ข้อมูลจาก
สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ ระบุว่า ซีเซียม-137 (ชื่อภาษาอังกฤษ: Caesium-137) เป็นธาตุหมายเลข 55 มีสัญลักษณ์ทางเคมี คือ Cs พบในธรรมชาติ มีค่าครึ่งชีวิต: 30.08 ปี
ลักษณะทางกายภาพ: มีลักษณะเป็นโลหะ ของแข็ง คล้ายผงเกลือ สามารถฟุ้งกระจายได้เมื่อแตกออกจากแคปซูลที่ห่อหุ้มไว้ ใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรม เพราะมีแรงรังสีสูง คำว่า ซีเซียม มาจากภาษาละติน "Caesius" หมายถึงสีน้ำเงิน (ท้องฟ้า) ซีเซียมที่อยู่ในรูปแบบของสารกัมมันตรังสีที่รู้จักมากที่สุดคือ ซีเซียม-137 รองลงมาคือ ซีเซียม-134 [
วารสารนิวเคลียร์ ปริทัศน์ 2547]
กลไกการสลายตัว: แบบบีตา สลายตัวให้รังสีบีตาและแกมมาแล้วกลายสภาพไปเป็นธาตุแบเรียม-137 (Ba-137)
ข้อมูลเกี่ยวกับซีเซียม-137 ที่สูญหาย
ข้อมูลเกี่ยวกับซีเซียม-137 ที่สูญหายนี้ มีลักษณะเป็นแท่งทรงกระบอก ภายนอกทำ ด้วยโลหะ ภายในประกอบด้วยตะกั่วสำ หรับกำ บังรังสี มีขนาดสูงประมาณ 20 – 30 เซนติเมตร และมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง ประมาณ 14 – 20 เซนติเมตร มีฐานทำ ด้วยแผ่นโลหะ ทรงสี่เหลี่ยมด้านเท่าเชื่อมติดอยู่ น้ำหนักประมาณ 25 กิโลกรัม ด้านบนของแท่งทรงกระบอกจะปิดปิ สนิทไม่มีรู หรือช่องเปิดปิ ใด ๆ มีแกนหมุนโลหะสำ หรับ ควบคุมช่องเปิดปิ -ปิดปิ ลำ รังสี และอาจมี สัญลักษณ์ทางรังสีรูปใบพัดสามแฉกปิดปิ อยู่ ส่วนด้านล่างจะมีช่องเปิดปิ ให้ลำ รังสีพุ่งออก มาภายนอกได้ “โดยช่องเปิดปิ นี้ถ้าไม่ได้ปิดปิ ล็อกไว้ด้วยกลไกของอุปกรณ์ จะมีลำ รังสี ปริมาณรังสีสูงพุ่งออกมาได้ตลอดเวลา"
ปริมาณของวัสดุกัมมันตรังสีซีเซียม-137 ที่บรรจุอยู่ภายในมีค่าเริ่มต้นที่ 80 มิลลิคูรี (80 mCi) วัดเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2538 ปัจจุบันเหลือปริมาณอยู่ที่ 41.14 มิลลิคูรี โดยประมาณ
อัตราปริมาณรังสีที่แผ่ออกมาจากซีเซียม-137 นี้ มีค่า ดังนี้;
ที่ระยะ 30 เซนติเมตรจากวัสดุกัมมันตรังสีด้านช่องเปิดปิ ประมาณ 1.29 มิลลิซีเวิร์ต/ชั่วโมง
ที่ระยะ 60 เซนติเมตรจากวัสดุกัมมันตรังสีด้านช่องเปิดปิ ประมาณ 0.12 มิลลิซีเวิร์ต/ชั่วโมง
ที่ระยะ 120 เซนติเมตรจากวัสดุกัมมันตรังสีด้านช่องเปิดปิ ประมาณ 0.03 มิลลิซีเวิร์ต/ชั่วโมง
ที่ระยะ 180 เซนติเมตรจากวัสดุกัมมันตรังสีด้านช่องเปิดปิ ประมาณ 0.01 มิลลิซีเวิร์ต/ชั่วโมง
อันตรายทางรังสีของวัสดุกัมมันตรังสีซีเซียม-137
การได้รับปริมาณรังสีที่แผ่ออกมาจากซีเซียม-137 เป็นป็ ระยะเวลาสั้น ๆ จะไม่ส่ง ผลให้เกิดอันตรายที่เห็นผลชัดเจนในทันทีแต่อย่างใดแต่อาจก่อให้เกิดความเสี่ยง ที่สูงขึ้นในการเกิดโรคมะเร็งได้ ในกรณีหากได้รับปริมาณรังสีต่อเนื่องเป็นป็ ระยะ เวลานาน ๆ ก็อาจก่อให้เกิดอันตราย เช่น ผิวหนังแสบร้อนและมีผื่นแดงคล้าย น้ำ ร้อนลวกหรือโดนไฟไหม้ หรืออาจมีอาการคลื่นเหียนอาเจียนได้ถ้าหากได้รับ ปริมาณรังสีที่สูงมากพอ
ด้วยซีเซียม-137 มีลักษณะเป็นป็ ของแข็ง สภาพคล้ายผงเกลือ สามารถฟุ้งฟุ้ กระจายและเปื้อปื้ นได้ง่ายหากแตกออกจากแคปซูลที่ห่อหุ้มไว้ ดังนั้น ผู้ที่สัมผัสกับ ผงซีเซียม-137 นั้น อาจได้รับซีเซียม-137 เข้าไปในร่างกายผ่านทางผิวหนังที่มี บาดแผล หรือการหายใจ และรับประทานผงซีเซียม-137 เข้าไป เมื่อซีเซียม-137 เข้าไปในร่างกายจะเข้าไปสะสมอยู่ในเนื้อเยื่ออ่อน (SOFT TISSUE) ของอวัยวะ ต่าง ๆ และแผ่รังสีให้แก่อวัยวะเหล่านี้ ส่งผลให้เกิดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็ง ของอวัยวะที่ซีเซียม-137 นั้นเข้าไปสะสมอยู่
ผู้ใดที่พบเห็นวัตถุต้องสงสัย หรือวัสดุที่มีลักษณะดังกล่าวข้างต้นนี้ โปรดหลีกเลี่ยงการสัมผัสและเข้าไปอยู่ใกล้ชิดและรีบแจ้งพนักงานเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ เจ้าหน้าที่ตำรวจหรือสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ ที่สายด่วนแจ้งเหตุฉุกเฉินทางนิวเคลียร์และรังสี โทร. 1296
ประโยชน์ของซีเซียม-137
เครื่องวัดความชื้นและความหนาแน่น
อุตสาหกรรมการก่อสร้าง
เครื่องวัดระดับของเหลว อุตสาหกรรมท่อและแท็งก์
เครื่องวัดความหนาแผ่นโลหะ กระดาษ ฟิล์ม
เครื่องหยั่งธรณี ในอุตสาหกรรมการขุดเจาะ
เครื่องเลเซอร์ โรงงานผลิตไฟฟ้าไอน้ำ
บำบัดมะเร็ง
คำเตือนจากผู้เชี่ยวชาญ
ซีเซียม-137 ไม่มีกลิ่น ไม่มีสี ผู้ที่สัมผัสจะไม่มีอาการ แต่ภายใน 3 วัน อาจจะทำให้จุดที่ สัมผัสเริ่มเปื่อยเน่า ภูมิต้านทานลดลง จึงเตือนผู้ที่นำออกไป ห้ามเข้าใกล้ เพราะยิ่งใกล้รังสีมากๆ ยิ่งอันตราย
สุเมธา วิเชียรเพชร
ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการอุบัติภัยภัยสารเคมี
เตือนประชาชนอย่าเข้าไปใกล้ หรือสัมผัส เพราะอาจเกิดการรั่วไหลของสารรังสี ช้ำรอยกรณีคนเก็บของเก่า เอาโคบอลต์ -60 ไปผ่า เมื่อกว่า 20 ปีที่แล้ว
ศ.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์
ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ
เป็นห่วง ถ้าท่อบรรจุสารซีเซียม-137 ถูกชำแหละ เพราะจะทำให้สารซีเชียม-137 ที่เป็นผงถูกปล่อยออกมา ง่ายต่อการสูดดม ยิ่งถ้าสัมผัส จับ จะทำให้ผิวหนังใหม้ หรือถึงขั้นสูญเสียอวัยวะ และสารนี้ยังส่งผลต่อระบบเลือด โดยเฉพาะเม็ดเลือดขาว
นพ.กิติพงษ์ พนมยงค์
หน.กลุ่มศูนย์การแพทย์เฉพาะทาง ด้านอาชีวเวชศาสตร์ รพ.นพรัตนราชธานี