5 ก.ย. 65 เป็นวันแรกที่ ก.คลัง เปิดระบบลงทะเบียน “โครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ ปี 65” จนถึง 19 ต.ค. 65 ผ่าน 7 หน่วยงานรับลงทะเบียน
หรือ
ลงทะเบียนผ่าน
https://บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ.mof.go.th
หรือ
https://welfare.mof.go.th
โดยเป็นการลงทะเบียนที่เป็นผู้ที่ถือบัตรฯ เดิม และผู้ที่ไม่เคยมีบัตรฯ "ต้องลงทะเบียนใหม่”
สิทธิประโยชน์
สำหรับสิทธิประโยชน์ของผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ จะได้รับ เช่น
• ค่าซื้อสินค้า 200 - 300 บาท
• ค่าเดินทางรถโดยสารสาธารณะ 500 บาท
• ส่วนลดแก๊สหุงต้ม 45 บาท (ต่อรอบ 3 เดือน) กรณีกลุ่มเปราะบางจะได้ส่วนลด 100 บาท (ต่อรอบ 3 เดือน)
• เงินช่วยค่าไฟฟ้า ไม่เกิน 315 บาทต่อครอบครัว (ตามที่จ่ายจริง)
• เงินช่วยค่าน้ำประปาไม่เกิน 100 บาทต่อครอบครัว (ตามที่จ่ายจริง)
• เงินช่วยค่าน้ำประปาไม่เกิน 100 บาทต่อครอบครัว (ตามที่จ่ายจริง)
• เงินพิเศษผู้พิการ 200 บาท
• ผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐที่เป็นพ่อค้าแม่ค้า หาบเร่แผงลอย ร้านค้าขนาดเล็กจะได้ส่วนลดก๊าซหุงต้มพีที (ปตท.) 100 บาท ที่ร้านจำหน่ายที่ร่วมรายการ
• เงินพิเศษผู้สูงอายุ 50 ถึง 100 บาทขึ้นอยู่กับเกณฑ์รายได้
ทั้งนี้ มติ ครม. (26 ก.ค. 65) อนุมัติโครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้มี "บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ" วงเงิน 5,336.8304 ล้านบาท เพื่อให้ประชาชนผู้มีรายได้น้อยและผู้ต้องการความช่วยเหลือพิเศษสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ในภาวะเศรษฐกิจที่ราคาสินค้าและค่าครองชีพที่ยังคงปรับสูงขึ้น
4 ประเด็นความเข้าใจคลาดเคลื่อน
คลังแจงชัด 4 ประเด็นความเข้าใจคลาดเคลื่อน "โครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ"
กระทรวงการคลัง เผยถึงความคืบหน้าการเปิดรับลงทะเบียนโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ ปี 65 ตั้งแต่วันแรก - วันจันทร์ที่ 12 ก.ย. 65 (ณ เวลา 15.00 น.) มี ปชช. ทยอยลงทะเบียนแล้ว 10,416,889 ราย
ทั้งนี้ ช่วงเวลาที่ผ่านมา ก.คลัง พบว่ายังมี “ความเข้าใจคลาดเคลื่อน” เรื่องการลงทะเบียน และได้ชี้แจงในประเด็นต่าง ๆ เพื่อให้ ปชช. เข้าใจ ดังนี้
1. ปชช. ที่สนใจและมีคุณสมบัติตามที่โครงการฯ กำหนดสามารถ “ลงทะเบียนได้ทุกคน” หากมีครอบครัวแล้ว สามารถลงทะเบียนได้ทั้ง “สามีและภรรยา” หากทั้งสามีและภรรยา ผ่านการตรวจสอบเกณฑ์คุณสมบัติ ก็ย่อมมีสิทธิตามโครงการฯ “ไม่ใช่หนึ่งครอบครัวหนึ่งสิทธิ”
2. ผู้ลงทะเบียนสามารถเลือกช่องทางการลงทะเบียนได้ตามที่ผู้ลงทะเบียนสะดวก
• คนโสดหรือไม่มีครอบครัวสามารถลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์โดย “ไม่ต้องยื่นเอกสารเพิ่มเติม”
• มีครอบครัวสามารถไปที่หน่วยงานรับลงทะเบียนพร้อมทั้งครอบครัว
• กรณีที่คู่สมรสและบุตรไม่ได้เดินทางมาแสดงตัวที่หน่วยงานรับลงทะเบียน ผู้ลงทะเบียนสามารถนำสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของคู่สมรสและบุตร “พร้อมลงลายมือชื่อรับรองความถูกต้อง” ยื่นที่หน่วยงานรับลงทะเบียนได้เช่นเดียวกัน
3. ผู้ลงทะเบียนเป็น “ผู้พิการ – ผู้ป่วยติดเตียง – ผู้สูงอายุ” ที่ไม่สามารถเดินทางมาลงทะเบียนได้ด้วยตนเอง สามารถ “มอบอำนาจให้ผู้อื่น” มาลงทะเบียนแทนได้ ดาวน์โหลดหนังสือมอบอำนาจได้จากเว็บไซต์ของโครงการฯ หรือติดต่อขอรับได้ที่หน่วยงานรับลงทะเบียนทุกหน่วย
4. การสมัครลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการฯ นั้น ย้ำว่า “ไม่มีค่าใช้จ่าย” และผู้ลงทะเบียนที่ยื่นเอกสาร ณ หน่วยงานรับลงทะเบียน ขอให้ “เก็บรักษาส่วนที่ 11” ของแบบฟอร์มลงทะเบียนเป็นหลักฐานในการยืนยันการลงทะเบียน ที่สำคัญ “อย่าให้สูญหาย”