ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

ผลสำรวจชี้ คนไทยเก็บตัว เก็บตัง ใช้จ่ายลดลงช่วงกลางปี (มิ.ย.2566)

ผลสำรวจชี้ คนไทยเก็บตัว เก็บตัง ใช้จ่ายลดลงช่วงกลางปี (มิ.ย.2566) Thumb HealthServ.net
ผลสำรวจชี้ คนไทยเก็บตัว เก็บตัง ใช้จ่ายลดลงช่วงกลางปี (มิ.ย.2566) ThumbMobile HealthServ.net

ฮาคูโฮโด อาเซียน เผยผลสำรวจเดือนมิถุนายน 2566 ภาพรวมการอยากใช้จ่ายของคนไทยในช่วงกลางปีลดลง ตามแนวคิด "เก็บตัว เก็บตัง พักเรื่องใช้จ่าย!" ผลสำรวจชี้ คะแนนเรื่องความต้องการใช้จ่ายของคนไทยลดลงกว่า 5% แนะแบรนด์ เสนอไอเดียอยู่บ้านหนีร้อนแบบสบายกระเป๋า เพื่อให้เกิดการร่วมสร้างประสบการณ์ใหม่ภายในครอบครัว กระแสโควิดที่ซาลง บวกกับอากาศร้อนและปัญหาฝุ่น ทำให้คนไทยบางส่วนเลิกทำกิจกรรมเพื่อสุขภาพนอกบ้าน

 กรุงเทพฯ ประเทศไทย, มิถุนายน 2566 — สถาบันวิจัยความเป็นอยู่ฮาคูโฮโด อาเซียน (ประเทศไทย) หรือ Hakuhodo Institute of Life and Living ASEAN (THAILAND) เผยผลสำรวจเรื่องการคาดการณ์พฤติกรรมการใช้จ่ายของผู้บริโภคในประเทศไทยประจำเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2566 ว่า หลังผ่านการเฉลิมฉลองฉลองช่วงต้นปีมาอย่างจัดเต็ม ส่งผลให้ภาพรวมการอยากใช้จ่ายของคนไทยในช่วงกลางปีลดลง และในปีนี้ประเทศไทยมีแนวโน้มอุณหภูมิสูงขึ้นเหมือนเช่นทุกๆ ปี ส่งผลให้หน้าร้อนปีนี้อากาศร้อนยิ่งกว่าเมื่อปีที่ผ่านมา ทำให้ผู้บริโภคมองหาวิธีดับร้อนที่แตกต่างกันออกไป แต่สิ่งที่เห็นได้ชัดจากผลสำรวจคือ หลายคนเลือกที่จะเก็บตัวอยู่บ้านหลบร้อน เซฟตัวเอง เซฟเงินในกระเป๋าที่ใช้จ่ายอย่างหนักหน่วงไปเมื่อเทศกาลต่างๆ ในต้นปีที่ผ่านมา  สถานการณ์ของคนไทยในปัจจุบันอ้างอิงจากผลสำรวจ สรุปได้ว่า แต่ละเพศมีการรับมือกับอากาศร้อนที่แตกต่างกัน เช่น ผู้หญิงในทุกวัยหันมาใส่ใจเรื่องผิวหน้าและกายมากขึ้น เนื่องจากผลกระทบจากรังสี UV ความร้อน และมลภาวะที่ทำให้ผิวแห้งและเกิดสิว ฝ้า กระ แต่ในผู้ชายส่วนใหญ่จะเลือกซื้อสินค้าในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าช่วยคลายร้อน เป็นต้น 



ผลสำรวจชี้ คนไทยเก็บตัว เก็บตัง ใช้จ่ายลดลงช่วงกลางปี (มิ.ย.2566) HealthServ
  สถาบันวิจัยความเป็นอยู่ฮาคูโฮโด อาเซียน (ประเทศไทย) ได้แบ่งปันมุมมองใหม่ให้กับแบรนด์ เพื่อให้ปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์นี้ไว้ว่า

1. โควิดลดลง แต่การดูแลตัวเองต้องไปต่อ: Self-care is health care!

 
ในขณะนี้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 มีแนวโน้มลดลง แต่การดูแลสุขภาพของเราก็ยังคงต้องดำเนินต่อ ถึงแม้ว่าโควิดจะเบาลง แต่ยังมีสิ่งอื่นรอบตัวที่อาจส่งผลกระทบกับร่างกายโดยตรง อาทิ อากาศร้อน และ ฝุ่น PM 2.5 ซึ่งในจุดนี้เอง แบรนด์สามารถส่งเสริมให้ผู้บริโภคไม่ละเลยที่จะดูแลตัวเองอย่างสม่ำเสมอผ่านกิจกรรมที่ทำได้ง่ายและเร็วทั้งในเรื่องสุขภาพและความสวยงาม เช่น การเสนอให้มีการออกกำลังกายในร่มเพื่อหลีกเลี่ยงการพบเจอแสงแดด อากาศร้อน และฝุ่น จากภายนอกโดยตรง หรือนำเสนอไอเดียเรื่องการดูแลและปกป้องผิวพรรณจากความร้อน รังสี UV ที่อาจเข้ามากระทบผิวเราโดยตรงอีกทั้งยังต้องส่งเสริมเรื่องผิวต้องการความชุ่มชื่นจากน้ำอีกด้วย

2. แนะนำไอเดียอยู่บ้านหนีร้อนแบบสบายกระเป๋า: Inexpensive In-home Joy to beat heat


ปัจจุบันนี้คนไทยอยู่ท่ามกลางสภาพอากาศที่ร้อนจัดและมีแนวโน้มที่จะร้อนขึ้นในทุกๆ ปี แบรนด์สามารถใช้โอกาสนี้ในการเข้าไปมีส่วนร่วมเพื่อช่วยสร้างความสุข สนุก สดชื่น ให้เกิดขึ้นภายในบ้านได้ โดยสามารถสร้างผ่านการแนะนำในการใช้ผลิตภัณฑ์วิธีใหม่ เช่น แนะนำความสดชื่นรูปแบบใหม่ ที่เปลี่ยนเครื่องดื่มธรรมดาให้เป็นเป็นเมนูหวานเย็นได้ง่ายๆ เพื่อเพิ่มสีสันใหม่ๆ ในการรับประทาน หรือแบรนด์จะเน้นการทำโปรโมชั่นรูปแบบ Family Pack ในช่องทางออนไลน์ให้มากขึ้น เพื่อความสะดวก คุ้มค่า และสร้างโมเมนต์แห่งความสุขร่วมกันได้ภายในครอบครัว
 

เจาะลึกผลสำรวจ

เมื่อเจาะลึกลงในรายละเอียดของผลสำรวจประจำเดือนมิถุนายน พ.ศ.2566 เผยให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงของผลสำรวจใน 2 หัวข้อใหญ่ที่ทาง สถาบันวิจัยความเป็นอยู่ฮาคูโฮโด อาเซียน ประเทศไทย ให้ข้อมูลไว้อ้างอิงนั่นก็คือ


1. แนวโน้มความต้องการในการใช้จ่ายลดลงกว่า 5% ส่งสัญญาณเตือนให้คนไทยต้องเซฟเงินในบัญชี
 
เมื่อเทียบกับผลสำรวจของเดือนกุมภาพันธ์และเดือนเมษายน 2566 ที่ผ่านมา ทำให้เห็นได้ชัดว่า คนไทยผ่านการเฉลิมฉลองในช่วงเทศกาลและใช้เงินกันมาอย่างหนักหน่วง เนื่องจากปีนี้เองเป็นปีแรกในรอบ 3 ปี ที่คนไทยได้กลับมาเฉลิมฉลองกันอย่างเต็มที่โดยไม่กังวลเรื่องการแพร่ระบาดของโควิด นั่นจึงเป็นเหตุผลสำคัญที่แสดงให้เห็นว่า เมื่อเข้าสู่ช่วงเดือนมิถุนายนหรือกลางปี มีการส่งสัญญาณจากเงินในบัญชีว่าให้พักเรื่องการใช้จ่าย ซึ่งส่งผลโดยตรงกับคะแนนความต้องการใช้จ่ายในภาพรวมที่ลดลง อีกหนึ่งผลกระทบที่ทำให้ใครหลายคนต้องเซฟเงินในบัญชีคือเรื่องสินค้าราคาแพงและค่าไฟในช่วงนี้สูงขึ้นกว่าหลายๆ เดือนที่ผ่านมา
 
 
2.กระแสโควิดซาลง แต่อากาศร้อนและปัญหาฝุ่นยังคงอยู่ ต้องดูแลสุขภาพกันต่อไป

เนื่องจากสถานการณ์โควิดมีแนวโน้มที่ดีขึ้น ทำให้คนไทยหลายคนเริ่มละเลยเรื่องการใส่ใจสุขภาพของตนเอง คนไทยบางส่วนเลิกทำกิจกรรมเพื่อสุขภาพนอกบ้าน เช่น การเดิน วิ่ง จ๊อกกิ๊ง ยังรวมไปถึงการเลิกทานวิตามินซีหรือเลิกทานผลิตภัณฑ์เสริมเพื่อสุขภาพ ซึ่งอย่างไรก็ตามการดูแลสุขภาพของตนเองและครอบครัวยังคงเป็นสิ่งที่สำคัญ เนื่องจากปัญหาฝุ่นที่ยังคงอยู่ สภาพอากาศที่ร้อนจัดและเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา อาจส่งกระทบต่อสุขภาพของคนไทยได้ แบรนด์ควรแนะหรือนำเสนอทางออกที่ดีต่อสุขภาพที่สามารถทำเองได้ง่ายๆ ที่บ้าน เช่น การทานผักและผลไม้ ทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ รวมไปถึงการดื่มน้ำให้เพียงพอในหนึ่งวัน เพียงเท่านี้ก็จะสามารถสร้างเสริมให้คนไทยมีสุขภาพที่ดีไปด้วยกัน
 
ถึงอย่างไรก็ตาม แม้ผลสำรวจเรื่องแนวโน้มความต้องการใช้จ่ายมีเปอร์เซ็นต์ลดลง แต่ในขณะเดียวกันมีความน่าสนใจว่าผู้ให้สำรวจในกลุ่มอายุ 20 - 29 ปี หันมาเน้นจับจ่ายใช้สอยเพื่อเตรียมตัวต้อนรับเปิดเทอมเตรียมซื้อของใหม่เข้าหอ ซื้อสินค้าอัพลุคใหม่ให้เป๊ะ ปัง ต้อนรับการเปิดเทอมแบบ On-site อย่างเต็มรูปแบบ
 
คุณพร้อมพร สุภัทรวณิช ผู้ช่วยผู้อำนวยการ ฝ่ายวิจัยการตลาดและวางแผนกลยุทธ์ ได้พูดถึงข่าวที่คนไทยให้ความสนใจมากในขณะนี้ไว้ว่า “ข่าวการเมืองและการเลือกตั้งยึดพื้นที่สื่อแทบจะทั้งหมด คนไทยทั่วประเทศออกมาใช้สิทธิ์ใช้เสียงกันตามกฏหมายอย่างเนืองแน่น ถือเป็นสัญญาณที่ทำให้เห็นว่า คนไทยตระหนักเรื่องการเมืองเป็นสำคัญ อยากเห็นความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นหลังการเลือกตั้งในครั้งนี้ จึงต้องมารอลุ้นผลกันต่อไปว่า ท้ายที่สุดแล้วทิศทางของประเทศไทยในอนาคตจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้าง”
 
 เกี่ยวกับสถาบันวิจัยความเป็นอยู่ฮาคูโฮโด อาเซียน (ประเทศไทย)

สถาบันวิจัยความเป็นอยู่ฮาคูโฮโด อาเซียน (ประเทศไทย) หรือ Hakuhodo Institute of Life and Living ASEAN (THAILAND) ทำการศึกษาเกี่ยวกับ "การคาดการณ์พฤติกรรมการใช้จ่ายของผู้บริโภคในประเทศไทย" ทุก ๆ สองเดือน โดยผลสำรวจการคาดการณ์พฤติกรรมการใช้จ่ายของผู้บริโภคในประเทศไทยประจำเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2566 เป็นผลสำรวจจากการรวบรวมข้อมูลจากวันที่  18  ถึง วันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2566 โดยมุ่งเน้นเกี่ยวกับแนวโน้มและพฤติกรรมการบริโภคของคนไทยในอนาคต ผ่านการทำแบบสอบถามเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ จากประชากรเพศชายและหญิงจำนวน 1,200 คน อายุระหว่าง 20-59 ปี จาก 6 ภูมิภาค ทั่วประเทศ  
 
Hakuhodo Institute of Life and Living ASEAN คือศูนย์วิจัยแห่งใหม่ของกลุ่มฮาคูโฮโดในภูมิภาคอาเซียน ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 2014 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือบริษัทต่างๆ ภายในประเทศสมาชิกภูมิภาคอาเซียนในเรื่องของข้อมูลการตลาด รวมทั้งสังเกตไลฟ์สไตล์ใหม่ๆ ที่จะเกิดขึ้น โดยการวิจัยของฮาคูโฮโดจะเป็นการวิจัยที่มุ่งเน้นการศึกษา Sei-katsu-sha หรือ ผู้คนที่ใช้ชีวิตอยู่ในสังคม (Life Living Person) ซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญของปรัชญาของฮาคูโฮโด ที่ไม่เพียงแค่อธิบายผู้คนในฐานะผู้บริโภคที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ แต่อธิบายถึงความเป็นบุคคลของผู้บริโภคที่มีชีวิต จิตใจ ไลฟ์สไตล์ แรงบันดาลใจ และความฝันที่แตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด