ตัวอย่างคำโฆษณาโอ้อวด เกินจริง อาทิเช่น
“คุณยายวัย 68 ปีสามารถได้ยินอย่างชัดเจนอีกครั้งหลังจากที่สูญเสียการได้ยินเป็นเวลากว่า 18 ปี”
“ตอนแรกการปลูกถ่ายตับเป็นเพียงหนทางเดียวเท่านั้นที่จะช่วยรักษาชีวิตแม่ของฉันไว้ได้ แต่ในท้ายที่สุดเราก็สามารถผ่านพ้นวิกฤตนั้นมาได้ ต้องขอบคุณผลิตภัณฑ์อาหารเสริมสูตรพิเศษที่ฉันได้มีโอกาสค้นพบให้เข้ามาช่วยฟื้นฟูสุขภาพตับของแม่ฉันได้อย่างทันท่วงที”
“รองมิสไทยแลนด์ เพิ่มขนาดหน้าอกของเธอเพียง 1 เดือนก่อนการเข้าร่วมการประกวด โดยไม่ได้รับประทานอาหารพิเศษใดๆ และการผ่าตัด”
ซึ่งมีประชาชนหลงเชื่อซื้อผลิตภัณฑ์สุขภาพต่างๆ จำนวนมาก แต่เมื่อได้ใช้ผลิตภัณฑ์แล้วก็มิได้เป็นไปตามที่โฆษณาแต่อย่างใด เป็นเหตุให้ประชาชนได้รับความเสียหายจากการหลงเชื่อคำโฆษณาดังกล่าว เจ้าหน้าที่ตำรวจจึงได้ ทำการสืบสวนจนทราบว่า บริษัท อีเฟิร์ส เอเชีย (ไทยแลนด์) จำกัด เป็นผู้โฆษณาและจำหน่ายผลิตภัณฑ์สุขภาพข้างต้น
จึงได้รวบรวมพยานหลักฐานเพื่อขออนุมัติหมายจับ นายศุภกร (ขอสงวนนามสกุล) อายุ 44 ปี ซึ่งเป็นกรรมการผู้มีอำนาจของบริษัท ตามหมายจับของศาลอาญาที่ 606/2565 ลงวันที่ 31 มีนาคม 2565 โดยกล่าวหาว่า “ร่วมกันโฆษณาคุณประโยชน์ คุณภาพ หรือสรรพคุณของอาหาร อันเป็นเท็จหรือเป็นการหลอกลวงให้เกิดความหลงเชื่อโดยไม่สมควร, ร่วมกันโฆษณาคุณประโยชน์ คุณภาพ หรือสรรพคุณของอาหารโดยไม่ได้รับอนุญาต, ร่วมกันโฆษณาเครื่องสำอางโดยใช้ข้อความที่ไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภคหรือใช้ข้อความที่อาจก่อให้เกิดผลเสียต่อสังคมเป็นส่วนรวม โดยใช้ข้อความที่เป็นเท็จ หรือเกินความจริงและข้อความที่จะก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในสาระสำคัญเกี่ยวกับเครื่องสำอาง, ร่วมกันโดยทุจริตหรือโดยหลอกลวง นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่บิดเบือนหรือปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ประชาชน อันมิใช่การกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา”
จนเมื่อวันที่ 4 เมษายน 2565 เจ้าหน้าที่ตำรวจ กก.4 บก.ปคบ., บก.ปอท. และเจ้าหน้าที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา จึงได้ปูพรมตรวจค้นสถานที่ที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดจำนวน 4 แห่ง จนสามารถจับกุมตัวนายศุภกรฯ ได้ที่คอนโดมิเนียมแห่งหนึ่งย่านถนนสุรศักดิ์ แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพฯ พร้อมทั้งตรวจยึดคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการกระทำความผิด จำนวน 3 เครื่อง และเอกสาร พยานหลักฐานต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการจำหน่ายผลิตภัณฑ์สุขภาพที่เป็นความผิดจำนวนมาก โดยจากการตรวจสอบพบว่า บริษัท อีเฟิร์ส เอเชีย (ไทยแลนด์) จำกัด ได้มีการเปิดเว็บไซต์เพื่อโฆษณาจำหน่ายผลิตภัณฑ์สุขภาพที่มีบทความเนื้อหาที่เป็นเท็จและบรรยายสรรพคุณเกินความจริง จำนวน 20 เว็บไซต์ (20 ผลิตภัณฑ์) ดังนี้
1. เสริมอาหาร Longevita เว็บไซต์ https://healthy-offers.org/longevita/pre3/TH/
2 เสริมอาหาร Sativum เว็บไซต์ healthy-offers.org/sativumcomplex/lp1/TH/
3. เสริมอาหาร Mind Up เว็บไซต์ http://healthy-offers.org/mindup/pre2/TH/
4. เสริมอาหาร Accuvist เว็บไซต์ http://healthy-offers.org/accuvist/pre1/TH/
5. เสริมอาหาร Ke One เว็บไซต์ https://morebigthings.com/ke-one/pre3upg/TH/
6. เสริมอาหาร D-Keronic เว็บไซต์ https://healthy-offers.org/d-keronic/lp7/TH/
7. เสริมอาหาร Keyto เว็บไซต์ https://healthy-offers.org/keyto/lp2aff/TH/
8. เสริมอาหาร Silcontrol เว็บไซต์ https://asianews-th.com/silcontrol/lp1/TH/
9. เสริมอาหาร Jasmine เว็บไซต์ https://healthy-offers.org/jasmine/pre1/TH/
10. เสริมอาหาร Vitabalance เว็บไซต์ https://healthy-offers.org/vitabalance/lp5/TH/
11. เสริมอาหาร Chaicakan เว็บไซต์ https://healthy-offers.org/chaicakan/lp3/TH/
12. เสริมอาหาร O.Q. เว็บไซต์ https://healthy-offers.org/oq/lp1/TH/
13. เครื่องสำอาง Brestel เว็บไซต์ https://healthy-offers.org/brestel/lp1/TH/
14. เครื่องสำอาง Nativein เว็บไซต์ https://morebigthings.com/nativein/pre3/TH/
15. เครื่องสำอาง Glolift เว็บไซต์ https://healthy-offers.org/glolift/pre1/TH/
16. เครื่องสำอาง DentaClean เว็บไซต์ https://morebigthings.com/dentaclean/lp2/TH/
17. เครื่องสำอาง VELFOR เว็บไซต์ https://healthy-offers.org/velfor/lp3/TH/
18. เครื่องสำอาง Collagen Complex เว็บไซต์ https://healthy-offers.org/collagencomplex/pre2/TH/
19. เครื่องสำอาง D.U.D เว็บไซต์ https://healthy-offers.org/dud/lp1/TH/
20. เครื่องสำอาง Lefery เว็บไซต์ https://morebigthings.com/lefery/pre1/TH/
โดยมีการจัดกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่กล่าวอ้างรักษาเป็น 11 กลุ่ม ได้แก่ ตา, หู, สมอง, ลดน้ำหนัก, หัวใจ, สมรรถภาพชาย, เสริมร่างกาย, บำรุงผิว(กิน), บำรุงผิว(ทา), บำรุงผม, ฟัน ซึ่งมีผลิตภัณฑ์บางรายการข้างต้นก็ได้มีการยกเลิกเลข อย. ไปแล้ว อีกทั้งศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย (Anti-Fake News Center Thailand) ผ่านทาง antifakenewscenter.com ได้เคยประกาศผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร Accuvistum กล่าวอ้างช่วยรักษาผู้ที่สูญเสียการได้ยิน หูหนวก โดยไม่ต้องผ่าตัด, ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร KeyTo ช่วยลดน้ำหนักได้ 15 กิโลกรัมใน 1 สัปดาห์ และผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร D.U.D คืนความอ่อนเยาว์กลับไปได้ 20 ปี ใน 3 เดือน ซึ่งพบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น แสดงข้อมูลทางการแพทย์ที่เป็นเท็จ และมีการใช้ข้อความโฆษณาแสดงคุณประโยชน์หรือสรรพคุณของอาหารที่ไม่ได้รับอนุญาต และไม่สามารถรักษาโรคกล่าวอ้างได้ผู้บริโภคอาจเสียโอกาสในการรักษาตัวเอง
ทั้งนี้ได้ตรวจยึดผลิตภัณฑ์สุขภาพต่างๆ ที่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.อาหารฯ และ พ.ร.บ.เครื่องสำอางฯ จำนวน 23 รายการ มูลค่าประมาณ 80 ล้านบาท นำตัว นายศุภกรฯ พร้อมด้วยของกลาง นำส่งพนักงานสอบสวน กก.4 บก.ปคบ. เพื่อดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป
จากการสอบถาม นาย ศุภกรฯ ให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา แต่ให้การเพิ่มเติมว่า บริษัท อีเฟิร์ส กรุ๊ป ซึ่งเป็นบริษัทในประเทศโปแลนด์ ได้ว่าจ้างให้ นายศุภกรฯ มาเป็นกรรมการกผู้มีอำนาจของบริษัท อีเฟิร์ส เอเชีย (ไทยแลนด์) จำกัด โดยได้รับเงินเดือน เดือนละ 350,000 บาท มีหน้าที่ควบคุมดูแล บริษัท อีเฟิร์ส เอเชีย (ไทยแลนด์) จำกัด ซึ่งรับผิดชอบในการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ รวมถึงการเชื้อเชิญ ดูแลลูกค้าในการซื้อผลิตภัณฑ์ (ลักษณะเหมือน call center) ส่วนการโฆษณาผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่มีเนื้อหาบทความอันเป็นเท็จและมีสรรพคุณเกินจริงนั้น บริษัท อีเฟิร์ส กรุ๊ป (ประเทศโปแลนด์) ได้ว่าจ้างบริษัทแห่งหนึ่งในประเทศรัสเซียเป็นผู้ดำเนินการ โดยตนเองไม่ทราบรายละเอียดและวิธีในการดำเนินการ
จากการสืบสวนเพิ่มเติมยังพบว่า ในปี พ.ศ.2564 บริษัท อีเฟิร์ส เอเชีย (ไทยแลนด์) จำกัด มีรายได้จากเปิดเว็บไซต์ที่มีข้อมูลอันเป็นเท็จเพื่อโฆษณาขายผลิตภัณฑ์ ประมาณ 250 ล้านบาท