การเอกซเรย์ฟันชนิดทั้งปาก (DENTAL PANORAMIC) เป็นการตรวจทางรังสีของฟันและช่องปาก โดยการถ่ายภาพทางรังสีฟันครบทั้ง 32 ซี่ เพื่อดูความผิดปกติของฟันและช่องปาก
PANORAMIC
เป็นการถ่ายภาพทางรังสีของฟันในทางตรง โดยให้รังสีผ่านจากทางด้านซ้าย มาสู่ทางด้านขวา เพื่อดูความผิดปกติของเหงือกและฟัน (ภาพล่างขวา)
LATERAL CEPHALOGRAM
เป็นการถ่ายภาพทางรังสีของฟันในท่าด้านข้าง เพื่อดูความผิดปกติของเหงือกและฟัน (ภาพล่างซ้าย)
DENTAL CT SCAN
เป็นวิธีการถ่ายภาพรังสีนอกปากเฉพาะวิธีหนึ่งซึ่งนำมาใช้ในการถ่ายภาพรังสีบริเวณใบหน้าและขากรรไกร สามารถแสดงภาพของวัตถุที่ต้องการศึกษาใน 3 ระนาบที่สัมพันธ์กันและยังสามารถสร้างเป็นภาพ 3 มิติได้
การเตรียมตัวขณะตรวจ
ผู้ป่วยยืนนิ่งไม่ขยับร่างกายและศีรษะขณะทำการรับบริการถ่ายภาพรังสี
หมายเหตุ : ผู้ป่วยที่จะมารับบริการถ่ายภาพรังสี DENTAL PANORAMIC และ Dental CT Scan จะต้องสามารถช่วยเหลือตนเองได้และสามารถยืนหรือนั่งนิ่งๆ ได้ขณะทำการถ่ายภาพรังสี
รูปแบบเครื่องเอกซเรย์ฟัน
เครื่องเอกซเรย์ฟันมีหลายรูปแบบ เพื่อให้เกิดความสะดวกในการใช้งาน ทุกรูปแบบมี หลักการผลิตรังสีเหมือนกัน แต่ปริมาณรังสีไม่เท่ากัน และการกระเจิงของรังสีแตกต่างกัน ความปลอดภัยทางรังสีจากการใช้งาน มีความเสี่ยงการได้รับรังสีมากน้อยต่างกัน
ชนิดและรูปแบบเครื่องเอกซเรย์ฟันในปัจจุบัน
1. เครื่องเอกซเรย์ฟันธรรมดา ประกอบไม่ซับซ้อน ปัจจุบันระบบควบคุมการฉายเป็นแบบดิจิตอล ที่สามารถเลือกตําแหน่งของ ฟันที่จะฉายรังสีได้ ให้ความสะดวกและรวดเร็วขึ้น
2. เครื่องเอกซเรย์ฟันชนิด Panoramic เป็นเครื่องเอกซเรย์ที่สามารถถ่ายภาพรังสีฟันได้เป็นมุมกว้างทั่วทั้งปากในครั้งเดียว หรือ จะเลือกเฉพาะที่ หรือแถบฟันใดบริเวณหนึ่งๆ ได้ภาพชัดเจน โดยไม่ต้องใส่ฟิล์มในปาก แต่จะไปปรากฏภาพรับบนจอ สามารถบันทึกและเปิดดูในเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ หรือ สามารถพิมพ์ลงบนฟิล์มรังสีได้ บางชนิดเรียกว่า CT Dental X ray เป็นหลักการทํางานแบบเครื่องเอกซเรย์ CT แต่นํามาใช้ในทางทันตกรรม เครื่องชนิดนี้ ราคาสูงกวาเครื่องเอกซเรย์ฟันธรรมดา แต่มีความปลอดภัยทางรังสีและการใช้งานดีมากกว่า
3. เครื่องเอกซเรย์ฟันชนิดกล้องถ่ายรูป เป็นเครื่องเอกซเรย์ที่มีลักษณะคล้ายกล้องถ่ายรูป สะดวกใช้นอกสถานที่ หรือในภาคสนามที่มีการออกหน่วยตรวจทางทันตกรรม มีนํ้าหนักเบา และมีราคาถูก การถ่ายรังสีฟันเป็นไปเช่นเดียวกับเครื่องเอกซเรย์ฟันธรรมดา
รูปแบบเครื่องเอกซเรย์ทั้ง 3 ชนิด มีการกระเจิงของรังสีมากน้อยแตกต่างกันไป ผู้ปฏิบัติงานมีโอกาสได้รับรังสีกระเจิง มากน้อย ขึ้นอยู่กับลักษณะและวิธีปฏิบัติงาน รวมทั้งความพร้อมในอุปกรณ์ป้องกันรังสี ที่จะช่วยเสริมสร้างความปลอดภัยทางรังสีในขณะปฏิบัติงาน
สํานักงานปรมาณูเพื่อสันติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี