เปียกสลับแห้งแกล้งข้าวนั้น เป็นวิธีการที่ปล่อยให้ข้าวขาดน้ำ จนดินแตกระแหง จากนั้นต้นข้าวก็จะใช้รากชอนไชหาสารอาหารและน้ำ ส่งผลให้ระบบรากสมบูรณ์ดี แตกกองามและเพิ่มผลผลิตได้ ซึ่งอันที่จริงแล้วข้าวไม่ใช่พืชน้ำ
การขังน้ำไว้ในนาเป็นจำนวนมากนั้นส่งผลเสียหลายอย่าง ทั้งต้นข้าวเป็นโรคง่าย ต้นทุนการทำ นาสูง และดินที่แช่อยู่ในน้ำ เป็นเวลานานก็ทำ ให้ธาตุอาหารเสียไปด้วย
ขั้นตอนการจัดการน้ำ แบบเปียกสลับแห้ง เริ่มจากการเตรียมดิน ปรับให้พื้นที่เสมอกัน ติดตั้งท่อดูน้ำ ที่เป็นท่อพีวีซี ขนาดความยาว 25 ซม. เส้นผ่านศูนย์กลาง 4 นิ้ว เจาะรูด้วยสว่าน เส้นผ่านศูนย์กลางหุนครึ่งถึงสองหุน 4-5 แถวรอบๆ ท่อ แต่ละรูห่างกัน 5 ซม. ฝังลงไป 20 ซม. ให้ปากท่อโผล่ขึ้นพ้นผิวดิน 5 ซม. ควักดินในท่อออกให้หมดเมื่อหว่านเมล็ดพันธุ์ข้าวแล้ว ระบายน้ำ ออกจากนาให้แห้ง
เมื่อข้าวอายุ10-12 วัน ให้ทำการกำจัดวัชพืชให้หมด หลังจากนั้น 3 วัน ให้เพิ่มระดับน้ำในนาประมาณ 3 ซม. ขังนาน 3 วัน จากนั้นใส่ปุ๋ยครั้งแรก แล้วรักษาระดับน้ำผิวดินขังไว้จนกระทั่งน้ำ แห้ง หากพบวัชพืชให้รีบกำจัดออก จากนั้น 2 สัปดาห์ น้ำในนาเริ่มแห้ง ดินเริ่มแตกระแหง ให้ระบายน้ำ ลงนาระดับ 3-5 ซม. ขังไว้จนน้ำ แห้ง และให้น้ำ เปียกสลับแห้งจนข้าวอายุประมาณ 45-50 วัน หากพบวัชพืชต้องรีบกำ จัดก่อนใส่ปุ๋ยครั้งที่สอง
พอข้าวอยู่ในระยะแตกกอสูงสุด (อายุ 45-50 วัน) ให้เพิ่มระดับน้ำในนาสูง 5 ซม.ขังไว้ 3 วัน จนข้าวกำเนิดช่อดอกหรือข้าวตั้งท้อง (อายุ 50-55 วัน) ใส่ปุ๋ยอีกครั้งจากนั้น 7 วัน ให้เพิ่มระดับน้ำ 10 ซม. รักษาระดับน้ำจนข้
าวออกดอกถึงระยะแห้งในเมล็ดเริ่มแข็ง (15-20 วัน หลังข้าวออกดอก) หลังข้าวออกดอกแล้ว 20 วัน ระบายน้ำ