หากไม่มั่นใจว่าเคยได้รับวัคซีนครบหรือไม่ แนะนำพบแพทย์เพื่อรับคำปรึกษาและรับวัคซีนเพิ่มเติม โดยหญิงตั้งครรภ์ไม่สามารถรับวัคซีนได้เนื่องจากวัคซีนเป็นอันตรายกับเด็กในท้อง และหญิงวัยเจริญพันธุ์ควรฉีดวัคซีนและคุมกำเนิดหลังฉีดวัคซีนครบอย่างน้อย 1 เดือนจึงจะตั้งครรภ์ได้
แนะนำหญิงตั้งครรภ์ที่ไม่มีภูมิคุ้มกันต่อหัดเยอรมัน (ไม่เคยได้รับวัคซีนหรือไม่เคยเป็นโรคมาก่อน) หลีกเลี่ยงการ เดินทาง หากไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ให้ใช้มาตรการระมัดระวังตัวเพิ่มขึ้น พยายามไม่เดินทางไปในพื้นที่ที่มีคนอยู่ รวมกันเยอะๆ และอากาศไม่ถ่ายเท ใส่หน้ากากอนามัยเมื่อออกจากที่พัก ล้างมือฟอกสบู่ทุกครั้งที่มีโอกาส รวมถึงพกแอลกอฮอล์สเปรย์หรือเจลไว้ล้างมือตลอดเวลาทุกครั้งที่ไม่สามารถล้างมือฟอกสบู่ได้ และไม่นำมือไปสัมผัสตา จมูก ใบหน้าโดยไม่จำเป็น
แนะนำให้เด็กอายุน้อยกว่า 9 เดือน หลีกเลี่ยงการเดินทาง เนื่องจากการฉีดวัคซีนป้องกันโรคหัดเยอรมันในประเทศ ไทยเริ่มฉีดเมื่อเด็กอายุ 9 เดือนเป็นต้นไป หลีกเลี่ยงการใกล้ชิดกับคนไม่สบาย รวมถึงการใส่หน้ากากอนามัยในที่ชุมชนแออัดและล้างมือฟอกสบู่บ่อยๆ
ทั้งนี้ หัดเยอมัน เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสชนิดหนึ่ง ติดต่อด้วยการไอ จาม หรือใกล้ชิดกับคนที่ติดเชื้อ อาการสำคัญ คือไข้ร่วมกับมีผื่นประมาณ 2-3 วัน เป็นโรคที่อันตรายมากกับหญิงตั้งครรภ์และเด็กในท้อง เนื่องจากหากหญิงตั้งครรภ์ติดเชื้อ เด็กสามารถเกิดภาวะ พิการแต่กำเนิด หูหนวก ตาเป็นต้อกระจก เป็นโรคหัวใจแต่กำเนิด มีภาวะผิดปกติทางสมอง และอวัยวะภายในได้รับ ความเสียหายได้
6 ขั้นตอนง่ายๆ รับวัคซีนหัดเยอรมัน ก่อนไปญี่ปุ่น
1.กำหนดวันเดินทาง เพื่อเข้ารับวัคซีนป้องกัน “หัดเยอรมัน” ล่วงหน้าหน้า 2 สัปดาห์ ก่อนการเดินทาง
2.เลือกสถานพยาบาล ที่รับรองการฉีดวัคซีน หัดเยอรมัน
3.แพทย์พิจารณาเช็คประวัติ
คนทั่วไป : ฉีดวัคซีนป้องกัน 2 สัปดาห์ก่อนการเดินทาง
หญิงตั้งครรภ์ : ควรเลี่ยงการเดินทางไปพื้นที่ระบาดจะดีที่สุด
4.รับวัคซีน หัดเยอรมัน
5.รับสมุดรับรองการ ฉีดวัคซีน
6.เตรียมตัวจัดกระเป๋า พร้อมเที่ยวอย่างปลอดภัยไร้กังวล
บทความสุขภาพ โดย
โรงพยาบาลเกษมราษฏร์ อินเตอร์เนชั่นแนล รัตนาธิเบศร์
60 หมู่ 6 ถนนตลิ่งชัน-สุพรรณบุรี
ต.เสาธงหิน อ.บางใหญ่ จ.นนทบุรี 11140
เบอร์โทร 0-2594-0020-65
Call Center 1218