ภาวะแทรกซ้อนที่เกิจากโรคเบาหวาน
ภาวะแทรกซ้อน หมายถึง ผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะของโรคแทรกซ้อนที่เกิดจากระดับน้ำตาล
ในเลือดผิดปกติ เป็นสาเหตุหลักของความเจ็บป่วยซึ่งอาจร้ายแรงถึงขั้น สูญเสียอวัยวะหรือชีวิต 2 ใน 3
ของผู้ป่วยเบาหวานจะเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมองและหลอดเลือดหัวใจซึ่งเป็นภาวะแทรกซ้อน
จากโรคเบาหวานที่สำคัญ ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานนอกจากทำให้ผู้ป่วยสูญเสียความสามารถ
ในการทำงาน สูญเสียคุณภาพชีวิตยังต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรักษามากมาย
โรคเบาหวานทำให้เกิดการเสียชีวิตได้สูง และยังทำให้เกิดภาวะต่างๆ ที่สำคัญดังนี้
1. ภาวะแทรกซ้อนแบบเฉียบพลัน
ได้แก่ ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ โดยจะพบว่า น้ำตาลในเลือดมักต่ำกว่า 70 mg/dl มักพบในผู้ที่กำลังรักษาโดยใช้อินซูลินหรือยาเม็ด ในขณะที่ได้รับยาปกติ ผู้ป่วยที่ออกกำลังกายมากผิดปกติหรือรับประทานอาหารไม่ได้ หรือได้รับยาบางชนิด ดื่มสุรามาก ผู้ป่วยจะมีอาการตัวเย็น ชีพจรเบา เร็ว อ่อนเพลีย เหงื่อออกใจสั่น เป็นลม วิงเวียน มึนงง ตาพร่ามัว ถ้าไม่ได้รับน้ำตาลทดแทน จะมีระดับความรู้สึกตัวลดลงและหมดสติในที่สุด ภาวะน้ำตาลในเลือดและภาวะน้ำตาลในเลือดสูง โดยไม่มีกรด
2. ภาวะแทรกซ้อนแบบเรื้อรัง
ได้แก่ ระบบประสาท อาการที่พบคือ การชาปลายเท้าท้ังสองข้าง ปวดแสบปวดร้อน กล้ามเนื้ออ่อนแรง การสูญเสียการควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อ ที่ต้องใช้ในการทำงานของต่อมเหงื่อผิดปกติ ท้องผูก ปัสสาวะค้างในกระเพาะปัสสาวะหลังการถ่ายปัสสาวะ และมีความผิดปกติของระบบสืบพันธุ์
ภาวะแทรกซ้อนทางตา ทำให้ตาบอด เลนส์ตาขุ่นเป็นต้อกระจก ในบางรายอาจเป็นต้อหิน ตาพร่ามัว มองไม่เห็น
ระบบหัวใจและหลอดเลือด ทำให้เกิดโรคของหลอดเลือด ได้แก่ความดันโลหิตสูงขึ้น หลอดเลือดหัวใจตีบตัน หลอดเลือดที่ไต และหลอดเลือดสมองผิดปกติ โดยผู้ป่วยเบาหวานมีโอกาสเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจมากกว่าคนปกติถึง 2 เท่า
ภาวะแทรกซ้อนทางไต พบว่าผู้ป่วยมีอาการบวม ถ้ามีอาการที่รุนแรงจะเกิดการคั่ง ของเสีย ชักนำให้เกิดภาวะไตวายในที่สุด และมีผลตามมาคือ มีความดันโลหิตสูงขึ้นจากภาวะไตวาย
ระบบกระดูก พบว่า ในผู้ป่วยชนิดไม่พึ่งอินซูลิน จะมีการหดรั้งของข้อได้
ระบบภูมิคุ้มกันพบว่าเม็ดเลือดขาว ทำหน้าที่ไม่ได้ตามปกติ ความสามารถในการจับกินเชื้อโรคลดลง มีการติดเชื้อได้ง่าย นอกจากนี้การถ่ายออกซิเจนของเม็ดเลือดแดงไปสู่เนื้อเยื่อลดลง จึงเกิดการขาดออกซิเจนได้ง่าย
เป้าหมายของการควบคุมโรคเบาหวาน
คือ การรักษาระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยให้ใกล้เคียงกับระดับคนทั่วไป ซึ่งสามารถทำ ได้ 3 วิธีคือ
1. การควบคุมอาหาร
2. การออกกำลังกาย
3. การใช้ยา ซึ่งอาจเป็นยารับประทานหรือยาฉีด แล้วแต่อาการของผู้ป่วย