ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน

มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน Thumb HealthServ.net
มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน ThumbMobile HealthServ.net

สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม หรือที่เรียกย่อๆ ว่า สมอ. ได้มีโครงการจัด
ทำมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน เพื่อรองรับการพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ชุมชนหรือระดับ
พื้นบ้านที่ยังไม่ได้รับการพัฒนาเท่าที่ควร ซึ่งวัตถุประสงค์ของโครงการที่สำคัญคือส่ง
เสริมและพัฒนาคุณภาพของผลิตภัณฑ์ชุมชนให้ได้รับการรับรองและแสดงเครื่องหมาย
การรับรอง เพื่อส่งเสริมด้านการตลาดของผลิตภัณฑ์ ให้เป็นที่ยอมรับอย่างแพร่หลาย
และสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ชุมชนทั้งใน ประเทศและ
ต่างประเทศ เน้นให้มีการพัฒนาแบบยั่งยืน

มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน HealthServ
สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม หรือที่เรียกย่อๆ ว่า สมอ. ได้มีโครงการจัด ทำมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน เพื่อรองรับการพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ชุมชนหรือระดับ พื้นบ้านที่ยังไม่ได้รับการพัฒนาเท่าที่ควร ซึ่งวัตถุประสงค์ของโครงการที่สำคัญคือส่ง เสริมและพัฒนาคุณภาพของผลิตภัณฑ์ชุมชนให้ได้รับการรับรองและแสดงเครื่องหมาย การรับรอง  เพื่อส่งเสริมด้านการตลาดของผลิตภัณฑ์  ให้เป็นที่ยอมรับอย่างแพร่หลาย และสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ชุมชนทั้งใน ประเทศและ ต่างประเทศ เน้นให้มีการพัฒนาแบบยั่งยืน อีกทั้งสนับสนุนนโยบายสำคัญของรัฐบาล โครงการ หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์  ในการแก้ไขปัญหาความยากจนของชุมชน  โดย มุ่งให้ความสำคัญของการนำภูมิปัญญาชาวบ้าน   และทรัพยากรที่มีอยู่ในท้องถิ่น  มา พัฒนาและสร้างมูลค่าของผลิตภัณฑ์ให้สูงขึ้น  มีคุณภาพ มีจุดเด่น มีเอกลักษณ์ มีการ พัฒนาท้องถิ่น สร้างชุมชนให้เข้มแข็ง พึ่งตนเองได้ สร้างงาน สร้างรายได้
หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน

๑. ขอบข่าย
          ๑.๑     เอกสารนี้กำหนดนิยาม คุณสมบัติของผู้ยื่นคำขอ การรับรอง การตรวจติดตามผล การยกเลิกการรับรอง และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องในการรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์ชุมชน
             

๒. นิยาม
            ความหมายของคำที่ใช้ในเอกสารนี้ มีดังต่อไปนี้
      ๒.๑      การรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์ชุมชน  หมายถึง  การให้การรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์ชุมชนของผู้ผลิตในชุมชน ที่เกิดการรวมกลุ่มกันประกอบกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่งทั้งที่จดทะเบียนอย่าง เป็นทางการหรือที่ไม่มีการจดทะเบียนเป็นการรวมกลุ่มเองโดยธรรมชาติ หรือชุมชนในโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ ที่ผ่านการคัดเลือกจากจังหวัด และ/หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนที่สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมได้ประกาศ กำหนดไว้แล้ว
      ๒.๒     ผู้ยื่นคำขอ หมายถึง ผู้ผลิตที่อยู่ในชุมชนและ/หรือจากโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ที่ผ่านการคัดเลือกจากคณะกรรมการอำนวยการ หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ แห่งชาติ
(กอ.นตผ.)
      ๒.๓     ผู้ได้รับการรับรอง หมายถึง ผู้ยื่นคำขอที่ผ่านการตรวจประเมินแล้ว และได้รับการรับรองจากคณะกรรมการมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน
             

๓. คุณสมบัติของผู้ยื่นคำขอ
      ๓.๑     ผู้ยื่นคำขอต้องมีคุณสมบัติในข้อหนึ่งข้อใด ดังต่อไปนี้
            ๓.๑.๑     เป็นผู้ผลิตในชุมชนของโครงการ หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ ได้รับการคัดเลือกจากคณะกรรมการอำนวยการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์แห่งชาติ (กอ.นตผ.)
            ๓.๑.๒     เป็นกลุ่มหรือสมาชิกของกลุ่มเกษตรกร  กลุ่มสหกรณ์  หรือกลุ่มอื่น ๆ ตามกฏหมายวิสาหกิจชุมชน  เช่น กลุ่มอาชีพ กลุ่มอาชีพก้าวหน้า กลุ่มธรรมชาติ เป็นต้น
                   

๔. การรับรอง
      ๔.๑     การรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์ชุมชน ประกอบด้วยการดำเนินการดังนี้
             ๔.๑.๑     ตรวจสอบสถานที่ผลิตและเก็บตัวอย่างจากสถานที่ผลิตส่งตรวจสอบ เพื่อพิจารณาออกใบรับรอง
             ๔.๑.๒     ตรวจติดตามผลคุณภาพผลิตภัณฑ์ชุมชนที่ได้รับการรับรอง โดยสุ่มซื้อตัวอย่างที่ได้รับการรับรองจากสถานที่จำหน่าย เพื่อตรวจสอบ
      ๔.๒     การขอการรับรอง ให้ยื่นคำขอต่อสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม หรือสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด หรือจังหวัด พร้อมหลักฐานและเอกสารต่างๆ ตามแบบที่สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมกำหนด
      ๔.๓     เมื่อได้รับคำขอตามข้อ ๔.๒ แล้ว สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมจะนัดหมายการตรวจสอบสถานที่ผลิตเก็บ ตัวอย่างส่งทดสอบ หรือทดสอบ ณ สถานที่ผลิต
      ๔.๔     ประเมินผลการตรวจสอบว่าเป็นไปตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนที่ ได้กำหนดไว้หรือไม่
      ๔.๕     ใบรับรองผลิตภัณฑ์ มีอายุ ๓ ปี นับตั้งแต่วันที่ระบุในใบรับรอง
      ๔.๖     การขอต่ออายุใบรับรองหรือการออกใบรับรองฉบับใหม่เมื่อใบ รับรองฉบับเก่าสิ้นอายุ ให้ดำเนินการตามข้อ ๔.๒ ถึง ๔.๔
             

๕. เงื่อนไขและการตรวจติดตาม
      ๕.๑     ผู้ได้รับการรับรอง ต้องรักษาไว้ซึ่งคุณภาพตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน ที่กำหนดไว้   ตลอดระยะเวลาที่ได้รับการรับรอง
      ๕.๒     การประเมินผลการตรวจสอบตัวอย่างที่สุ่มซื้อเพื่อตรวจติดตาม ผลต้องเป็นไปตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนที่กำหนด
      ๕.๓     การตรวจติดตามผลทำอย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง
             

๖. การยกเลิกการรับรอง
            สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม จะยกเลิกใบรับรอง กรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้
      ๖.๑     ผลิตภัณฑ์ที่ตรวจติดตามผลไม่เป็นไปตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์ ชุมชน ๒ ครั้งติดต่อกัน
      ๖.๒     ผู้ได้รับการรับรองขอยกเลิกใบรับรอง
      ๖.๓     มีการประกาศแก้ไขหรือยกเลิกมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนที่ได้ กำหนดไว้
      ๖.๔     เมื่อใบรับรองครบอายุ ๓ ปี นับจากวันที่ได้รับการรับรอง
      ๖.๕     กรณีมีการกระทำอันเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขต่างๆ ที่กำหนด เช่น การอวดอ้างเกินความเป็นจริง โฆษณาการได้รับการรับรองครอบคลุมรวมถึงผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้รับการรับรอง
             

๗. อื่นๆ
      ๗.๑     ในกรณีที่ยกเลิกใบรับรอง ผู้ได้รับการรับรองต้องยุติการใช้สิ่งพิมพ์ สื่อโฆษณา ที่มีการอ้างอิง ถึงการได้รับการรับรองทั้งหมด
      ๗.๒     สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ไม่รับผิดชอบในการกระทำใด ๆ ของผู้ได้รับการรับรองที่ได้กระทำไปโดยไม่สุจริตหรือไม่ปฏิบัติตามหรือ ฝ่าฝืนหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนด



ข้อแนะนำสำหรับผู้รับใบรับรองให้แสดง เครื่องหมายมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน


๑           ทั่วไป
๑.๑       เอกสารฉบับนี้ใช้ประกอบการได้รับใบรับรองให้แสดงเครื่อง หมายผลิตภัณฑ์ชุมชนซึ่งสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) ได้ตรวจสอบการขอรับรองและคณะกรรมการมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (กมช.) ได้ออกใบรับรองโดยมีเงื่อนไขให้ผู้รับใบรับรองปฏิบัติดังเอกสารที่แนบข้าง ต้น
       
๒         ค่าใช้จ่าย
ผู้รับใบรับรองไม่ต้องชำระค่าใช้จ่าย ดังนี้
๒.๑     ค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบผลิตภัณฑ์ชุมชน (ตัวอย่าง)
๒.๒     ค่าตัวอย่างผลิตภัณฑ์ชุมชนที่เก็บจากสถานที่จำหน่าย
๒.๓     ค่านำส่งตัวอย่าง
       
๓         การแสดง เครื่องหมายมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน
๓.๑     ผู้รับใบรับรองต้องแสดงเครื่องหมายมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน กับผลิตภัณฑ์ชุมชนที่เป็นไปตามมาตรฐานเท่านั้น
๓.๒     การแสดงเครื่องหมายมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน การทำเครื่องหมายและฉลาก
      ๓.๒.๑      การแสดงเครื่องหมายมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนให้ปฏิบัติตามหลัก เกณฑ์และวิธีการที่กำหนดแนบท้าย
      ๓.๒.๒     การทำเครื่องหมายและฉลากต้องมีข้อความครบถ้วนตามที่กำหนด ไว้ในมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนและได้รับความเห็นชอบจาก สมอ.
      ๓.๒.๓     ระยะเวลาในการแสดงเครื่องหมายมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนให้เป็น ไปตามเงื่อนไขที่กำหนด
             
๔         การตรวจสถาน ที่ผลิตและเก็บตัวอย่างเพื่อตรวจสอบของ สมอ.
๔.๑     ในการควบคุมการใช้เครื่องหมายมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน   สมอ. จะได้ส่งพนักงานเจ้าหน้าที่มาตรวจสถานที่ผลิตเป็นครั้งคราวและเก็บตัวอย่าง จากสถานที่ผลิต หรือจากแหล่งจำหน่ายไปตรวจสอบ
๔.๒     การมาตรวจสถานที่ผลิตเพื่อดูการทำและการใช้เครื่องหมาย มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน สมอ. จะไม่แจ้งให้ผู้รับใบรับรองทราบล่วงหน้า ยกเว้นบางกรณี
๔.๓     พนักงานเจ้าหน้าที่ที่มาตรวจสถานที่ผลิตต้องแสดงบัตรประจำ ต่อเจ้าหน้าที่ของสถานที่ผลิตทุกครั้ง
๔.๔     ในการตรวจสถานที่ผลิตและเก็บตัวอย่าง พนักงานเจ้าหน้าที่จะดำเนินการดังนี้
       
      ๔.๔.๑     การตรวจ สถานที่ผลิต
            ๔.๔.๑.๑      ตรวจกรรมวิธีการทำ การใช้เครื่องหมายมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนของสถานที่ผลิต
            ๔.๔.๑.๒     พนักงานเจ้าหน้าที่จะแจ้งผลการตรวจสอบตัวอย่างที่เก็บไปตรวจสอบในครั้ง ก่อน (ถ้ามี)
                   
      ๔.๔.๒     การเก็บ ตัวอย่าง
            ๔.๔.๒.๑     พนักงานเจ้าหน้าที่จะเก็บตัวอย่างตามวิธีการและจำนวนตามที่กำหนดใน มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน แต่อาจเก็บตัวอย่างเพิ่มขึ้น ในกรณีดังต่อไปนี้
(๑) ใช้เป็นตัวอย่างอ้างอิง
(๒) เพื่อแบ่งส่งหน่วยตรวจสอบมากกว่า ๑ หน่วยขึ้นไป (กรณีที่หน่วยตรวจสอบเดียวไม่
สามารถตรวจสอบได้ครบทุกรายการ ตามที่มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนกำหนด)
            ๔.๔.๒.๒     พนักงานเจ้าหน้าที่จะออกใบรับ-นำส่งตัวอย่างของ สมอ. ให้สถานที่ผลิตทุกครั้งที่มีการเก็บตัวอย่างและจะให้เจ้าหน้าที่ของสถานที่ ผลิตลงนามจ่ายตัวอย่างในใบรับ-นำส่งตัวอย่างด้วยในบางกรณีการนำส่งตัวอย่าง พนักงานเจ้าหน้าที่อาจขอให้ผู้รับใบรับรองนำส่งตัวอย่างให้สมอ. หรือหน่วยตรวจสอบก็ได้
                   
๔.๕     การตรวจสอบผลิตภัณฑ์
สมอ. จะส่งตัวอย่างที่เก็บจากแหล่งต่างๆให้หน่วยตรวจสอบเพื่อตรวจสอบและแจ้งผลการ ตรวจสอบให้ผู้ได้รับการรับรองทราบภายหลัง
       
๕         การเลิก ประกอบกิจการ
ผู้รับใบรับรองต้องแจ้งเป็นหนังสือให้ สมอ. ทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันเลิกกิจการ


โครงการมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน
ของ สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.)
1.     ความ เป็นมา
      1.1    

สำนักงานมาตรฐาน ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.)ได้จัดทำโครงการมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนขึ้น โดยมีระยะเวลาดำเนินการ 5 ปี วงเงินประมาณ 112,475,000  บาท (หนึ่งร้อยสิบสองล้านสี่แสนเจ็ดหมื่นห้าพันบาท) เพื่อรองรับการพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ชุมชน หรือระดับพื้นบ้านที่ยังไม่ได้รับการพัฒนาเท่าที่ควร  ขณะเดียวกันรัฐบาลมีนโยบายจัดตั้งโครงการ  หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ เพื่อเสริมสร้างให้แต่ละชุมชนได้ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ ที่เป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่น เพื่อผลิตจำหน่ายสู่ตลาดผู้บริโภค  ฉะนั้นโครงการมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน สมอ. จึงเป็นแนวทางที่สอดคล้องและสนับสนุนในด้านมาตรฐานและการรับรองคุณภาพของ ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากโครงการ หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ เพื่อให้ผลิตภัณฑ์เป็นที่ยอมรับและสามารถประกันคุณภาพให้กับผู้บริโภค ซึ่งเป็นแนวทางหนึ่งที่เชื่อมโยงผลิตภัณฑ์  จากชุมชนสู่ตลาดผู้บริโภคทั้งในประเทศ และต่างประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์ที่สำคัญ คือ
            ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพของผลิตภัณฑ์ชุมชนให้ได้รับการรับรอง และแสดงเครื่องหมายการรับรอง
            เพื่อส่งเสริมด้านการตลาดของผลิตภัณฑ์ให้ เป็นที่ยอมรับอย่างแพร่หลาย และสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคในการเลือกซื้อ ผลิตภัณฑ์ชุมชน ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
            เพื่อเน้นให้มีการพัฒนาแบบยั่งยืน อีกทั้งสนับสนุนนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาลในโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์
           
      1.2    

ต่อมากระทรวงอุตสาหกรรม โดยปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมได้มอบหมายให้ สมอ. ดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนตามความเห็น ของคณะอนุกรรมการวิจัย พัฒนาคุณภาพและพัฒนาเทคโนโลยี ในคณะกรรมการอำนวยการ หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์แห่งชาติ (กอ. นตผ.) ที่ได้มอบหมายงานให้อก. เป็นผู้พิจารณาดำเนินการทั้งนี้ได้เสนอจัดสรรเงินงบประมาณปี 2546 ให้จำนวน 15 ล้านบาท โดยมีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (ผู้แทน อก. ในคณะอนุกรรมการฯ) เป็นผู้ประสานงานและสนับสนุนข้อมูลของการดำเนินการในเรื่องนี้
      1.3     ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม มีคำสั่งกระทรวงอุตสาหกรรมที่ 400/2545 สั่ง ณ วันที่ 30 กันยายน 2545 แต่งตั้งคณะกรรมการมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (กมช.) ขึ้น โดยมีเลขาธิการสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เป็นประธานคณะกรรมการชุดนี้ เพื่อดำเนินการโครงการมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนมีอำนาจและหน้าที่ คือ
       1)           พิจารณากำหนด แก้ไข และยกเลิกมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน
    2)         ให้การรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์ชุมชน โดยการออกใบรับรองและการติดตามผลภายหลังที่ได้รับการรับรองแล้ว
    3)         ส่งเสริม พัฒนา และประชาสัมพันธ์ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถและข้อมูลให้กับผู้ผลิตในชุมชน
    4)         แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ เพื่อช่วยเหลือดำเนินการตามที่ได้รับมอบหมาย
    5)         ติดตามประเมินผล และรายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานให้คณะอนุกรรมการวิจัยพัฒนาคุณภาพ ผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยี  ใน กอ. นตผ. แห่งชาติ ทราบทุกระยะ
    6)         ดำเนินการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนชุมชน ตามที่ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมอบหมายและให้ความเห็นชอบแนวทางการดำเนินงาน โครงการมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน ของ สมอ. คือ
           
              1)           การกำหนดมาตรฐาน ผลิตภัณฑ์ชุมชน
สมอ. จะกำหนดมาตรฐาน โดยมีข้อกำหนดที่เหมาะสมกับสภาพของผลิตภัณฑ์เป็นที่ยอมรับของทุกฝ่ายที่ เกี่ยวข้องมีแนวทางปฏิบัติไม่ซับซ้อน เพื่อให้ผู้ผลิตเข้าถึงมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนได้ง่ายและคำนึงถึงระยะเวลาใน การกำหนดมาตรฐาน โดยใช้ข้อมูลจากประชุมสัมมนาเพื่อจัดทำมาตรฐาน โดย สมอ. หรือจัดจ้างกลุ่มนักวิชาการ และให้ผ่านการประชาพิจารณ์จากผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายก่อนประกาศใช้
    2)         การรับรองคุณภาพ ผลิตภัณฑ์ชุมชน
สมอ. จะให้การรับรองและการตรวจติดตามผล เพื่อสนับสนุนผู้ทำให้ผลิตผลิตภัณฑ์ชุมชนให้มีคุณภาพเป็นที่เชื่อถือของผู้ บริโภค โดยการเก็บตัวอย่างทดสอบ และค่าใช้จ่ายในการทดสอบตัวอย่างทางโครงการฯ จะให้การสนับสนุน สมอ. จะกำหนดรูปแบบเครื่องหมายรับรองและจะประชาสัมพันธ์เผยแพร่ เพื่อให้ผู้บริโภครับทราบและยอมรับอย่างทั่วถึง
    3)         ด้านพัฒนาผู้ผลิตในชุมชน
ใน กรณีที่ผู้ผลิตบางรายมีปัญหาในการทำผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพตามที่มาตรฐานกำหนด สมอ.จะส่งผูเชี่ยวชาญหรือนักวิชาการเข้าไปให้ความรู้เบื้องต้นโดยการฝึกอบรม และให้คำปรึกษาแนะนำ ณ ตำบลสถานที่ผลิตจนมีขีดความสามารถขอรับการรับรองได้
    4)         ด้านส่งเสริมและประชา สัมพันธ์
สมอ. จะสร้างการรับรู้เพื่อให้รู้จักและเกิดความตระหนักตื่นตัว โดยเปิดตัวและแนะนำโครงการผ่านสื่อต่างๆเช่น สื่อวิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ ฯลฯ สร้างแรงจูงใจทั้งทางตรงและทางอ้อมกล่าวคือ จัดประชุมผู้นำชุมชนหมู่บ้านที่มีผลิตภัณฑ์ชุมชน และเผยแพร่โครงการให้ทราบด้วยวิธีการต่างๆ เน้นใช้สื่อในท้องถิ่นในรูปแบบต่างๆ เช่น สปอตโฆษณา ทางวิทยุโทรทัศน์ ฯลฯ ตอกย้ำความสำเร็จของผู้ได้รับการรับรอง และยกย่องเชิดชูเพื่อเป็นแบบอย่างความสำเร็จของผลิตภัณฑ์ชาวบ้านภูมิปัญญา ไทย และให้ผู้ผลิตเกิดภาพพจน์ที่ดีว่าเป็นสินค้าคุณภาพเทียบสินค้าแบรนด์เนมทั้ง หลาย

2.     การดำเนินงานของ สมอ.
2.1            ดำเนินการประชุมคณะ กรรมการมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (กมช.) เมื่อวันที่ 8 และวันที่ 28 พฤศจิกายน 2545 เพื่อพิจารณากำหนดแนวทางขั้นตอนการปฏิบัติงาน ในด้านการกำหนดมาตรฐานการรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์หลักเกณฑ์ และเงื่อนไขการรับรองเครื่องหมายมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนรายชื่อ ที่เห็นสมควรจัดทำมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนปี 2546 จำนวน 60 เรื่อง และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
2.2         จัดให้มีการประชุม สัมมนาเชิงปฏิบัติ เรื่อง"รับฟังข้อมูลและข้อคิดเห็นด้านการกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน"จากผู้ ที่เกี่ยวข้อง 3 ฝ่าย คือ ผู้ผลิตในชุมชน ผู้บริโภค และนักวิชาการ ระหว่างวันที่ 16 ถึง 17 มกราคม 2546 ณ ห้องชลาลัย โรงแรมชลจันทร์ เมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี เพื่อรับฟังข้อมูลและข้อคิดเห็นที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนราย สินค้าจำนวน 13 เรื่อง ก่อนที่จะมีการประกาศเป็นมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนโดยมีรายละเอียดรายละเอียด ของการสัมมนาเชิงปฏิบัติการฯ ดังนี้
           
รูปแบบของ การสัมมนาฯ:     จัดแบ่งกลุ่มย่อยผู้เข้าร่วมสัมมนาฯจากทั่วประเทศเพื่อรับฟังข้อมูลและ ข้อคิดเห็นที่เกี่ยวข้องกับร่างมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนเป็นจำนวน 12 กลุ่มย่อยตามรายสาขาผลิตภัณฑ์ชุมชนทั้ง 13 เรื่อง โดยให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาฯ แสดงข้อคิดเห็นได้อย่างอิสระเป็นไปตามที่ปฏิบัติจริง ซึ่งจะเน้นผู้ผลิตในชุมชนที่เกี่ยวข้องตามรายสาขาผลิตภัณฑ์ชุมชนข้างต้น เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาดำเนินการจัดทำมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนให้มีข้อกำหนดที่ เหมาะสมกับสภาพผลิตภัณฑ์ชุมชน เป็นที่ยอมรับของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง มีแนวทางปฏิบัติที่ไม่ซับซ้อน เพื่อให้ผู้ผลิตในชุมชนเข้าถึงมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนได้ง่าย
       
กลุ่มบุคคลที่เข้าร่วม สัมมนาฯ :     ผู้เข้าร่วมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ ประกอบด้วยกลุ่มบุคคล 3 ฝ่าย คือ
       1)           ผู้ผลิตในชุมชน
    2)         นักวิชาการ /ผู้ทรงคุณวุฒิ
    3)         ผู้บริโภคจาก 42 จังหวัด หน่วยงานราชการ 34 ราย หน่วยงานเอกชน 2 ราย ผู้ทรงคุณวุฒิเฉพาะสาขา 3 ราย และคณะกรรมการมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน 11ราย รวม ทั้งสิ้น ประมาณ 180 คน
       
สาระสำคัญของร่างมาตรฐาน
ผลิตภัณฑ์ ชุมชน :     จะนำเสนอร่างมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน แต่ละเรื่องให้พิจารณาในการสัมมนาเชิงปฏิบัติการครั้งนี้

      2.3     การเปิดให้บริการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน
คาด ว่า จะเปิดรับคำขอใบรับรองเครื่องหมายมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนสำหรับมาตรฐาน ผลิตภัณฑ์ชุมชน 13 เรื่องดังกล่าวได้ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2546 เป็นต้นไป โดยผู้ยื่นคำขอ ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น ส่วนผลิตภัณฑ์ชุมชนอื่นตามประกาศบัญชีรายชื่อผลิตภัณฑ์ดีเด่น : สินค้าชุมชนของคณะกรรมการอำนวยการ หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ แห่งชาติ (กอ.นตผ.) จะทยอยดำเนินการ ซึ่งมีหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์ชุมชน ดังนี้
1) ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพของผลิตภัณฑ์ชุมชนให้ได้รับการ รับรองและแสดงเครื่องหมายการรับรอง
                    เป็นผู้ผลิตในชุมชนของโครงการ หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ ได้รับการคัดเลือกจากคณะกรรมการอำนวยการ หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ แห่งชาติ (กอ.นตผ.)
            เป็นกลุ่มหรือสมาชิกของกลุ่มเกษตรกร กลุ่มสหกรณ์ หรือกลุ่มอื่นๆ ตามกฎหมายวิสาหกิจชุมชน เช่นกลุ่มอาชีพ กลุ่มอาชีพก้าวหน้า กลุ่มธรรมชาติ เป็นต้น

2) การรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์ชุมชน ประกอบด้วยการดำเนินการ ดังนี้
                  ตรวจสอบสถานที่ผลิตและเก็บตัวอย่างจากสถานที่ผลิตส่งตรวจสอบ เพื่อพิจารณาออกใบรับรอง
            ตรวจติดตามผลคุณภาพผลิตภัณฑ์ชุมชนที่ได้รับการรับรอง โดยสุ่มซื้อตัวอย่างที่ได้รับการรับรองจากสถานที่จำหน่ายเพื่อตรวจสอบ

3) การขอการรับรอง ให้ยื่นคำขอต่อสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม หรือสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด หรือจังหวัดพร้อมหลักฐานและเอกสารต่างๆ ตามแบบที่สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมกำหนด
4) เมื่อได้รับคำขอแล้ว สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมจะนัดหมายการตรวจสอบสถานที่ผลิตเก็บ ตัวอย่างส่งทดสอบ หรือทดสอบ ณ สถานที่ผลิต
5) ประเมินผลการตรวจสอบว่าเป็นไปตามมาตรฐาน ผลิตภัณฑ์ชุมชนที่ได้กำหนดไว้หรือไม่
6) ใบรับรองผลิตภัณฑ์ มีอายุ 3 ปี นับตั้งแต่วันที่ระบุในใบรับรอง
7) การขอต่ออายุใบรับรองหรือ การออกใบรับรองฉบับใหม่เมื่อใบรับรองฉบับเก่าสิ้นอายุ
8) เงื่อนไขและการตรวจติดตาม
                    ผู้ได้รับการรับรองต้องรักษาไว้ซึ่งคุณภาพตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนที่ กำหนดไว้ ตลอดระยะเวลาที่ได้รับการรับรอง
            การประเมินผลการตรวจสอบตัวอย่างที่สุ่มซื้อ เพื่อตรวจติดตามผลต้องเป็นไปตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนที่กำหนด

9) การตรวจติดตามผลทำ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
10) การยกเลิกการรับรอง สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมจะยกเลิกใบรับรองกรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อ ไปนี้
                    ผลิตภัณฑ์ที่ตรวจติดตามผลไม่เป็นไปตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน 2 ครั้ง ติดต่อกัน
            ผู้ได้รับการรับรองขอยกเลิกใบรับรอง
            มีการประกาศแก้ไขหรือยกเลิกมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนที่ได้กำหนดไว้
            เมื่อใบรับรองครบอายุ 3 ปี นับจากวันที่ได้รับการรับรอง
            กรณีมีการกระทำอันเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข ต่างๆ ที่กำหนด เช่น การอวดอ้างเกินความเป็นจริงโฆษณาการได้รับการรับรองครอบคลุมรวมถึงผลิตภัณฑ์ ที่ไม่ได้รับการรับรอง

11) อื่นๆ
                    ในกรณีที่ยกเลิกใบรับรองผู้ได้รับการรับรองต้องยุติการใช้สิ่งพิมพ์ สื่อโฆษณา ที่มีการอ้างอิงถึงการได้รับการรับรองทั้งหมด
            สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมไม่รับผิดชอบในการกระทำใด ๆ ของผู้ได้รับการรับรองที่ได้กระทำไปโดยไม่สุจริต หรือไม่ปฏิบัติตามหรือฝ่าฝืนหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนด

3.     คาดประโยชน์ที่ ได้รับจากโครงการมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน
    3.1           เป็นการสนับสนุนผู้ผลิตรายย่อยให้ทำผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ และสนับสนุนด้านการตลาดโดยการให้เครื่องหมายรับรองซึ่งจะเป็นการพัฒนาที่ ยั่งยืน และยกระดับการผลิตต่อไป
    3.2         เป็นการสนองตอบนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาลในโครงการ หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ ในด้านคุณภาพผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ให้ผ่านการรับรองเพื่อสามารถแสดงสัญลักษณ์
    3.3         เป็นการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์เพื่อยกระดับให้มีการปรับปรุง การผลิตให้ดียิ่งขึ้น เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของธุรกิจชุมชน โดยเฉพาะในโครงการ หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ ทั่วประเทศ
    3.4         เป็นการส่งเสริมด้านการตลาด ให้เป็นที่ยอมรับและเพิ่มความเชื่อถือของผู้ซื้อในและต่างประเทศ

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด