อัลไซเมอร์ เป็นโรคสมองเสื่อมชนิดหนึ่งที่พบได้บ่อยที่สุด โดยจะมีการเสื่อมของเซลล์สมองทุกส่วนเป็นแล้วไม่มีวันหาย ผู้ป่วยจะไม่สามารถควบคุมอารมณ์ตัวเอง ไม่สามารถแยกทุกผิด มีปัญหาในเรื่องการใช้ภาษา การประสานงานของกล้ามเนื้อเสียไป ความจำเสื่อม ในระยะท้ายของโรคจะสูญเสียความจำทั้งหมด ในสหรัฐประมาณว่ามีผู้ป่วยเป็นโรคนี้กว่า3-4 ล้านคน และจะมีเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ทั่วโลก เนื่องจากประชากรมีอายุยืนยาวขึ้น ในประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคนี้ประมาณ 2-4 % ของผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปี ยิ่งอายุมากขึ้นก็จะพบผู้ป่วยด้วยโรคนี้มากขึ้น กล่าวคือจะพบเพิ่มขึ้น 2 เท่าทุก 5 ปี หลังอายุ 60 ปี
แม้ว่าโรคนี้จะไม่สามารถป้องกัน และไม่สามารถรักษา ญาติสามารถช่วยผู้ป่วยโดยการศึกษาโรคนี้และช่วยผู้ป่วยอย่างถูกวิธี
สาเหตุของโรค
จากความผิดปกติในเนื้อสมองจะพบลักษณะที่สำคัญสองอย่างคือกลุ่มใยประสาทที่พันกัน Neurofibrillary Tangles.และมีสาร Beta Amyloid ในสมอง ใยสมองที่พันกันทำให้สารอาหารไม่สามารถไปเลี้ยงสมอง การที่สมองมีคราบ Beta Amyloid หุ้มทำระดับ acetylcholine สมองลดลงสาร acetylcholine จะมีส่วนสำคัญในเรื่องการเรียนรู้และความจำ
การอักเสบ inflammatory สาร amyloid เมื่อสลายจะให้สารอนุมูลอิสระออกมา อนุมูลนี้จะทำให้เกิดการอักเสบของเซลล์สมอง
กรรมพันธุ์ โรค Alzheimer ทีเกิด late onset จะมีการเพิ่มของ gene ที่ควบคุมการสร้าง apolipoprotein E4 (ApoE 4) ส่วนที่เกิด early onset จะมีการเปลี่ยนแปลงของ gene presenilin-1 (PS1) และ presenelin-2 (PS2)
อาการเด่นของโรคอัลไซเมอร์ ก็คือ ความจำเสื่อมหรือ หลงลืม เรื่องที่ลืมก็จะเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นใหม่ๆ ในชีวิตประจำวัน เช่น ลืมปิดเตารีด ลืมกินยา หรือใครมาพบวันนี้ ลืมชื่อคน ลืมของ หาของใช้ส่วนตัวไม่พบ ชอบพูดซ้ำ ถามคำถามซ้ำ เพราะจำคำตอบไม่ได้ มีปัญหาเรื่องการพูดและการใช้ภาษา คือจะคิดคำศัพท์บางคำไม่ออก ใช้คำใกล้เคียงแทน สติปัญญาความเฉลียวฉลาดลดลง ทักษะต่างๆ จะเริ่มสูญไป อารมณ์หงุดหงิด และอาจท้อแท้ เพราะอาการดังกล่าว
การดำเนินโรค
อาการจะเริ่มเป็นตอนอายุ 65 ปี แต่บางรายเป็นเร็วกว่านั้นอาจจะเริ่มตอนอายุ 40 ปีอาการเริ่มเป็นใหม่ๆจะมีอาการขี้ลืม และสูญเสียสมาธิ ซึ่งอาการแรกๆอาจจะวินิจฉัยยากเพราะอาการนี้ก็เป็นกับผู้สูงอายุเป็นส่วนใหญ่ การดำเนินโรคจะค่อยเป็นค่อยไป และทรุดลงในช่วงระยะ 1-3 ปี มีปัญหาเรื่องวันเวลาสถานที่ และอาจหลงทางกลับบ้านไม่ถูก ลืมชื่อญาติสนิท หวาดระแวง สับสน โดยเฉพาะกลางคืนอาจไม่นอนทั้งคืน จะออกนอกบ้าน และมีพฤติกรรมก้าวร้าว บางคนก็กลับเปลี่ยนไป เป็นไม่สนใจสิ่งแวดล้อม งดงานอดิเรกที่เคยทำ เช่น เก็บกวาดต้นไม้ หรือดูทีวี อ่านหนังสือพิมพ์ ส่วนหนึ่งเพราะดูและอ่านไม่ค่อยเข้าใจ คิดคำนวณไม่ได้ ใช้จ่ายทอนเงินไม่ถูก เมื่อเวลาผ่านไปอีก 2-3 ปี อาการยิ่งทรุดหนัก ความจำเลวลงมาก จำญาติไม่ได้ เคลื่อนไหวช้าลง ไม่ค่อยยอมเดิน หรือเดินก็เหมือนก้าวขาไม่ออก ลังเล ทำกิจวัตรประจำวันด้วยตนเอง เช่นอาบน้ำ แปรงฟัน รับประทานอาหารไม่ได้ พูดน้อยลง ไม่เป็นประโยค ที่สุดก็ไม่พูดเลย กลั้นปัสสาวะ อุจจาระไม่ได้ ต้องมีคนดูแลตลอด 24 ชั่วโมง ผู้ป่วยจะเสียชีวิตในเวลา 2-10 ปี โดยเฉลี่ย 10 ปี ด้วยโรคแทรก เช่น ติดเชื้อจากปอดบวม หรือแผลกดทับ
โรค Alzheimer สามารถแบ่งระยะของโรคได้ 3 ระยะ
ได้แก่
1) ระยะเริ่มแรกผู้ป่วยจะรับรู้ว่าขี้ลืม
ลืมปิดเตารีด ลืมปิดประตู ลืมชื่อคน ลืมรับประทานยา ต้องให้คนช่วยเขียนรายการที่จะทำ
2) ระยะที่สองผู้ป่วยจะสูญเสียความจำ
โดยเฉพาะความจำที่เพิ่งเกิดใหม่ๆโดยอาจจะจำเรื่องราวในอดีต เริ่มใช้คำพูดไม่ถูกต้อง อารมณ์จะผันผวน
3) ระยะที่สาม ผู้ป่วยจะสับสน
ไม่รู้วันรู้เดือน บางรายมีอาการหลงผิด หรือเกิดภาพหลอน บางรายอาจจะก้าวร้าวรุนแรง ปัสสาวะราด ไม่สนใจตนเอง
อันที่จริงโรคนี้มีมานานแล้วโดย Dr. Alois Alzheimer เป็นแพทย์ชาวเยอรมันเป็นผู้บรรยายไว้ตั้งแต่ปี คศ.1906 ที่นำมากล่าวขานกันระยะหลังนี้มากขึ้น ด้วยเหตุมีผู้ที่เคยเป็นผู้นำประเทศอย่าง Ronald Reagan ป่วยเป็นโรคนี้ และ วงการแพทย์ค้นพบปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องและอาจเป็นสาเหตุของโรคนี้มากขึ้น ที่สำคัญคือ สามารถผลิตยาที่ช่วยทำให้อาการของอัลไซเมอร์ดีขึ้น
ปัจจัยเสี่ยง
ปัจจัยเสี่ยงคือ
1) อายุ ยิ่งอายุมากยิ่งมีโอกาสเป็นมากดังกล่าว พบว่าร้อยละ25ของผู้ป่วยอายุ 85ปี เป็นโรคนี้
2) โรคความดันโลหิตสูงเรื้อรัง โรคความดันโลหิตสูงทำให้ผู้ป่วยสูญเสียความจำ การรักษาความดันจะทำให้ความจำดีขึ้น
3) เรื่องของกรรมพันธุ์ ถ้ามีบุคคลในครอบครัวป่วยด้วยโรคอัลไซเมอร์ โอกาสที่จะเป็นก็มากขึ้น เรื่องพันธุกรรมนี้มีความก้าวหน้าขึ้นมาก เช่น ทราบว่าความผิดปกติของยีน (gene) ที่สร้าง amyloid precursor protein จะทำให้ได้โปรตีนที่ผิดปกติ ก่อให้เกิดตะกอนที่เรียกว่า amyloid plaques ในเนื้อสมอง และผู้ที่มี gene บนโครโมโซมที่ 19 ชนิด Apolipoprotein E4 จะมีโอกาสเกิดโรคอัลไซเมอร์ได้มากกว่าคนปกติ นอกจากนี้ ยังพบโปรตีนที่ผิดปกติอื่นๆ เช่น Tau protein ที่อาจเกี่ยวข้องกับการเกิดกลุ่มใยประสาทที่พันกัน (Neurofibrillary tangles) ที่พบเป็นลักษณะจำเพาะของพยาธิสภาพของโรคอัลไซเมอร์
ยากับโรคอัลไซเมอร์
การใช้ฮอร์โมนเอสโตรเจน เริ่มมีความสำคัญ ในต่างประเทศพบว่าผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนที่รับประทานฮอร์โมนเอสโตรเจนมีโอกาสเกิดโรคอัลไซเมอร์น้อยกว่า และเป็นโรคช้ากว่าผู้ที่ไม่ได้ใช้ยานี้
ยากลุ่มต้านการอักเสบที่เรียกว่า NSAID ก็พบว่า อาจมีบทบาทลดอุบัติการณ์ของโรค เนื่องจากพบว่าผู้ที่ป่วยเป็นอัลไซเมอร์มีประวัติใช้ยากลุ่มนี้น้อยกว่าผู้ที่ไม่ได้เป็น นอกจากนี้ยาหรือสารต้านอ๊อกซิแดนท์ต่างๆ เช่น วิตามิน C และ E รวมถึงใบแปะก๊วย (gingo bibloa) ก็กำลังอยู่ในความสนใจ และมีการศึกษากันอย่างกว้างขวาง ว่าอาจจะช่วยหรือป้องกันโรคอัลไซเมอร์ได้
ผู้ป่วยอัลไซเมอร์จะมีปริมาณเซลล์สมองลดลง และสารสื่อประสาท อะเซติลโคลีนลดลงด้วย สารสื่อประสาทนี้เป็นตัวเชื่อมโยงคำสั่งต่างๆ ของเซลล์สมองที่ควบคุมด้านความจำ ความคิดอ่านและพฤติกรรมต่างๆ เมื่อสารอะเซติลโคลีนลดลง จึงทำให้เกิดอาการต่างๆของโรคอัลไซเมอร์ ปัจจุบันมียาที่ช่วยเพิ่มปริมาณของสารอะเซติลโคลีนในสมอง โดยออกฤทธิ์ต้านเอ็นไซม์อะเซติลโคลีนเอสเตอเรสที่ย่อยสลายอะเซติลโคลีน ยานี้จึงช่วยให้ผู้ป่วยอัลไซเมอร์ มีอาการดีขึ้นได้ และชลอการทรุดลงของโรคถ้าได้ใช้ในระยะเริ่มแรก แต่จะไม่ทำให้โรคหายขาด
การดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์
การดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์ มีความสำคัญเป็นอย่างมาก ต้องให้ความเข้าใจ เห็นใจ ว่าผู้ป่วยไม่ได้ตั้งใจที่จะก้าวร้าว หงุดหงิดอย่างที่เราเห็น แต่เป็นจากตัวโรคเอง ไม่ควรทำให้ผู้ป่วยรู้สึกไม่มั่นใจ อาย หรือหงุดหงิด เช่น ถ้าคุยอะไรแล้วผู้ป่วยนึกไม่ค่อยออกหรือจำไม่ได้ ควรเปลี่ยนเรื่อง เอาเรื่องที่คุยแล้วมีความสุข ผู้ป่วยไม่สามารถคิดเลขได้ ไม่สามารถเล่นดนตรีแต่สามารถร้องเพลงพร้อมกับวิทยุ เล่นหมากรุกไม่ได้ แต่สามารถเล่นเทนนีสได้ หรือถ้ามีความคิดอะไรผิดๆ ไม่ควรเถียงตรงๆ ถ้าไม่จำเป็นก็อาจไม่ต้องอธิบายมาก เนื่องจากจะทำให้หงุดหงิด และหมดความมั่นใจ
ควรจัดห้องหรือบ้านให้น่าอยู่ สดใส ใช้สีสว่างๆ ถ้าในรายที่ชอบเดินไปมามากๆ ต้องใช้เทคนิคการเบี่ยงเบนความสนใจในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรืออาจใช้การพาดเสื้อผ้า ไว้ที่ลูกบิดประตูเพื่อไม่ให้เห็นลูกบิด ต้องเก็บของมีคม หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าให้มิดชิด ปิดวาวล์เตาแก๊สไว้เสมอ เป็นต้น
ในรายที่มีอาการที่เริ่มจะดูแลยาก เช่น ก้าวร้าวมาก เอะอะโวยวาย สับสนมาก หรือ เดินออกนอกบ้านบ่อยๆ ควรพาไปพบแพทย์ระบบประสาท เนื่องจากอาจจำเป็นต้องใช้ยาช่วยลดอาการดังกล่าว
การดูแลผู้ป่วยตามระยะของโรค
ผู้ป่วยในระยะแรก
1) บอกการวินิจฉัยให้แก่ผู้ป่วยเพื่อที่แพทย์จะสามารถให้การรักษาได้ตั้งแต่เริ่มเป็น แพทย์ ผู้ที่ดูแล และผู้ป่วยจะต้องมาปรึกษาว่าจะเกิดภาวะอะไรกับผู้ป่วย เช่นความจำ อารมณ์เป็นต้น
2) อารมณ์ เนื่องจากผู้ป่วยจะมีอารมณ์ที่ผันผวนอย่างรวดเร็ว อาจจะกร้าวและโกรธจัด พฤติกรรมนี้เกิดจากความไม่สมดุลของสารเคมีในสมอง และเกิดจากที่ผู้ป่วยสูญเสียความรู้และไม่สามารถเข้าใจสิ่งต่างๆรอบตัว และไม่สามารถใช้คำพูดได้อย่างเหมาะสมจึงทำให้ผู้ป่วยมีอารมณ์ที่แปรปรวน ผู้ให้การดูแลต้องจัดสิ่งแวดล้อมให้เรียบง่าย ให้เงียบ เวลาพูดกับผู้ป่วยต้องช้าๆ และให้ชัดเจน ไม่ให้ทางเลือกกับผู้ป่วยมากไปเนื่องจากผู้ป่วยไม่สามารถตัดสินใจได้ถูกต้อง เช่นให้ผู้ป่วยเลือกเสื้อผ้าเอง ผู้ป่วยไม่สามารถเลือกเสื้อผ้าให้เข้ากันซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยโกรธ เมื่อผู้ป่วยโกรธ หรือตะโกนอาจจะหาของว่างให้รับประทาน หรือขับรถให้ผู้ป่วยเที่ยวซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยสงบ ผู้ให้การบริการจะต้องมีอารมณ์ทีสงบ อารมณ์ไม่ฉุนเฉียว
3) ความสะอาด ผู้ป่วยมักจะไม่อยากอาบน้ำ ผู้ป่วยอาจจะเลือกเสื้อผ้าไม่เหมาะสมผู้ดูแลอย่าโกรธ ต้องแสดงความเห็นใจ
4) การขับรถ เมื่อวินิจฉัยว่าเป็นโรคนี้ห้ามขับรถ ต้องป้องกันผู้ป่วยออกนอกบ้านโดยการ lock ประตูและอาจจะติดสัญญาณเตือนเมื่อผู้ป่วยออกนอกบ้านพยายามให้ผู้ป่วยออกกำลัง เช่นเดินครั้งละ 30 นาทีวันละ 3 ครั้งจะทำให้ผู้ป่วยเพลียและหลับง่าย
5) การนอนหลับ มีคำแนะนำให้เปิดไฟให้สว่างในเวลากลางวัน จะทำให้ผู้ป่วยหลับในเวลากลางคืน
การดูและในระยะท้ายของโรค
1) ผู้ป่วยจะกลั้นปัสสาวะไม่ได้ หากมีอาการดังกล่าวจะต้องตรวจดูว่ามีโรคติดเชื้อหรือไม่ ผู้ดูแลสามารถกะเวลาปัสสาวะได้โดยกำหนดเวลา และปริมาณน้ำและอาหารที่ให้ และสามารถพาผู้ป่วยไปห้องน้ำได้ทัน
2) การเคลื่อนไหว ระยะท้ายผู้ป่วยจะจำไม่ได้ว่าเคลื่อนไหวอย่างไร จะนอนหรือนั่งรถเข็น ผู้ดูแลต้องคอยพลิกตัวผู้ป่วยทุกสองชั่วโมง ทำกายภาพบำบัดเพื่อแก้ข้อติด
3) การรับประทานอาหาร ผู้ป่วยจะกลืนอาหารไม่ได้ต้องให้อาหารทางสายยาง ผู้ดูแลต้องระวังสำลักอาหาร
สรุป ข้อควรรู้เกี่ยวกับโรคอัลไซเมอร์ ได้แก่
1) อัลไซเมอร์เป็นโรค ไม่ใช่ภาวะสมองเสื่อมตามธรรมชาติ หรือตามอายุที่มากขึ้น
2) สาเหตุยังไม่ทราบชัด แต่น่าจะมีส่วนจากพันธุกรรม อาจมีปัจจัยอื่นร่วมด้วย ดังนั้นสามารถเกิดได้กับทุกคน
3) ขณะนี้ ยังไม่สามารถป้องกัน และไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้
4) การดูแล ความเห็นอกเห็นใจ และความเข้าใจ เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในการดูแลผู้ป่วย
5) ถ้ามีญาติที่เริ่มมีอาการหลงลืม ควรพบแพทย์ระบบประสาท อาจเป็นสาเหตุอื่นที่รักษาหายขาดได้
6) โรคนี้มักเกิดในผู้สูงอายุ ดังนั้น ผู้ที่รู้สึกว่าหลงลืมบ่อยโดยที่อายุไม่มาก (20-50 ปี) มักเกิดจากสาเหตุอื่น ส่วนมากเกิดจากการพักผ่อนไม่พอ เครียด ไม่มีสมาธิ ควรแก้ไขสิ่งเหล่านี้ ถ้าไม่ดีขึ้นค่อยปรึกษาแพทย์ เพราะมักเป็นสาเหตุที่รักษาให้หายขาดได้
7) เนื่องจากยังไม่มีการวินิจฉัยที่แน่นอนการวินิจฉัยจะอาศัยหลัก 3 ประการ
มีอาการสมองเสื่อม อาการจะเริ่มจากความจำเสื่อม การเรียนรู้เสียไป
อาการของโรคจะดำเนินต่อเนื่องไม่หาย
ต้องแยกภาวะหรือโรคอื่นที่ทำให้เกิดอาการสมองเสื่อม
8) ไม่ควรกลัวโรคนี้จนเกินไป เนื่องจากขณะนี้มีการวิจัยเรื่องนี้มากมายทั่วโลก เชื่อว่าอีกไม่นานนัก อาจมียาที่รักษาหรือป้องกันได้
9) ในทางการแพทย์ ยังไม่แนะนำให้ทานยาใดๆเพื่อป้องกัน เพราะมักไม่ได้ผล และยาหรือสมุนไพรหรืออาหารเสริมเหล่านี้ส่วนมากมีราคาแพง และมักโฆษณาเกินความจริง
หากท่านสงสัยว่าอาจเป็นอัลไซเมอร์ ควรมาพบประสาทแพทย์เพื่อรับการตรวจโดยละเอียด และวินิจฉัยแยกโรค เนื่องจากมีโรคหลายอย่างที่มีอาการความจำเสื่อม ซึ่งรักษาให้หายได้ เช่น โรคไทรอยด์ , ซิฟิลิสขึ้นสมอง หรือโรคขาดวิตามิน B12 เป็นต้น ถ้าหากได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคอัลไซเมอร์ ก็อย่าตกใจ เพราะแพทย์ช่วยท่านได้.
“อัลไซเมอร์” ชื่อนี้คงไม่มีใครอยากเป็น
งั้นเรามาช่วยฝึกปลุกสมอง ให้ออกกำลังแบบง่ายๆ กันค่ะ
1. Red triangle button
ฝึกเดินถอยหลัง ให้ลองหัดเดินถอยหลังบ้าง หาพื้นที่โล่งกว้างยืนให้มั่น แล้วค่อยๆก้าวถอยหลังช้า ๆ ทีละก้าว ทุกย่างก้าวจะต้องมั่นคง อย่าเร่งรีบ ควรทำให้ได้วันละ 50 ก้าว เมื่อคล่องแล้วจึงเพิ่มจำนวน
2. Blue triangle button
ฝึกใช้มือข้างที่ไม่ถนัด ลองเปลี่ยนความเคยชินแบบเดิม เพื่อกระตุ้นให้สมองแล่นมากขึ้น
3. Red circle button
ออกกำลังกายเบา ๆ ยามเช้าหรือยามเย็น ช่วงแดดอ่อน ๆ ให้เดินเท้าเปล่าเหยียบบนผืนดิน หรือเหยียบไปบนสนามหญ้าก็ได้ แล้วเดินแกว่งแขนเบา ๆ หรือวิ่งเหยาะ ๆ ช่วยกระตุ้นให้เลือดลมไหลเวียนดี
4. Blue circle button
ขยันดื่มน้ำ การดื่มน้ำสะอาดอย่างน้อยวันละ 8 แก้ว จะทำให้สมองแจ่มใสขึ้น เพราะในเนื้อสมองของเรามีน้ำร้อยละ 85 แม้สมองจะหนักเพียงร้อยละ 2 ของน้ำหนักตัวแต่กลับต้องการเลือดหล่อเลี้ยงถึง 5%
การขาดน้ำจะทำให้ประสิทธิภาพของสมองลดลง เกิดอาการซึมเศร้า และก่อให้เกิดโรคร้ายสารพัด
5. Red circle
ทานอาหารเช้าอย่างราชา ร่างกายคนเราจำเป็นต้องได้รับสารอาหารเข้าไปเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับเซลล์ต่าง ๆ รวมทั้งเซลล์สมองด้วย ดังนั้น อาหารเช้าจึงเป็นมื้อสำคัญที่สุด
6. Blue circle
ฝึกบวกเลข และฝึกอ่าน ช่วงรถติดควรบริหารสมองด้วยการเล็งไปยังเลขทะเบียนรถคันหน้า หรือมองไปที่เบอร์โทรศัพท์หลังรถแท็กซี่ ถ้าเบื่อบวกเลขในใจ ก็ให้เปลี่ยนมาฝึกอ่านป้ายโฆษณาตามทาง
7. Purple square
หัดเรียนรู้และลองทำสิ่งใหม่ ๆ ช่วยให้กระบวนการคิดในสมองแล่นปรู๊ดดียิ่งขึ้น ลองเรียนจัดดอกไม้, ทำขนม หรือเล่นดนตรี
8. Pink square
ฝึกนับเลขถอยหลัง ท่าน ส.ว.ทั้งหลายควรทำบ่อย ๆ เพราะช่วยลดอาการสมองฝ่ออย่างได้ผลลองเริ่มจากหลักสิบก่อนเช่น 50 ไล่ถอยหลังมาถึงเลข 1 ควรนับเสียงดัง ๆ หรือเขียนลงกระดาษยิ่งเวิร์ก
9. Large yellow reversed triangle
หลับตานึกแล้วจด ช่วงว่าง ๆ ระหว่างรอ ให้หยิบสมุดจดกับปากกาดินสอมาลองนึกชื่อเพลง ชื่อหนัง หรือชื่อดารานักร้องคนโปรด แล้วจดลงสมุด
10. Large yellow diamond
เล่นเกมฝึกสมองช่วยกระตุ้นสมองให้ ฟื้นฟูเช่นฝึกจับผิดภาพ, เล่นหมากรุกและซูโดกุ
11. Large green triangle
อ่านหนังสือให้หลากหลาย ช่วยฝนสมองที่เริ่มทู่ให้แหลมคมขึ้นแต่ควรเปลี่ยนนิสัยการ อ่านให้หลากหลายขึ้นอย่าจำเจอยู่แต่ประเภทเดียว
12. Red triangle button
ฝึกวาดรูปแบบง่าย ๆ หมั่นสร้างมโนภาพแบบเด็กอนุบาล ว่างปั๊บก็หยิบกระดาษขึ้นมาวาดรูป ลากเส้น จะช่วยให้คิดเป็นระบบยิ่งขึ้น
13. Blue circle button
เปิดใจกว้างพูดคุยกับคนแปลกหน้า ช่วยให้สมองเปิดรับข้อมูลใหม่ ๆ ได้ดีขึ้น
14. Red triangle button
หมั่นพบปะสังสรรค์การเมาท์กับก๊วน เพื่อนช่วยต้านอาการซึมเศร้า ทำให้คิดอ่านเร็วขึ้น
15. Large yellow reversed triangle
ผ่อนคลายด้วยการทำสมาธิ แบ่งเวลา 10-20 นาที หลังตื่นนอน นั่งในท่าที่รู้สึกสบายที่สุด แล้วหลับตาลง และหายใจเข้าลึกที่สุด จากนั้นค่อย ๆ ผ่อนลมหายใจออกมาให้สุดลม จะช่วยให้สมองโปร่งโล่งขึ้น
Cr : Line