ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

Health Link ส่งต่อข้อมูล เชื่อมโยงสุขภาพ ผู้ป่วย-แพทย์-สถานพยาบาล

Health Link ส่งต่อข้อมูล เชื่อมโยงสุขภาพ ผู้ป่วย-แพทย์-สถานพยาบาล Thumb HealthServ.net
Health Link ส่งต่อข้อมูล เชื่อมโยงสุขภาพ ผู้ป่วย-แพทย์-สถานพยาบาล ThumbMobile HealthServ.net

ระบบ Health Link เชื่อมโยงข้อมูล ประชาชน แพทย์ และหน่วยบริการสุขภาพ (โรงพยาบาล สถานพยาบาล) เข้าด้วยกัน ผ่านแอปเป๋าตัง เป็นการใช้เทคโนโลยีดิจิตอล จัดการข้อมูลสุขภาพ ลดภาระประชาชนไทย ให้ได้รับความสะดวกขึ้น สบายขึ้น ไม่ยุ่งยากอีกต่อไป แพทย์ก็เข้าถึงข้อมูลง่ายและเร็ว ทำงานได้ง่ายขึ้น โรงพยาบาลสามารถดูแลผู้ป่วยได้อย่างมีคุณภาพและประสิทธิภาพ ลดการส่งต่อ ลดภาระ ลดค่าใช้จ่าย

Health Link ส่งต่อข้อมูล เชื่อมโยงสุขภาพ ผู้ป่วย-แพทย์-สถานพยาบาล HealthServ
  

โครงการ Health Link เป็นผลงานจากความร่วมมือระหว่างกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) และ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เป็นการใช้เทคโนโลยีดิจิตอล จัดการข้อมูลสุขภาพประชาชน 

 
เป็นระบบเชื่อมโยงข้อมูลสุขภาพ ที่จะนำมาใช้ เพื่อแก้ปัญหาการเข้าถึงข้อมูลสุขภาพและประวัติการรักษาโรคของประชาชน ที่นอกจากจะไม่เคยอยู่ในจุดที่เรียกว่า สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพแล้ว ยังเป็นการก่อภาระให้กับประชาชนตลอดมา ในการที่จะต้องเสียทรัพยากรและเวลา หากประชาชนจะต้องย้ายโรงพยาบาลแห่งใหม่  เหตุเพราะประวัติการรักษาที่โรงพยาบาลเดิมไม่ส่งต่อมาที่โรงพยาบาลแห่งใหม่  แต่กลับเป็นภาระของประชาชนที่จะต้องดำเนินการต่างๆ เอง 

จนกลายเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ประชาชนอยู่ห่างจากการรักษาที่เหมาะควร ไม่ได้รับการดูแลจากแพทย์หรือการสาธารณสุขจากรัฐอย่างเหมาะสม เพียงพอ และต่อเนื่องตามที่สมควรจะได้รับ จนเกิดเป็นปัญหาสุขภาพต่อเนื่องเรื้อรัง 
 
Health Link เกิดขึ้นเพื่อช่วยเหลือประชาชนให้พ้นจากปัญหาเหล่านี้ 
 
Health Link เป็นแพลตฟอร์ม เชื่อมโยงข้อมูลสุขภาพ เพื่อให้ "แพทย์"  เข้าดู "ข้อมูลผู้ป่วย" จาก "โรงพยาบาลอื่นๆ" ที่เข้าร่วมโครงการได้ 

และ "ผู้ป่วย" สามารถกำหนดสิทธิ์การเข้าถึงข้อมูลของตนได้  
 
นั่นหมายถึง ไม่ใช่แพทย์ทุกท่านจะสามารถเข้ามาดูข้อมูลผู้ป่วยได้ตามอำเภอใจ 
 

Health Link ยิ่งเป็นประโยชน์อย่างสูง สำหรับผู้ป่วยที่เข้ารับบริการ "ฉุกเฉิน" ในการให้สิทธิ์แพทย์ในห้องฉุกเฉิน สืบค้นข้อมูลของผู้ป่วยที่หมดสติ ไม่สามารถปฏิสัมพันธ์กับแพทย์หรือบุคลากรได้ในขณะนั้น  ซึ่งข้อมูลที่ได้มานั้น อาจจะช่วยรักษาชีวิตของผู้ป่วยในห้องฉุกเฉินได้อย่างทันท่วงที
 


Health Link ได้ใช้มาตรฐาน Fast Healthcare Interoperability Resources (FHIR) จากองค์กร Health Level Seven (HL7) International ซึ่งเป็นมาตรฐานการแลกเปลี่ยนข้อมูลสุขภาพที่มีผู้ใช้งานทั่วโลก ได้รับการอัพเดทอยู่อย่างสม่ำเสมอ และมีหน่วยงานรัฐบาลหลายประเทศนำไปใช้ เช่น Centers for Medicare & Medicaid Services (CMS) ของสหรัฐอเมริกา
 
FHIR นั้นง่ายต่อผู้พัฒนาสำหรับการนำไปใช้งานมาก เนื่องจาก FHIR ใช้ HTTP-based RESTful protocol ซึ่งนักพัฒนาเว็บไซต์เข้าใจกันดีว่าเป็นมาตรฐานการพัฒนาเว็ปไซต์ที่ใช้กันทั่วไปในปัจจุบัน ใช้ได้กับอุปกรณ์หลากหลายชนิด และมีตัวเลือกของการแสดงข้อมูลหลายชนิด ได้แก่ JSON, XML, และ RDF ทำให้ง่ายต่อการนำไปใช้ร่วมกับแอปพลิเคชันที่ผู้พัฒนาอื่นๆ พัฒนาขึ้นมาเสริม
 
 
 
+++++
 

ประโยชน์สำหรับผู้ป่วย
 

        ผู้ป่วยจะได้รับความสะดวกสบาย ไม่ต้องไปขอข้อมูลจากโรงพยาบาลที่เคยเข้ารับการรักษาด้วยตนเอง ประหยัดทั้งเวลาและค่าใช้จ่ายของผู้ป่วยได้เป็นอย่างดี อีกทั้งผู้ป่วยยังสามารถควบคุมการเข้าถึงข้อมูลสุขภาพของตนเองได้ และแพทย์อาจสามารถช่วยชีวิตไว้ได้ทันท่วงทีในกรณีฉุกเฉินเมื่อผู้ป่วยถูกนำส่งโรงพยาบาลที่เข้าร่วมโครงการและเป็นโรงพยาบาลที่ตนยังไม่เคยมีประวัติการรักษามาก่อนอีกด้วยเพราะแพทย์จะสามารถทราบถึงข้อมูลยาที่ผู้ป่วยแพ้ โรคประจำตัวที่ผู้ป่วยมี หรือข้อมูลอื่นๆ ได้
 
ทั้งนี้ การเรียกดูข้อมูลผู้ป่วยในกรณีฉุกเฉินเป็นไปตามนโยบายการให้ความยินยอมที่แต่ละโรงพยาบาลกำหนด
ขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการ
 
 
วิธีใช้งาน
 
1. ใช้ผ่านแอปเป๋าตังได้ ทันทีที่โหลดและติดตั้ง 
2. เลือกเมนู "กระเป๋าสุขภาพ" ทำการยืนยันหากใช้งานครั้งแรก เมื่อเสร็จ จะไปสู่การเลือก Health Link ได้
3. เมื่อเข้า Health Link แล้ว กดรับเงื่อนไข จากนั้นจึงเลือก "รายชื่อสถานพยาบาลที่เข้าร่วมโครงการ" ตกลงยอมรับเงื่อนไขต่างๆ ในกระบวนการ  ผู้ใช้สามารถ
- เปลี่ยนแปลงสถานพยาบาลที่เลือกไว้ได้ (5 ครั้ง/วัน)
- กำหนดการยินยอมการเข้าถึงข้อมูลเมื่อแพทย์ต้องการ ทั้งนี้ขึ้นกับเงื่อนไข 
 
 
 
 
 
Health Link ส่งต่อข้อมูล เชื่อมโยงสุขภาพ ผู้ป่วย-แพทย์-สถานพยาบาล HealthServ

+++++
 

ประโยชน์สำหรับแพทย์
 

        ระบบ Health Link เป็นประโยชน์ที่สุด สำหรับแพทย์ เพราะประวัติการรักษาคือหัวใจในการวินิจฉัยผู้ป่วย ช่วยให้เข้าใจ ผู้ป่วยได้ครบถ้วน ตั้งแต่ ประวัติอาการ การรักษา การจ่ายยา การทดสอบต่างๆ (เครื่องมือ ระบบ แลป ปฏิบัติการ)  เหล่านี้ ทำให้แพทย์ วินิจฉัยอาการได้รวดเร็วและถูกต้องแม่นยำขึ้น

ยิ่งหากเป็นภาวะฉุกเฉินด้วยแล้ว ข้อมูลที่รอบด้าน มีความจำเป็นและสำคัญมาก ต่อการตัดสินใจของแพทย์ ในการรักษาและช่วยชีวิตผู้ป่วย
 

เข้าใจการใช้งาน Health Link ของแพทย์ (โดยสังเขป)
 
ระบบการเข้าใช้งาน ดำเนินการโดยแพทยสภา ซึ่งเป็นศูนย์กลางของสถาบันแพทย์ในประเทศไทย จึงมีความมั่นคงและเชื่อมั่นได้ในความปลอดภัย 
 
แพทย์จะเข้าสู่ระบบด้วยชุดรหัสผ่านที่ได้รับ โดยการบริหารจัดการของแพทยสภาพ
 
ในระบบ Health Link ด้านที่แพทย์ จะได้เห็นข้อมูลผู้ป่วย ประกอบไปด้วย
- ข้อมูลส่วนตัว
- ข้อมูลสุขภาพ ได้แก่ข้อมูล Allergy ข้อมูล Vaccine และข้อมูล Visit
- ข้อมูล Visit คือข้อมูลการเข้ารักษาในโรงพยาบาลต่างๆ ของผู้ป่วย 
  แต่ละ Visit จะประกอบไปด้วยข้อมูลหลัก 4 ส่วน คือ Diagnosis , Procedure , Medication, Lab
- "Consent Required" เป็นสถานะที่ระบุว่า แพทย์จะต้องขอความยินยอมจากผู้ป่วยแบบเป็นรายครั้ง ก่อนเข้าถึงข้อมูล
 
      ในการขอความยินยอม แพทย์ต้องกดปุ่ม "ขอความยินยอม" เพื่อส่งคำขออนุญาตเข้าถึงข้อมูลไปยังผู้ป่วยก่อน โดยผู้ป่วยจะได้รับ pop-up notification และต้องกดให้ความยินยอมให้แพทย์เข้าถึงข้อมูลตนเองผ่านแอปฯ เป๋าตัง และเมื่อผู้ป่วยให้ความยินยอมแล้วแพทย์จึงจะสามารถเข้าดูข้อมูลได้
 
เงื่อนไขการยินยอมจากผู้ป่วย เป็นสิ่งสำคัญ ดังนั้นการสื่อสารกันระหว่างแพทย์และคนไข้ควรชัดเจนและใกล้ชิด 
 

 

+++++
 

ประโยชน์สำหรับโรงพยาบาล
 

        Health Link คือเครื่องมือช่วยให้แพทย์เข้าถึงข้อมูลจากสถานพยาบาลอื่น ๆ ได้อย่างสะดวก และปลอดภัย ทำให้บุคลากรในโรงพยาบาลทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งคุณหมอและคนไข้เกิดความพึงพอใจกับการรักษาในโรงพยาบาลของท่านมากยิ่งขึ้น
 
 
โรงพยาบาลที่เข้าร่วมโครงการ แบ่งเป็น 2 ประเภท
1. Exchanger คือ โรงพยาบาลที่เวลาท่านเข้ารับการรักษา ทางโรงพยาบาลจะส่งข้อมูลของท่านเข้าสู่ระบบเพื่อให้แพทย์จากโรงพยาบาลอื่น ๆ ที่เข้าร่วมโครงการสามารถเข้าถึงประวัติการรักษาของท่านได้ ทำให้ท่านได้รับความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้นสำหรับการเข้ารับการรักษากับโรงพยาบาลที่เข้าร่วมโครงการ
 
2. Viewer คือ โรงพยาบาลที่เวลาท่านเข้ารับการรักษา ข้อมูลต่าง ๆ จากโรงพยาบาลนี้จะไม่ได้ถูกส่งต่อไปให้โรงพยาบาลอื่น ๆ ในใครงการ แต่แพทย์ของโรงพยาบาลนี้สามารถเข้าดูประวัติการรักษาของท่านที่ถูกส่งมาจากโรงพยาบาลอื่น ๆ ที่เข้าร่วมโครงการได้
 
หมายเหตุ: 
*เลือกโรงพยาบาลที่ปรากฏบนแอปพลิเคชัน “เป๋าตัง” ได้
*โรงพยาบาลที่ปรากฏบนแอปพลิเคชัน “เป๋าตัง” จะเป็นโรงพยาบาลประเภท Exchanger เท่านั้น
 
 

ล่าสุด ก.ค. 2565  [อัพเดตได้ที่ลิงค์]
 

โรงพยาบาลที่เข้าร่วมโครงการ

 
โรงพยาบาลที่เข้าร่วมโครงการในระยะที่ 1
 
โรงพยาบาลมหาวิทยาลัย
โรงพยาบาลศิริราช
โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์
โรงพยาบาลรามาธิบดี
โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
โรงพยาบาลวชิรพยาบาล
โรงพยาบาลจุฬาภรณ์
โรงพยาบาลศรีนครินทร์ (มข.)
โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ (มช.)
โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
โรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน
 
โรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงกลาโหม และสตช.
โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า
โรงพยาบาลภูมิพล
โรงพยาบาลตำรวจ
 
โรงพยาบาลเอกชน
โรงพยาบาลราชพฤกษ์
โรงพยาบาลกรุงเทพ
โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ
โรงพยาบาลมะเร็งกรุงเทพ วัฒโนสถ
โรงพยาบาลกรุงเทพอินเตอร์เนชั่นแนล
โรงพยาบาลชีวา ทรานสิชั่นนัล แคร์
โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ
โรงพยาบาลพริ้นซ์ ปากน้ำโพ (สาขา 1)
โรงพยาบาลพริ้นซ์ ปากน้ำโพ (สาขา 2)
โรงพยาบาลพริ้นซ์ อุทัยธานี
โรงพยาบาลพิษณุเวช
โรงพยาบาลพิษณุเวช อุตรดิตถ์
โรงพยาบาลพริ้นซ์ ลำพูน
โรงพยาบาลพิษณุเวช พิจิตร
โรงพยาบาลวิรัชศิลป์
โรงพยาบาลธนบุรี บำรุงเมือง
โรงพยาบาลพญาไท 2
 
โรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข
โรงพยาบาลราชวิถี
สถาบันมะเร็งแห่งชาติ
สถาบันประสาทวิทยา
โรงพยาบาลนครพิงค์
โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชินีนาถ ณ อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา
โรงพยาบาลชลบุรี 
โรงพยาบาลพุทธโสธร
โรงพยาบาลพระปกเกล้า
โรงพยาบาลระยอง
โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์
โรงพยาบาลลำพูน
โรงพยาบาลพะเยา
โรงพยาบาลแพร่
โรงพยาบาลร้อยเอ็ด
โรงพยาบาลกาฬสินธุ์
โรงพยาบาลศรีสะเกษ
โรงพยาบาลสวนปรุง
สถาบันพัฒนาการเด็กราชนครินทร์
โรงพยาบาลสุรินทร์
โรงพยาบาลพ่อท่านคล้ายวาจาสิทธิ์
จังหวัดนครศรีธรรมราช
โรงพยาบาลน่าน
โรงพยาบาลสมุทรปราการ
โรงพยาบาลบางเสาธง
โรงพยาบาลบุรีรัมย์
โรงพยาบาลนางรอง
โรงพยาบาลเฉลิมพระเกียรติ
โรงพยาบาลห้วยราช
โรงพยาบาลพลับพลาชัย
โรงพยาบาลหนองหงส์
โรงพยาบาลนาโพธิ์
โรงพยาบาลปะคำ
โรงพยาบาลสตึก
โรงพยาบาลลำปลายมาศ
โรงพยาบาลพุทไธสง
โรงพยาบาลบ้านกรวด
โรงพยาบาลประโคนชัย
โรงพยาบาลละหานทราย
โรงพยาบาลหนองกี่
โรงพยาบาลคูเมือง
โรงพยาบาลบ้านด่าน
โรงพยาบาลแคนดง
โรงพยาบาลบ้านใหม่ไชยพจน์
โรงพยาบาลโนนสุวรรณ
โรงพยาบาลเชียงคำ
โรงพยาบาลลำปาง
โรงพยาบาลศรีสังวาลย์
โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต
โรงพยาบาลแม่สอด
โรงพยาบาลจอมทอง
โรงพยาบาลฝาง
โรงพยาบาลหาดใหญ่
โรงพยาบาลตราด
โรงพยาบาลวิเชียรบุรี
โรงพยาบาลสันป่าตอง
โรงพยาบาลนบพิตำ
โรงพยาบาลสารภี
โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์
โรงพยาบาลหางดง
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 1
โรงพยาบาลอุดรธานี
โรงพยาบาลขอนแก่น
โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ปัว
โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช กุฉินารายณ์
โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ด่านซ้าย
โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ธาตุพนม
โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ตะพานหิน
โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช สระแก้ว
โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ท่าบ่อ
โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช เวียงสระ
 
โรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงการคลัง
โรงพยาบาลสวนเบญจกิติเฉลิมพระเกียรติ84พรรษา
 
 

โรงพยาบาลที่เข้าร่วมโครงการในระยะที่ 2

 
โรงพยาบาลมหาวิทยาลัย
โรงพยาบาลสงขลานครินทร์
ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก มหาวิทยาลัยมหิดล
 
โรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงกลาโหม
โรงพยาบาลค่ายวชิราวุธ
โรงพยาบาลค่ายเสนาณรงค์
โรงพยาบาลค่ายเทพสตรีศรีสุนทร
โรงพยาบาลค่ายวิภาวดีรังสิต
โรงพยาบาลค่ายอิงคยุทธบริหาร
โรงพยาบาลค่ายเขตอุดมศักดิ์
 
โรงพยาบาลเอกชน
โรงพยาบาลวิมุต
 
โรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข
โรงพยาบาลพรานกระต่าย
โรงพยาบาลลานกระบือ
โรงพยาบาลด่านมะขามเตี้ย
โรงพยาบาลเจ็ดเสมียน
โรงพยาบาลบ้านคา
โรงพยาบาลสามชุก
โรงพยาบาลเกาะช้าง
โรงพยาบาลอาจสามารถ
โรงพยาบาลกุสุมาลย์
โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช เลิงนกทา
โรงพยาบาลโพธิ์ศรีสุวรรณ
โรงพยาบาลชานุมาน
โรงพยาบาลนิคมคำสร้อย
โรงพยาบาลปทุมราชวงศา
โรงพยาบาลพนา
โรงพยาบาลลืออำนาจ
โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์
โรงพยาบาล๕๐ พรรษา มหาวชิราลงกรณ
โรงพยาบาลนาตาล
โรงพยาบาลปลายพระยา
โรงพยาบาลเหนือคลอง
โรงพยาบาลทับปุด
 
โรงพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์
โรงพยาบาลกลาง
โรงพยาบาลตากสิน
โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์
โรงพยาบาลสิรินธร
โรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินฺธโร อุทิศ
โรงพยาบาลเวชการุณย์รัศมิ์
โรงพยาบาลลาดกระบังกรุงเทพมหานคร
โรงพยาบาลราชพิพัฒน์
โรงพยาบาลผู้สูงอายุบางขุนเทียน
โรงพยาบาลคลองสามวา
โรงพยาบาลบางนากรุงเทพมหานคร

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด