ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

ใช้ยาปฏิชีวนะโดยขาดความระมัดระวัง ส่งผลกระทบด้านสุขภาพและเศรษฐกิจ

การใช้ยาปฏิชีวนะโดยขาดความระมัดระวังย่อมส่งผลกระทบด้านสุขภาพ ไม่ว่าจะเป็น คนไทยติดเชื้อในโรงพยาบาล 270,000 คน คนไทยติดเชื้อดื้อยา 90,000 คน ผู้ติดเชื้อดื้อยาอยู่โรงพยาบาลนานขึ้น 3 ล้านวัน คนไทยเสียชีวิตจากเชื้อดื้อยา 38,000 คน รวมถึงส่งผลกระทบด้านเศรษฐกิจ ไม่ว่าจะเป็นมูลค่ายาปฏิชีวนะรักษาเชื้อดื้อยา 6,000 ล้านบาท และความสูญเสียทางเศรษฐกิจรวม 30,000 ล้านบาท

 
ทั้งนี้เพื่อให้การใช้ยาปฏิชีวนะเป็นไปอย่างสมเหตุผล บุคลากรทางการแพทย์ เช่น แพทย์ เภสัชกร รวมทั้งประชาชนจำเป็นที่จะต้องมีความรู้ความเข้าใจเรื่องยาปฏิชีวนะ ดังต่อไปนี้ 
 
  1. ยาปฏิชีวนะไม่ใช่ยาแก้อักเสบ
    ยาปฏิชีวนะเป็นยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ส่วนยาแก้อักเสบเป็นยาต้านการอักเสบ ลดไข้ บรรเทาปวด ลดบวมแดง เช่น แอสไพริน ไอบูโพรเฟน ไม่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งการอักเสบส่วนใหญ่ไม่ได้เกิดจากเชื้อแบคทีเรียจึงไม่จำเป็นต้องรับประทานยาปฏิชีวนะ การเรียกยาปฏิชีวนะผิดเป็นยาแก้อักเสบจะทำให้ใช้ยาผิดชนิด รักษาผิดโรค และเป็นอันตรายถึงชีวิต
  2. ยาปฏิชีวนะเป็นยาอันตราย
    เพราะอาจทำให้แพ้ยา และเกิดเชื้อดื้อยา ดังนั้น กฎหมายจึงกำหนดให้ยาปฏิชีวนะเป็นยาอันตราย โดยมีคำเตือนในกรอบอยู่ข้างกล่อง และควรใช้ภายใต้คำแนะนำของแพทย์หรือเภสัชกรเท่านั้น
  3. โรคหายได้ ไม่ต้องใช้ยาปฏิชีวนะ
    อาทิ หวัด เจ็บคอ กว่าร้อยละ 80 เกิดจากไวรัส มีอาการ เช่น น้ำมูกไหล ไอ จาม เสียงแหบ เจ็บคอ คันคอ มีไข้ เป็นนาน 7-10 วัน โดยวันที่ 3-4 จะมีอาการมากที่สุด แล้วจะค่อย ๆ ดีขึ้นเอง รักษาโดยดื่มน้ำอุ่น กลั้วคอด้วยน้ำเกลือ พักผ่อนให้มาก แต่ถ้ามีอาการ 3 ใน 4 ข้อคือ เจ็บคอมาก และไม่ไอ มีไข้ มีหนองที่ต่อมทอนซิล ต่อมน้ำเหลืองใต้ขากรรไกรโตและกดเจ็บ ต้องไปพบแพทย์หรือเภสัชกร ท้องเสีย กว่าร้อยละ 99 เกิดจากไวรัสหรืออาหารเป็นพิษ มีอาการถ่ายเหลวหรือถ่ายเป็นน้ำ อาจมีคลื่นไส้ อาเจียนร่วมด้วย รักษาโดยดื่มน้ำเกลือแร่ ไม่ต้องรับประทานยาปฏิชีวนะ แต่ถ้ามีไข้และถ่ายเป็นมูกเลือดต้องไปพบแพทย์หรือเภสัชกร แผลเลือดออก เช่น มีดบาด แผลถลอก แผลเล็กน้อยจากอุบัติเหตุ ซึ่งผู้ป่วยมีสุขภาพโดยรวมแข็งแรงดี รักษาโดยล้างทำความสะอาดอย่างถูกต้อง ไม่ต้องใช้ยาปฏิชีวนะ แต่ถ้าเป็นแผลที่เท้า ตะปูตำ สัตว์กัด แผลถูกสิ่งสกปรก เช่น มูลสัตว์ น้ำครำ หรือมีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ต้องไปพบแพทย์หรือเภสัชกร

วารสารวงการแพทย์

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด