การกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำครั้งใหม่นี้ มาจากดัชนีค่าครองชีพ อัตราเงินเฟ้อ มาตรฐานการครองชีพ ต้นทุนการผลิต ราคาของสินค้าและบริการ ความสามารถของธุรกิจ ผลิตภาพแรงงาน ผลิตภัณท์มวลรวมของประเทศ (GDP) และสภาพทางเศรษฐกิจและสังคม โดยพิจารณาบนพื้นฐานความเสมอภาคและรับฟังความคิดเห็นของทุกฝ่าย ให้นายจ้างสามารถประกอบธุรกิจได้และลูกจ้างสามารถดำรงชีวิตได้อย่างเป็นสุข
อัตราค่าจ้างแต่ละระดับ/จังหวัด
ค่าเฉลี่ย เพิ่มขึ้น 5.02%
ค่าจ้าง 354 บาท
3 จังหวัด คือ ชลบุรี ระยอง และภูเก็ต
ค่าจ้าง 353 บาท
6 จังหวัด คือ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี นครปฐม ปทุมธานี สมุทรปราการและสมุทรสาคร
ค่าจ้าง 345 บาท
1 จังหวัด คือ ฉะเชิงเทรา
ค่าจ้าง 343 บาท
1 จังหวัด คือ พระนครศรีอยุธยา
ค่าจ้าง 340 บาท
14 จังหวัด คือ ปราจีนบุรี หนองคาย อุบลราชธานี พังงา กระบี่ ตราด ขอนแก่น เชียงใหม่ สุพรรณบุรี สงขลา สุราษฎร์ธานี นครราชสีมา ลพบุรี และสระบุรี
ค่าจ้าง 338 บาท
6 จังหวัด คือ มุกตาหาร กาฬสินธ์ สกลนคร สมุทรสงคราม จันทบุรีและนครนายก
ค่าจ้าง 335 บาท
19 จังหวัด คือ เพชรบูรณ์ กาญจนบุรี บีงภาฬ ชัยนาท นครพนม พะเยา สุรินทร์ ยโสธร ร้อยเอ็ด เลย พักลุง อุตรดิตถ์ นครสวรรค์ ประจวบคีรีขันธ์ พิษณุโลก อ่างทอง สระแก้ว บุรีรัมย์ และเพชรบุรี
ค่าจ้าง 332 บาท
22 จังหวัด คือ อำนาจเจริญ แม่ฮ่องสอน เชียงราย ตรัง ครีสะเกษ หนองบัวลำภู
อุทัยธานี ลำปาง สำพูน ชุมพร มหาสารคาม สิงห์บุรี สตูล แพร่ สุโขทัย กำแพงเพชร
ราชบุรี ตาก นครศรีธรรมราช ชัยภูมิ ระนองและพิจิตร
ค่าจ้าง 328 บาท
5 จังหวัด คือ ยะลา ปัตตานี นราธิวาส น่าน และอุดรธานี
ข้อมูล ณ วันที่ 13 ก.ย. 65