ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

พายุโควิดกำลังก่อตัวถล่มเชียงใหม่ กับยุทธศาสตร์การรับมือของรพ.นครพิงค์

พายุโควิดกำลังก่อตัวถล่มเชียงใหม่ กับยุทธศาสตร์การรับมือของรพ.นครพิงค์ Thumb HealthServ.net
พายุโควิดกำลังก่อตัวถล่มเชียงใหม่ กับยุทธศาสตร์การรับมือของรพ.นครพิงค์ ThumbMobile HealthServ.net

สัดส่วนของระดับความรุนแรงของผู้ป่วยโควิด 80-15-5 (เขียว-เหลือง-แดง) ที่เป็นปัจจัยสำคัญในยุทธศาสตร์การบริหารจัดการทรัพยากรในภาวะฉุกเฉินเพื่อรับมือกับโควิดที่กำลังรุนแรงขึ้น จำนวนผู้ป่วยหนักจะมีมากขึ้นกว่าเดิมนับจากนี้

พายุโควิดกำลังก่อตัวถล่มเชียงใหม่ กับยุทธศาสตร์การรับมือของรพ.นครพิงค์ HealthServ

 ท่ามกลางความรู้สึกที่ผ่อนคลายลงหลังจากจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ของจ.เชียงใหม่ เริ่มมีแนวโน้มลดลง แต่อย่างไรก็ตามมีสัญญาณบางอย่างที่บ่งชี้ว่าผู้ป่วยที่มีอาการหนักกำลังเพิ่มมากขึ้น

      จากสถิติของผู้ติดเชื้อโควิด-19 ของกรมควบคุมโรคพบว่า ผู้ป่วยประมาณ 80% เป็นผู้ป่วยที่ไม่มีอาการหรือมีอาการเล็กน้อย ซึ่งผู้ป่วยกลุ่มนี้สามารถให้การรักษาที่รพ.สนามได้ 15%เป็นกลุ่มที่มีอาการปานกลาง คือเริ่มมีปอดอักเสบแต่ไม่รุนแรงกลุ่มนี้ต้องได้รับการรักษาในรพ. และอีกประมาณ 5% เป็นผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง จำเป็นต้องได้รับการรักษาที่เข้มข้นในสถานพยาบาลที่มีความพร้อมสูง
 
        การระบาดรอบนี้ของ จ.เชียงใหม่ จนถึงปัจจุบันมีผู้ติดเชื้อแล้วราว 2,400 คน และยังคงเพิ่มขึ้นแม้จะชะลอตัวลง แต่ก็อาจจะเพิ่มขึ้นจนถึง 3,000 คน นั่นหมายความว่าจะมีผู้ป่วยที่ต้องรับการรักษาในรพ.อย่างน้อยราวๆ 600 คน และในกลุ่มนี้จะมีผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงราวๆ 150 คน ขณะที่อีก 2,400 คน สามารถดูแลที่รพ.สนามได้ ทั้งนี้หากยังพบผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น จำนวนผู้ป่วยที่มีความจำเป็นต้องรักษาในรพ.ก็จะยิ่งมากขึ้น
 
 
พายุโควิดกำลังก่อตัวถล่มเชียงใหม่ กับยุทธศาสตร์การรับมือของรพ.นครพิงค์ HealthServ
         ผู้ป่วยโควิด-19 จะเริ่มมีอาการประมาณตั้งแต่วันที่ 5 ของการป่วยและจะมีผู้ป่วยบางส่วนที่อาการเปลี่ยนแปลง รุนแรงขึ้น ราวๆ 7-10 วันหลังจากนั้นซึ่งเป็นธรรมชาติของโรค โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงและมีโรคประจำตัว   เมื่อจำนวนผู้ป่วยสะสมมีมาก ปริมาณผู้ป่วยหนักก็จะมีมากตามไปด้วย หากย้อนไปดูเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว พบว่าเป็นช่วงที่กำลังเป็นขาขึ้นของจำนวนผู้ป่วยรายใหม่พอดี สอดคล้องกับที่ในช่วง 2-3 วันมานี้ พบว่ามีผู้ป่วยที่อาการเปลี่ยนแปลงจากอาการน้อยมาเป็นอาการปานกลางไปจนถึงรุนแรงมากขึ้น สถานการณ์โรคโควิดของจ.เชียงใหม่จึงต้องขยับไปสู่การรับมือผู้ป่วยหนักในห้องความดันลบที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
 
     ตามแผนยุทธศาสตร์ของจ.เชียงใหม่ รพ.นครพิงค์เป็นรพ.ที่ทำหน้าที่ในการดูแลผู้ป่วยที่มีอาการปานกลางไปจนถึงรุนแรง ร่วมกับ รพ.มหาราชนครเชียงใหม่ จึงต้องเตรียมพร้อมในการรับมือผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงที่กำลังจะเพิ่มมากขึ้น ซึ่งต้องใช้ทรัพยากรอย่างมาก ทั้งกำลังคน สถานที่ที่จะใช้ในการรักษา เครื่องมือ ยาเวชภัณฑ์ ต่างๆ
 
    แม้รพ.นครพิงค์จะมีห้องความดันลบที่มีความพร้อมในการดูแลผู้ป่วยหนักได้สูงสุดถึง 43 เตียง แต่ก็อาจจะยังไม่เพียงพอกับปริมาณผู้ป่วย ดังนั้นจึงต้องมีการหมุนเวียนผู้ป่วยที่อาการทุเลาลงไปยังรพ.สนามหรือรพ.อื่นๆ เพื่อให้มีที่ว่างในการรองรับผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงกว่า มีการเตรียมเครื่องมืออุปกรณ์ต่างๆ สำรองยาต้านไวรัสให้เพียงพอ มีการระดมสรรพกำลังบุคลากรสหสาขาวิชาชีพ และมีการอบรมทบทวนแนวทางต่างๆ เพื่อรับมือกับพายุที่กำลังก่อตัวนี้
 
    ชาวเชียงใหม่สามารถช่วยพวกเราได้โดยการระวังป้องกันตนเองไม่ให้ติดเชื้อ เพื่อลดจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ ที่จะเข้ามาในระบบ 
 
     หน่วยงานสาธารณสุขของเชียงใหม่ทั้งภาครัฐและเอกชนรวมกันเป็นหนึ่ง เพื่อสู้ศึกครั้งนี้ ไม่ว่าสถานการณ์จะเป็นอย่างไรทีมสาธารณสุขจ.เชียงใหม่จะทำหน้าที่ของเราให้ดีที่สุด แล้วเราจะผ่านวิกฤตนี้ไปด้วยกัน

รพ.นครพิงค์ เรื่องและภาพ
19 เมย 64
 ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงและวิกฤต กำลังเพิ่มมากขึ้น

เครื่อง Hemoperfusion

เครื่อง Hemoperfusion ใช้สำหรับกำจัดสารก่อการอักเสบ ในผู้ป่วยที่มีอาการวิกฤต หนึ่งในเครื่องมือที่ได้รับการบริจาคจากประชาชนผ่านโครงการก้าวคนละก้าว
*ภาพจากเพจ รพ.นครพิงค์

High flow nasal canula

 High flow nasal canula เครื่องมือสำคัญในการรักษาผู้ป่วย ปอดอักเสบที่มีภาวะออกซิเจนในเลือดต่ำ
*ภาพจากเพจ รพ.นครพิงค์
Ventilator แบบแยกจอ ทำให้แพทย์ดูแลผู้ป่วยได้สะดวก และมีความปลอดภัยมากขึ้น

*ภาพจากเพจ รพ.นครพิงค์

Hemoperfusion

Hemoperfusion หนึ่งในเครื่องมือจากการบริจาคของประชาชนผ่านโครงการก้าวคนละก้าว

 *ภาพจากเพจ รพ.นครพิงค์

การดูแลผู้ป่วยหนัก

การดูแลผู้ป่วยหนัก ต้องใช้ทรัพยากรจำนวนมาก ทั้งบุคลากร เครื่องมือและเวชภัณฑ์ต่างๆ

 *ภาพจากเพจ รพ.นครพิงค์

เกณฑ์การอนุญาตให้ผู้ป่วยออกจากโรงพยาบาล

 
 

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด