19 เมษายน นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า การออกแนวทางการพิจารณาผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่เหมาะสมสำหรับการแยกตัวที่บ้าน (home isolation) ทางโซเชียลมีเดีย เป็นการออกคำแนะนำเพื่อเตรียมรองรับสถานการณ์ หากกรณีมีผู้ติดเชื้อโควิดเพิ่มจำนวนมากขึ้น แต่ยืนยันว่าขณะนี้ยังไม่ถึงขั้นจะต้องใช้มาตรการดังกล่าว ผู้ที่ติดเชื้อทุกรายจะต้องเข้ามารับการรักษาใน รพ. หรือ รพ.สนามหรือฮอสปิเทล ที่ทางภาครัฐกำหนด
แนวทางการพิจารณาผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่เหมาะสมสำหรับการแยกตัวที่บ้าน (home isolation) (ฉบับวันที่ 18 เมษายน 2564) ระบุว่า ผู้ที่ตรวจพบเชื้อโควิด-19 ควรได้รับการจัดแยกเพื่อการดูแลรักษา โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีอาการควรได้รับการ ดูแลรักษาใน รพ. หรือ รพ.สนาม หรือ หอผู้ป่วยเฉพาะกิจ (hospitel) ตามความเหมาะสมเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 14 วัน ผู้ติดเชื้อที่ไม่มีอาการควรแยกตัวจากผู้อื่นไม่น้อยกว่า 14 วันเช่นเดียวกัน
รพ.อาจพิจารณาให้ผู้ติดเชื้อโควิด-19 ใช้ที่พักอาศัยเป็นสถานที่แยกตัว อาทิ บ้านเดี่ยว หอพัก หรือคอนโดมิเนียมโดยได้รับความยินยอมจากเจ้าของสถานที่แล้ว การจัดเตรียมสถานที่เพื่อการแยกตัวอย่างเหมาะสมให้เป็นไปตามคำแนะนำการปฏิบัติการแยกตัวที่บ้าน สำหรับผู้ป่วยโควิด-19 ที่ไม่ได้เข้ารักษาตัวแบบผู้ป่วยในของ รพ.ฉบับวันที่ 16 เมษายน พ.ศ.2564 หากผู้ติดเชื้อไม่มีอาการผิดปกติใดๆ แนะนำให้แยกตัวต่อเนื่องจนครบ 1 เดือน
เกณฑ์การพิจารณาผู้ติดเชื้อโควิด-19 เพื่อการแยกตัว คือ
- เป็นผู้ติดเชื้อที่ไม่มีอาการ
- มีอายุไม่เกิน 40 ปี
- มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง
- มีผู้อยู่ร่วมที่พักไม่เกิน 1 คน
- ไม่มีภาวะอ้วน (ภาวะอ้วน หมายถึง ดัชนีมวลกายมากกว่า 25 กก./ม./ หรือ น้ำหนักตัว > 90 กก.)
- ไม่มีโรคร่วม ประกอบด้วย โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) โรคไตเรื้อรัง (CKD) โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง เบาหวานที่ควบคุมไม่ได้ และ โรคอื่นๆ ตามดุลยพินิจของแพทย์
- ยินยอมแยกตัวในที่พักของตนเอง
สำหรับการดำเนินการของ รพ. คือ
- ประเมินความเหมาะสมสำหรับผู้ติดเชื้อแยกตัวในสถานที่พักของตนเอง
- ลงทะเบียนผู้ติดเชื้อที่เข้าเกณฑ์การแยกตัวที่บ้าน ในระบบของ รพ.
- ควรถ่ายภาพรังสีทรวงอก หากพบความผิดปกติ แนะนำให้เข้ารับการรักษาที่ รพ.
- แนะนำการปฏิบัติตัว และจัดเตรียมปรอทวัดไข้ และ pulse oximeter ให้กับผู้ป่วยติดเชื้อ
- ติดตาม ประเมินอาการผู้ติดเชื้อระหว่างการแยกตัวที่บ้าน ผ่านระบบสื่อสารต่างๆ อาทิ โทรศัพท์ติดตามอาการ
สอบถามอาการไข้ ค่า oxygen saturation วันละ 2 ครั้ง (เช้า-เย็น) เป็นระยะเวลา 14 วัน 6.จัดช่องทางติดต่อในกรณีผู้ติดเชื้อมีอาการเพิ่มขึ้น หรือภาวะฉุกเฉิน อาทิ มีไข้ลอย หอบเหนื่อย หายใจลำบาก 7.จัดระบบรับ ส่งต่อผู้ป่วยไปยังรพ.ในกรณีผู้ติดเชื้อจำเป็นต้องย้ายเข้ารับการรักษาต่อใน รพ. 8.ให้ความมั่นใจในมาตรฐานการดูแลรักษาของที่มแพทย์และพยาบาลสำหรับผู้ติดเชื้อ
มติชน 19 เมย 64