ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

ทำไม โคมลอย จึงอันตรายต่อเครื่องบินและการบิน

ทำไม โคมลอย จึงอันตรายต่อเครื่องบินและการบิน Thumb HealthServ.net
ทำไม โคมลอย จึงอันตรายต่อเครื่องบินและการบิน ThumbMobile HealthServ.net

เทศกาลลอยกระทงหรือปีใหม่หรือโอกาสอื่นๆ มักจะนิยมปล่อยโคมลอยกันมาก แต่อีกด้านหนึ่งโคมลอยเหล่านี้ จะเป็นอันตรายต่อการบินและเครื่องบิน จึงมีการกำหนดข้อห้ามและจำเป็นต้องมีการขออนุญาตหากประสงค์จะทำการปล่อยโคม "เพราะจะต้องแจ้งข้อมูล วัน เวลา สถานที่และจำนวน ให้ท่าอากาศยาน หรือศูนย์ควบคุมการบินในพื้นที่ หรือ CAAT ทราบล่วงหน้า 7 วัน เพื่อที่ CAAT จะได้ออกประกาศแจ้งเตือนนักบิน ให้หลีกเลี่ยงการใช้ห้วงอากาศ" เห็นไหมว่ามันสำคัญและเกี่ยวข้องกับอีกหลายภาคส่วนมากมาย ด้วยเหตุผลคือความปลอดภัยนั่นเอง



โคมลอยและโคมควันก่ออันตรายต่อส่วนต่างๆ ของเครื่องบิน
 
  • ปีกเครื่องบิน อาจเสียหาย ติดขัด ไม่สามารถควบคุมได้ 
  • เครื่องยนต์เครื่องบิน อาจทำให้เกิดการระเบิดได้
  • แพนหางเครื่องบิน ทำให้ติดขัด ไม่สามารถควบคุมได้
  • กระจกห้องนักบิน บดบังทัศนวิสัยของนักบิน
 
ขนาดและรูปแบบโคมลอยมาตรฐาน
 
  1. ปริมาตรไม่เกิน 1 ลูกบาศก์เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางไม่เกิน 90 ซม. สูงไม่เกิน 140 ซม.
  2. ทำจากวัสดุธรรมชาติ
  3. เชื้อเพลิงให้ทำจากกระดาษชุบเทียนขี้ผึ้ง หรือพาราฟิน น้ำหนักไม่เกิน 55 กรัม ระยะเวลาการเผาไหม้ ไม่เกิน 8 นาที
 
 
ทำไม โคมลอย จึงอันตรายต่อเครื่องบินและการบิน HealthServ
 
 
 

อยากปล่อยโคมลอย/จุดพลุ/จุดบั้งไฟตามเทศกาล ทำได้หรือไม่?

 
 
หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติอาศัยอำนาจตามมาตรา 44 มีคำสั่งห้ามมีให้ผู้ใดจุดและปล่อยบั้งไฟ พลุ ตะไล โคมลอย โคมควัน หรือวัตถุอื่นที่คล้ายคลึงกัน ขึ้นไปสู่อากาศ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจาก ผู้อำนวยการเขตหรือนายอำเภอในท้องที่เพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนและป้องกันอันตราย เนื่องจากไม่มีวิธีใดควบคุมทิศทางของโคมลอยได้ จึงเคยเกิดเหตุการณ์เครื่องยนต์ของเครื่องบินดูดโคมลอยเข้าไปติด กรณีนี้อาจทำให้เครื่องยนต์เกิดขัดข้องและเป็นอันตรายต่อชีวิตผู้โดยสาร
 
 
ดังนั้น ผู้ต้องการปล่อยวัตถุดังกล่าว นอกจากต้องได้รับอนุญาตแล้ว ยังต้องแจ้งข้อมูล วัน เวลา สถานที่และจำนวน ให้ท่าอากาศยาน หรือศูนย์ควบคุมการบินในพื้นที่ หรือ CAAT ทราบล่วงหน้า 7 วัน เพื่อที่ CAAT จะได้ออกประกาศแจ้งเตือนนักบิน (NOTAM : Notice To Airmen) ให้หลีกเลี่ยงการใช้ห้วงอากาศตามที่ขออนุญาตผู้ใดฝ่าฝืน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำ ทั้งปรับ
ทำไม โคมลอย จึงอันตรายต่อเครื่องบินและการบิน HealthServ

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด