ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

Human Papilloma Virus (HPVs) คืออะไร

Human Papilloma Virus (HPVs) คืออะไร Thumb HealthServ.net
Human Papilloma Virus (HPVs) คืออะไร ThumbMobile HealthServ.net

ไวรัส HPVs เป็นเรื่องสำคัญที่ผู้หญิงต้องทราบ คำถามมากมาย HPV คืออะไร, การติดเชื้อ HPV เกิดได้อย่างไร, ควรทำอย่างไรเมื่อได้รับเชื้อ, การวินิจฉัยการติดเชื้อ HPV, การรักษา HPV, การเปลี่ยนแปลงบริเวณปากมดลูกและอาการสำคัญ



Human Papilloma Virusเป็นไวรัสที่ก่อให้เกิดหูด ชนิดต่างๆ มีสายพันธ์มากกว่า100ชนิด แต่ละสายพันธ์จะก่อให้เกิดโรคได้ต่างชนิดกัน กว่า40ชนิดที่ก่อให้เกิดการติดเชื้อที่บริเวณอวัยวะสืบพันธ์และทวารหนัก ที่เกิดขึ้นได้ทั้งในผู้ชายและผู้หญิง ที่รู้จักกันกันดี คือ หูดหงอนไก่ บางกลุ่มของการติดเชื้อHPVที่อวัยวะสืบพันธ์และทวารหนัก ที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่บริเวณปากมดลูก และสามารถนำไปสู่การเกิดมะเร็งที่ปากมดลูก การติดเชื้อหูดหงอนไก่และHPVมักจะเกิดจากการติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และการเปลี่ยนคู่นอนบ่อยก็เป็นความเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดการติดเชื้อเพิ่มขึ้นด้วย

สายพันธ์ที่เกิดการติดเชื้อบริเวณอวัยวะสืบพันธ์และทวารหนักที่รู้จักกันดีคือ สายพันธ์ เบอร์6,11,16และ18สายพันธ์ เบอร์6และ11เป็นสายพันธ์ที่ไม่รุนแรงก่อให้เกิดมะเร็งได้ต่ำ (Low-risk)แต่ถ้าเป็นสายพันธ์เบอร์16และ18นั้นเป็นสายพันธ์ที่รุนแรงที่ก่อให้เกิดมะเร็งได้สูง (High-risk)

สำหรับการติดเชื้อHPVบริเวณผิวหนังหรือส่วนอื่นๆ ในร่างกายมักจะเกิดจากสายพันธ์เบอร์5และ8ซึ่งเป็นสายพันธ์ที่ต่างจากที่บริเวณอวัยวะสืบพันธ์

ติดเชื้อHPVได้อย่างไร

การติดเชื้อHPVมักจะเกิดจากการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ (Sexually transmitted disease, STD)ในประเทศสหรัฐอเมริกา พบว่าอย่างน้อย75%ของวัยเจริญพันธ์มีการติดเชื้อHPVไม่ช่วงใดก็ช่วงหนึ่ง ซึ่งเชื่อว่ามากกว่า6ล้านคนมีการติดเชื้อทุกๆ ปี และ ประมาณ50%ของการติดเชื้อนั้นผู้ติดเชื้อมีอายุระหว่าง15 – 25ปี

ไม่ว่าจะติดเชื้อHPVสายพันธ์ ใดก็ตาม ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักจะมองไม่เห็นหรือไม่มีอาการแสดง ดังนั้นการที่จะวินิจฉัยว่าติดเชื้อHPVหรือไม่สามารถบ่งบอกได้จากการตรวจDNAบางรายที่มีการตรวจพบว่าติดเชื้อ คือผลตรวจเป็นบวก และระยะต่อมาเมื่อผ่านไปเป็นเดือนหรือปี ผลตรวจเปลี่ยนเป็นลบ ที่เรียกว่าเป็นระยะเงียบ (latent period)คือมีการติดเชื้อแต่ไม่แสดงอาการ ซึ่งผู้ป่วยสามารถติดเชื้อซ้ำได้ ผู้ที่ติดเชื้อสามารถแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นได้จากการมีเพศสัมพันธ์

ในประเทศสหรัฐอเมริกาหรือในประเทศที่พัฒนาแล้ว มีการตรวจกันแพร่หลายทำให้สามารถตรวจหาเชื้อและได้รับการรักษาเบื้องต้น เป็นการลดความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งปากมดลูกได้ ส่วนในประเทศที่กำลังพัฒนาการตรวจหาในระยะเริ่มแรกมีน้อยเกิดจากปัญหาทางเศรษฐกิจ จึงทำให้การเกิดมะเร็งปากมดลูกที่มาจากการติดเชื้อHPVจำนวนมาก ซึ่งมีผู้หญิงราวๆ500,000คนในแต่ละปีทั่วโลกเสียชีวิตจากมะเร็งปากมดลูก

อาการสำคัญ

ในหลายๆ คนการติดเชื้อนั้นไม่ก่อให้เกิดอาการแสดง แต่บางครั้งอาจมีอาการคัน แสบร้อน หรือตึง ซึ่งแตกต่างกันตามที่ๆ เกิด สำหรับผู้หญิงที่มีการติดเชื้อภายในช่องคลอดบางครั้งจะมีเลือดออกขณะมีเพศสัมพันธ์ หรือ มีสารคัดหลั่งออกทางช่องคลอด น้อยรายที่จะมีเลือดออกทางช่องคลอดหรือมีการอุดตันของท่อทางเดินปัสสาวะ โดยหูดได้ปิดกั้นท่อทางเดินปัสสาวะ

การวินิจฉัยการติดเชื้อHPV

เชื้อHPVบางครั้งสามารถตรวจพบได้จากการตรวจPap Smearเนื่องจากเชื้อHPVสามารถก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเนื้อเยื่อ แต่การตรวจPap Smearนั้นไม่สามารถที่จะวินิจฉัยโรคได้แน่นอนยกเว้นการตรวจชนิดพิเศษคือการตรวจDNAของHPVเมื่อใดที่ตรวจพบผลผิดปกติของPap Smearแพทย์มักจะให้มีการตรวจพิเศษอื่นๆ เพิ่มเติม เช่น การตัดชิ้นเนื้อที่ปากมดลูกไปตรวจ เป็นต้น

การวินิจฉัย

โรคหูด(หรือหงอนไก่)ที่บริเวณอวัยวะสืบพันธ์เป็นโรคที่เกิดขึ้นได้ง่ายพบผู้ติดเชื้อใหม่ในสหรัฐอเมริกา ประมาณ500,000ราย ต่อปี ซึ่งแพทย์สามารถตรวจพบและรักษาได้โดยไม่ต้องทำการตรวจเพิ่มเติมในกรณีที่มองเห็นได้ชัดเจน ซึ่งลักษณะของหูดมักจะปรากฎให้เห็นในลักษณะตุ่มเล็กๆ ขรุขระ มีลักษณะคล้ายดอกกะหล่ำ มากกว่า90%ที่หูดบริเวณอวัยวะสืบพันธ์เกิดจากสายพันธ์HPV 6และHPV 11ซึ่งเป็นสายพันธ์ที่ไม่รุนแรง

การรักษาHPV

ไม่มีการรักษาใดที่จะสามารถกำจัด การติดเชื้อHPVได้หมดสิ้น เพียงแต่ที่ทำได้คือการตัดส่วนที่เกิดการติดเชื้อไวรัสออกไป แต่การตัดชิ้นเนื้อออกไปนั้นไม่สามารถที่จะป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสได้ อย่างไรก็ตามโรคนี้สามารถกลับเป็นซ้ำได้อีก

การรักษาที่สามารถทำได้โดยที่ผู้ป่วยใช้น้ำยาหรือครีม0.5% podofilox (Condylox)ทาบริเวณที่เป็นวันละ2ครั้ง3-4วัน การรักษาส่วนใหญ่จำเป็นต้องรักษาต่อเนื่อง34-สัปดาห์ หรือจนกระทั่งหายpodofiloxสามารถใช้ทาวันเว้นวันต่อเนื่องเป็นเวลา3สัปดาห์ หรือบางครั้งอาจใช้imiquimod (Aldara)ทาบริเวณที่เป็น3ครั้งต่อสัปดาห์ โดยทาในช่วงก่อนนอน หลังจากนั้น6-10ชั่วโมง ล้างออกด้วยสบู่และน้ำสะอาด การใช้imiquimodสามารถใช้ได้ต่อเนื่องนาน16สัปดาห์หรือจนกระทั่งหาย

สำหรับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญสามารถทำการรักษาโดยใช้ น้ำยาPodophyllin resinที่มีความเข้มข้น10-25%จี้บริเวณที่เป็น และล้างออกหลังจากนั้นประมาณ2-3ชั่วโมง และจะทำการรักษาซ้ำอีกทุกสัปดาห์จนกระทั่งหาย อีกวิธีหรือ การใช้ น้ำยาTricholoroacetic acid (TCA)หรือBichloracetic acid (BCA)จี้ทุกสัปดาห์ หรือการฉีด5-Flurouracil epinephrine gelบริเวณที่เป็น หรือสามารถใช้Interferon alphaฉีดบริเวณที่เป็นระยะเวลา8-12สัปดาห์

การรักษาอีกวิธีคือการทำCryotherapy (การจี้ด้วยความเย็นจัด) ทุกๆ1-2สัปดาห์ การตัดหูด หรือ การใช้เลเซอร์ ซึ่งการตัดหรือการใช้เลเซอร์นั้นจำเป็นต้องได้รับการใช้ยาระงับความรู้สึก ซึ่งขึ้นอยู่กับบริเวณที่เป็น

การเปลี่ยนแปลงบริเวณปากมดลูก

ผู้หญิงที่มีได้รับการตรวจและพบว่ามีเปลี่ยนแปลงบริเวณปากมดลูก ไม่ว่าจะเป็นชนิดปานกลางหรือรุนแรง จำเป็นต้องได้รับการรักษาเพื่อมิให้เซลล์เปลี่ยนแปลงเป็นเนื้อร้าย ในลักษณะแบบนี้การรักษามักจะเกี่ยวข้องกับการตัดส่วนที่เป็นออก Conizationเป็นวิธีการรักษาโดยการตัดปากมดลูกออกโดยใช้มีดหรือเลเซอร์ วิธีการอื่นที่เป็นรู้จักคือLEEPนั่นคือการใช้ลวดผ่านกระแสไฟฟ้าผ่านเอาชิ้นเนื้อที่ผิดปกติทิ้ง Cryotherapyหรือ การใช้เลเซอร์ก็สามารถใช้เพื่อทำลายเนื้อที่ผิดปกติได้

ขณะนี้มีการศึกษาเกี่ยวกับวัคซีนที่ป้องกันไวรัสหูดหงอนไก่และมะเร็งที่ปากมดลูก เป็นวัคซีนที่ป้องกันHPVสายพันธ์6,11,16และ118วัคซีนชนิดนี้ได้รับการรับรองจากFDAสำหรับการใช้ในผู้หญิงที่มีอายุระหว่าง9-26ปี สำหรับวัคซีนชนิดอื่นที่ป้องกันการติดเชื้อHPVสายพันธ์16และ18ที่เป็นสายพันธ์รุนแรงนั้นกำลังอยู่ในระหว่างการทดลอง

การติดเชื้อสามารถติดต่อได้โดยตรงจากการมีเพศสัมพันธ์ แต่เชื้อไวรัสชนิดนี้ไม่พบหรือไม่แพร่กระจายทางสารคัดหลั่ง เลือดหรือการเปลี่ยนถ่ายอวัยวะ การใช้ถุงยางอนามัยดูจะสามารถลดความเสี่ยงการได้รับเชื้อได้แต่ไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อได้ แต่ยาฆ่าเชื้ออสุจิและยาคุมกำเนิดนั้นไม่สามารถป้องกันการแพร่กระจายเชื้อได้ สิ่งที่ดีที่สุดคือ การป้องกันตนเองจากการมีเพศสัมพันธ์นั้นเป็นการป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อHPVแต่คนที่ป้องกันตนเองจากการมีเพศสัมพันธ์ ก็ยังจะสามารถติดเชื้อHPVได้เช่นกัน ซึ่งรู้จักกันดีคือหูดที่บริเวณผิวหนังเช่น มือ ปาก บางงานวิจัยพบว่าHPVสามารถติดต่อจากแม่สู่ลูกได้จากการคลอดปกติ

ควรทำอย่างไรเมื่อได้รับเชื้อ

ผู้ที่ได้รับเชื้อและคู่นอนควรที่จะได้รับคำแนะนำเกี่ยวกับความเสี่ยงที่ได้เป็นผู้แพร่กระจายเชื้อ ซึ่งควรจะเข้าใจว่าการที่ไม่ได้มีหูดให้เห็นนั้นไม่ใช่ว่าจะไม่สามารถแพร่เชื้อได้ และ ควรเข้าใจว่าการใช้ถุงยางอนามัยนั้นก็ไม่สามารถป้องกันการแพร่กระจายโรคได้100 %

สิ่งที่สำคัญที่สุดนั่นคือเมื่อผู้หญิงตรวจพบว่ามีการติดเชื้อหรือเป็น โรคควรที่จะได้รับการตรวจPap Smearอย่างสม่ำเสมอ เพื่อดูความเปลี่ยนแปลงของปากมดลูก และ เพื่อคัดกรองความผิดปกติจากมะเร็งปากมดลูก เช่นเดียวกับเพศชายที่ควรจะได้รับการแนะนำเกี่ยวกับความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งที่ทวารหนัก ถึงแม้ว่าจะไม่มีการคัดกรองและตรวจสอบมะเร็งที่ทวารหนักในระยะเริ่มต้นก็ตาม


โดย นพ.ธีรศักดิ์ธำรงธีระกุล
แผนกสูติ-นรีเวช โทร0-2941-2800กด1

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด