ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพ รวมโปรแกรมสุขภาพ บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิดบริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event Health Economy ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

โรคเล็ปโตสไปโรซีส (โรคฉี่หนู)

โรคเล็ปโตสไปโรซีส เกิดจากเชื้อใน Genus leptospiva มีหลายชนิดแต่ที่รุนแรงที่สุดคือ L.Ictero haemorrhagiae พาหะนำโรคมาสู่คน

ท่านคงได้ยินข่าวเกี่ยวกับการระบาดของโรคเล็ปโตสไปโรซีส หรือที่เรียกกันว่า "โรคฉี่หนู" กันเป็นอย่างดีแล้ว ซึ่งตอนนี้จะมีการรณรงค์และป้องกันโรคนี้กันอยู่อย่างแพร่หลาย ทั้งทางโทรทัศน์ และวิทยุกระจายเสียง โดยเป็นการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับโรค เพื่อให้ได้รับทราบเกี่ยวกับโรค และการป้องกันโรคดังกล่าว และเมือเร็วๆ นี้ ท่านนายกรัฐมนตรี ไปดำนาออกทางโทรทัศน์ ยังต้องใส่รองเท้าบู๊ต และสวมถุงมือ เพื่อเป็นตัวอย่าง และเป็นการป้องกันโรคเลยค่ะ มารู้จักโรคเล็ปโตสไปโรซีส กันดีกว่าค่ะ โรคเล็ปโตสไปโรซีส เกิดจากเชื้อใน Genus leptospiva มีหลายชนิดแต่ที่รุนแรงที่สุดคือ L.Ictero haemorrhagiae พาหะนำโรคมาสู่คน สัตว์ที่นำโรคนี้ได้แก่ พวกสัตว์แทะทั้งหลาย เช่น หนู โดยเฉพาะหนูบ้าน หนูพุก หนูนา นั้นแหละตัวดี และที่พบรองลงมาคือ สุนัข หมู ควาย โดยสัตว์พวกนี้จะเก็บเชื้อไว้ในไต สุนัขที่เป็นโรคนี้อาจปล่อยเชื้อทางปัสสาวะได้เป็นปีเลยทีเดียว ส่วนหนูที่มีเชื้อจะไม่เป็นโรค แต่จะปล่อยเชื้อออกมาได้ตลอดชีวิตเชียวแหละ ช่วงระบาดของโรค และแหล่งที่พบเชื้อโรค เล็ปโตสไปโรซีส จะเกิดชุกชุมในช่วงปลายฤดูฝนต่อฤดูหนาว แต่ก็พบได้ประปรายตลอดปี การที่พบบ่อยในช่วงเดือนตุลาคม - พฤศจิกายน เพราะพื้นดินแฉะมีน้ำขัง เช่น นาข้าว ทำให้เชื้อขังอยู่ คนจะได้รับเชื้อนี้ โดยการเดินย่ำน้ำที่มีเชื้อจากปัสสาวะของสัตว์ที่เป็นโรค โดยย่ำเท้าเปล่าไม่สวมรองเท้าบู๊ต ไม่สวมถุงมือ ทำให้เชื้อเล็ปโตสไปโรซีส เข้าทางรอยแผลถลอกหรือเยื่อมูก หรือการรับประทานเข้าไป หรือจากการสัมผัสโดยตรงกับสัตว์ที่เป็นโรคดังกล่าว ซึ่งจะพบโรคนี้มากตามจังหวัดที่ทำการปลูกข้าว บริเวณที่ต้องย่ำน้ำ หรือแหล่งน้ำขังที่มีพาหะนำโรคชุกชุม อาจรวมถึงบ่อน้ำขนาดใหญ่ด้วยอาการของโรค เมื่อได้รับเชื้อ 4 - 13 วัน โดยเฉลี่ย 10 วันจะมีอาการไข้ และปวดศรีษะ หนาวสั่น อ่อนเพลียมาก อาเจียน ปวดตามกล้ามเนื้อ และตาแดง โดยมากจะพบ ตัวเหลือง ตาเหลือง ไตเสือมหน้าที่ เลือดจาง และมีเลือดออกตามผิวหนังและเยื่อมูก อาจพบผื่นในบางครั้ง ระยะของโรคอาจกินเวลานาน 2 - 3 วันไปถึง 3 สัปดาห์ อาจพบว่าสามารถเป็นซ้ำได้อีก แต่อาจจะไม่ปรากฎอาการก็ได้ จะรักษาอย่างไรดี เมื่อมีอาการให้รีบไปโรงพยาบาลทันที เพราะต้องรักษาโดยเร็ว และรักษาต่อเนืองไปเป็นเวลา 6 วัน โดยให้ต้องได้รับยาปฎิชีวนะ ชนิดฉีดหรือชนิดกิน ให้ยาลดไข้ในรายที่ไข้สูง ให้น้ำและเกลือแร่ให้เพียงพอ และไม่จำเป็นต้องแยกผู้ป่วยที่เป็นโรค , ให้ทำลายเชื้อในปัสสาวะของผู้ป่วย , กระโถนปัสสาวะ ควรผ่านน้ำยาฆ่าเชื้อให้สะอาด และทุก ครั้งที่สัมผัสกับปัสสาวะของผู้ป่วย ควรล้างมือให้สะอาด แล้วโรคนี้ป้องกันได้ไหม ได้สิค่ะ โดยการให้ความรู้ด้านสุขศึกษาแก่ผู้ที่ทำงานสัมผัสกับน้ำที่อาจมีเชื้อปนเปื้อน โดยการแนะนำให้ใช้ถุงมือยาง และรองเท้ายาง(บู๊ต)และหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสัตว์ที่เป็นพาหะ ของโรคดังกล่าว และหลีกเลียงการว่ายน้ำที่อาจจะมีเชื้อโรคปนเปื้อนอยู่ และที่สำคัญคือ กำจัดหนู เท่านี้ก็ไม่ต้องกลัวโรคฉีหนู แล้วค่ะ

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด