดอาหาร,
    • ไม่กินยาลดไข้ หรือยาแก้ปวด,
    • แจ้งประวัติการแพ้วัคซีน ยา หรืออาหาร,
    • หากมีไข้ ท้องเสียรุนแรง ผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มีอาการของโรคควบคุมได้ไม่ดี ให้เลื่อนออกไปก่อน
    • สำหรับหญิงตั้งครรภ์ยังไม่แนะนำให้ฉีด
  • หลังฉีดวัคซีน หากมีอาการ แน่นหน้าอก หายใจไม่ออก ปวดศีรษะรุนแรง  ผื่นขึ้นทั้งตัว อาเจียน กล้ามเนื้ออ่อนแรง ปากเบี้ยวให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่ที่ห้องสังเกตอาการทันที 
    • เมื่อกลับไปอยู่บ้าน อาจพบผลข้างเคียงได้ เช่น ผื่น ปวด บวม  บริเวณที่ฉีด มีไข้ต่ำๆ พบได้ภายหลังได้รับวัคซีน 30 นาที - 2 ชม. และอาการจะค่อยๆ ลดลง
    • แต่หากมีไข้สูงมาก ให้รีบกลับมาพบแพทย์ หรือโทรแจ้ง 1669 
    • ทั้งนี้ หลังฉีดวัคซีน3 วัน โอกาสแพ้วัคซีนและผลข้างเคียงจะพบน้อยมาก แต่ควรสังเกตอาการต่อไปจนครบ 30 วัน ให้มั่นใจว่าปลอดภัย

4 มีนาคม 64

  • ตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์ - 3 มีนาคม 2564 ฉีดครบแล้วทั้ง 13 จังหวัดเป้าหมาย รวม 13,464  ราย
  • แบ่งเป็นบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข และอสม. 12,598 ราย, เจ้าหน้าที่อื่นๆ ที่มีโอกาสสัมผัสผู้ป่วย 753 ราย ประชาชนที่มีโรคประจำตัว 22 ราย และประชาชนในพื้นที่เสี่ยง 91 ราย
  • พบผู้ที่มีอาการไม่พึงประสงค์ 119 ราย

3 มีนาคม 64

  • การฉีดวัคซีนโควิด 19 ตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์ - 2 มีนาคม 2564 ฉีดวัคซีนครบแล้วทั้ง 13 จังหวัด รวม 7,262 ราย
  • แบ่งเป็นบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข รวมถึง อสม. 6,784 ราย , เจ้าหน้าที่อื่นๆ ที่มีโอกาสสัมผัสผู้ป่วย 365 ราย ประชาชนที่มีโรคประจำตัว 22 ราย และประชาชนในพื้นที่เสี่ยง 91 ราย
 

2 มีนาคม 64

  • วันแรก 28 กุมภาพันธ์ - 254 ราย วันที่สอง 1 มีนาคม  2,767 ราย รวม 3,021 ราย
  • มีผู้มีอาการไม่พึงประสงค์ 5 ราย  สมุทรปราการ 4 สมุย 1 อาการบวมแดงที่ฉีด 4 คน คลื่นไส้อาเจียน 1 ราย ถือเป็นอาการที่พบได้ปกติ ไม่รุนแรง
  • จำนวนที่ฉีดแยกตามกลุ่ม 1. บุคคลากรทางการแพทย์ สาธารณสุข อสม 2,781  ราย 2. เจ้าหน้าที่อื่นๆ 133 ราย 3. ประชาชนที่มีโรคประจำตัว 21 ราย 4. ประชาชนในพื้นที่ระบาด 86 ราย

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด