ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

กรมการแพทย์ฯ ชี้ ลักษณะอาการ หากสัมผัสรังสีซีเซียม-137 และวิธีแก้ไขเบื้องต้น

กรมการแพทย์ฯ ชี้ ลักษณะอาการ หากสัมผัสรังสีซีเซียม-137 และวิธีแก้ไขเบื้องต้น HealthServ.net
กรมการแพทย์ฯ ชี้ ลักษณะอาการ หากสัมผัสรังสีซีเซียม-137 และวิธีแก้ไขเบื้องต้น ThumbMobile HealthServ.net

กรณีสารกัมมันตรังสีซีเซียม-137 ที่สูญหายจากโรงงานในจ.ปราจีนบุรี และยังหาไม่พบ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับอาการที่จะเกิดหากสัมผัส และวิธีแก้ไขเบื้องต้น หากสงสัยว่าสัมผัสปนเปื้อนรังสี การลดการปนเปื้อน ทำได้ 2 แบบ คือ แบบแห้ง และ แบบเปียก

กรมการแพทย์ฯ ชี้ ลักษณะอาการ หากสัมผัสรังสีซีเซียม-137 และวิธีแก้ไขเบื้องต้น HealthServ
 นายแพทย์ธงชัย กีรติหัตถยากร อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า จากกรณีรายงานข่าวพบสารซีเซียม 137  หายจากโรงไฟฟ้าพลังงานไอน้ำ จ.ปราจีนบุรี โดยส่วนที่สูญหายเป็นอุปกรณ์ตรวจจับเถ้าละอองลักษณะท่อกลม เส้นผ่าศูนย์กลาง 5 นิ้ว ยาว 12 นิ้ว (ดังรูป)

 
ปกติซีเซียม-137 มีลักษณะเป็นของแข็ง คล้ายผงเกลือ สามารถฟุ้งกระจายได้เมื่อแตกออกจากที่ห่อหุ้มไว้          ถูกนำมาใช้งานต่างๆ เช่น ในอุปกรณ์วัดความชื้น วัดอัตราการไหลของเหลว วัดความหนาวัสดุ เป็นต้น โดยจะสลายตัวให้รังสีบีตาและแกมมา ที่อาจมีผลกระทบต่อสุขภาพได้

โดยเฉพาะเมื่อสัมผัสรังสีปริมาณมากแบบทั้งร่างกายทำให้เกิดความผิดปกติจากการได้รับรังสีสูงแบบเฉียบพลัน  ซึ่งแบ่งออกได้ 3 กลุ่มอาการ ระบบผลิตเลือด  ระบบทางเดินอาหาร และ ระบบประสาทกลาง 

หรือกรณีที่ได้รับรังสีบางส่วนร่างกายหรือปริมาณไม่สูงทำให้เกิดอาการด้านผิวหนังจากรังสี โดยมีปัจจัยที่สำคัญคือปริมาณรังสีที่ได้รับ  ระยะเวลาสัมผัส ระยะห่างจากแหล่งกำเนิดรังสี และ มีการใช้อุปกรณ์ป้องกันรังสีหรือไม่



ข่าวที่เกี่ยวข้อง
กรมการแพทย์ฯ ชี้ ลักษณะอาการ หากสัมผัสรังสีซีเซียม-137 และวิธีแก้ไขเบื้องต้น HealthServ



อย่างไรก็ตามปัจจุบัน ยังไม่มีข้อบ่งชี้ว่า วัตถุกัมมันตรังสีซีเซียม-137 ที่สูญหายได้หลุดออกจากเครื่องกำบัง การได้รับปริมาณรังสีที่แผ่ออกมาจากซีเซียม-137 เป็นระยะเวลาสั้นๆ จะไม่ส่งผลให้เกิดอันตรายที่เห็นผลชัดเจนในทันทีแต่อย่างใด แต่อาจก่อให้เกิดความเสี่ยงที่สูงขึ้นในการเกิดโรคมะเร็งได้  
 
หากมีการชำแหละส่วนกล่องโลหะอาจทำให้รังสีมีการการสัมผัสและการปนเปื้อนรังสีมากขึ้นได้


เมื่อสงสัยว่าสัมผัสปนเปื้อนรังสี การลดการปนเปื้อน ทำได้ 2 แบบ คือ แบบแห้ง และ แบบเปียก 

แบบแห้ง เช่น การปัดออก เปลี่ยนเสื้อผ้า 

แบบเปียก โดยการล้างด้วยน้ำ เพื่อเป็นปกป้องผู้สัมผัส บุคลกรทางการแพทย์และสถานที่


 
 
นายแพทย์กิติพงษ์ พนมยงค์  นายแพทย์เชี่ยวชาญ ด้านเวชกรรม สาขาเวชกรรมทั่วไป หัวหน้ากลุ่มศูนย์การแพทย์เฉพาะทางด้านอาชีวเวชศาสตร์และเวชศาสตร์สิ่งแวดล้อม โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี กรมการแพทย์  หากผู้ใดมีอาการสงสัยจากการสัมผัสรังสี เช่น ผื่นแดงตามผิวหนัง ผมร่วง แผลเปื่อย คลื่นไส้อาเจียน อ่อนเพลีย รวมทั้งการเข้าใกล้หรือสัมผัสวัตถุต้องสงสัย ให้รีบประสาน อสม.หรือ พบแพทย์ที่สถานพยาบาลพร้อมทั้งแจ้งความเสี่ยงสัมผัสต่อเจ้าหน้าที่  โทร.สสจ.ปราจีนบุรี 037-211626 ต่อ 102 หรือ ติดต่อสถาบันอาชีวเวชศาสตร์และเวชศาสตร์ รพ.นพรัตนราชธานี กรมการแพทย์ โทร.02-5174333 


ทั้งนี้ ผู้ใดที่พบเห็นวัตถุต้องสงสัย หรือวัสดุที่มีลักษณะดังกล่าวข้างต้นนี้ โปรดหลีกเลี่ยงการสัมผัสและเข้าไปอยู่ใกล้ชิดและรีบแจ้งพนักงานเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ เจ้าหน้าที่ตำรวจ หรือสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ ที่สายด่วนแจ้งเหตุฉุกเฉินทางนิวเคลียร์และรังสี โทร. 1296
กรมการแพทย์ฯ ชี้ ลักษณะอาการ หากสัมผัสรังสีซีเซียม-137 และวิธีแก้ไขเบื้องต้น HealthServ
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด