ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

เครื่องช็อกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติ AED กู้ชีวิตจากภาวะหัวใจทำงานผิดปกติหรือหัวใจหยุดเต้น

เครื่องช็อกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติ AED กู้ชีวิตจากภาวะหัวใจทำงานผิดปกติหรือหัวใจหยุดเต้น Thumb HealthServ.net
เครื่องช็อกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติ AED กู้ชีวิตจากภาวะหัวใจทำงานผิดปกติหรือหัวใจหยุดเต้น ThumbMobile HealthServ.net

หน้าที่ของเครื่องนี้คือปล่อยกระแสไฟฟ้าไปกระตุ้นให้หัวใจบีบตัวอย่างเป็นจังหวะ หรือช็อกกล้ามเนื้อหัวใจที่สั่นพลิ้วให้หยุดสั่นลงทันทีแล้วกลับมาทำงานปกติอีกครั้งหนึ่ง ใช้ใน 3 กรณี คือ
1) กรณีผู้ป่วยไม่รู้สึกตัว และหมดสติ 2) กรณีผู้ป่วยมีอาการแน่นหน้าอก และตามมาด้วยการหมดสติ 3) กรณีผู้ป่วยได้รับอุบัติเหตุจากการถูกไฟฟ้าช็อตจนหมดสติ

รู้จักเครื่อง AED - กู้ชีวิต ณ ที่เกิดเหตุ

"เครื่องช็อกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติ (AED)" ย่อมาจาก "Automated External Defibrillator" ถือว่าเป็นอุปกรณ์ที่มีประโยชน์มากเมื่อพบเจอผู้หมดสติที่อาจมาจากอาการทางหัวใจ ทั้งในการตรวจวิเคราะห์อาการหัวใจในที่เกิดเหตุอย่างรวดเร็วว่าต้องรักษาโดยการช็อกด้วยเครื่องนี้หรือไม่? และในการกู้ชีวิตเบื้องต้นระหว่างที่ยังไปไม่ถึงโรงพยาบาล
 
หน้าที่ของเครื่องนี้คือปล่อยกระแสไฟฟ้าไปกระตุ้นให้หัวใจบีบตัวอย่างเป็นจังหวะ หรือช็อกกล้ามเนื้อหัวใจที่สั่นพลิ้วให้หยุดสั่นลงทันทีแล้วกลับมาทำงานปกติอีกครั้งหนึ่ง 
 
เครื่องนี้ใช้ใน 3 กรณี คือ
  • กรณีผู้ป่วยไม่รู้สึกตัว และหมดสติ
  • กรณีผู้ป่วยมีอาการแน่นหน้าอก และตามมาด้วยการหมดสติ
  • กรณีผู้ป่วยได้รับอุบัติเหตุจากการถูกไฟฟ้าช็อตจนหมดสติ
 
ซึ่งเครื่องนี้มีวิธีใช้คร่าวๆคือ
  1. เปิดเครื่อง
    เครื่อง AED บางรุ่นต้องกดปุ่มเปิดเครื่อง แต่บางรุ่นก็ทําางานทันทีที่เปิดฝาครอบออก และเมื่อเปิดเครื่องแล้วจะมีเสียงบอกว่าต้องทําอย่างไรต่อไปอย่างเป็นขั้นตอน
     
  2. ติดแผ่นนําไฟฟ้า  เข้ากับหน้าอกของผู้ป่วย
    ในกรณีจําเป็นเราอาจต้องใช้กรรไกรหรือมีดตัดเสื้อของผู้ป่วยออกก็ได้ ซึ่งกรรไกรนี้จะมีมาให้ในชุดช่วยชีวิต และจากนั้นต้องให้แน่ใจว่าหน้าอกของผู้ป่วยแห้งสนิทดี ไม่เปียกเหงื่อ หรือเปียกนํ้า โดยอาจต้องใช้ผ้าเช็ดหน้าอกของผู้ป่วยให้แห้งเสียก่อน

    จากนั้นลอกแผ่นพลาสติกด้านหลังแผ่นนำไฟฟ้าออก ติดแผ่นนําาไฟฟ้าดูตามรูปที่แสดงไว้บนเครื่อง  โดยต้องติดให้แนบสนิทกับหน้าอกของผู้ป่วยด้วยความรวดเร็ว แผ่นหนึ่งติดไว้ที่ใต้กระดูกไหปลาร้าด้านขวา และอีกแผ่นหนึ่งติดไว้ที่ใต้ราวนมซ้ายด้านข้างลําตัว ตรวจดูให้แน่ใจว่าสายไฟฟ้าจากแผ่นนําไฟฟ้าต่อเข้ากับตัวเครื่องเรียบร้อย
     
  3. ให้เครื่อง  AED  วิเคราะห์คลื่นไฟฟ้าหัวใจ 
    เครื่อง AED ส่วนใหญ่จะเริ่มวิเคราะห์คลื่นไฟฟ้าหัวใจทันทีที่ติดแผ่นนําไฟฟ้าเสร็จ เครื่องบางรุ่นต้องให้กดปุ่ม “ANALYZE” ก่อน

    ระหว่างนั้นห้ามสัมผัสถูกตัวผู้ป่วยห้ามแตะต้องตัวผู้ป่วย โดยให้ร้องเตือนดังๆ ว่า “เครื่องกําาลังวิเคราะห์คลื่นไฟฟ้าหัวใจ  ห้ามแตะต้องตัวผู้ป่วย”

    ถ้าเครื่อง AED พบว่าคลื่นไฟฟ้าของผู้ป่วยเป็นชนิดที่ต้องการการรักษาด้วยการช็อกไฟฟ้าหัวใจ เครื่องจะบอกให้ทราบ
     
  4. ทำการ SHOCK
    ถ้าเครื่อง AED พบและแจ้งว่าคลื่นไฟฟ้าของผู้ป่วยเป็นชนิดที่ต้องการการรักษาด้วยการช็อกไฟฟ้าหัวใจ  ก็ให้เตรียมกดปุ่ม SHOCK โดยต้องแน่ใจว่าไม่มีใครสัมผัสถูกตัวของผู้ป่วยระหว่างนั้น  ซึ่งควรร้องบอกดังๆ ว่า   “คุณถอย ผมถอย และทุกคนถอย” ซึ่งก่อนกดปุ่ม “SHOCK” ให้มองซํ้าอีกครั้งเป็นการตรวจสอบครั้งสุดท้ายด้วย

    เมื่อเครื่องบอกว่า ไม่ต้องช็อก หรือ “No shock is needed” หรือ “start CPR” แล้ว ให้เปิดเครื่อง AED ไว้ก่อนและให้เริ่มช่วยฟื้นชีวิตขั้นพื้นฐานทันที
 
 
การ “ช่วยชีวิตพื้นฐาน” ที่ว่านี้ โดยทําการกดหน้าอก 30 ครั้ง สลับกับช่วยหายใจ 2 ครั้ง ประมาณ 2 นาที (อ่านวิธีโดยละเอียดได้ในบทความ  “ปั๊มพ์หัวใจถูกวิธี กู้ชีวีก่อนส่งแพทย์” ) หรือจนกว่าเครื่อง AED จะวิเคราะห์คลื่นไฟฟ้าหัวใจอีกครั้ง แล้วกลับไปยังข้อ 3  และ 4 
 
ซึ่งสําหรับขั้นตอนที่ 1  และ 2  ไม่ควรใช้เวลาเกิน 30 วินาที และทําการช่วยเหลือรอจนกว่าความช่วยเหลืออื่นๆ จะตามมาต่อไป


มูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์
 
แหล่งข้อมูล
  • คู่มือการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน และเครื่องช็อกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติ (เออีดี:AED) สำหรับประชาชน พ.ศ.2559 โดยศูนย์ฝึกอบรมปฐมพยาบาลและสุขภาพอนามัย สภากาชาดไทย
    คณะกรรมการมาตรฐานการช่วยชีวิตและสมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์

คลิปสอนการใช้เครื่อง AED และทำ CPR โดย สธ. LINK

คลิปสอนการใช้เครื่อง AED และทำ CPR โดย สธ. เครื่องช็อกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติ AED กู้ชีวิตจากภาวะหัวใจทำงานผิดปกติหรือหัวใจหยุดเต้น
คลิปสอนการใช้เครื่อง AED และทำ CPR โดย สธ. เครื่องช็อกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติ AED กู้ชีวิตจากภาวะหัวใจทำงานผิดปกติหรือหัวใจหยุดเต้น
กระชับ ชัดเจน เข้าใจง่าย ศึกษาและเรียนรู้ได้ง่าย
วิทยากร คุณสมทรง เวชสุวรรณ
พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
โรงพยาบาลหนองบัวแดง ชัยภูมิ

4 ขั้นตอนการใช้เครื่อง AED [รฟม]

 4 ขั้นตอนการใช้เครื่อง AED
  1. เปิดเครื่อง - กดปุ่มเปิดหรือเปิดฝาเครื่องจะทำงานอัตโนมัติ
  2. แปะแผ่นนำกระแสไฟฟ้า - แต่ละแผ่นจะมีภาพแสดงตำแหน่งการติดที่หลังแผ่น แผ่น 1 ติดที่หน้าอก แผ่น 2 ติดที่ชายโครงสีข้างด้านซ้าย
  3. วิเคราะห์ - AED จะทำการวิเคราะห์คลื่นไฟฟ้าหัวใจของผู้ป่วยอัตโนมัติทันที
  4. ทำการช็อค - กรณีที่ AED วิเคราะห์ว่าจำเป็นต้องช็อคด้วยกระแสไฟฟ้า เครื่องจะแสดงสัญญาณไฟกระพริบที่ปุ่ม "ช็อค" แล้วจึงกดปุ่ม ช็อคทันที จากนั้นไปทำ CPR ต่อไป

MRT ได้ติดตั้งเครื่อง AED ที่สถานีต่างๆ ใน 2 สายรวม 13 สถานี

รฟม ได้ติตั้งเครื่อง AED ที่สถานีรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล 9 สถานี ได้แก่ 
  1. หัวลำโพง
  2. สีลม
  3. สิริกิติ์
  4. สุขุมวิท
  5. เพชรบุรี
  6. พระราม 9
  7. ลาดพร้าว
  8. จตุจักร
  9. กำแพงเพชร
สายฉลองรัชธรรม 4 สถานี ได้แก่
  1. ศูนย์ราชการนนทบุรี
  2. บางรักน้อยท่าอิฐ
  3. ตลาดบางใหญ่
  4. เตาปูน
และประจำทีมกู้ภัย รฟม.เพื่อความรวดเร็วในการช่วยเหลือผู้โดยสารที่อยู่ในภาวะฉุกเฉิน หมดสติ ไม่หายใจในเขตระบบรถไฟฟ้า

รถไฟฟ้า BTS ติดตั้งเครื่อง AED เครื่องกระตุกหัวใจอัตโนมัติ ใน 10 สถานี LINK

รถไฟฟ้า BTS ติดตั้งเครื่อง AED เครื่องกระตุกหัวใจอัตโนมัติ ใน 10 สถานี เครื่องช็อกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติ AED กู้ชีวิตจากภาวะหัวใจทำงานผิดปกติหรือหัวใจหยุดเต้น
รถไฟฟ้า BTS ติดตั้งเครื่อง AED เครื่องกระตุกหัวใจอัตโนมัติ ใน 10 สถานี เครื่องช็อกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติ AED กู้ชีวิตจากภาวะหัวใจทำงานผิดปกติหรือหัวใจหยุดเต้น
รถไฟฟ้า BTS ติดตั้งเครื่อง AED “เครื่องกระตุกหัวใจอัตโนมัติ” ใน 10 สถานีนำร่อง ได้แก่
  1. หมอชิต
  2. อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
  3. พญาไท
  4. สยาม
  5. ชิดลม
  6. อโศก
  7. พร้อมพงษ์
  8. อ่อนนุช
  9. ช่องนนทรี
  10. สถานีบางหว้า
เสร็จเรียบร้อยพร้อมใช้งาน เพื่อความปลอดภัยของผู้โดยสารในกรณีเกิดมีอาการหัวใจวายเฉียบพลัน โดยติดตั้งไว้ที่บริเวณหน้าห้องปฐมพยาบาลของแต่ละสถานี

Facebook MGR Photo 19/12/2017
Copyright © 2017 All Right Reserved
ผู้จัดการรายวัน 360˚/ MGR Online
ภาพโดย ปัญญพัฒน์ เข็มราช

การใช้เครื่องช็อกไฟฟ้า หัวใจอัตโนมัติ หรือ เออีดี (Automatic External Defibrillator :AED) - อมรรัตน์ ศุภมาส LINK

การใช้เครื่องช็อกไฟฟ้า หัวใจอัตโนมัติ หรือ เออีดี (Automatic External Defibrillator :AED) - อมรรัตน์ ศุภมาส เครื่องช็อกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติ AED กู้ชีวิตจากภาวะหัวใจทำงานผิดปกติหรือหัวใจหยุดเต้น
การใช้เครื่องช็อกไฟฟ้า หัวใจอัตโนมัติ หรือ เออีดี (Automatic External Defibrillator :AED) - อมรรัตน์ ศุภมาส เครื่องช็อกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติ AED กู้ชีวิตจากภาวะหัวใจทำงานผิดปกติหรือหัวใจหยุดเต้น
การใช้เครื่องช็อกไฟฟ้า หัวใจอัตโนมัติ หรือ เออีดี (Automatic External Defibrillator :AED) โดย คุณอมรรัตน์ ศุภมาส
พยาบาลประจำโครงการปฏิบัติการช่วยฟื้นชีวิต
โครงการปฏิบัติการช่วยฟื้นชีวิต
ภาควิชาอายุรศาสตร์
คณะแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
มหาวิทยาลัยมหิดล

คู่มือช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานและเครื่องช็อกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติ (AED) สำหรับประชาชน 2561 - สภากาชาดไทย LINK

คู่มือช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานและเครื่องช็อกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติ (AED) สำหรับประชาชน 2561 - สภากาชาดไทย เครื่องช็อกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติ AED กู้ชีวิตจากภาวะหัวใจทำงานผิดปกติหรือหัวใจหยุดเต้น
คู่มือช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานและเครื่องช็อกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติ (AED) สำหรับประชาชน 2561 - สภากาชาดไทย เครื่องช็อกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติ AED กู้ชีวิตจากภาวะหัวใจทำงานผิดปกติหรือหัวใจหยุดเต้น
จัดทำโดย 
  • ศูนย์ฝึกอบอรมปฐมพยาบาลและสุขภาพอนามัย สภากาชาดไทย
  • คณะกรรมการมาตรฐานช่วยชีวิต สมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์

คู่มือการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน (PDF) - กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ LINK

คู่มือการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน (PDF) - กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ เครื่องช็อกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติ AED กู้ชีวิตจากภาวะหัวใจทำงานผิดปกติหรือหัวใจหยุดเต้น
คู่มือการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน (PDF) - กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ เครื่องช็อกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติ AED กู้ชีวิตจากภาวะหัวใจทำงานผิดปกติหรือหัวใจหยุดเต้น
 คู่มือการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน และเครื่องฟื้นคืนคลื่นหัวใจด้วยไฟฟ้าแบบอัตโนมัติ (เออีดี: AED)  สำหรับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม)
จัดทำโดย
  • กองสนับสนุนสุขภาพภาคประชาชน กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ
  • ร่วมกับ สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.)
ปีที่พิมพ์ เมษายน 2561
จำนวน 26 หน้า
ข่าว

BTS ติดตั้งเครื่อง AED ช่วยคนหัวใจวายเฉียบพลัน [The Standard 18.12.2017]
รถไฟฟ้า BTS ติดตั้งเครื่อง AED “เครื่องกระตุกหัวใจอัตโนมัติ” ใน 10 สถานีนำร่อง [ข่าวรถไฟฟ้าไทย 19/12/2017]
รฟม. ใส่ใจในความปลอดภัยของผู้ใช้บริการ แนะนำ 4 ขั้นตอนในการใช้เครื่องช็อกหัวใจอัตโนมัติ (AED) ในกรณีฉุกเฉิน!  เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยหมดสติ ภายในระบบรถไฟฟ้าฯ [รฟม]
แอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ดำเนินการติดตั้งเครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าอัตโนมัติ 8 สถานี [ประชาชาติธุรกิจ 37/2562]

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด