ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

สัปดาห์สุขภาพจิตแห่งชาติ 2565 พร้อมกิจกรรม สุขภาพจิต-สุขภาพใจ ทั่วประเทศ

สัปดาห์สุขภาพจิตแห่งชาติ 2565 พร้อมกิจกรรม สุขภาพจิต-สุขภาพใจ ทั่วประเทศ Thumb HealthServ.net
สัปดาห์สุขภาพจิตแห่งชาติ 2565 พร้อมกิจกรรม สุขภาพจิต-สุขภาพใจ ทั่วประเทศ ThumbMobile HealthServ.net

จัดขึ้นระหว่างวันที่ 1-11 พฤศจิกายน 2565 โดยกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุขเป็นแม่งาน สัปดาห์สุขภาพจิตแห่งชาติ 2565 ทั่วประเทศให้ความสำคัญ

สัปดาห์สุขภาพจิตแห่งชาติ 2565 พร้อมกิจกรรม สุขภาพจิต-สุขภาพใจ ทั่วประเทศ HealthServ
 

ตารางกิจกรรมสัปดาห์สุขภาพจิตปี 2565

มีการจัดกิจกรรมน่าสนใจ ในหลายจังหวัดทั่วประเทศทั้ง กรุงเทพ นนทบุรี นครราชสีมา นครปฐม เชียงใหม่ 



1 พฤศจิกายน 2565 จ.นนทบุรี

Kick off งานสัปดาห์สุขภาพจิตแห่งชาติ 2565
กล่าวเปิดโดย นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข
กล่าวรายงาน : พญ.อัมพร เบญจพลพิทักษ์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต
 
1) การแถลงข่าวความร่วมมือการพัฒนาหลักสูตร "อุ่นใจไซเบอร์" ระธานโดย นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ร่วมด้วย
พญ.อัมพร เบญจพลพิทักษ์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต
นางสายชล ทรัพย์มากอุดม หัวหน้าฝ่ายงานประชาสัมพันธ์ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน)
ผศ.ดร.วัฒนา รัตนพรหม อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
 
2) บูธอุ่นใจไซเบอร์ โดย A1S/บูธอินทนิล/บูธบริการวัดใจ โดย
รพ.ศริธัญญา/บูธกิจกรรมความรู้ โดย กรมสุขภาพจิต

ณ ห้องประชุมชัยนาทนเรนทร อาคาร 1 ชั้น 2
สำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข เวลา 14.00 - 15.30 น.
จัดโดย กรมสุขภาพจิต/A1S/ราชภัฎฯ (นำร่อง)
 


 
2 พฤศจิกายน 2565 จ.นนทบุรี

ร่วมดูแลใจเด็กไทยในสถานสงเคราะห์ ความร่วมมือในการพัฒนาเด็กเปราะบางทางสังคม
1) เสวนา "การฟื้นฟูสุขภาพจิตร่วมกับกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์"
2) เสวนา "จากวันทุกข์ที่ผ่านพัน สู่วันที่ฟื้นคืนใจ"
3) ประกาศเกียรติคุณ ผู้ชนะการประกวดเรื่องสั้นและบทกวี "ภูมิคุ้มใจในวันทุกข์" จาก พญ.อัมพร เบญจพลพิทักษ์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต พร้อมชมนิทรรศการวรรณกรรมยาใจ : มหัศจรรย์แห่งการอ่าน ปฏิหารย์ แห่งการเขียน 

ณ ห้องเกียรติภูมิ วงศ์รจิต อาคาร 9 ชั้น ชั้น 9 รพ.ศรีธัญญา เวลา 09.00 - 12.00 น. จัดโดย รพ.ศริธัญญา/กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.)/ศูนย์สุขภาพจิตที่ 4
 


 
3 พฤศจิกายน 2565  จ.นครราชสีมา
คู่เครือข่ายวัดใจ เติมพลังเด็กไทยให้มีสุข
1) เสวนาในหัวข้อ "เรื่องใจให้เราดูแล"
2) บริการวัดใจและซุ้มนิทรรศการความรู้ 

ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา เวลา 10.30 - 12.00 น. จัดโดย รพจ.นครราชสิมาราชนครินทร์/ศูนย์สุขภาพจิตที่ 9/มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสิมา
 
 
 
4 พฤศจิกายน 2565 กรุงเทพฯ
เยาวชนและความหลากหลายทางเพศ
1) การเสวนาในหัวข้อ "สุขภาพจิตเยาวชนและความหลากหลายทางเพศ
2) การแสดงจากเยาวชน โดย สถาบันราชานุกูล

ณ สามย่าน โค-ออป สามย่านมิตรทาวน์ เวลา 14.00 - 16.30 น. จัดโดย สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์/สถาบันราชานุกูล/Save The Children


 
 
6 พฤศจิกายน 2565 จ.เชียงใหม่
สถานีเติม HUG (ฮัก)
1) เปิดซุ้ม สถานีเติม HUG (ฮัก)
2) เดินขบวนเชิญชวน ร่วมวัดใจเติมพลัง และมอบของที่ระลึกให้กับประชาชนในพื้นที่ ถนนคนเดิน 

ณ ลานอนุเสาวรีย์สามกษัตริย์ ถนนคนเดินท่าแพ จ้งหวัดเชียงใหม่
เวลา 18.00 - 21.00 น. จัดโดย รพ.สวนปรุง/ศูนย์สุขภาพจิตที่ 1/เทศบาลนครชียงใหม่
 


 
8 พฤศจิกายน 2565 กรุงเทพฯ
นวัตกรรม Telepsychiatry 
บริการนวัตกรรมตรวจสุขภาพใจให้กับเยาวชน

ณ มหาวิทยาราชกัฎสมเด็จเจ้าพระยา
เวลา 13.00 - 16.00 น. 
จัดโดย สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา/ศูนย์สุขภาพจิตที่ 13
 


 
11 พฤศจิกายน 2565 จ.นครปฐม
ราชทัณฑ์ปันสุข
1) เยี่ยมเสริมพลังใจ
2) บริการวัดใจผู้ต้องขัง 
ณ เรือนจำกลางนครปฐม เวลา 09.00 - 12.00 น. จัดโดย สถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์/ศูนย์สุขภาพจิตที่ 5/เรือนจำกลางนครปฐม
 
 
 
บางจาก Inthanin การสนับสนุนส่วนลดเครื่องดื่มจากร้านอินทนิล บริษัทในเครือบางจาก แก้วละ 10 บาท สำหรับประชาชนที่ร่วม วัดใจ ผ่าน MHCI ในระหว่าง 1-7 พ.ย. 65 (ทุกสาขา)

 


 

กิจกรรม 1 พฤศจิกายน 65 - Kick of งานสัปดาห์สุขภาพจิตแห่งชาติ ประจำปี 2565

         1 พฤศจิกายน 2565 กรมสุขภาพจิต เน้นย้ำให้สังคมตระหนักถึงความสำคัญของการวัดใจ เพื่อรู้เท่าทันถึงปัญหาและนำไปสู่การแก้ไข พร้อมบูรณาการเครือข่ายทุกภาคส่วนร่วม เพื่อสร้างสังคมที่ปลอดภัยและมีความสุข 
 
         นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า กระทรวงสาธารณสุขเล็งเห็นความสำคัญของการดูแลสุขภาพจิตของประชาชนไทย ภายใต้วลีที่ว่า “จิตเป็นนาย กายเป็นบ่าว” จึงผลักดันและส่งเสริมให้มีการประเมินสุขภาพจิต รวมไปถึงการรณรงค์ส่งเสริมความรู้ด้านสุขภาพจิต ซึ่งการดำเนินกิจกรรม Kick off งานสัปดาห์สุขภาพจิตแห่งชาติ ประจำปี 2565 ในปีนี้มีแนวคิดที่สนับสนุนนโยบายดังกล่าวด้วยการเชิญชวนให้ทุกคนร่วม “วัดใจ เติมพลัง สังคมมีสุข” รวมไปถึงการส่งเสริมให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการด้านสุขภาพจิตได้อย่างรวดเร็วโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัล และส่งเสริมองค์ความรู้ทุกระดับผ่านการเพิ่มพูนความรู้ด้วยการ “เติมพลัง” ทุกวัยให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ ซึ่งผู้ที่วัดใจและเติมพลังได้อย่างเหมาะสมจะสามารถช่วยเหลือดูแลตนเองและคนรอบข้างได้ นำไปสู่การสร้าง “สังคมมีสุข” อย่างยั่งยืนต่อไป
 
 
  

เช็คตนเองว่ายังไหวไหม ผ่าน www.วัดใจ.com LINK

เช็คตนเองว่ายังไหวไหม ผ่าน www.วัดใจ.com  สัปดาห์สุขภาพจิตแห่งชาติ 2565 พร้อมกิจกรรม สุขภาพจิต-สุขภาพใจ ทั่วประเทศ
เช็คตนเองว่ายังไหวไหม ผ่าน www.วัดใจ.com  สัปดาห์สุขภาพจิตแห่งชาติ 2565 พร้อมกิจกรรม สุขภาพจิต-สุขภาพใจ ทั่วประเทศ
         แพทย์หญิงอัมพร เบญจพลพิทักษ์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า ในปีนี้กรมสุขภาพจิตสนับสนุนให้ทุกพื้นที่ร่วมวัดใจ ผ่านทาง www.วัดใจ.com หรือ MENTAL HEALTH CHECK IN เพราะการวัดใจเป็นการตั้งคำถามกับตนเองว่ายังไหวไหม ใจสู้หรือเปล่า เพราะนอกจากจะเป็นการดูแลสุขภาพจิตในระดับบุคคล ยังเป็นการตรวจสอบสัญญาณเตือนความเสี่ยงต่าง ๆ เพื่อป้องกันและจัดการให้กลุ่มเสี่ยงสามารถเข้าถึงบริการสุขภาพจิตได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งปัญหาสุขภาพจิตไม่ได้มีเพียงแค่โรคทางจิตเวชเท่านั้น ยังมีเรื่องที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ทางใจ อันจะนำไปสู่ความเครียดและก่อให้เกิดความรุนแรงในสังคมได้ การรู้เท่าทันและสามารถค้นพบปัญหาได้อย่างรวดเร็ว จะสามารถทำให้เราหาวิธีการเพื่อช่วยเหลือและป้องกันได้อย่างเหมาะสม อีกทั้งการพัฒนาความเข้มแข็งทางใจหรือ Resilience เพื่อให้เกิดพลังแห่ง อึด ฮึด สู้ ด้วยตนเองสามารถก้าวผ่านสถานการณ์ที่ทำให้เกิดความเครียดซึมเศร้าหรือปัญหาสุขภาพจิต ซึ่งยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไปการช่วยเหลือและสร้างองค์ความรู้ที่มีความยั่งยืนจากความต้องการของบริบททางสังคม จะนำไปสู่การสร้างสังคมที่มีความสุขอย่างแท้จริง 
 
 
           ผศ.ดร.วัฒนา รัตนพรหม  อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี กล่าวว่า มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ส่งเสริมการเป็นวิศวกรสังคมของนักศึกษาในทุกมิติ โดยการเป็นต้นแบบขยายผลไปยังมหาวิทยาลัยราชภัฏทั้ง 38 แห่งเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาชุมชนต่าง ๆ ให้ครอบคลุม เพื่อหาแนวทางและความต้องการที่แท้จริงในการแก้ไขปัญหา การส่งเสริมให้วิศวกรสังคม รู้เท่าทันสื่อ รู้เท่าทันเทคโนโลยีดิจิทัล การรู้เท่าทันภาวะอารมณ์ของตนเองและคนรอบข้างจะเป็นส่วนสำคัญในการช่วยป้องกันปัญหาสุขภาพจิต การร่วมมือกับกรมสุขภาพจิตด้วยการคัดกรองสุขภาพใจด้วยแอพลิเคชั่น MCHI (Mental Health CHECK-IN) ทำให้มหาวิทยาลัยราชภัฏหลายแห่งสามารถช่วยนักศึกษาที่เสี่ยงต่อการทำร้ายตัวเองได้ไม่ต่ำกว่า 30 ราย มหาวิทยาลัยจะดำเนินการผลักดันให้อาจารย์นำหลักสูตร “อุ่นใจไซเบอร์” มาเพิ่มความรอบรู้ด้านสุขภาพจิต และเรียนรู้การแก้ไขปัญหาได้อย่างถูกต้องเหมาะสมอย่างยั่งยืนต่อไป 
 
 
         กรมสุขภาพจิต ขอให้ทุกภาคส่วนตระหนักถึงความสำคัญของสุขภาพจิต เพราะในปัจจุบันปัญหาสุขภาพจิตสามารถพบได้ทุกเพศทุกวัย การป้องกันที่มีประสิทธิผลคือการให้ทุกภาคส่วนทำหน้าที่และส่งเสริมบทบาทให้แก่กัน โดยมีเป้าหมายที่สำคัญคือเรื่องของการสร้างพลเมืองคุณภาพด้วยการร่วมวัดใจ เติมพลัง และสร้างสังคมมีสุข

กิจกรรม 2 พฤศจิกายน 65 - วัดใจ เติมพลัง สังคมมีสุข และ วรรณกรรมโอสถภายใต้ โครงการ “อ่านยาใจ” พลังวรรณกรรมเพื่อสร้างพลังชีวิต

กรมสุขภาพจิต จัดงานสัปดาห์สุขภาพจิตแห่งชาติ ประจำปี 2565 ณ โรงพยาบาลศรีธัญญา “วัดใจ เติมพลัง สังคมมีสุข” ร่วมกับเครือข่ายกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ภายใต้โครงการ “บ้านเปี่ยมพลัง” พร้อมส่งเสริมการใช้วรรณกรรมโอสถ ร่วมกับ สสส. เพื่อเติมพลังใจให้พร้อมก้าวสู่วันพรุ่งนี้ที่เปี่ยมสุข

 
      วานนี้ 2 พฤศจิกายน 2565 กรมสุขภาพจิต จัดงานสัปดาห์สุขภาพจิตแห่งชาติ “วัดใจ เติมพลัง สังคมมีสุข” ผ่านโครงการ บ้านเปี่ยมพลัง แนะนำการดูแลสังคมและคนไร้ที่พึ่งร่วมกับ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคง (พม.) และเน้นย้ำการดูแลใจด้วยตนเอง ให้สามารถเผชิญหน้ากับความทุกข์ ในการสร้างภูมิคุ้มทางจิตใจ ด้วยการใช้พลังแห่ง “การอ่าน” “การเขียน” เพื่อปลุกพลังแห่งชีวิต อันถือเป็นยาของใจ หรือวรรณกรรมโอสถภายใต้ โครงการ “อ่านยาใจ” พลังวรรณกรรมเพื่อสร้างพลังชีวิต

 
     นายแพทย์เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และที่ปรึกษา กรมสุขภาพจิต กล่าวว่า การอ่านหนังสือ เหมือนเป็นการจัดระเบียบความคิดของตนเองซึ่งการอ่านหนังสืออย่างน้อย 6 นาที สามารถ คลายเครียดได้ และการอ่านให้เกิดคุณค่าจะต้องอ่านให้ครบทุกองค์ประกอบของหนังสือ ซึ่ง “การอ่านหนังสือให้รู้แล้วไม่เข้าใจ เข้าใจแต่ ไม่ปฏิบัติ เท่ากับไม่รู้” โดยแนวคิดหลักของการจัดงานสัปดาห์สุขภาพจิต คือ การส่งเสริมให้สุขภาพจิตดีขึ้น และการป้องกันปัญหาสุขภาพจิต กอปรกับกรมสุขภาพจิตมีภารกิจหลัก คือ การดูแลระบบบริการสุขภาพจิตของประเทศไทย พัฒนางานสุขภาพจิตให้ก้าวหน้า สู่การเป็น Mental Health 4.0 และประชาชนรวมถึงบุคลากรมีสุขภาพจิตดี ปัญญาดี มีความสุข ซึ่งหนึ่งในนโยบายที่กรมสุขภาพจิตขับเคลื่อนเพื่อบรรลุภารกิจดังกล่าวคือ การบูรณาการงานสุขภาพจิตทุกกลุ่มวัยร่วมกับภาคีเครือข่าย ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาสังคม ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญในการสร้างปฏิสัมพันธ์กับบุคคลต่าง ๆ การอยู่ร่วมกันในสังคม ไม่แบ่งแยกคนป่วยหรือคนไม่ป่วย
 
 

 
      แพทย์หญิงอัมพร เบญจพลพิทักษ์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า จากแนวคิดการบูรณาการงานสุขภาพจิตทุกกลุ่มวัย ในเขตสุขภาพ เพื่อขับเคลื่อนระบบสุขภาพ โดยมีหน่วยงานต่าง ๆ พัฒนาระบบการสื่อสารสนับสนุนในประเด็นทางสังคมที่มีผลกระทบ ต่อสุขภาพจิต จุดประเด็นสาธารณะด้านสุขภาพจิต เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องเห็นความสำคัญเรื่องสุขภาพจิต ทั้งนี้การจัดกิจกรรมสัปดาห์สุขภาพจิต ที่เน้นเนื้อหา “วัดใจ เติมพลัง สังคมมีสุข” ครั้งนี้ ได้จัดขึ้นภายใต้ความร่วมมือระหว่างกรมสุขภาพจิต โดยโรงพยาบาลศรีธัญญาและภาคีเครือข่ายภาคประชาชน เพื่อมุ่งหวังให้เป็นเวทีในการเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการฟื้นฟูจิตใจผ่านการบำบัดรักษาด้วยวรรณกรรม ผ่าน “วรรณกรรมโอสถ” และการสนับสนุนบอร์ดเกม เพื่อเป้าหมายที่สำคัญ คือ ส่งเสริมทักษะให้กับเด็กและเยาวชนกลุ่มเปราะบาง สนับสนุนให้ผู้ป่วยจิตเวชและ ผู้ไร้ที่พึ่งในการดูแลของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ที่อยู่ในโครงการบ้านเปี่ยมพลัง สามารถดูแลตนเองและใช้ชีวิต ในสังคมได้อย่างมีความสุข
 
    แพทย์หญิงมธุรดา สุวรรณโพธิ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลศรีธัญญา กล่าวว่า นอกจากมีการเสวนาในประเด็น “จากวันทุกข์ที่ผ่านพ้น สู่วันที่ฟื้นคืนใจ”และ “กว่าจะมี...ภูมิคุ้มใจในวันทุกข์” เพื่อการเยียวยาสังคมในมิติต่าง ๆ กิจกรรมวันนี้เกิดผลสัมฤทธิ์ที่สะท้อนให้เห็นความร่วมมือในหลายภาคส่วน ได้แก่ กรมสุขภาพจิต โรงพยาบาลศรีธัญญา ศูนย์สุขภาพจิตที่ 4 แผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน สสส. คณะทำงานโครงการอ่านยาใจ สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย ธนาคารจิตอาสา และบริษัทการีนา ออนไลน์ (ประเทศไทย) จำกัด ทั้งยังขยายขอบเขตของการฟื้นฟูสภาพจิตใจในสังคมและผู้มีประสบการเจ็บป่วยด้วยโรคทางจิตเวช ให้ได้รับบริการสุขภาพจิตที่หลากหลาย มีคุณภาพ โดยกรมสุขภาพจิตจะนำนิทานภูมิคุ้มใจเพื่อเด็กปฐมวัย ได้แก่ “ตุ๊กตาของลูก” และ “หางตุ้ม” และ “หูตั้ง” ไปใช้เยียวยาครอบครัวและเด็กที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ที่จังหวัดหนองบัวลำภูด้วย กรมสุขภาพจิต ขอให้ทุกภาคส่วนตระหนักถึงความสำคัญของสุขภาพจิตและให้โอกาสกับผู้มีประสบการณ์เจ็บป่วยด้วยโรคทางจิตเวช โดยมาช่วยกันวัดใจ เติมพลัง สร้างสังคมมีสุขร่วมกัน
ตารางกิจกรรม งานสัปดาห์สุขภาพจิต 2565 วันที่ 2 พฤศจิกายน 2565 วัดใจ เติมพลัง สังคมมีสุข
"อ่านยาใจ : ภูมิคุ้มใจในวันทุกข์ สู่วันฟื้นคืนใจ" ณ ห้องเกียรติภูมิ วงศ์รจิต อาคาร 9 ชั้น ชั้น 9 โรงพยาบาลศรีธัญญา 
- เสวนา “การฟื้นฟูสุขภาพจิตร่วมกับกรมพัฒนาสังคมและมนุษย์”
- เสวนา “จากวันทุกข์ที่ผ่านพ้น สู่วันที่ฟื้นคืนใจ”
- เสวนา"กว่าจะมี....ภูมิคุ้มใจในวันทุกข์"
- พร้อมชมนิทรรศการวรรณกรรมยาใจ : มหัศจรรย์แห่งการอ่าน ปฏิหารย์แห่งการเขียน 

กิจกรรม 3 พฤศจิกายน 65 - รมว.สธ. เป็นประธานเปิดสัปดาห์สุขภาพจิตแห่งชาติ จ.นครราชสีมา

         3 พฤศจิกายน 2565 นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้เกียรติเป็นประธานเปิดสัปดาห์สุขภาพจิตแห่งชาติ ประจำปี 2565 “วัดใจ เติมพลัง สังคมมีสุข” ในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา พร้อมเน้นย้ำเครือข่ายสุขภาพจิตสนับสนุนการวัดใจให้สม่ำเสมอ รวมทั้งเสนอหลักการเติมพลังทั้งทางกายและใจ ผ่านความร่วมมือจากโครงการคู่เครือข่ายดูแลใจเพื่อคนไทยคุณภาพ ในการป้องกันและลดความเสี่ยงจากปัญหาสุขภาพจิต


         นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า วัตถุประสงค์ของการจัดงาน สัปดาห์สุขภาพจิตแห่งชาติปีนี้ เรารณรงค์ “วัดใจ เติมพลัง สังคมมีสุข” ซึ่งที่ผ่านมา แม้โรคระบาดโควิด - 19 จะทำให้เกิดความยากลำบากในสังคม แต่ตอนนี้สถานการณ์ได้คลี่คลายไปในทางที่ดีขึ้น สิ่งที่เราจะต้องทำให้เกิดความสมบูรณ์ที่สุด คือคนไทยต้องแข็งแรง ต้องมีสุขภาพดีทั้งกายและใจ ต้องได้รับการดูแลทางด้านสาธารณสุขในทุกมิติ ต้องมีความพร้อมในการประกอบสัมมาอาชีพเพื่อเสริมสร้างรายได้ให้กับตนเอง สำคัญอีกเรื่องคือ “สุขภาพจิต” เราจะต้องเร่งฟื้นฟูสภาพจิตใจ ให้ประชาชนคนไทยมีสุขภาพจิตใจที่เข้มแข็ง ที่จะดำเนินชีวิตต่อไปอย่างมีคุณภาพ นั่นคือภารกิจของกระทรวงสาธารณสุข สัปดาห์สุขภาพจิตแห่งชาติ จะมีการสัมมนา การแลกเปลี่ยน การเรียนรู้ การติดตามผลงาน ให้ประชาชนมีสุขภาพจิตที่ดี มีความคิดที่ดี ทัศนคติที่ดี แล้วสังคมไทยของเราจะมีความสุข สร้างความสามัคคีเป็นปึกแผ่น บ้านเมืองจะมีความมั่นคง มีความเจริญเติบโต ในทุกภาคส่วนทุกมิติ
 
         แพทย์หญิงอัมพร เบญจพลพิทักษ์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า วัยรุ่นเป็นกลุ่มเป็นช่วงอายุที่อารมณ์อ่อนไหวง่ายต่อสิ่งเร้ารอบด้าน ซึ่งส่งผลกระทบต่อภาวะสุขภาพจิตทั้งระยะสั้นและระยะยาว กรมสุขภาพจิตจึงตระหนักและเห็นความสำคัญในการดูแลสุขภาพจิตของนักศึกษามาโดยตลอด และได้ทำบันทึกข้อตกลงในการร่วมมือโครงการคู่เครือข่ายดูแลจิตใจก้าวสู่คนไทยคุณภาพกับมหาวิทยาลัยราชภัฏทั่วประเทศ เพื่อให้นักศึกษาได้รับการดูแลช่วยเหลืออย่างเหมาะสมทันท่วงที ด้วยกระบวนการส่งเสริมให้นักศึกษาวัดใจด้วยตนเองผ่านเครื่องมือ Mental Health Check In ซึ่งพบนักศึกษาได้รับการดูแลให้คำปรึกษาช่วยเหลือเบื้องต้น รวมทั้งส่งต่อไปยังหน่วยงานโรงพยาบาลคู่เครือข่ายที่มีจิตแพทย์ นักจิตวิทยาและพยาบาลจิตเวช กรมสุขภาพจิตยังสนับสนุนการจัดกิจกรรมเติมพลังจิตใจ เสริมสร้างความเข้มแข็งทางใจให้แก่นักศึกษาและอาจารย์ พร้อมพัฒนาศักยภาพคณาจารย์ ให้มีทักษะการฟัง ให้คำปรึกษาช่วยเหลือนักศึกษาเบื้องต้นได้

 
         ผศ.ดร.อดิศร เนาวนนท์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา กล่าวว่ามหาวิทยาลัยร่วมมือจัดทำข้อตกลงโครงการคู่เครือข่ายดูแลจิตใจก้าวสู่คนไทยคุณภาพกับกรมสุขภาพจิต โดยมีโรงพยาบาลเทพรัตน์เป็นโรงพยาบาลคู่เครือข่ายที่สามารถส่งต่อนักศึกษาที่มีปัญหาสุขภาพจิตสู่โรงพยาบาลจิตเวชนครราชสีมา ราชนครินทร์ รวมทั้งมหาวิทยาลัยได้สนับสนุนงบประมาณจัดกิจกรรมพัฒนาสุขภาพจิตของนักศึกษา จัดอบรมพัฒนาบุคลากรและอาจารย์ให้มีศักยภาพในการดูแลสุขภาพจิตของนักศึกษาได้อย่างครอบคลุมและเหมาะสม รวมทั้งการส่งเสริมป้องกันปัญหาสุขภาพจิตต่อเนื่อง ปัจจุบันทางมหาวิทยาลัยได้เพิ่มช่องทางการช่วยเหลือนักศึกษา ผ่านบริการศูนย์การปรึกษาเชิงจิตวิทยา (คนข้างใจ By-The-Heart-People) ทั้งนี้เพื่อสนับสนุนการ “วัดใจ เติมพลัง สังคมมีสุข” นายแพทย์สุผล ตติยนันทพร นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา พร้อมร่วมมือกับมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมาในฐานะคู่เครือข่าย (โรงพยาบาลเทพรัตน์) ดูแลช่วยเหลือนักศึกษา ผ่านศูนย์แพทย์ชุมชนที่ตั้งอยู่ในมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ในการส่งเสริมป้องกันและดูแลรักษาเบื้องต้น หากนักศึกษามีปัญหาด้านสุขภาพจิตที่จำเป็นต้องไปรับการรักษาจะถูกส่งต่อไปยังโรงพยาบาลเทพรัตน์ และหากมีปัญหาสุขภาพจิตที่รุนแรงยุ่งยากซับซ้อนสามารถส่งต่อโรงพยาบาลจิตเวชนครราชสีมาราชนครินทร์ได้ทันที ซึ่งเป็นการช่วยเหลือเติมพลังความเข้มแข็งจิตใจแก่นักศึกษาอย่างเป็นระบบ ทำให้สังคม มีความสุขร่วมกัน
 
         ผศ.ดร.อดิศร เนาวนนท์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา กล่าวว่า มหาวิทยาลัยมีวิสัยทัศน์ "เป็นผู้นำการศึกษา เพื่อพัฒนาท้องถิ่น สู่ความยั่งยืน" และสืบสานศิลป-วัฒนธรรมของชาติและสร้างสรรค์คุณค่าภูมิปัญญาท้องถิ่นก้าวไกลสู่สากล มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมาจึงได้มีความร่วมมือจัดทำข้อตกลงโครงการคู่เครือข่ายดูแลจิตใจก้าวสู่คนไทยคุณภาพกับกรมสุขภาพจิต (ศูนย์สุขภาพจิตที่ 9 และโรงพยาบาลจิตเวชนครราชสีมาราชนครินทร์) จัดสนับสนุนงบประมาณจัดกิจกรรมพัฒนาสุขภาพจิตของนักศึกษา จัดอบรมพัฒนาบุคลากรและอาจารย์ให้มีศักยภาพในการดูแลสุขภาพจิตนักศึกษาได้อย่างครอบคลุมเข้าสู่กระบวนการรักษา ที่เหมาะสม รวมทั้งการส่งเสริมป้องกันปัญหาสุขภาพจิตต่อเนื่อง ปัจจุบันทางมหาวิทยาลัยฯ ได้เพิ่มช่องทางการช่วยเหลือนักศึกษา ผ่านบริการศูนย์การปรึกษาเชิงจิตวิทยา (คนข้างใจ By-The-Heart-People)

 
         กรมสุขภาพจิต โดยโรงพยาบาลจิตเวชนครราชสีมาราชนครินทร์และศูนย์สุขภาพจิตที่ 9 จึงขอเชิญชวนประชาชนในพื้นที่ร่วม “วัดใจ เติมพลัง สังคมมีสุข” กับนิทรรศการทางด้านสุขภาพจิต กิจกรรม “วัดใจ” การให้คำปรึกษาทางสุขภาพจิต กิจกรรมเสริมสร้างพลังใจ สังคมให้มีความสุขร่วมกัน ในงานสัปดาห์สุขภาพจิตแห่งชาติ วันที่ 3-4 พฤศจิกายน 2565 ณ อาคารยุพราชเบญจมงคล (อาคาร 31) มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ตั้งแต่ 8.30 น. เป็นต้นไป เพราะเรื่องสุขภาพใจ รู้ก่อน รู้ทัน ป้องกันความเสี่ยงได้ เพื่อสร้างพลเมืองยุใหม่ในศตวรรษที่ 21 

กิจกรรม 4 พฤศจิกายน 65 - งานวิจัยและเสวนา "HEARTS MATTER สุขภาพใจเยาวชน เพศหลากหลาย

สถาบันราชานุกูล และ สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ ขอเชิญทุกท่านร่วมเปิดตัวงานวิจัยและเสวนา "HEARTS MATTER สุขภาพใจเยาวชน เพศหลากหลาย" 

ร่วมพูดคุยกับ พญ.จิราภรณ์ อรุณากูร หรือ คุณหมอโอ๋ จากเพจเลี้ยงลูกนอกบ้าน, คุณพรทิพย์ ตัวแทนเยาวชน LGBTQIA+, อ.สกล คณะวิทยากรเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ ทีมวิจัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และนำการเสวนาโดย หมอวี พญ.วิมลรัตน์ วันเพ็ญ ผอ.สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์

และพบกับการแสดงความสามารถจากน้องๆ เยาวชนคนพิเศษในชุด "คาเฟอีน" นำทีมโดย 3 ดาวน์มากความสามารถ พี่เสือ ฉายวิชญ์ สุจริตกุล, พี่ภพ กรภพ คงเจริญถิ่น และ พี่แบงค์ สุทธิพศ กนกนาค

พบกันในวันที่ 4 พฤศจิกายนนี้ เวลา 14.00-16.00 น. ณ สามย่านโค-ออป ชั้น 2 ศูนย์การค้า สามย่านมิตรทาวน์

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด