ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

ตอบ 10 คำถาม ว่าโลกร้อนจริงป่ะ

ตอบ 10 คำถาม ว่าโลกร้อนจริงป่ะ Thumb HealthServ.net
ตอบ 10 คำถาม ว่าโลกร้อนจริงป่ะ ThumbMobile HealthServ.net

โลกร้อนจริงไหม เมื่อก่อนอาจกังขาสงสัย แต่วันนี้พ.ศ.นี้ ภัยพิบัติรุนแรงทั่วโลก คือคำตอบชัดๆ ว่าโลกร้อนจริงไหม โลกร้อนมีผลอย่างไร ถึงวันนี้แล้ว ความรู้ด้านก๊าซเรือนกระจกต้องมี ความรู้เรื่องคาร์บอนเครดิตต้องรู้ เรื่องโลกร้อนต้องตระหนัก


คำว่า "คาร์บอน" หมายถึง "ก๊าซเรือนกระจก" (greenhouse gas) ที่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ซึ่งทำให้เกิดภาวะโลกร้อนโดยก๊าซเรือนกระจกมีหลายชนิดและมีค่าศักยภาพในการทำให้เกิดภาวะโลกร้อน (global warming potential, GWP) ไม่เท่ากัน

ดังนั้นเพื่อให้ง่ายต่อการสื่อสารโดยทั่วไป กิจกรรมหรือการดำเนินการที่ช่วยลดก๊าซเรือนกระจกเพื่อลคสาเหตุของภาวะโลกร้อน จึงนิยมเรียกกันโดยย่อว่า "คาร์บอนต่ำ" เช่น สังคมคาร์บอนต่ำ เศรษฐกิจดาร์บอนต่ำ เทศบาลคาร์บอนต่ำ ฯลฯ

 

10 ข้อสงสัยภาวะโลกร้อน


10 คำถามคำตอบ ที่จะบ่งชี้และอธิบายถึงเหตุและผล ของการเกิดภาวะโลกร้อน ปัญหาและทางออก ภาพของผลกระทบและความเกี่ยวพันธ์กันของปัจจัยต่างๆ ข้อกังวลสงสัย และคำแนะนำที่เป็นทางออก แม้จะดูเล็กๆน้อยๆ แต่ก็ส่งผลในทางดีได้ (เช่นเดียวกับปัญหาที่สั่งสมมาเล็กๆน้อยๆ ยาวนานจนมาส่งผลกระทบใหญ่โตรุนแรงในปัจจุบันนี้ นั่นแหละ)



 1. โลกไม่ได้ร้อนขึ้นจริงหรอกคิดกันไปเองทั้งนั้น ?

 
เมื่อหลายปีก่อนอาจยังมีข้อสงสัยแบบนี้ได้ แต่ปัจจุบันมีหลักฐานและปรากฎการณ์มากมายที่นักวิทยาศาสตร์นับพันคนทั่วโลกได้ร่วมกันศึกษา ติดตาม และวิจัย จนยืนยันแน่ชัดแล้วว่า ภาวะโลกร้อนกำลังเกิดขึ้นจริงๆ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซค์ (CO2) ที่ทำให้โลกร้อนมีความเข้มข้นสูงสุดในชั้นบรรยากาศจากที่เคยมีมาในช่วงเวลากว่า 6 แสนปี





 
 

2. โลกร้อนขึ้นได้อย่างไร

 
โลกร้อนขึ้นจากกิจกรรมของมนุษย์ที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกขึ้นไปในชั้นบรรยากาศ ก๊าชเรือนกระจกประกอบด้วยก๊าซหลายชนิค ที่สำคัญคือ ก๊าซคาร์บอนไคออกไซค์ ก๊าชมีเทน ก๊าชไนตรัสออกไซค์ ก๊าชชัลเฟอร์เฮกซะฟลูออไรค์ ก๊าโอโซน สารคลอโรฟลูออโรคาร์บอน และฮาโลคาร์บอน ก๊าซเหล่านี้สามารถเก็บกักรังสีความร้อนจากผิวโลก แล้วคายรังสีความร้อนนั้นกลับลงมา ทำให้อุณหภูมิบนผิวโลกร้อนขึ้นกว่าเคิม เปรียบเสมือนกระจกที่สะท้อนรังสีความร้อนไม่ให้ออกไปจากโลก จึงมักเรียกว่า ปรากฎการณ์เรือนกระจก (greenhouse effect) และเรียกการปล่อยก๊าชเรือนกระจกซึ่งมีหลายชนิดให้เข้าใจง่ายว่า การปล่อยคาร์บอน (carbon emission)


 

 
 

3. การทำเกษตรก็เป็นต้นเหตุให้โลกร้อนด้วยหรือ

 

ก๊าซเรือนกระจกที่มีมากในชั้นบวรยากาศคือ ก๊ชการ์บอนไดออกไซค์ ส่วนใหญ่นั้นมาจากการเผาผลาญเชื้อเพลิงฟอสซิล คือ น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ และถ่านหิน ซึ่งมนุษย์เริ่มเผาผลาญเชื้อเพลิงเหล่านี้มากขึ้นตั้งแต่ เข้าสู่ยุคอุตสาหกรรมเมื่อไม่ถึง 200 ปีก่อน แต่โลกก็มีตัวเก็บกักคาร์บอนที่สำคัญคือต้นไม้ในป่า การเผาทำลายป่าเพื่อเปลี่ยนเป็นพื้นที่เกษตรกรรม จึงมีส่วนสำคัญในการปล่อยคาร์บอนจำนวนไม่น้อย และลดความสามารถในการเก็บกักคาร์บอนของโลกลง
   นอกจานี้ การทำเกษตรกรรมยังปล่อยก๊าซมีเทนและก๊าซไนตรัสออกไซด์ที่เกิดจากการย่อยสลายของซากสิ่งมีชีวิตด้วย
 


 
 

4. ร้อนขึ้นแค่ 1-2 องศาเซลเซียสก็ไม่ได้มากมายอะไร

 
ตัวเลขอาจดูน้อย แต่ผลกระทบนั้นมหาศาล!
 
เพราะสิ่งมีชีวิตในธรรมชาติได้วิวัฒนาการมาให้อยู่ในช่วงอุณหภูมิที่สมดุลกับชีวิตของมันมานาน อุณหภูมิที่ร้อนขึ้น 1-2  องศาเซลเซียสอาจส่งผลถึงการที่ต้นไม้จะออกดอกผลหรือไม่ หรือสัตว์หลายชนิดจะวางไข่ฟักเป็นตัวได้หรือไม่ ที่ 2 องศาเซลเชียส นักวิทยาศาสตร์คาคว่าสิ่งมีชีวิตกว่าร้อยละ 30 เผชิญความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ ผลผลิตข้าวและธัญพืชอาจลดลง มนุษย์เราซึ่งต้องพึ่งพิงระบบนิเวศและอาหารจึงกำลังเผชิญความเสี่ยงอย่างสูง


 
 

5. ภาวะโลกร้อนกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ Climate Change คือเรื่องเดียวกันหรือไม่

 
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศก็คือผลพวงจากการเกิดภาวะโลกร้อน เมื่อรังสีความร้อนในบรรยากาศใกล้ผิวโลกถ่ายเทความร้อนนั้นให้แก่อากาศ ดิน และน้ำ ก็ทำให้เกิดกระแสลม วัฏจักรของน้ำ ฝน พายุ ความเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิโลกจึงส่งผลกระทบต่อสภาพภูมิอากาศให้แปรปรวนไปจากเดิม และมีแนวโน้มที่จะรุนแรงจนเป็นภัยธรรมชาติที่ทำลายชีวิตบนโลก


 
 

6. มีคนบอกว่า ก้อนน้ำแข็งที่ลอยอยู่ตามขั้วโลกละลายจะทำให้น้ำท่วม

 
ทะเลบริเวณขั้วโลกมีความหนาวเย็นจัดจนน้ำจับตัวเป็นน้ำแข็งปกคลุมผิวทะเลเป็นบริเวณกว้างใหญ่ โดยสะสมน้ำแข็งมานาน ทำให้มีความหนาหลายเมตร ปรกติจะละลายไปในฤดูร้อนเพียงเล็กน้อย แต่ไม่กี่ปีมานี้ภาวะโลกร้อนทำให้น้ำแข็งเหล่านี้ละลายไปจนเกือบหมดในช่วงฤดูร้อน แต่การละลายของน้ำแข็งบนผิวทะเลนี้ไม่ได้ทำให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น ซึ่งก็เหมือนกับก้อนน้ำแข็งในแก้วน้ำนันเอง
 
ผลกระทบอย่างหนึ่งคือมีสิ่งมีชีวิต เช่น หมีขาว ที่อาศัยบนน้ำแข็งผิวทะเลอาจต้องสูญพันธุ์เพราะแหล่งที่อยู่อาศัยของมันถูกทำลาย
 
 
 
 

7. สึนามิ แผ่นดินไหว ต้นเหตุคือโลกร้อนใช่หรือไม่

 
เวลาเกิดข่าวแผ่นนไหวและสึนามิ มักมีการกล่าวโยงมาถึงภัยพิบัติทางธรรมชาติอื่นๆ และตัวการก็คือ ภาวะโลกร้อน
 
แต่ความจริงแผ่นดินไหวและสึนามิเกิดจากการเคลื่อนตัวของแผ่นทวีปต่างๆ บนผิวโลกที่กระทบกระทั่งกัน นักวิทยาศาสตร์ยังไม่พบความเชื่อมโยงระหว่างภาวะโลกร้อนกับแผ่นดินไหว


 
 

8. เกิดรูโหว่โอโซนในชั่นบรรยากาศก็เพราะโลกร้อน

 
ก๊าชโอโซนในชั้นบรรยากาศสตราโตสเฟียร์ที่อยู่สูงจากผิวโลกขึ้นไป 15-50 กิโลเมตร ช่วยป้องกันรังสีอัลตราไว้โอเลตที่จะลงถึงผิวโลก แต่โชคร้ายที่มนุษย์ได้สร้างสารคลอโรฟลูออโรคาร์บอน (CFCs) ขึ้นมาใช้ในเครื่องปรับอากาศ ตู้เย็น สเปรย์ น้ำยาดับเพลิง ฯลฯ เมื่อสารซีเอฟซีหลุดลอยขึ้นไป ก็จะทำลายก๊าซโอโซน เกิดเป็นรูโหว์ให้รังสีอัลตราไวโอเลตลงมาถึงผิวโลกเป็นอันตรายต่อมนุษย์
 
ภาวะโลกร้อนจึงไม่ใช่ตัวการของรูโหว่โอโซน แต่สารซีเอฟซีที่ทำลายโอโซนก็เป็นก๊าซเรือนกระจกชนิดหนึ่งเช่นกัน


 
 

9. ใครปล่อยคาร์บอนมากที่สุด

 
กิจกรรมทุกอย่างของมนุษย์บนโลกนี่ละ มีส่วนปล่อยคาร์บอนแทบทั้งหมด เพราะท้ายที่สุดแล้วก็เป็นผลจากการใช้พลังงาน ไม่ว่าจะเป็นเชื้อเพลิงสำหรับการเดินทางขนส่ง เชื้อเพลิงสำหรับโรงงานอุตสาหกรรม ผลิตวัสดุ ข้าวของเครื่องใช้ เชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้าให้แก่อาคารบ้านเรือน ไฟฟ้าสำหรับการติดต่อสื่อสาร โทรศัพท์มือถือ แม้แต่โลกอินเทอร์เน็ต
 
การเผาเชื้อเพลิงอาจเป็นตัวการปล่อยคาร์บอนโดยตรง แต่กิจกรรมของมนุษย์ไม่ว่าจะเป็นการกินอาหาร การเดินทาง การใช้อุปกรณ์เครื่องมือต่างๆ การทิ้งขยะ คือตัวการโดยอ้อมที่ปล่อยคาร์บอนอยู่อย่างเงียบๆ
 
สังคมไหนที่เร่งการเจริญเดิบโตทางเศรษฐกิจเพื่อตอบสนองความต้องการที่มากเกินความจำเป็น ก็กำลังปล่อยคาร์บอนอยู่มากที่สุด 


 
 

10. แค่ใช้ถุงผ้าหรือปิดไฟก็ช่วยหยุดโลกร้อนได้หรือ

 
การใช้ถุงผ้าแทนถุงพลาสคิก หรือช่วยปิดไฟเมื่อไม่จำเป็นต้องใช้ เป็นก้าวแรกที่สำคัญของการลดการปล่อยคาร์บอนและสร้างจิตสำนึกร่วมกัน เพื่อรับมือกับภาวะโลกร้อนที่กำลังรุนแรงมากขึ้น ยังมีอีกหลายสิ่งที่สังคมโลกต้องปรับตัวและเปลี่ยนแปลง เพื่อให้การปล่อยคาร์บอนลดต่ำลงมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ซึ่งเป้าหมายนั้นก็คือ "สังคมคาร์บอนต่ำ" หรือ low carbon society
 
ถึงกระนั้นหากเราทำดีที่สุดแล้ว โลกจะยังร้อนขึ้นอย่างแน่นอนจากก๊าซเรือนกระจกที่ขึ้นไปสะสมอยู่ก่อนหน้านี้ แต่ก็ยังสามารถลดผลกระทบไม่ให้รุนแรงสาหัสจนมนุษย์อาจต้องสูญพันธุ์


จาก Low Carbon Society Guidebook 2015  (TGO.go.th)





แถมท้าย

ตลาดคาร์บอน
 
หมายถึงตลาดที่มีซื้อขายคาร์บอน (Carbon Market) โดยกำหนดให้ "คาร์บอนเครดิต" (ปริมาณก๊าซเรืนกระจกที่ลดลงได้จากการดำเนินโครงการลดก๊าซเรือนกระจก) และ/หรือ "สิทธิในการปล่อยก๊าชรือนกระจก" (ปริมาณาซร้อนกระจกที่สามารถลดได้ต่ำกว่าเป้าหมายลดก๊าซรือนกระจกที่กำหนดให้องค์กรดำเนินการ ภายใต้ระบบซื้อขาย สิทธิในการปล่อยก๊าซเรือนกระจก) เป็นสินค้าที่สามารถซื้อขายได้และสามารถนำมาชดเขยการปล่อยก๊าขเรืนกระจกของผู้ซื้อ


 

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด