อาการแสดงโรคเก๊าท์เทียม
ลักษณะอาการที่พบ
1. อาการข้ออักเสบเฉียบพลันแบบเป็นๆ หายๆ เลียนแบบโรคเก๊าท์
2. อาการปวดข้อเรื้อรังแบบโรคข้อเข่าเสื่อม หรืออาจพบร่วมกับโรคข้อเข่าเสื่อมได้
3. อาการข้ออักเสบเรื้อรังชนิดหลายข้อเลียนแบบโรครูมาตอยด์ได้
4. อาการข้ออักเสบเรื้อรังและมีการทำลายข้อได้
5. อาจไม่มีอาการแต่สามารถตรวจพบได้ทางภาพรังสี
ข้อต่างของโรคเก๊าท์ กับ โรคเก๊าท์เทียม
ผู้เชี่ยวชาญ สรุปถึงความต่างของ 2 โรคนี้ ไว้อย่างกระชับ ดังนี้
ผลึกที่สะสม
เก๊าท์ เกิดจากการสะสมของผลึกยูริก (uric acid/urate)
เก๊าท์เทียม เกิดจากการสะสมของผลึก แคลเซียม ไพโรฟอสเฟต (calcium pyrophosphate) จึงเรียกอีกอย่างว่า calcium pyrophosphate deposit disease (CPPD)
ข้ออักเสบที่พบบ่อย
เก๊าท์ มักเกิดการอักเสบที่ข้อนิ้วหัวแม่เท้า (1st metatarsophalangeal joint)มากที่สุด ข้อเข่า ข้อเท้า ข้อมือ ข้อนิ้วมือ ข้อศอก ข้อนิ้วเท้า
เก๊าท์เทียม มักเกิดการอักเสบที่ข้อเข่ามากที่สุด นิ้วเท้า ข้อมือ ข้อไหล่ ข้อเท้า ข้อนิ้วมือ
ลักษณะผู้ป่วยที่พบโรค
เก๊าท์ มักพบในเพศชายอายุ 40-50 ปี พบในเพศหญิงได้หลังหมดประจำเดือน
เก๊าท์เทียม มักพบในวัยกลางคนและสูงอายุ (65-75 ปี) ถ้าพบในคนอายุน้อยมักสัมพันธ์กับการถ่ายทอดทางพันธุกรรม
ปริมาณกรดยูริกในเลือด
เก๊าท์ ยูริกมักจะสูง
เก๊าท์ ยูริกปกติ
การตรวดน้ำในข้อ
เก๊าท์ พบผลึก monosodium urate (MSU) ลักษณะเป็นเหมือนเข็ม (needle-shaped)
เก๊าท์เทียม พบผลึก calcium pyrophosphate มีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมคางหมู (rhomboid shape)
อาการและอาการแสดง
เก๊าท์ มีอาการปวดรุนแรงเฉียบพลัน ข้อบวมแดงร้อน มักเป็นทีละข้อ
เก๊าท์เทียม มีอาการปวดปานกลาง ข้อบวม ร้อน
การรักษาทางยา
ในรายที่มีข้ออักเสบเฉียบพลัน แพทย์จะใช้ยาลดการอักเสบ เช่น ยาต้านอักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์ หรืออาจใช้ยาโคลชิซิน เหมือนกับการรักษาในโรคเกาต์
ในรายที่มีน้ำไขข้อมาก การดูดเอาน้ำไขข้อออกจะสามารถช่วยลดการอักเสบของข้อได้
ในรายที่ไม่ตอบสนองต่อยารับประทาน อาจจำเป็นต้องใช้ยาฉีดเข้าข้อ ซึ่งการรักษาแบบนี้ไม่ควรจะกระทำบ่อยๆ
การทำกายภาพบำบัด
เป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยฟื้นฟูความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและพิสัยการเคลื่อนไหวของข้อ ควรทำกายภาพในช่วงที่ข้ออักเสบทุเลาลงแล้ว
ข้อมูล สมาคมรูมาติสซั่มแห่งประเทศไทย, คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, Ya and You, เพจคลินิกหมอณัฐดนัย กระดูก ข้อ