ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

Bangkok health zoning ครั้งที่ 2 บทสรุปจากผู้ว่ากทม. และผู้นำรพ.รัฐชั้นนำ

Bangkok health zoning ครั้งที่ 2 บทสรุปจากผู้ว่ากทม. และผู้นำรพ.รัฐชั้นนำ Thumb HealthServ.net
Bangkok health zoning ครั้งที่ 2 บทสรุปจากผู้ว่ากทม. และผู้นำรพ.รัฐชั้นนำ ThumbMobile HealthServ.net

กรุงเทพมหานครเป็นเจ้าภาพจัดงานการประชุมเชิงวิชาการ Bangkok health zoning ครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 7 – 8 มิถุนายน 2566 ณ โรงแรมปรินซ์พาเลซ มหานาค จัดขึ้นเพื่อการขยายผลบริการด้านสาธารณสุข พัฒนารูปแบบบริการที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชน และเกิดการบูรณาการร่วมกันระหว่างหน่วยงานทั้งภาครัฐ เอกชน และภาคีเครือข่าย ทั่วทุกเขตพื้นที่ในกรุงเทพมหานคร โดยครั้งนี้มีนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นประธานเปิดการประชุม และร่วมรับฟังเสวนา หัวข้อ "กรุงเทพมหานคร: ระบบสุขภาพที่ดี ไม่มีทางทำคนเดียว" ร่วมกับผู้นำหน่วยงานสาธารณสุขสำคัญของกรุงเทพ อย่างโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โรงพยาบาลศิริราช โรงพยาบาลราชวิถี เข้าร่วมเสวนา

 
ผู้ว่าฯ ชัชชาติ กล่าวในการเปิดตัวงาน Bangkok health zoning ถึงแนวคิดสำคัญว่า การสาธารณสุขกับการศึกษาเป็นเรื่องสำคัญที่จะลดความเหลื่อมล้ำ ปัญหาด้านสาธารณสุขของ กทม. คือมีหลายหน่วยงานที่มีการให้บริการทางสาธารณสุข และมีเตียงเพียง 13% ของเตียงทั้งหมดที่เหลือเป็นของโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข โรงพยาบาลมหาวิทยาลัย โรงพยาบาลเอกชน  ย้อนไปในช่วงต้นโควิด-19 จะเห็นว่ามีปัญหาในเรื่องการประสานงาน 
 
 
 

แบ่งกรุงเทพเป็น 7 โซน 
 

ผู้ว่าฯ ชัชชาติ กล่าวถึงแนวคิดกรุงเทพ 7 โซน ว่า  "กทม. มีแนวคิดแบ่งกรุงเทพออกเป็น 7 โซน แต่ละโซนมีเครือข่ายระดับชุมชน อสส. ชุมชน คลินิกชุมชนอบอุ่น ศูนย์บริการสาธารณสุข ไปจนถึงระดับโรงพยาบาลที่ให้บริการเฉพาะทาง หากเราสามารถประสานงานกับเครือข่ายเหล่านี้ได้และมีความเข้มแข็ง รวมถึงสร้างความไว้วางใจให้กับแต่ละหน่วยย่อย ก็จะทำให้การบริการไร้รอยต่อมากขึ้น แต่เชื่อว่าเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องง่าย สุดท้ายแล้ว กทม. ก็ดูแลได้เพียงหน่วยงานในสังกัด ส่วนหน่วยงานเครือข่ายอื่นๆ ต้องอาศัยความร่วมมือกัน จึงได้เน้นย้ำว่าจะทำอย่างไรให้เกิดประโยชน์กับทุกฝ่ายและประชาชนได้ประโยชน์สูงสุด"
 
 
Bangkok health zoning ครั้งที่ 2 บทสรุปจากผู้ว่ากทม. และผู้นำรพ.รัฐชั้นนำ HealthServ

ในการประชุมครั้งนี้ มีการนำเสนอผลงานของกรุงเทพ 7 โซนสุขภาพและความคืบหน้าดังนี้
 
โซน 1. กรุงเทพฯ ตะวันตก

ขยายรูปแบบจากโรงพยาบาลแม่ข่าย (รพ.ราชพิพัฒน์) ลงสู่โรงพยาบาลระดับรอง (subzone) 2 โรงพยาบาล ได้แก่ รพ.หลวงพ่อทวีศักดิ์ฯ รพ.บางขุนเทียน  เชื่อมโยงระบบบริการยังศูนย์บริการสาธารณสุข และคลินิกชุมชนอบอุ่น ให้สามารถส่งต่อข้อมูลได้ง่าย, ศูนย์เวชศาสตร์เพื่อการฟื้นฟูและการดูแลแบบประคับประคอง, การส่งไร้พรมแดน รวมจนถึงการส่งต่อจากโรงพยาบาลสู่คลินิก ให้ประชาชนได้รับการดูแลอย่างทั่วถึง เป็นต้น

     ศูนย์บริการสาธารณสุข 8 แห่ง ในโซนนี้ ครอบคลุม เขตทวีวัฒนา ตลิ่งชัน บางแค ภาษีเจริญ หนองแขม บางบอน บางขุนเทียน 

 
 
โซน 2. กรุงเทพฯ ฝั่งธนบุรี 

ขยายบริการจากโรงพยาบาลหลักคือโรงพยาบาลตากสิน และได้รับการสนับสนุนจากโรงพยาบาลศิริราช มีการพัฒนารูปแบบการบูรณาการดูแลรักษาอย่างไร้รอยต่อ และนำเสนอนโยบาย การบริการเข้าถึงง่าย umsc : @1TKS การใช้เทคโนโลยีสุขภาพ หมอถึงบ้าน ด้วยบริการ telemedicine การดูแลภาวะฉุกเฉิน motor lance และ 1 ชุมชน 1 AED

       ศูนย์บริการสาธารณสุข 7 แห่ง ในโซนนี้ ครอบคลุม เขตบางกอกน้อย บางกอกใหญ่ คลองสาน ธนบุรี จอมทอง
 

 
โซน 3. กรุงเทพฯ ใต้

โรงพยาบาลหลักคือโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์  และได้รับการสนับสนุนจากโรงพยาบาลศิริราช โรงพยาบาลเลิดสิน (สธ.), โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ (รร.แพทย์)  ขยายผลจากโครงการนำร่อง CPK  โครงการปี 1 สู่การพัฒนาต่อเนื่อง ภายใต้ความร่วมมือจากโรงพยาบาลสังกัดกรมการแพทย์ อาทิ เพิ่มศักยภาพศูนย์โรคหัวใจและหลอดเลือด เพิ่มระบบการส่งต่อ, โครงการ motor lance, โครงการ UMSC, การดูแลผู้ป่วยระยะกลาง imc, การเยี่ยมบ้าน แบบไร้รอยต่อ, การพัฒนาคลินิกปฐมภูมิ, โครงการนักสืบฝุ่น,โครงการ smart day care center และสายใยรักคู่นมแม่
 
      ศูนย์บริการสาธารณสุข 18 แห่ง  ในโซนนี้ ครอบคลุม เขตปทุมวัน สาทร บางรัก วัฒนา คลองเตย พระโขนง ยานนาวา บางคอแหลม ราษฎร์บูรณะ ทุ่งครุ 


 
โซน 4. กรุงเทพฯ ชั้นใน 

โรงพยาบาลหลักคือวชิรพยาบาล การพัฒนาและขยายผลรูปแบบบริการ เชื่อมโยงเครือข่ายระหว่าง โรงพยาบาล สำนักงานเขต ศูนย์บริการสาธารณสุข และชุมชนมากยิ่งขึ้น ตามแนวคิด ใกล้บ้าน ใกล้ใจ ปลอดภัย เชื่อมั่น และเชื่อมโยงนโยบายสุขภาพปี 2 อาทิ บริการเข้าถึงง่าย ทั่วถึง สู่เส้นเลือดฝอย vajira@home, เยี่ยมบ้านไร้รอยต่อ, การส่งต่อไร้พรมแดน, มอเตอร์กู้ชีพ, บริการโรคคนเมือง preventive medicine, เปิดบริการคลินิกเฉพาะทาง คลินิกผู้สูงอายุ ศูนย์มะเร็งครบวงจร ศูนย์เวชศาสตร์เพื่อการฟื้นฟู และอาสาสมัครเทคโนโลยี 
 
      ศูนย์บริการสาธารณสุข 7 แห่ง  ในโซนนี้ ครอบคลุม เขตบางซื่อ บางพลัด ดุสิตพระนคร
 

 
โซน 5. กรุงเทพฯ กลาง  และโซน 6 กรุงเทพฯ เหนือ 

โรงพยาบาลกลาง เป็นโรงพยาบาลหลักของทั้งสองโซน  แต่ละโซน ได้รับการสนับสนุนจาก โรงพยาบาลรามาธบดี (รร.แพทย์), โรงพยาบาลราชวิถี (สธ.)  สำหรับโซน 5 และ  โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช (ทอ.), โรงพยาบาลมงกุฏวัฒนะ (เอกชน)  สำหรับโซน 6 
 
การพัฒนาระบบบริการตามนโยบายสุขภาพปี 2 ภายใต้การดูแลของ โรงพยาบาลกลาง และได้รับการสนับสนุนจากโรงพยาบาล mentor system และความร่วมมือจากศูนย์บริการสาธารณสุขและชุมชน มุ่งเน้นบริการในภาวะวิกฤติ อาทิ โครงการ motor lance, โครงการ UMSC : @klang, เยี่ยมบ้านแบบไร้รอยต่อด้วยเทคโนโลยีสุขภาพ, preventive urban medicine เพื่อโรคคนเมือง
 
โซน 5 มี ศูนย์บริการสาธารณสุข 9 แห่ง  ในโซนนี้ ครอบคลุม เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย สัมพันธวงศ์ พญาไท ราชเทวี ดินแดง ห้วยขวาง

โซน 6 มี  ศูนย์บริการสาธารณสุข 6 แห่ง  ในโซนนี้ ครอบคลุม เขตดอนเมือง สายไหม หลักสี่ บางเขน จตุจักร ลาดพร้าว วังทองหลาง
 


 
โซน 7. กรุงเทพฯ ตะวันออก 

โรงพยาบาลหลักคือ โรงพยาบาลสิรินธร  และได้รับการสนับสนุนจากโรงพยาบาลลาดกระบัง, โรงพยาบาลเวชการุณรัศมิ์, โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี (รร.แพทย์)  
 
การพัฒนาและขยายผลรูปบริการ sandbox สู่ health zoning ภายใต้ความร่วมมือของโรงพยาบาลสิรินธร, โรงพยาบาลนพรัตน์ราชธานี, โรงพยาบาลเวชการุณรัศมิ์, โรงพยาบาลคลองสาม, โรงพยาบาลลาดกระบัง และโรงพยาบาลบางนา กรุงเทพมหานคร ร่วมกับสำนักงานเขตและศูนย์บริการสาธารณสุข อาทิ โครงการ UMSC : @1srt, Motor lance, off road ambulance, เอราวัณง่ายทันใจ, การส่งต่อไร้พรมแดน, ศูนย์เวชศาสตร์เพื่อการฟื้นฟูและการดูแลแบบประคับประคอง 4 มุมเมือง, ธนาคารอุปกรณ์

     ศูนย์บริการสาธารณสุข 14  แห่ง  ในโซนนี้ ครอบคลุม เขตหนองจอก คลองสามวา มีนบุรี ลาดกระบัง คันนายาว สะพานสูง ประเวศ บางนา สวนหลวง บางกะปิ บึงกุ่ม 


  *รายงานจาก innews.news 

 
Bangkok health zoning ครั้งที่ 2 บทสรุปจากผู้ว่ากทม. และผู้นำรพ.รัฐชั้นนำ HealthServ

ระบบสาธารณสุขเข้มแข็ง มีเทคโนโลยีช่วย ลดแออัดรพ.ใหญ่ได้

 
ผู้ว่าฯ ชัชชาติ กล่าวถึงความสำคัญของการทำระบบสาธารณสุขของเราให้เข้มแข็ง ว่า จะช่วยลดจำนวนคนไข้ที่ไปแออัดอยู่ที่โรงพยาบาลใหญ่ให้น้อยลง  สิ่งสำคัญคือการบริหารให้มีความเชื่อมโยงกัน

การนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ ก็จะมีส่วนช่วยได้มาก อย่างเช่น การใช้ระบบ Telemedicine

ปัจจุบัน กทม. ได้มีการเริ่มใช้งานแล้ว จุดแข็งใน 1 ปีที่ผ่านมาคือ เริ่มทำ Sandbox ก่อนที่โรงพยาบาลราชพิพัฒน์ และดุสิตโมเดล และนำมาขยายผลทำเป็น Bangkok Health Zoning ทำให้เห็นผลที่เป็นรูปธรรมและให้ตอบโจทย์ประชาชนมากขึ้น

 
“เรามีหน้าที่ทำให้ประชาชนไว้ใจเราทำให้ประชาชนไว้ใจในศูนย์บริการสาธารณสุข ได้รับบริการที่ดีขึ้นให้ประชาชนหันมาใช้บริการหน่วยย่อยใกล้บ้านมากกว่าไปโรงพยาบาลใหญ่ เชื่อว่าในอนาคตทั้งระบบสาธารณสุขจะดีขึ้นได้” 

 


การดูแลสุขภาพแบบนำร่อง หรือ Sandbox


การดูแลสุขภาพแบบนำร่องโดยบูรณาการความร่วมมือระหว่างโรงพยาบาล ศูนย์บริการสาธารณสุข สำนักงานเขตพื้นที่ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สถานพยาบาลเอกชน และเครือข่ายภาคประชาชนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องในรูปแบบ Sandbox โดยมีโรงพยาบาลเป็น System manager ศูนย์บริการสาธารณสุขเป็น Area manager เป็นระยะเวลา 8 เดือน ผลการดำเนินงานที่ผ่าน ตอบสนองความต้องการของภาคประชาชนโดยเฉพาะกลุ่มเส้นเลือดฝอย ตั้งแต่ระบบบริการปฐมภูมิ ทุติยภูมิ ตติยภูมิ และการดูแลต่อเนื่อง ได้แก่ ดุสิต Model, ราชพิพัฒน์ Model รวมถึงการขยายผลไปในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร 6 กลุ่มเขต ภายหลังการประชุมเชิงปฏิบัติการ Sandbox กรุงเทพมหานคร เดือนธันวาคม 2565 ที่ผ่านมา ได้เกิดการดำเนินงานในเขตพื้นที่กรุงเทพตะวันออก กรุงเทพกลาง กรุงเทพเหนือ เป็นต้น ส่งผลให้ประชาชนเข้าถึงบริการได้ง่ายขึ้น ลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม แต่อย่างไรก็ตามยังขาดกระบวนการด้านการประชาสัมพันธ์ ประชาชนเข้าถึงข้อมูลข่าวสารเพียงบางกลุ่ม บุคลากร หน่วยงานด้านสาธารณสุขยังขาดความรู้ ความเข้าใจ และการเชื่อมโยงระบบ หลายเขตพื้นที่ในกรุงเทพมหานครยังขาดแคลนสถานบริการด้านสาธารณสุข ขาดการบูรณาการร่วมกัน


ดังนั้นการดำเนินการด้านการขยาย Health Zoning จะสำเร็จได้ต้องอาศัยความร่วมมือกันและพัฒนาระบบบริการอย่างมีมาตรฐานร่วมกัน ได้แก่ บทบาทของโรงพยาบาลแม่ข่าย ศูนย์บริการสาธารณสุข รวมถึงภาคีเครือข่ายต่างๆ เพื่อประชาชนสามารถเข้าถึงบริการ และเกิดการพัฒนางานอย่างมีคุณภาพ

Bangkok health zoning ครั้งที่ 2 บทสรุปจากผู้ว่ากทม. และผู้นำรพ.รัฐชั้นนำ HealthServ

Motorlance

สำหรับโครงการ Motorlance หรือ รถจักรยานยนต์ฉุกเฉินทางการแพทย์  ที่สามารถเข้าถึงประชาชนได้เร็วขึ้น ผู้ว่าฯ ชัชชาติ กล่าวว่า เป็นโครงการที่ดี เนื่องจาก 8 นาทีทองนั้นสำคัญมาก นั่นคือเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินเราสามารถไปถึงผู้ป่วยได้ภายใน 8 นาที ก็จะสามารถช่วยชีวิตผู้ป่วยได้ ซึ่งอุปกรณ์ภายในรถจักรยานยนต์ฉุกเฉินจะมีอุปกรณ์ที่จำเป็นในการปฐมพยาบาลและช่วยชีวิตฉุกเฉิน

"ขณะนี้เรามี 50 คันกระจายไป 50 เขต โดยทั้ง 50 คันนี้ไม่ได้ใช้งบประมาณหลวงแต่มีผู้บริจาคให้ ต่อไปในอนาคตอาจขยายผลเป็น 200 – 300 คัน"
 
รถ Motorlance นอกจากจะช่วยให้เข้าถึงประชาชนได้เร็วขึ้นแล้ว  ยังเป็นการขยายเตียงโดยการนำเตียงผู้ป่วยที่อยู่ที่บ้านนำเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของระบบสาธารณสุข ทั้งหมดนี้เชื่อว่าเรามาถูกทางแล้ว และในปีที่ 2 นี้มีนโยบายอีก 24 นโยบายที่จะทำให้ระบบสาธารณสุขนั้นเข้มแข็งขึ้น
 
 
 
 

สรุปประเด็นจากผู้ร่วมสัมนา ผู้ว่าชัชชาติ รองผู้ว่า ทวิดา และผู้บริหารรพ.รัฐ

ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าฯ กทม. กล่าวเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการ Bangkok Health Zoning ว่า การสาธารณสุข กับ การศึกษา เป็น 2 เรื่องใหญ่ ที่จะช่วยลดความเหลื่อมล้ำในกรุงเทพฯ แต่มีข้อสังเกตว่ากรุงเทพฯ เป็นศูนย์รวมความเจริญทางการแพทย์ แต่การประสานงานยังไม่ค่อยดี จะทำอย่างไรให้ประสานงานเป็นเนื้อเดียวกัน จึงมีการแบ่งเป็น 7 โซน มีโรงพยาบาลแม่ข่าย สังกัด กทม. โรงพยาบาลพี่เลี้ยง สังกัดโรงเรียนแพทย์ เอกชน และสาธารณสุข
 
“ยอมรับว่าแต่ละโรงพยาบาลก็มีภารกิจต่างกัน การชวนมาร่วมทำงานก็ต้องทำให้เกิดประโยชน์กับทุกฝ่าย อาจใช้นวัตกรรมเข้ามามีส่วนในการพัฒนาคุณภาพ โดยนโยบายสุขภาพ กทม. ก็คงต้องเสนอให้รัฐบาลใหม่ช่วยมาดูเรื่องนี้ด้วย”​



รศ.ทวิดา กมลเวชช รองผู้ว่าฯ กทม.​ บอกถึงตัวชี้วัดความสำเร็จของ Bangkok Health Zoning คือ
  1. ความแออัดในโรงพยาบาลลดลง 
  2. ผู้ป่วยได้รับการบริการเร็วขึ้น
  3. ลดการส่งต่อผู้ป่วยไปโรงพยาบาลใหญ่ 
  4. เมื่อระบบเทเลเมดิซีนทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ จะทำให้มีผู้ใช้บริการหน่วยปฐมภูมิมากขึ้น 


ศ.นพ.ฉันชาย สิทธิพันธุ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ กล่าวว่า การสร้างเครือข่ายโรงพยาบาล ต้องอาศัยความเชื่อใจจากประชาชน ให้มั่นใจว่าจะได้รับการรักษาคุณภาพไม่ต่างจากโรงพยาบาลจุฬาฯ แต่ความเป็นเครือข่ายจะไม่เกิดขึ้น หากหน่วยบริการปฐมภูมิไม่เข้มแข็ง โจทย์สำคัญคือต้องใช้สถานพยาบาลให้เหมาะสมกับผู้ป่วย และมีระบบช่วยเหลือกัน โดยสิ่งที่อยากให้ กทม. ทำ คือบอกบทบาทของโรงพยาบาลพี่เลี้ยงให้ชัดเจน และในแต่ละโซนสุขภาพอาจจะปัญหาต่างกัน จำเป็นต้องออกแบบต่างกันไป 


ศ.คลินิก นพ.วิศิษฎ์ วามวาณิชย์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลศิริราช กล่าวถึงทางเลือกของการให้บริการ ถ้าเพิ่มการเข้าถึงแล้วคุณภาพจะเป็นอย่างไร และการจำกัดการเข้าถึงบริการ จะมีคุณภาพการรักษามากกว่า คุณค่าของระบบควรเป็นแบบไหน พร้อมเห็นด้วยกับการสร้างเครือข่ายโรงพยาบาล อาจจะเป็นเครือข่ายเฉพาะโรค และเรื่องสำคัญที่ กทม. ควรเตรียมไว้ คือการควบคุมโรคระบาด เพราะมั่นใจว่าจะมีอีก รวมถึงการเกิดภัยขนาดใหญ่ ก็ควรจะมีแผนรองรับ
 
อีกข้อเสนอ คือ กระจายอำนาจทางการแพทย์ ในแต่ละเขตควรมีคอมมูนิตี้เซ็นเตอร์ ที่โฟกัสปัญหาสุขภาพที่ต่างกันไป เช่น บางเขตมีผู้สูงอายุมาก บางเขตเป็นแหล่งมลพิษ​
 
“อีกเรื่องคือ การทำโฮมวอร์ด ในเรื่องนี้ อาสาสมัครสาธารณสุข และญาต ต้องวางเป้าหมายว่าจะมีส่วนร่วมอยา่งไร เรื่ององค์ความรู้ รร.แพทย์ช่วยได้ เหล่านี้ คือ New Paradigm health care (กระบวนทัศน์ใหม่ด้านการดูแลสุขภาพ)  ถ้าไม่ทำ แบบนี้กรุงเทพจะมีสุขภาพดีไม่ได้ …” 


นพ.จินดา โรจนเมธินทร์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลราชวิถี กล่าวว่า นโยบายสุขภาพดี ต้องทำครบ ทั้งส่งเสริม ป้องกัน รักษา ฟื้นฟู  โดยเฉพาะการรักษาเป็นสิ่งที่เห็นผลกระทบใกล้ที่สุด มี 2 ประเด็น 1. การลดความแออัดในโรงพยาบาลใหญ่ ระดับตติยภูมิ ผู้มาใช้บริการ รอคอยนาน และ 2. การดูแลผู้ป่วยวิกฤตฉุกเฉิน 
 
ประเด็นแรก การลดความแออัดในโรงพยาบาลนั้น รพ.ราชวิถี มีผู้ป่วยนอกรับบริการ 1.1 ล้านครั้งต่อปี 80% มีอาการอยู่ในขั้นที่เข้ารับการรักษาได้ใน รพ.ระดับทุติยภูมิ ยังไม่ถึงขนาดต้องมาที่ รพ.ราชวิถี ซึ่งเป็น รพ.ระดับตติยภูมิ และมีเพียง 20% ที่มีอาการต้องรักษาในระดับตติยภูมิจริง ๆ ดังนั้น แทนที่โรงพยาบาลตติยภูมิจะมีเตียงสำหรับคนไข้ที่หนักจริง ๆ ก็อาจถูกเบียดบังไป จึงมองว่าการจัดบริการให้เหมาะสมกับผู้ป่วย ในแต่ละเคสเป็นเรื่องจำเป็น 
 
“สิ่งนี้เราต้องมี buffer area หรือ หน่วยบริการทุติยภูมิที่เหมาะสม ซึ่งก็คือการยกระดับศูนย์บริการสาธารณสุข และสร้างการรับรู้ให้ประชาชนมาใช้บริการ อาจจำเป็นต้องรีแบรนด์ ศูนย์บริการสาธารณสุข สร้างการรับรู้กับประชาชนให้มากขึ้น ว่ามีการยกระดับการให้บริการ ให้ประชาชนเชื่อมั่น และเข้ามาใช้บริการมากขึ้น” 
 
ข้อมูลจาก The Active
 

ย้อนดู Bangkok Health Zoning ครั้งที่ 1 (27 เม.ย. 2566) LINK

ย้อนดู Bangkok Health Zoning ครั้งที่ 1 (27 เม.ย. 2566) Bangkok health zoning ครั้งที่ 2 บทสรุปจากผู้ว่ากทม. และผู้นำรพ.รัฐชั้นนำ
ย้อนดู Bangkok Health Zoning ครั้งที่ 1 (27 เม.ย. 2566) Bangkok health zoning ครั้งที่ 2 บทสรุปจากผู้ว่ากทม. และผู้นำรพ.รัฐชั้นนำ
 จาก Sandbox ราชพิพัฒน์ Model และ Sandbox ดุสิต Model ต้นแบบการพัฒนาระบบบริการสาธารณสุขของกรุงเทพมหานครในยุคใหม่ มาสู่งานการประชุมเชิงวิชาการ Bangkok Health Zoning ครั้งที่

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด