ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

ป้องกันพฤติกรรม... Bully ด้วย 4 วิธี

ป้องกันพฤติกรรม... Bully ด้วย 4 วิธี Thumb HealthServ.net
ป้องกันพฤติกรรม... Bully ด้วย 4 วิธี ThumbMobile HealthServ.net

Bully เป็นการแสดงความก้าวร้าวรุนแรง กลั่นแกล้ง รังแกผู้อื่นทั้งทางวาจาและร่างกาย เป็นการใช้อำนาจที่ไม่ถูกต้อง ที่พบบ่อยมักเป็นการล้อเลียน รูปร่าง หน้าตา สถานะทางสังคม รวมถึงการประจานกันทางโซเชียลมีเดีย

คำจำกัดความของ Bully

Bully เป็นการแสดงความก้าวร้าวรุนแรง   กลั่นแกล้ง   รังแกผู้อื่นทั้งทางวาจาและร่างกาย เป็นการใช้อำนาจที่ไม่ถูกต้อง ที่พบบ่อยมักเป็นการล้อเลียน รูปร่าง   หน้าตา   สถานะทางสังคม   รวมถึงการประจานกันทางโซเชียลมีเดีย

สาเหตุของการข่มเหงรักแก (Bully)

จากการศึกษาพบว่าผู้กระทำการเพราะความไม่พอใจ ถูกทำให้ขายหน้า โกรธหรือต้องการแสดงตัวตนในสังคม การศึกษาหลายสิบปีที่ผ่านมา พบว่าการรับสื่อที่มีความรุนแรง เป็นสาเหตุหนึ่งทำให้เด็กมีพฤติกรรมรุนแรงมากขึ้น ในระยะยาวการได้รับสื่อที่มีความรุนแรงซ้ำๆ จะทำให้ซึมซับความรุนแรงและยอมรับว่าพฤติกรรมรุนแรง เป็นเรื่องปกติธรรมดา

Cyber bullying

ปัญหาการข่มเหงรังแกทางอินเตอร์เน็ต กำลังเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วไปทั่วโลก ลักษณะเฉพาะของ Cyber bullying ผู้กระทำอาจเป็นบุคคลนิรนาม อาจใช้ชื่อปลอมหรือใช้ชื่อบุคคลอื่นแทน มีความสามารถในการแพร่กระจายให้คนรู้ได้ในวงกว้าง แรงจูงใจในการทำ Cyber bullying ได้แก่ การขาดความเชื่อมั่นในตนเอง ความต้องการให้ตนเองรู้สึกดีขึ้น อาจจะทำเพื่อความสนุกสนานรวมทั้งเพื่อแก้แค้น เหยื่อของ Cyber bullying มักจะขาความมั่นในในตนเอง มีภาวะซึมเศร้าสูง มีปัญหาพฤติกรรม  และส่งผลถึงพฤติกรรมการฆ่าตัวตาย

คำแนะนำสำหรับการป้องกันการข่มเหงรังแก (Bully)

  1. เด็กที่ถูกข่มเหงรังแก (Bully) มักเป็นเด็กที่ขาดความมั่นใจในตนเอง ผู้ปกครองอาจแสดงให้เด็กเห็นถึงการสร้างความมั่นใจ ลดการพาตนเองเข้าไปในสิ่งแวดล้อมข่มเหงรังแก การนิ่งเฉยต่อการ bully จะช่วยให้เรื่องราวหายไปอย่างรวดเร็ว ผู้ลงมือ อาจจะรู้สึกเบื่อไปเองในที่สุด
  2. การจัดการเมื่อต้องเผชิญหน้า
    - เดินหนีออกจากสถานการณ์
    - พูดด้วยน้ำเสียงที่เข้มแข็งและท่าทีที่มั่นคง ว่าไม่ชอบการกระทำ รวมถึงวาจาต่างๆที่ถูกกล่าวถึง
    - แจ้งครูหรือผู้ใหญ่
  3. ครอบครัวและครู  ควรประสานงานกัน เพื่อรายงานความเปลี่ยนแปลง ของพฤติกรรมเด็ก
  4. นักจิตวิทยา ควรให้ความช่วยเหลือแก่ผู้กระทำและผู้ถูกกระทำเป็นรายบุคคล ซึ่งจะเป็นผลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในระยะยาว
พญ.พนิตษา  ยุกตะนันทน์  แพทย์ชำนาญการด้านพัฒนาการและพฤติกรรมเด็ก รพ.วิภาวดี

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด