ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

อ้วนแล้วไง เดี๋ยวนี้ มีผ่าตัดลดอ้วนได้แล้วนะ รู้ยัง

อ้วนแล้วไง เดี๋ยวนี้ มีผ่าตัดลดอ้วนได้แล้วนะ รู้ยัง Thumb HealthServ.net
อ้วนแล้วไง เดี๋ยวนี้ มีผ่าตัดลดอ้วนได้แล้วนะ รู้ยัง ThumbMobile HealthServ.net

โรคอ้วนและความอ้วนเป็นปัญหาเสมอ ปัจจุบันมีนวัตกรรมการรักษาโดยการผ่าตัดเพื่อช่วยให้ผู้มีน้ำหนักมากได้มีโอกาสลดน้ำหนักลงได้ เรียกว่าการผ่าตัดกระเพาะเพื่อลดน้ำหนัก เช่น การใส่ห่วงรัดกระเพาะอาหาร การผ่าตัด การผ่าตัดบายพาส และล่าสุดที่กำลังเป็นทางเลือกใหม่ที่เจ็บน้อยลงแผลเล็กลง คือ การส่องกล้องเย็บกระเพาะ



ปัจจุบันมีนวัตกรรมการรักษาโดยการผ่าตัดเพื่อช่วยให้ผู้มีน้ำหนักมากได้มีโอกาสลดน้ำหนักลงได้ เรียกว่าการผ่าตัดกระเพาะเพื่อลดน้ำหนัก 

วิธีการทำได้หลายแบบ กล่าวคือ 
 
1. การใส่ห่วงรัดกระเพาะอาหาร (Gastric Banding) คือ การส่องกล้องเข้าไปใส่ห่วงเพื่อลดขนาดของกระเพาะอาหาร ให้มีขนาดเล็กลง ลดน้ำหนักส่วนเกินได้ร้อยละ 30-40
 
2. การผ่าตัดลดขนาดกระเพาะอาหาร (Sleeve Gastrectomy) คือ การส่องกล้องไปผ่าตัดกระเพาะอาหารให้เล็กลงเป็นท่อยาว ลดน้ำหนักส่วนเกินได้ร้อยละ 50-60
 
3. การผ่าตัดบายพาส (R-Y Gastric Bypass) คือ การส่องกล้องผ่ตัดกระเพาะให้เล็กลง และนำลำไส้เล็กส่วนต้นมาต่อกับกระเพาะส่วนที่เล็กลง ลดน้ำหนักส่วนเกินได้ร้อยละ 70-80
 
ส่วนวิธีใดจะเหมาะกับผู้ป่วยแบบใด ขึ้นกับการวินิจฉัยของแพทย์และความหมาะสมของผู้ป่วยแต่ละคน  [ข้อมูลจากรพ.จุฬา]

 
อ้วนแล้วไง เดี๋ยวนี้ มีผ่าตัดลดอ้วนได้แล้วนะ รู้ยัง HealthServ


 

การส่องกล้องเย็บกระเพาะอาหารเพื่อลดน้ำหนัก (Endoscopic Sleeve Gastroplasty:ESG)


การส่องกล้องเย็บกระเพาะอาหารเป็นการลดน้ำหนักด้วยวิธีการแบบใหม่ ซึ่งเลียนแบบประโยชน์ของการผ่าตัดกระเพาะอาหารเพื่อลดน้ำหนักด้วยวิธี Sleeve Gastrectomy แต่ใช้วิธีการที่ไม่มีแผลผ่าตัดที่หน้าท้อง ดังนั้นจึงลดผลข้างเคียงจากการเกิดอาหารแทรกซ้อนและทำให้คนไข้ฟื้นตัวได้เร็วขึ้น อย่างไรก็ตามวิธีการนี้ไม่ได้มาทดแทนวิธีการผ่าตัดกระเพาะอาหารแบบมาตรฐาน แต่ถือเป็นทางเลือกอีกอย่างหนึ่งที่ปลอดภัยและได้ผลลัพธ์ที่ดี

ประโยชน์ของการส่องกล้องเย็บกระเพาะอาหารเพื่อลดน้ำหนัก นอกจากช่วยลดน้ำหนักแล้วยังช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคแทรกซ้อนที่มากับความอ้วน เช่น โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ โรคเบาหวานชนิดที่ 2 โรคข้อเสื่อม โรคไตวาย โรคมะเร็งและโรคหลอดเลือดสมอง [รพ.บำรุงราษฎร์]

 



เมื่อใดที่ควรผ่าตัดกระเพาะ 

สำหรับกรณีผู้ป่วยโรคอ้วนที่เหมาะสม กับการใช้วิธีผ่าตัดกระเพาะ อ้างอิงตามเกณฑ์ของสมาคมผ่าติดโรคอ้วนและเมตาโบลิกแห่งประเทศไทย (Thailand Society for Metabolic & Bariatric Surgery : TSMBS) ได้แก่
  • ผู้ที่มี BMI z 37.5 kg/m2
  • ผู้ที่มี BMI Z32.5 kg/m2 และมีโรคร่วม
  • ผู้ที่มี BMI 230 kg/m และมีโรคร่วมทางเมตาโบลิก หรือ
เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ไม่สามารถควบคุมได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
เพราะ "โรคอ้วน" ทำให้เกิดโรคได้ทุกระบบในร่างกาย
  • หยุดหายใจขณะนอนหลับ
  • ไมเกรน
  • ไขมันพอกตับ
  • ตับแข็ง
  • ไขมันอุดตันในเส้นเลือดหิวใจ
  • กรดไหลย้อน
  • โรคมะเร็ง
  • มีบุตรยาก
  • ข้อเข่าเสื่อม
  • แผลเรื้อรังที่ขาจากเส้นเลือดดำอุดกั้นเรื้อรัง
อ้วนแล้วไง เดี๋ยวนี้ มีผ่าตัดลดอ้วนได้แล้วนะ รู้ยัง HealthServ
 

วิธีปฎิบัติตัว หลังผ่าตัดลดขนาดกระเพาะอาหารแล้ว



หลังจากผ่าตัดลดขนาดกระเพาะอาหารแล้ว จะมีวิธีปฎิบัติตัวอย่างไร เลือกรับประทานแบบไหน หรือจะต้องควบคุมอาหารอย่างไรบ้าง

วันนี้เรามีข้อมูลดีดี จากคุณหมอพลเดช วิชาจารย์  ศัลยแพทย์เชี่ยวชาญผ่าตัดผ่านกล้องแผลเล็กและผ่าตัดลดน้ำหนัก (Minimally Invasive Surgery) รพ.จุฬารัตน์ชลเวช มาฝากกันค่ะ ☺️

0 หมายถึง งดอาหารจำพวกแป้งและน้ำตาลให้เป็นศูนย์ ได้แก่ ข้าวสวย เส้นก๋วยเตี๋ยว ขนมจีน เส้นพาสต้า วุ้นเส้น ขนมปัง น้ำหวาน น้ำอัดลม น้ำผลไม้ ชาไข่มุก เนื่องจากอาหารเหล่านี้จะถูกดูดซึมในรูปแบบของน้ำตาลและเปลี่ยนเป็นไขมันในเซลล์ร่างกาย

1  หมายถึง ทานเนื้อสัตว์ให้ได้เป็นปริมาณ 1 กำมือของเรา เนื่องจากในระยะแรกร่างกายจะสลายโปรตีนจากกล้ามเนื้อมาเป็นพลังงานร่วมกับไขมันด้วยการทานอาหารจำพวกเนื้อสัตว์ซึ่งเป็นแหล่งสำคัญของโปรตีนและกรดอะมิโนจำเป็นจะช่วยให้ร่างกายไม่ขาดโปรตีนและลดอาการผมหลุดร่วงได้

2  หมายถึง ดื่มน้ำเปล่าให้ได้วันละอย่างน้อย 2 ลิตร เนื่องจากร่างกายมีการเผาผลาญไขมันส่วนเกินจึงทำให้ไตทำงานมากขึ้นการดื่มน้ำจะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดภาวะไตทำงานหนัก โดยการจิบบ่อยๆ หลีกเลี่ยงการดื่มเป็นแก้ว เพราะจะทำให้มีอาการจุกแน่นได้

3  หมายถึง ทานอาหารให้ครบ 3 มื้อโดยไม่งดมื้อใดมื้อหนึ่ง และเคี้ยวให้ได้ 30 ครั้งก่อนกลืน จะช่วยลดอาการกลืนติด อาเจียน หรือจุกแน่นหลังทานอาหารและไม่ทำให้กระเพาะขยายขนาด

4  หมายถึง ออกกำลังกายวันละ 40 นาที ให้อัตราการเต้นของหัวใจอยู่ที่ 120 - 130 ครั้งต่อนาที หรือประมาณ zone 2 เพื่อให้ร่างกายนำไขมันออกมาเผาผลาญให้ได้มากที่สุด

5  หมายถึง ออกกำลังกายให้ได้ 5 วันต่อสัปดาห์ อย่างสม่ำเสมอ เน้นการออกกำลังกายที่มีการกระแทกหรือบาดเจ็บน้อยในช่วงแรก ได้แก่ การว่ายน้ำ โดยสามารถเริ่มได้ตั้งแต่สองสัปดาห์หลังการผ่าตัด หรือเมื่อรู้สึกตัวเบาลงและพร้อมที่จะออกกำลังกาย 
 

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด