สาเหตุ มี 3 ประเภท
1. อาการท้องเสียเนื่องจากได้รับสารพิษจากเชื้อ
2. อาการท้องเสียเนื่องจากการติดเชื้อ
3. ท้องเสียซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับการติดเชื้อหรือสารพิษจากเชื้อ เช่น ยาปฎิชีวนะบางชนิด, แพ้อาหาร
อาการท้องเสีย
ทั้งสามประเภทนี้จะมีลักษณะอาการ วิธีการรักษา และการปฎิบัติตนที่แตกต่างกัน ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญที่ทุกคนควรจะทราบเนื่องจากถ้าปฏิบัติตนไม่ถูกต้องแล้วอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ถ้าเป็นการท้องเสียจากการได้รับสารพิษจากเชื้อ อาจเกิดจากการรับประทานอาหารที่ปนเปื้อนสารพิษที่มาจากเชื้อโรคเข้าไป ผู้ป่วยที่มีอาการคลื่นไส้อาเจียนถ่ายเหลวหลังจากรับประทานอาหาร ประมาณ 2-4 ชั่วโมง เรียกว่าทานเข้าไปไม่นานก็เริ่มมีอาการแล้ว
ชนิดของถ่ายเหลว
- ท้องเสีย เนื่องจากร่างกายชาดน้ำย่อยบางชนิด ดังเช่น ในคนเอเชียจำนวนไม่น้อยที่เกิดมาขาดสารเอนไซม์ที่จะต้องใช้ย่อยน้ำตาลในนมวัว รับประทานนมวัวทีไรก็ท้องเสียทุกที หรือเด็กที่หายจาอาการท้องเสียใหม่ ๆ ร่างกายยังไม่ฟื้นพอที่จะสร้างเอนไซม์ตัวนี้ เด็กก็จะท้องเสียหากรับประทานนมวัวเข้าไป ทั้ง ๆ ที่เมื่อก่อนรับประทานได้
- ท้องเสียบางครั้งเกิดจากลำไส้อักเสบ เพราะเกิดจากการได้รับสารพิษ เช่น สารบอแรกซ์
- กลุ่มที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ เช่น อาหารเป็นพิษ เกิดอาการปวดท้อง ท้องเสีย อาเจียน อย่างเฉียบพลันและมักรุนแรง มักเกิดภายหลังรับประทานอาหารได้สัก 1-2 ชั่วโมง
อันตรายจากท้องเสีย
อันตรายจากท้องเสียที่สำคัญที่สุด คือการที่ร่างกายเสียสารน้ำและเกลือแร่ ซึ่งมีระดับความรุนแรงที่แตกต่างกัน กรณีที่สูญเสียน้ำและเกลือแร่อยู่ในขั้นรุนแรงจะเป็นอันตรายมาก ถ้าได้รับการแก้ไขไม่ทันท่วงที
การรักษา
1.ตามอาการ
เมื่อมีอาการใน 4-6 ชั่วโมงแรก อาจซื้อผงเกลือแร่สำเร็จรูปจากร้านขายยามาลองรับประทานดูก่อน หรืออาจจะเตรียมเองที่บ้านก็ได้โดยใช้น้ำตาลทราย 2 ช้อนโต๊ะ เหลือป่น ½ ช้อนชา เติมน้ำสะอาด 1 ขวดกลม ประมาณ 750 ซีซี การรักษาที่สำคัญและจำเป็นที่สุดคือการได้รับน้ำและเกลือแร่ทดแทน ในช่วงที่มีอาการท้องเสียควรรับประทานอาหารอ่อนหรืออาหารเหลว เช่น ข้าวต้ม โจ๊ก ไม่ควรงดรับประทานอาหารเพราะจำทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย ไม่มีแรง ถ้าเป็นไม่มากหลังดื่มน้ำเกลือแร่แล้วผู้ป่วยจะมีอาการดีขึ้น แต่ถ้าดื่มน้ำแกลือแร่ไม่ได้ ยังคงอาเจียนมีไข้สูง วิงเวียน เพลีย ควรพบแพทย์โดยเร็วที่สุด เพราะผู้ป่วยอาจเกิดภาวะช็อคและเสียชีวิตได้ วิธีดีง่าย ๆ คือดูจากปริมานและสีของปัสสาวะ ถ้าลักษณะสีเหลือจาง ๆ หรือเกือบไม่มีสีและปัสสาวะทุก 3-5 ชม.แสดงว่าดื่มน้ำได้เพียงพอ หลังถ่ายเหลว 2-3 วัน บางรายจะมีอาการท้องอืดๆ ได้
2.การใช้ยา
ยาที่ช่วยให้หยุดถ่ายหรือที่มักจะเรียกว่ายาแก้ท้องเสีย เช่น Dphenoxylate, Loperamide สามารถใช้ได้เฉพาะผู้ที่ท้องเสียธรรมดาเท่านั้น ห้ามใช้ในผู้ป่วยที่สงสัยว่าเกิดอาการท้องเสียเนื่องจากติดเชื้อ หรือได้รับสารพิษจากเชื้อ เนื่องจากยาที่ทำให้หยุดถ่ายจะทำให้ลำไส้บีบตัวน้อยลงทำให้ความถี่ของการถ่ายลดลงและผู้ป่วยอาจคิดว่าอาการดีขึ้น แต่ความจริงแล้วเชื้อหรือสารพิษจากเชื้อจะอยู่ในร่างกายได้นานขึ้น ทำให้หายจากอาการท้องเสียได้ช้าลง หากสงสัยว่าท้องเสียแบบติดเชื้อหรือได้รับสารพิษจากเชื้อควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร เพื่อจะได้รับยาฆ่าเชื้อหรือยาดูดซับสารพิษที่เหมาะสม
การป้องกัน
ล้างมือให้สะอาดก่อนปรุงอาหาร และล้างมือทุกครั้งหลังเข้าหรือออกจากห้องน้ำ ดื่มน้ำสะอาด รับประทานอาหารที่สะอาดและปรุงสุกใหม่ ๆ เมื่อเกิดท้องเสียให้ดื่มน้ำอุ่นรับประทานอาหารที่ย่อยง่ายและพักผ่อนให้เพียงพอ ห้ามดื่มนมที่ไม่ผ่านการฆ่าเชื้อโรค ดูแลสิ่งแวดล้อมบริเวณบ้านไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของแมลงวัน