ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพ รวมโปรแกรมสุขภาพ บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิดบริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event Health Economy ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

นอนครบ 8 ชั่วโมงแต่ทําไมยังเพลีย?

นอนครบ 8 ชั่วโมงแต่ทําไมยังเพลีย? Thumb HealthServ.net
นอนครบ 8 ชั่วโมงแต่ทําไมยังเพลีย? ThumbMobile HealthServ.net

คนส่วนใหญ่มักเข้าใจผิดเกี่ยวกับการนอนหลับว่า หากจำนวนชั่วโมงในการนอนหลับนานเกินกว่า 7 ชั่วโมง จะถือว่าเป็นการนอนหลับที่ดี แต่จริงๆแล้วคุณภาพการนอนสำคัญกว่าระยะเวลาในการนอนเป็นอย่างมาก และเมื่อเรามีคุณภาพการนอนที่ดีเท่าไหร่ ก็จะสามารถสร้างสุขภาวะโดยรวมและความเป็นอยู่ที่ดีได้มากเท่านั้น

สภาพแวดล้อมในปัจจุบัน ทั้งภาวะเศรษฐกิจที่ผันผวน ความกดดันจากการทำงานที่ค่อนข้างหนักในแต่ละวัน โรคประจำตัว เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ รวมถึงไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตของคนเมืองที่เร่งรีบ ตลอดจนพฤติกรรมการใช้สมาร์ทโฟนตลอดทั้งวัน  ล้วนเป็นปัจจัยที่ทำให้ผู้คนในปัจจุบัน มีแนวโน้มสูงในการเผชิญปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการนอนมากยิ่งขึ้น ซึ่งจากผลสำรวจการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างงานวิจัยในเรื่อง Deep Sleep Sensation Hospitality จำนวน 310 คน พบว่า ทั้งคนไทยและชาวต่างชาติมีปัญหาการนอนมากถึง 84.4%  โดยที่ปัญหาดังกล่าวรบกวนการนอนหลับมากที่สุด 1-3 วันต่อสัปดาห์คิดเป็น 65% ของทั้งหมด รองลงมา 3-5 วันต่อสัปดาห์ 21.6% และผู้ที่มีปัญหาการนอนหลับในทุกๆวันของสัปดาห์อยู่ที่ 13.4% ไม่ว่าจะเป็นปัญหาการนอนไม่หลับ การนอนกรน หรือแม้แต่การสะดุ้งตื่นกลางดึก ซึ่งทั้ง 3 อันดับ เป็นปัญหาที่พบมากที่สุด


วันนี้เลยนำวิธีการเพิ่มคุณภาพการนอนมาฝากทุกคนค่ะ

 
นอนครบ 8 ชั่วโมงแต่ทําไมยังเพลีย? HealthServ
 จากการสำรวจพบว่าคนส่วนใหญ่ที่เผชิญปัญหาการนอน มักจะแก้ปัญหาเหล่านั้นด้วยการฟังเพลง ฟังพอดแคสต์ โดย อาจเปิดเสียงน้ำตก เสียงธรรมชาติมากถึง 53.9% หรือการทำสมาธิก่อนนอน เพื่อให้สามารถนอนหลับอย่างไร้กังวลได้ในแต่ละวัน ซึ่งการแก้ปัญหาเหล่านี้เป็นเพียงการแก้ไขปัญหาในระยะสั้น แต่สิ่งที่จะช่วยแก้ไขปัญหาการนอนหลับในระยะยาวได้จริงๆ คือ พฤติกรรมบำบัด (Behavior Therapy) การปรับท่านอนที่ถูกกับสรีระของตนซึ่งเป็นการแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด ตลอดจนการสร้างบรรยากาศการนอน ทั้งการควบคุมเสียงให้เกิดความเงียบ การควบคุมแสง รวมถึงการควบคุม อุณหภูมิที่พอดี และการใช้กลิ่นหอมบำบัด (Aroma Therapy) ที่จะช่วยลดความเครียดและช่วยปรับสมดุลให้จิตใจสงบ เพื่อการนอนหลับได้ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังควรหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์และคาเฟอีน เนื่องจากเครื่องดื่มเหล่านี้จะทำให้ร่างกายตื่นตัว รวมถึงอาจใช้วิธีในการปรับอุณหภูมิร่างกาย โดยการแช่น้ำอุ่นอย่างน้อย 1-2 ชั่วโมง เพื่อช่วยให้ร่างกายได้ผ่อน คลายจากความอ่อนล้าในแต่ละวัน สิ่งต่างๆ เหล่านี้จะสามารถช่วยให้นอนหลับได้ง่ายขึ้น และช่วยแก้ไขปัญหาในการนอนแบบระยะยาวได้อย่างดีอีกด้วย ส่วนผู้ที่ไม่มีปัญหาเกี่ยวกับการนอนหลับมีตัวเลขเพียง 15.6% ล้วนแต่มีสุขภาวะที่ดี จากการออกกำลังกายและรับประทานอาหารที่ถูกสุขอนามัย
นอนครบ 8 ชั่วโมงแต่ทําไมยังเพลีย? HealthServ

  ในบางรายที่ปรับพฤติกรรมแล้วไม่ได้ผล ก็ยังมีวิธีที่จะทำให้เราทราบถึงสาเหตุของปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการนอน และ ความเสี่ยงในการเกิดโรคในอนาคตได้หลายหลากวิธีเช่น การดริปวิตามินเพื่อช่วยลดความเครียด หรือการใช้เทคโนโลยีต่างๆ โดย 1 ใน วิธีที่ดีที่สุดคือ การทำ Sleep test ถือเป็นศาสตร์ทางการแพทย์ที่ช่วยแก้ปัญหาเกี่ยวกับการนอนได้เป็นอย่างดี นอกจากนั้นการให้คำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญด้านการนอนหลับ หรือแพทย์เฉพาะทางจะสามารถช่วยปรับพฤติกรรมและหาวิธีการแก้ปัญหาแบบเฉพาะบุคคลให้ตรงกับสรีระและพฤติกรรมการใช้ชีวิตได้อีกด้วย ซึ่งคนจำนวนมากถึง 92.4% ยังไม่เคยทำ Sleep test ด้วยเหตุผลต่างๆ เช่น ยังไม่เห็นความสำคัญมากพอ, ขาดโอกาสในการเข้าถึงการทำ Sleep test และยังไม่ต้องการแอทมิดที่โรงพยาบาล หรือนอนหลับในสภาพแวดล้อมที่ไม่คุ้นชิน ทำให้ในปัจจุบันมีการแก้ไขปัญหาเพื่อตอบโจทย์ ความต้องการนั้นๆ โดยสามารถทำ Sleep test ได้ทั้งที่บ้าน หรือแม้แต่กระทั่งในโรงแรมที่มีการออกแบบเพื่อการนอนหลับที่ดีได้ภายในสิ่งแวดล้อมที่มีความผ่อนคลาย เพื่อตอบโจทย์ต่อการพักผ่อน และส่งเสริมให้เกิดสุขภาวะการนอนที่ดีต่อทุกคนอีกด้วย


เนื้อหาทั้งหมดเป็นการศึกษาและเก็บข้อมูลเกี่ยวกับคุณภาพการนอนหลับของผู้คนในปัจจุบัน
โดย นางสาว มินท์รวี วิรุณกุลเศรษฐ์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา rd417 Architectural theories and concept 3
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ #architectureforrealestatedevelopment #thammasatdesignschool
จากการสำรวจพบว่าคนส่วนใหญ่ที่เผชิญปัญหาการนอน มักจะแก้ปัญหาเหล่านั้นด้วยการฟังเพลง ฟังพอดแคสต์ โดยอาจเปิดเสียงน้ำตก เสียงธรรมชาติมากถึง 53.9% หรือการทำสมาธิก่อนนอน เพื่อให้สามารถนอนหลับอย่างไร้กังวลได้ในแต่ละวัน ซึ่งการแก้ปัญหาเหล่านี้เป็นเพียงการแก้ไขปัญหาในระยะสั้น แต่สิ่งที่จะช่วยแก้ไขปัญหาการนอนหลับในระยะยาวได้จริงๆ คือ พฤติกรรมบำบัด (Behavior Therapy) การปรับท่านอนที่ถูกกับสรีระของตนซึ่งเป็นการแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด ตลอดจนการสร้างบรรยากาศการนอน ทั้งการควบคุมเสียงให้เกิดความเงียบ การควบคุมแสง รวมถึงการควบคุมอุณหภูมิที่พอดี และการใช้กลิ่นหอมบำบัด (Aroma Therapy) ที่จะช่วยลดความเครียดและช่วยปรับสมดุลให้จิตใจสงบ เพื่อการนอนหลับได้ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังควรหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์และคาเฟอีน เนื่องจากเครื่องดื่มเหล่านี้ จะทำให้ร่างกายตื่นตัว รวมถึง อาจใช้วิธีในการปรับอุณหภูมิร่างกาย โดยการแช่น้ำอุ่นอย่างน้อย 1-2 ชั่วโมง เพื่อช่วยให้ร่างกายได้ผ่อนคลายจากความอ่อนล้าในแต่ละวัน สิ่งต่างๆ เหล่านี้จะสามารถช่วยให้นอนหลับได้ง่ายขึ้น และช่วยแก้ไขปัญหาในการนอนแบบระยะยาวได้อย่างดีอีกด้วย ส่วนผู้ที่ไม่มีปัญหาเกี่ยวกับการนอนหลับมีตัวเลขเพียง 15.6% ล้วนแต่มีสุขภาวะที่ดี จากการออกกำลังกายและรับประทานอาหารที่ถูกสุขอนามัย
       ในบางรายที่ปรับพฤติกรรมแล้วไม่ได้ผล ก็ยังมีวิธีที่จะทำให้เราทราบถึงสาเหตุของปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการนอน และความเสี่ยงในการเกิดโรคในอนาคตได้หลายหลากวิธี เช่น การดริปวิตามินเพื่อช่วยลดความเครียด หรือการใช้เทคโนโลยีต่างๆ โดย 1 ใน วิธีที่ดีที่สุดคือ การทำ Sleep test ถือเป็นศาสตร์ทางการแพทย์ ที่ช่วยแก้ปัญหาเกี่ยวกับการนอนได้เป็นอย่างดี นอกจากนั้นการให้คำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญด้านการนอนหลับ หรือแพทย์เฉพาะทาง จะสามารถช่วยปรับพฤติกรรมและหาวิธีการแก้ปัญหาแบบเฉพาะบุคคลให้ตรงกับสรีระ และพฤติกรรมการใช้ชีวิตได้อีกด้วย ซึ่งคนจำนวนมากถึง 92.4% ยังไม่เคยทำ Sleep test ด้วยเหตุผลต่างๆ เช่น ยังไม่เห็นความสำคัญมากพอ, ขาดโอกาสในการเข้าถึงการทำ Sleep test และยังไม่ต้องการแอทมิดที่โรงพยาบาล หรือนอนหลับในสภาพแวดล้อมที่ไม่คุ้นชิน ทำให้ในปัจจุบันมีการแก้ไขปัญหาเพื่อตอบโจทย์ความต้องการนั้นๆ โดยสามารถทำ Sleep test ได้ทั้งที่บ้าน หรือแม้แต่กระทั่งในโรงแรมที่มีการออกแบบเพื่อการนอนหลับที่ดีได้ ภายในสิ่งแวดล้อมที่มีความผ่อนคลาย เพื่อตอบโจทย์ต่อการพักผ่อน และส่งเสริมให้เกิดสุขภาวะการนอนที่ดีต่อทุกคนอีกด้วย
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด