ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

ซีอีโอไฟเซอร์ ประกาศยกสิทธิบัตรยาและวัคซีนให้ 45 ประเทศรายได้ต่ำ

ซีอีโอไฟเซอร์ ประกาศยกสิทธิบัตรยาและวัคซีนให้ 45 ประเทศรายได้ต่ำ HealthServ.net
ซีอีโอไฟเซอร์ ประกาศยกสิทธิบัตรยาและวัคซีนให้ 45 ประเทศรายได้ต่ำ ThumbMobile HealthServ.net

25 พ.ค.2022 ดาวอส ในงานเสวนาเวที WEF อัลเบอร์ท เบอร์ล่า ซีอีโอไฟเซอร์ ได้เปิดเผยถึงพันธกิจสุดยิ่งใหญ่สะเทือนวงการ ที่บริษัทเวชภัณฑ์ยักษ์ใหญ่ของโลกแห่งนี้ จะริเริ่มและผลักดัน เพื่อหวังจะยกระดับการสาธารณสุขและคุณภาพชีวิตของประชากรในประเทศรายได้ต่ำ 45 ประเทศทั่วโลก อย่างที่ไม่เคยมีใครกล้าทำมาก่อน เริ่มต้น 5 ประเทศแรก ในนามสนธิสัญญาเพื่อยกระดับสุขภาพโลก "An Accord for a Healthier World"




"ผมอยากจะประกาศไว้ ณ เวทีนี้ว่า ไฟเซอร์จะมอบสิทธิบัตรยาและวัคซีนที่บริษัทฯ ถือครองและยังมีผลอยู่ทั้งในสหรัฐและยุโรป ให้กับ 45 ประเทศที่ยากจนที่สุดในโลก ครอบคลุมประชากรกว่า 1,200 ล้านคน ในราคาทุน และจะรวมถึงสิทธิบัตรยาหรือวัคซีนที่บริษัทฯ จะมีในอนาคต ก็จะอยู่ในเงื่อนไขนี้โดยอัตโนมัติเช่นกัน การตัดสินใจครั้งนี้ เหมือนฝันที่เป็นจริงของเรา ตามแผนยุทธศาสตร์ที่เราเคยวางไว้เมื่อ 5 ปีก่อน (ปี 2019)  และนี่คือ 1 ใน 5 ข้อที่เราตั้งเป้าไว้ ที่ว่าจะต้องพยายามลดจำนวนประชากรที่เข้าไม่ถึงผลิตภัณฑ์ยาของเราให้ลดลงเหลือเพียง 50 เปอร์เซ็นต์ให้ได้ภายในปี 2030 และฝันนั้นเป็นจริงแล้วในวันนี้" 



เคล้าส์ ชวาร์ป ประธาน WEF และพิธีกรบนเวที ถามซีอีโอไฟเซอร์ว่า จะแล้วไฟเซอร์มีการหักกำไรหรือส่วนต่างไว้หรือไม่กับการทำเช่นกัน
 
ซีอีโอไฟเซอร์ ตอบว่า "ไม่ เราไม่คิดกำไรทั้งสิ้น เราจะมีข้อกำหนดด้านต้นทุนอย่างเคร่งครัด เฉพาะสิ่งจำเป็นต่อการผลิต และลดต้นทุนการขนส่งให้ได้มากที่สุด ที่เกรงกันว่าเราจะเอาต้นทุนการค้นคว้าวิจัย ต้นทุนด้านกฏหมาย  รวมถึงค่าบริหารจัดการต่างๆ นานา มาคิดรวมไว้ด้วยนั้น ยืนยันว่าเราจะไม่คิด จะมีเพียงแค่ต้นทุนการผลิตและการขนส่งที่จำเป็นเท่านั้น ที่จะเกิดขึ้น" 


 
ถาม : ประเทศที่คุณตั้งเป้าช่วยเหลือ ให้สิทธิ หมายถึงแค่ไหน ทุกประเทศเลยหรือ
 
"หลักการก็คือประเทศที่เป็นประเทศยากจนตามนิยามของธนาคารโลก แม้ว่าจริงๆ แล้วจะมีเพียง 27 ประเทศที่เข้านิยาม แต่ในความเป็นจริงยังมีอีกหลายประเทศที่นับได้ว่ายากจน ไม่สามารถจะซื้อสินค้าของเราได้ รวมถึงประเทศที่เคยยากจนมาก่อน แต่ได้ยกระดับขึ้นมาในรอบ 10 ปีที่ผ่านมาด้วย นับแล้วมี 45 ประเทศ ครอบคลุมประชากรกว่า 1,200 ล้านคน" 
 
ซีอีโอไฟเซอร์ ประกาศยกสิทธิบัตรยาและวัคซีนให้ 45 ประเทศรายได้ต่ำ HealthServ
 
 
ไฟเซอร์จะช่วยเหลือประเทศเหล่านั้นในด้านการผลิตด้วยหรือไม่ 
 
"เป็นคำถามที่น่าสนใจ เราเรียนรู้จากยุคโรคระบาดโควิดว่า อุปทานเพียงอย่างเดียวนั้นไม่เพียงพอที่จะบรรเทาหรือแก้ไขปัญหาได้ ยกตัวอย่าง วัคซีนโควิดกว่าพันล้านโดสของเราที่ใช้ในยุโรปและอเมริกา ได้ถูกบริจาคให้กับประเทศยากจนฟรีๆ  ทั้งจากรัฐบาลสหรัฐเอย จากสหภาพยุโรปเอย ซึ่งพวกเขาซื้อจากเราไป แต่ประเทศที่ได้รับบริจาคก็ไม่สามารถใช้ประโยชน์จากวัคซีนเหล่านั้นได้  เพราะอะไร  เพราะไม่ใช่แค่มีวัคซีนแล้วจะใช้ได้ แต่มันเกี่ยวกับความรู้ที่ต้องมี ความรู้ที่ประชาชนควรต้องรู้ต้องทราบถึงประโยชน์ของมันด้วย จะต้องมีหมอ มีพยาบล มีบุคลากร ที่จะต้องร่วมกันดำเนินการ รวมทั้งสาธารณูปโภคที่จำเป็น ไม่ว่าจะเป็นคลังเก็บในพื้นที่อื่นๆ นอกเมืองหลวงออกไป และอีกหลายๆ ปัจจัย เหล่านี้เป็นสิ่งที่เราเรียนรู้มา 

จึงเป็นเหตุผลว่าเราควรจะแบ่งปันบทเรียน ประสบการณ์สำคัญเหล่านี้ ไปให้กับ 45 ประเทศเหล่านั้น ทัศนคติของรัฐบาลของประเทศนั้นๆ ก็เป็นเงื่อนไขสำคัญต่อความสำเร็จนี้ด้วย  ดังนั้นในระยะแรก เราได้เลือกลงนามหนังสือแสดงเจตจำนง (Letter of intent)* กับ 5 ประเทศ ได้แก่ รวันดา มาลาวี อูกันดา กานา และเซเนกัล  โดยเป็นความร่วมมือระหว่างกัน โดยที่ไฟเซอร์จะไม่เพียงส่งยาให้อย่างเดียว แต่เราจะทำงานร่วมกับรัฐบาลตั้งแต่ระดับพื้นฐาน พยายามสลายข้อจำกัดสิ่งกีดขวางต่างๆ จัดการแบ่งสรรให้ชัดเจนว่ายาส่วนใดที่นำเข้า ยาส่วนใดที่ผลิตสำหรับคนไข้ เป็นต้น

* ไฟเซอร์เรียกว่าเป็น An Accord for a Healthier World สนธิสัญญาเพื่อยกระดับสุขภาพโลก
 

อะไรคืออุปสรรค? ขอยกตัวอย่างยารักษามะเร็งเต้านม ซึ่งเป็นยาที่แพงมาก ในแอฟริกามีสตรีจำนวนมากที่เป็นมะเร็งเต้านม และอีกมากมายที่ไม่เคยได้ตรวจวินิจฉัยเลย  เมื่อรู้อย่างนี้ก็มีคำถามว่า ทำไมเราถึงไม่ลงทุนด้านการตรวจให้ประชาชนในประเทศนั้นล่ะ  คำตอบก็เพราะว่าไม่มียาเพียงพอจ่ายให้กับผู้ป่วยยังไงล่ะ นั่นแสดงให้เห็นแล้วว่า จำเป็นต้องมีทั้งสองอย่าง (ทั้งอุปสงค์และอุปทาน)

เราจะตั้งกลุ่ม "เพื่อนทั่วโลก" (Global Fellows) เพื่อเปิดโอกาสให้ใครก็ตามในไฟเซอร์ สามารถยกมือขอเป็นอาสาสมัครลงไปมีส่วนร่วมโครงการนี้ได้  ไปทำงานร่วมกับ NGO ในประเทศเป้าหมายเหล่านั้น เลือกได้ว่าจะอาสาทำงานนานเท่าใด อาจจะ 3 เดือน 6 เดือน  เราการันตีว่าอาสาสมัครเหล่านั้นจะไม่สูญเสียตำแหน่งงาน เงินเดือนหรือสิทธิอื่นใดที่ไฟเซอร์ไปจากการเป็นอาสาสมัครโครงการนี้  เราต้องการคนทุกอาชีพ หมอก็ได้ วิศวกรก็ได้ เราต้องการสร้างอิมแพคให้เกิดขึ้นจากแผนนี้ เราต้องการสร้างการเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้น" 
 
 
เบอร์ลา เสริมถึงความร่วมมือกับองค์กรอื่นๆ ว่า

"เรารู้ว่าเราทำเพียงคนเดียวไม่ได้แน่นอน เราจึงผสานความร่วมมือกับองค์กรอื่นๆ อย่าง WHO มูลนิธิบิล เกตส์  มูลนิธิคาร์เตอร์ หรือ องค์กรแพทย์อิสระไร้พรมแดน ถ้าแพทย์เหล่านั้นต้องการจะตรวจวินิจฉัยโรคให้กับประชาชน เราก็จะสนับสนุนเรื่องยาให้ เป็นต้น เราแสวงหาพันธมิตรและโอกาสที่จะทำงานร่วมกัน"
 
 
 
รวมถึง กาวี่ ด้วยใช่ไหม (Gavi - Global Alliance for Vaccines and Immunisation) 
 
"ใช่ กาวี่เป็นผู้เล่นสำคัญที่สร้างความเปลี่ยนแปลงได้ชัดเจน สิ่งที่กาวี่และมูลนิธิบิล เกตส์ ทำช่วยคนได้มากมาย" 


 
 
 
 
ซีอีโอไฟเซอร์ ประกาศยกสิทธิบัตรยาและวัคซีนให้ 45 ประเทศรายได้ต่ำ HealthServ
 

An Accord for a Healthier World
สนธิสัญญาเพื่อยกระดับสุขภาพโลก


ไฟเซอร์นิยามโครงการนี้ไว้ว่า

"เป็นต้นแบบการริเริ่มเพื่อการเข้าถึงยาและวัคซีนอย่างเท่าเทียมและยั่งยืน ใช้ศักยภาพที่มีเพื่อยกระดับสุขภาพของประชากรผู้ยากไร้ 1.2 พันล้านคนในประเทศรายได้ต่ำทั่วโลก"
 

ไฟเซอร์ ได้ลงนามความร่วมมือโครงการนี้ ร่วมกับ มูลนิธิบิล เมลินดา เกตส์  องค์การอนามัยโลก 

ก้าวแรกของสนธิสัญญานี้ ไฟเซอร์ได้ลงนามกับ 5 ชาติ ได้แก่ รวันดา มาลาวี อูกันดา กานา และเซเนกัล โดยจะเป็นความร่วมมือตั้งแต่กระบวนการตรวจสอบ อนุมัติให้รวดเร็ว ก่อร่างและพัฒนาระบบการตรวจสุขภาพ ตรวจโรค ให้ความรู้ ฝึกสอน เพื่อสร้างบุคลากรด้านสาธารณสุข รวมถึงบุคลากรด้านอื่นๆ ในด้านห่วงโซ่การจัดการ สาธารณูปโภคพื้นฐาน และแบ่งปันข้อมูลความร่วมมือร่วมกันระหว่างกลุ่มประเทศในสนธิสัญญา 
 

กลุ่มโรคที่สนธิสัญญานี้มีพันธกิจที่จะต้องดูแลและรักษา ได้แก่ โรคโควิด-19 โรคปอดอักเสบ  โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ รวมถึงโรคมะเร็งต่างๆ เช่น มะเร็งเม็ดเลือดขาว (ลูคีเมีย)  มะเร็งเต้านม และมะเร็งตับขั้นสูง โรคจากการอับเสบและโรคหายากต่างๆ 

 
 

เสียงจากผู้มีส่วนร่วม

 
"จากบทเรียนการกระจายวัคซีนโควิด-19 พบว่าอุปทานเป็นเพียงก้าวแรกในการช่วยผู้ป่วยเท่านั้น เราต้องทำงานอย่างใกล้ชิดกับผู้นำด้านสุขภาพทั่วโลก เพื่อยกระดับการตรวจวินิจฉัย การศึกษา การพัฒนาสาธารณูปโภค ระบบคลังสินค้า และอื่นๆ เพียงเพื่อที่จะขจัดอุปสรรคที่กั้นขวาง ยุติความไม่เท่าเทียม และส่งต่อสุขภาพที่ให้กับคนไข้คนทุกคน"
อัลเบอร์ท เบอร์ล่า Pfizer Chairman and CEO
 
 
"ไม่ว่าใครและไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน ควรต้องมีสิทธิเข้าถึงนวัตกรรม ยาและวัคซีนที่จะช่วยปกป้องชีวิตได้ สนธิสัญญาฉบับนี้ จะช่วยผู้คนนับล้านในประเทศรายได้ต่ำ ให้สามารถเข้าถึงเครื่องมือที่จำเป็นเพื่อการมีสุขภาพที่ดี สิ่งที่ไฟเซอร์ทำจะเป็นต้นแบบที่บริษัทอื่นๆ จะต้องทำตาม"
บิล เกตส์ Co-Chair of the Bill & Melinda Gates Foundation
 
 
 
"โอกาสเข้าถึงยาและวัคซีนได้อย่างรวดเร็วทันการณ์ ในราคาที่ซื้อหาได้ คือ หลักสำคัญของความเท่าเทียมด้านสุขภาพ พันธสัญญาที่ไฟเซอร์ประกาศไว้ภายใต้สนธิสัญญานี้ จะสร้างบรรทัดฐานใหม่ขึ้นมา หากเสริมด้วยการลงทุนเพื่อสร้างระบบสาธารณสุขและระบบมาตรฐานด้านเภสัชกรรมด้วยแล้ว จะยิ่งเป็นการเสริมความแข็งแกร่งให้กับแอฟริกาอย่างแท้จริง สนธิสัญญานี้จะเป็นก้าวย่างที่สำคัญและยั่งยืนให้กับทุกประเทศไม่ว่าจะอยู่ในระดับใดก็ตาม"
ฯพณฯ พอล คากามี ปธน.รวันดา
 
 
 
"เราต้องมุ่งมั่นอย่างต่อเนื่อง เพื่อบรรลุเป้าหมายในการสร้างระบบสุขภาพที่มีคุณภาพ เพื่อชีวิตที่ดีขึ้น อายุยืนยาวขึ้น สุขภาพดีขึ้น เพื่อบรรลุเป้าหมายนั้น จำเป็นต้องพึ่งพาความร่วมมือทั้งจากภาครรัฐและเอกชน เราภูมิใจที่ได้ร่วมกับสนธิสัญญานี้ เพื่อไปสู่เป้าหมายสำคัญ"
ฯพณฯ นานา อัดโด ดันควา อคูโฟ-อัดโด ปธน.กานา
 
 
 
"เซเนกัลมีความภาคภูมิใจที่ได้ร่วมสนับสนุนสนธิสัญญาฉบับนี้ เพื่อเป้าหมายการยกระดับความเท่าเทียมด้านสุขภาพ และเพื่อผลเลิศสำหรับผู้คนทั่วโลก โลกจะดีขึ้นอย่างแน่นอน เมื่อเราร่วมมือกัน"
ฯพณฯ แมคกี้ ซัล ปธน.เซเนกัล 
 
 
 
"สิ่งที่ยอดเยี่ยมของสนธิสัญญานี้คือความช่วยเหลือที่มีต่อประเทศรายได้ต่ำ โดยไม่บั่นทอนศักดิ์ศรีความภาคภูมิ  เป็นการแสดงถึงมิตรจิตของไฟเซอร์ต่อชาติอย่างมาลาวี ที่จะร่วมแบ่งปันบทบาทหน้าที่และภาระต้นทุนในกระบวนการผลิตและขนส่งเพื่อช่วยชีวิตคนนับล้าน นี่คือแนวทางที่ใช่สำหรับการจัดการปัญหาต่างในโลกนี้" ฯพณฯ ลาซารัส ชาควีรา ปธน.มาลาวี
 
 

 
 
เพิ่มเติม

An Accord for a Healthier World
www.pfizer.com/accord
 
Pfizer Launches ‘An Accord for a Healthier World’ to Improve Health Equity for 1.2 Billion People Living in 45 Lower-Income Countries
www.pfizer.com/pfizer-launches-accord
 
Conversation with Albert Bourla, CEO of Pfizer | Davos | #WEF22 
 
Pfizer commits to providing patent-protected medicines in Africa
ซีอีโอไฟเซอร์ ประกาศยกสิทธิบัตรยาและวัคซีนให้ 45 ประเทศรายได้ต่ำ HealthServ
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด