ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพ รวมโปรแกรมสุขภาพ บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิดบริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event Health Economy ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

โลโก้ “30 บาทรักษาทุกที่” ชุดใหม่ สีแดงชัดเจน สังเกตง่าย

โลโก้ “30 บาทรักษาทุกที่” ชุดใหม่ สีแดงชัดเจน สังเกตง่าย Thumb HealthServ.net
โลโก้ “30 บาทรักษาทุกที่” ชุดใหม่ สีแดงชัดเจน สังเกตง่าย ThumbMobile HealthServ.net

แนะนำ โลโก้ 30 บาทรักษาทุกที่ ชุดใหม่ โดดเด่น ชัดเจน สังเกตง่าย ไม่สับสน ประชาชนเห็นโลโก้นี้ ณ หน่วยบริการระดับปฐมภูมิใด สามารถเดินเข้าไปรับบริการได้ทันที ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว ไม่ต้องใช้ใบส่งตัว

โลโก้ “30 บาทรักษาทุกที่” ชุดใหม่ สีแดงชัดเจน สังเกตง่าย HealthServ
           11 สิงหาคม 2567 นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะประธานกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.)  เปิดเผยว่า ตามที่ได้มีกำหนดการเริ่มให้บริการนโยบาย  “30 บาทรักษาทุกที่” ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ในวันที่ 26 สิงหาคม 2567 นี้   เพื่อไม่ให้ประชาชนเกิดความสับสนและเข้ารับบริการได้อย่างถูกต้อง สปสช. ได้จัดทำ  โลโก้ 30 บาทรักษาทุกที่ ชุดใหม่ ขึ้น เพื่อสื่อสารความชัดเจนของหน่วยบริการที่จะให้บริการนี้ ต่อประชาชน 


          โลโก้ 30 บาทรักษาทุกที่ ที่จัดทำใหม่นี้  เน้นให้ มีความเด่นชัด ชัดเจน ด้วยการใช้ สีแดง ที่สื่อถึงการรักษาพยาบาล ร่วมกับข้อความ  “30 บาทรักษาทุกที่”  โดยเน้นที่หมายเลข 30 ขนาดใหญ่  ร่วมกับเครื่องหมาย "ถูก"  บนสัญลักษณ์กากบาทที่สื่อถึง “กาชาด”   ส่วนแถวล่างเป็นข้อความ รักษาทุกที่ มีลูกเล่นเล็กๆ ด้วยการใช้เครื่องหมายถูก แทนอักษร ไม้หันอากาศ แบบคำปกติ  เพื่อย้ำว่าเป็น สถานที่ที่ใช่  ประชาชนมาถูกที่แล้ว  เพื่อรับบริการถูกต้องถูกใจ   สปสช.ระบุเพิ่มว่า สีแดง นั้น ยังบ่งบอกถึงความอุ่นใจในบริการดูแล อีกด้วย  

โลโก้ “30 บาทรักษาทุกที่” ชุดใหม่ สีแดงชัดเจน สังเกตง่าย HealthServ

เห็นที่ไหน เข้าใช้บริการได้ด้วยบัตรปชชใบเดียว


      “ตั้งแต่วันที่ 26 สิงหาคมนี้ ซึ่งจะเป็นวันคิกออฟ 30 บาทรักษาทุกที่ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร จะเห็นสัญลักษณ์ “30 บาทรักษาทุกที่” ติดที่หน่วยบริการในระดับปฐมภูมิ ท่านสามารถเดินเข้ารับบริการได้เลย ไม่ต้องใช้ใบส่งตัว ใช้แค่บัตรประชาชนใบเดียว โดยใช้สิทธิบัตรทอง 30 บาท แต่ถ้าอาการของท่านเกินจากศักยภาพที่หน่วยบริการปฐมภูมิและหน่วยบริการนวัตกรรมจะให้การดูแลได้ ก็จะได้รับการส่งต่อไปยังโรงพยาบาลที่รับส่งต่อ เรียกว่าเป็นการเพิ่มการเข้าถึงบริการ เพิ่มความสะดวก ลดความแออัดการเข้ารับบริการให้กับประชาชน โดยการมีส่วนร่วมจากหน่วยงานและองค์กรที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน สำหรับตราสัญลักษณ์ใหม่นั้นจะเริ่มติดที่หน่วยบริการที่เข้าร่วมในพื้นที่กรุงเทพมหานครก่อน หลังจากนั้นจะทยอยติดที่หน่วยบริการในจังหวัดนำร่องที่ผ่านมาให้ครบถ้วน เพื่อให้ประชาชนใช้บริการได้สะดวกและง่ายขึ้น” ประธานบอร์ด สปสช. กล่าว


 

หน่วยบริการผ่านเกณฑ์

 
       สปสช. ระบุว่า หน่วยบริการปฐมภูมิที่ติดโลโก้นี้ได้ จะต้อง ผ่านหลักเกณฑ์ 3 ข้อ

      1.มีระบบอิเล็กทรอนิกส์ในการยืนยันตัวตนผู้ใช้บริการทั้งก่อนการใช้บริการและหลังการใช้บริการ หรือที่เรียกว่าการเปิดและปิดสิทธิในการให้บริการผู้ใช้สิทธิบัตรทองได้

      2.ได้ทำการเชื่อมข้อมูลสุขภาพกับ สปสช. แล้ว

      3. มีระบบส่งต่ออิเล็กทรอนิกส์ (e-Referral) เพื่อเชื่อมข้อมูลกับโรงพยาบาลรับส่งต่อในเครือข่ายในกรณีที่อาการผู้ป่วยเกินศักยภาพให้บริการได้ 

 
      โลโก้ 30 บาท ใหม่ นี้ จะติดที่หน่วยบริการระดับปฐมภูมิ  ได้แก่ รพ.สต., สถานีอนามัย, ศูนย์สุขภาพชุมชน, โรงพยาบาลชุมชน (รพช.) ประจำอำเภอ, และ โรงพยาบาลศูนย์ (รพศ.)/โรงพยาบาลทั่วไป (รพท.) ประจำจังหวัด ขณะที่ในกรุงเทพมหานคร หน่วยบริการระดับปฐมภูมิจะเป็น คลินิกชุมชนอบอุ่น และศูนย์บริการสาธารณสุข
       
        และ (อนาคต) อาจมีหน่วยปฐมภูมิของโรงพยาบาลสังกัดกรมการแพทย์เข้าร่วม

        สำหรับโรงพยาบาลรัฐสังกัดอื่นๆ นั้น เป็นหน่วยบริการในระดับทุติยภูมิและตติยภูมิ ถือเป็นหน่วยบริการรับส่งต่อที่จะต้องใช้ใบส่งตัวในการเข้ารักษา




 

โอกาสเพิ่มทางเลือกปฐมภูมิอื่นๆ 

 
       สำหรับอนาคต นอกจากหน่วยปฐมภูมิที่กล่าวถึงแล้ว  อาจมีหน่วยบริการนวัตกรรมที่เป็นทางเลือกใหม่ มาเข้าร่วมกับสปสช.ได้อีก  ได้แก่ ร้านยาคุณภาพและคลินิกเอกชน เช่น คลินิกเวชกรรม คลินิกทันตกรรม คลินิกพยาบาล คลินิกเทคนิคการแพทย์ คลินิกแพทย์แผนไทย คลินิกกายภาพบำบัด ฯลฯ


     การส่งต่อ  จะเกิดขึ้นในกรณีที่ผู้ป่วย มีอาการป่วยเกินศักยภาพที่หน่วยบริการปฐมภูมิจะให้การรักษาได้  จะได้รับการส่งต่อไปรับบริการที่โรงพยาบาลในเครือข่าย  ซึ่งระบบการส่งต่อจะมีทั้งในรูปแบบ 1) ใบส่งตัวกระดาษ และ 2) ใบส่งตัวอิเล็กทรอนิกส์หรือแบบออนไลน์  ขึ้นอยู่กับความพร้อมของหน่วยบริการในการเชื่อมโยงข้อมูลสุขภาพ

     
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด