ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

กรุงเทพมหานคร MOU มูลนิธิเพื่อสุนัขในซอย (ซอยด๊อก) รับมือปัญหาสุนัขแมวจรจัด

กรุงเทพมหานคร MOU มูลนิธิเพื่อสุนัขในซอย (ซอยด๊อก) รับมือปัญหาสุนัขแมวจรจัด HealthServ.net
กรุงเทพมหานคร MOU มูลนิธิเพื่อสุนัขในซอย (ซอยด๊อก) รับมือปัญหาสุนัขแมวจรจัด ThumbMobile HealthServ.net

กรุงเทพมหานคร และ มูลนิธิเพื่อสุนัขในซอย จึงได้จัดให้มีพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจ ความร่วมมือด้านการจัดการประชากรสุนัขและแมวที่เป็นพาหะนำโรคพิษสุนัขบ้า และการสร้างภูมิคุ้มกันโรคพิษสุนัขบ้าในสัตว์ ในพื้นที่เขตกรุงเทพมหานคร ขึ้น เพื่อควบคุมการเพิ่มประชากรสัตว์พาหะนำโรคพิษสุนัขบ้า โดยการผ่าตัดทำหมันสุนัขแมวจรจัดและมีเจ้าของ และการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าในสุนัขและแมวเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันในสัตว์ รวมถึงการให้ความรู้ คำปรึกษาและแนะนำแก่ประชาชนในการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า และการจัดการสวัสดิภาพสัตว์ในพื้นที่เขตกรุงเทพมหานคร

กรุงเทพมหานคร MOU มูลนิธิเพื่อสุนัขในซอย (ซอยด๊อก) รับมือปัญหาสุนัขแมวจรจัด HealthServ
 25 ก.ค. 66 รศ.ทวิดา กมลเวชช รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ร่วมเป็นเกียรติในพิธีลงนามความเข้าใจ (MOU) ความร่วมมือด้านการจัดการประชากรสุนัขและแมวที่เป็นพาหะนำโรคพิษสุนัขบ้า และการสร้างภูมิคุ้มกันโรคพิษสุนัขบ้าในสัตว์ ระหว่างกรุงเทพมหานคร และ มูลนิธิเพื่อสุนัขในซอย โดยมี นายสุนทร สุนทรชาติ ผู้อำนวยการสำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร และนายตันติกร รุ่งพัฒนะ ผู้อำนวยการฝ่ายจัดการประชากรสุนัขและแมว ประเทศไทย เป็นผู้ร่วมลงนามความเข้าใจ ณ ห้องเจ้าพระยา ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (เสาชิงช้า) เขตพระนคร
 
 
กรุงเทพมหานคร MOU มูลนิธิเพื่อสุนัขในซอย (ซอยด๊อก) รับมือปัญหาสุนัขแมวจรจัด HealthServ
 รองผู้ว่าฯ ทวิดา กล่าวว่า เรื่องการจัดการและดูแลสุนัขและแมวจรจัด ต้องบอกว่ากรุงเทพมหานครทำเองคนเดียวไม่ไหว ต้องมีความร่วมมือจากหน่วยงานอื่นเข้ามาช่วยกัน ในมิติหนึ่งคือด้วยการเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็วของสุนัขและแมวจรจัด อีกมิติคือจะมีคนส่วนหนึ่งตั้งคำถามว่าทำไมไม่จับหรือจัดการให้เรียบร้อยไปเลย ซึ่งต้องเข้าใจคนอีกส่วนหนึ่งที่รักสุนัขและแมวหรือรักสัตว์ด้วย ดังนั้นในกระบวนการทำงานจึงต้องคุยกันหลายฝ่าย ทำอย่างไรให้คนรู้สึกว่าสุนัขและแมวไม่ว่าจะจรหรือไม่เขาคือเพื่อนที่อยู่ในสังคม ขณะเดียวกันเราก็จำเป็นต้องจัดระเบียบพวกเขา ซึ่งเป็นเรื่องอ่อนไหว เป็นเรื่องการสร้างความเข้าใจไม่ใช่ทำได้โดยทันที ความยากของงานจึงมีทั้งยากในแง่การทำอย่างไรให้เรามีทรัพยากรพอที่จะจัดการงานทั้งในแง่บุคลากรและเทคนิค และในแง่ของการทำงานที่แต่ละขั้นตอนเป็นงานที่ละเอียดอ่อนและต้องใช้ความชำนาญการเฉพาะ เพราะฉะนั้นในการร่วมมือกันอาจไม่เห็นผลในทันตา ต้องใช้เวลา 1-2 ปี ถึงจะเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นรูปธรรม
 
“หวังว่าความร่วมมือระหว่างกทม.กับมูลนิธิเพื่อสุนัขในซอย จะทำให้เราสามารถเพิ่มอัตรากำลัง เพิ่มความสามารถ เพิ่มรสนิยมในการทำงาน ในการดูแลสุนัขและแมว เพราะในปี 67 ท่านผู้ว่าฯ ชัชชาติเองก็ได้ตั้งเป้าไว้แล้วในการทำหมัน ฝังชิพ ขึ้นทะเบียนสุนัขและแมว ขอบคุณมูลนิธิฯ ในความร่วมมือ และกทม.พร้อมผสานการทำงานระหว่างกันให้เป็นไปอย่างราบรื่นที่สุด” รองผู้ว่าฯ ทวิดา กล่าว
 
 
 ปัจจุบันปัญหาเกี่ยวกับสัตว์จรจัดในพื้นที่กรุงเทพมหานครทั้งสุนัขและแมวมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น และสร้างปัญหาทางด้านสาธารณสุข กรุงเทพมหานครได้มีการดำเนินการแก้ไขปัญหาดังกล่าวมาอย่างต่อเนื่อง โดยได้รับความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายต่าง ๆ โดยในปีงบประมาณ 2565 กรุงเทพมหานคร โดยสำนักอนามัย ได้ทำหมันสุนัขและแมว รวมทั้งสิ้น 18,757 ตัว ฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า รวมทั้งสิ้น 106,217 ตัว และในปีงบประมาน 2566 จนถึงเดือนมิถุนายน 2566 ได้ทำหมันสุนัขและแมว รวมทั้งสิ้น 17,330 ตัว ฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า รวมทั้งสิ้น 110,819 ตัว ซึ่งได้ลดปัญหาการเพิ่มขึ้นของจำนวนสุนัขและแมวจรจัดลงได้บางส่วน ลดอุบัติการณ์ของโรคพิษสุนัขบ้าในสัตว์ จึงยังต้องมีการดำเนินการอย่างเข้มข้นและต่อเนื่อง
 
กรุงเทพมหานคร และ มูลนิธิเพื่อสุนัขในซอย จึงได้จัดให้มีพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจ ความร่วมมือด้านการจัดการประชากรสุนัขและแมวที่เป็นพาหะนำโรคพิษสุนัขบ้า และการสร้างภูมิคุ้มกันโรคพิษสุนัขบ้าในสัตว์ ในพื้นที่เขตกรุงเทพมหานคร ขึ้น เพื่อควบคุมการเพิ่มประชากรสัตว์พาหะนำโรคพิษสุนัขบ้า โดยการผ่าตัดทำหมันสุนัขแมวจรจัดและมีเจ้าของ และการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าในสุนัขและแมวเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันในสัตว์ รวมถึงการให้ความรู้ คำปรึกษาและแนะนำแก่ประชาชนในการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า และการจัดการสวัสดิภาพสัตว์ในพื้นที่เขตกรุงเทพมหานคร
 
พิธีในวันนี้มี นายจิรัฏฐ์ ม้าไว ผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่สำนักอนามัย ผู้แทนเขต 6 กลุ่มเขต และผู้เกี่ยวข้อง เข้าร่วมพิธี
 
 
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด