ในกรณีของผู้ป่วยที่มีอาการนอนกรน และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์แล้วยังไม่ได้ผล การรักษาในลำดับต่อมาคือการใช้เครื่องมือ เช่น เครื่องอัดอากาศขณะหายใจเข้า และเครื่องมือทางทันตกรรม ซึ่งแพทย์จะแนะนำให้กับผู้ป่วย ปกติผู้ป่วยที่มีอาการนอนกรน เวลานอน เพดานอ่อน และลิ้นไก่ที่ยาว รวมถึงโคนลิ้นที่โต มักจะตกลงมาปิดกั้นทางเดินหายใจส่วนบน ทำให้ทางเดินหายใจส่วนบนตีบแคบ เครื่อง CPAP (continuous positive airway pressure) ซึ่งเป็นเครื่องอัดอากาศขณะหายใจเข้า
นอกจากจากเครื่อง CPAP แล้ว ยังมีเครื่องมือทางทันตกรรมที่ใช้รักษา เครื่องมือนี้จะช่วยยึดขากรรไกรบนและเลื่อนขากรรไกรล่างมาทางด้านหน้า ทำให้ทางเดินหายใจส่วนบนกว้างขึ้นในขณะที่นอนหลับ การรักษาผู้ป่วยนอนกรน หรือมีภาวะอุดกั้นทางเดินหายใจขณะหลับด้วยเครื่องทั้ง 2 ชนิดนี้ จะช่วยให้ร่างกายได้รับออกซิเจนอย่างต่อเนื่อง ส่งผลต่อคุณภาพการนอนหลับที่ดีของผู้ป่วย เครื่องมือเหล่านี้ ถือเป็นทางเลือกในการรักษาผู้ป่วยนอนกรน เพื่อบรรเทาภาวะหยุดหายใจขณะหลับ อย่างไรก็ดี ผู้ป่วยที่มีอาการนอนกรน หรือภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ควรออกกำลังกายที่ทำให้ หัวใจเต้นเร็วขึ้นอย่างต่อเนื่องกัน เช่น วิ่ง เดินเร็ว ว่ายน้ำ ขี่จักรยานฝืด อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 วันๆ ละ 30 นาที จะช่วยเพิ่มความตึงตัวให้กับกล้ามเนื้อบริเวณคอหอยไม่ให้หย่อนลงมาอุดกั้นทางเดินหายใจ
หนึ่งในความมุ่งมั่นของชาวศิริราช จากภาควิชาโสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา พัฒนาการรักษาอาการนอนกรน เลือกใช้เครื่องมือเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของคน ซึ่งจะส่งผลดีต่อสุขภาพร่างกายโดยรวม
โรงพยาบาลศิริราช
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล เลขที่ 2 ถนนวังหลัง แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ 10700