☰
ข้อมูลบริการสุขภาพ
ข่าวสุขภาพ
|
โรงพยาบาล
|
justView
×
ข่าวสุขภาพ
โรงพยาบาล [+]
รพ.รายจังหวัด (รัฐ-เอกชน)
รพ.รัฐบาล
รพ.เอกชน
รพ.เอกชน ประกันสังคม
รพ.เอกชน บัตรทอง
รพ.มหาวิทยาลัย
ศูนย์แพทย์มหาวิทยาลัย
สถาบัน/ศูนย์แพทย์
รพ.สังกัดกทม.
ศูนย์สาธารณสุข กทม.
รพ.ศูนย์
รพ.ทั่วไป (จังหวัด)
รพ.ชุมชน (อำเภอ)
รพ.สต.(ตำบล)
รพ.กองทัพ
รพ.สมเด็จพระยุพราช
รพ.จิตเวช
รพ.มะเร็ง
รพ.แพทย์แผนไทย
รพ.รัฐวิสาหกิจ/กระทรวงอื่น
คลินิกรัฐบาล-ศูนย์อนามัย
ข่าวสุขภาพ [+]
ข่าวสุขภาพทั่วไป
ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย
ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ
ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ
สาระความรู้สุขภาพ
กิจกรรม ESG CSR
Health Economy
บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us
เผยแพร่เนื้อหา
สถิติเว็บไซต์
สำรวจความเห็นสุขภาพ
โฆษณา
healthserv.net@gmail.com
@healthserv
สิ่งที่ผู้ป่วยควรทราบ เมื่อได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคภูมิแพ้
สิ่งที่ผู้ป่วยควรทราบ เมื่อได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคภูมิแพ้
Home
/
ความรู้สุขภาพ
/
Update: 25.09.2563
สิ่งที่ผู้ป่วยควรทราบ เมื่อได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคภูมิแพ้
โรคนี้ไม่สามารถรักษาให้หายขาด มักจะมีอาการ เป็นๆ หายๆ
มีสิ่งที่สามารถกระตุ้น ให้ผู้ป่วยเกิดอาการขึ้นมาได้หลายประเภท ซึ่งสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ ควรหลีกเลี่ยง ได้แก่
• ความเครียด, การนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ, อารมณ์เศร้า, วิตก, กังวล, เสียใจ
• ของฉุน, ฝุ่น, ควัน, อากาศที่เปลี่ยนแปลง (จึงจำเป็นที่จะต้องหลีกเลี่ยง โดยสังเกตว่า อยู่ในสิ่งแวดล้อมใด, สัมผัสอะไร หรือรับประทานอะไร แล้วอาการมากขึ้น ให้หลีกเลี่ยง) และควรจัดบ้านและจัดห้องนอน ตามคำแนะนำของแพทย์
• การติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ หรือ หวัด จึงควรป้องกันไม่ให้เป็น โดยหลีกเลี่ยงปัจจัยที่ทำให้ภูมิต้านทานของร่างกายลดลง เช่น เครียด, นอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ, การสัมผัสอากาศที่เย็นมากเกินไป เช่น ขณะนอน เปิดแอร์หรือพัดลมเป่าจ่อ ไม่ได้ให้ความอบอุ่นแก่ร่างกายเพียงพอ การดื่มหรืออาบน้ำเย็น ตากฝน หรือสัมผัสอากาศที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จากร้อนเป็นเย็น จากเย็นเป็นร้อน หรือมีคนรอบข้างที่ไม่สบายคอยแพร่เชื้อให้
ควรออกกำลังกาย แบบแอโรบิก อย่างสม่ำเสมอ [การออกกำลังกายแบบแอโรบิก คือการออกกำลังกายที่ทำให้หัวใจเต้นเร็วขึ้น หายใจเร็วขึ้นต่อเนื่องกันอย่างน้อยวันละ 30 นาที อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 วัน เช่น วิ่ง, เดินเร็ว, ขึ้นลงบันได, ว่ายน้ำ, ขี่จักรยานฝืด (แบบปรับน้ำหนักได้เช่น ใน FITNESS), เตะฟุตบอล, เล่นเทนนิส, แบดมินตัน หรือบาสเกตบอล] เพราะการออกกำลังกายจะทำให้ความไวของเยื่อบุจมูกและ/หรือ หลอดลมลดลง ทำให้ความจำเป็นในการใช้ยา ลดน้อยลง และทำให้มีภูมิต้านทานต่อหวัด ซึ่งเป็นปัจจัยกระตุ้นที่ทำให้อาการภูมิแพ้ แย่ลง โดยจะเป็นหวัดยาก หรือเป็นแล้วหายง่าย
โรคนี้แพทย์ไม่ได้ให้ผู้ป่วยพ่นยา, สูดยา หรือรับประทานยาไปตลอดชีวิต เมื่อใดที่ผู้ป่วยสามารถลดเหตุได้ (ดูข้อ 2 และ 3) ก็สามารถลดยาได้ โดยในระยะแรก แพทย์จะเป็นผู้ปรับยาให้
เนื่องจากโรคภูมิแพ้ นั้นทำให้เยื่อบุทางเดินหายใจ, ผิวหนัง, เยื่อบุตา, ทางเดินอาหาร ไวผิดปกติ เมื่อมีสิ่งกระตุ้น (ดูข้อ 2) จะทำให้มีอาการมากขึ้นได้ ซึ่งมักจะมีอาการได้ง่าย และหายยาก ดังนั้น เมื่อมีอาการ แนะนำให้เพิ่มการใช้ยามากขึ้น เพื่อให้หายจากอาการดังกล่าวเร็วที่สุด (ตัดไฟแต่ต้นลม) เช่น
เมื่อมีอาการทางตา อาจรับประทานยาแก้แพ้ และ /หรือ หยอดยาหยอดตาแก้แพ้
เมื่อมีอาการทางจมูก อาจล้างจมูก, อบไอน้ำเดือด, พ่นยา และ /หรือ รับประทานยาแก้แพ้
เมื่อมีอาการทางผิวหนัง อาจรับประทานยาแก้แพ้ และ /หรือ ทายาแก้คัน
เมื่อมีอาการทางหลอดลม อาจสูดยา หรือพ่นยา เข้าหลอดลมให้มากขึ้นและ /หรือ รับประทานยาขยายหลอดลม หรือยาแก้ไอ
เมื่อมีอาการทางเดินอาหาร อาจรับประทานยาแก้แพ้ และ /หรือ ยาแก้คลื่นไส้/ อาเจียน หรือยาแก้ท้องเสีย
เมื่ออาการดังกล่าวดีขึ้น ก็ค่อยๆลดยาดังกล่าวลงเอง หรือลดลงเท่ากับที่แพทย์แนะนำ (เมื่อมีอาการมาก เป็นมาก ก็ให้ใช้ยามาก เมื่อมีอาการน้อย เป็นน้อยลง ก็พิจารณาลดยาลง)
สิ่งที่ผู้ป่วยควรทราบ เมื่อได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคภูมิแพ้
รศ. นพ. ปารยะ อาศนะเสน
สาขาวิชาโรคจมูกและโรคภูมิแพ้
ภาควิชาโสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา
Faculty of Medicine Siriraj Hospital
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
ข่าว/บทความล่าสุด
รพ.โรงเรียนแพทย์ ประกาศผู้ป่วยมะเร็งสิทธิบัตรทอง ต้องมีใบส่งตัว เริ่ม 1 มค 68
เลือกเปลี่ยนรพ.ประกันสังคม ปี 2568 ได้แล้ว ผ่าน 4 ช่องทาง
บอร์ดประกันสังคม เห็นชอบให้ผู้ประกันตนรักษามะเร็งได้ทุกที่ (SSO Cancer Care)
ฉีดฟิลเลอร์ใต้ตาเสี่ยงเกิดอันตรายจริงไหม? รู้ก่อนทำเพื่อผลลัพธ์ดวงตาที่สดใส มาพร้อมความปลอดภัย
ทำอย่างไรเมื่อรู้สึกว่าเป็นกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง? พร้อมวิธีดูแลตัวเองเบื้องต้น
นครธนมินิมาราธอน ครั้งที่ 14 วิ่งด้วยความรัก เพื่อสภากาชาดไทย
อาสาบำรุงราษฎร์ ออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ส่งท้ายปี 2567 ชุมชนคุ้งบางกะเจ้า
บำรุงราษฎร์ มอบอุปกรณ์การแพทย์ ให้รพ.เพชรบูรณ์ และศูนย์สุขภาพชุมชนเก้าดาว
โครงการรีไซเคิลถุงน้ำยาล้างไต Baxter Kidney Care คว้ารางวัล AMCHAM Awards ปี 2024
ฟูจิฟิล์ม หนุนตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมในพื้นที่ห่างไกล
Wi-Fi 6 GHz โครงการนำร่องสุดล้ำที่ รามา อนาคตการรักษาพยาบาล
งานประชุม Vaccine World Asia Congress 2024
ดันนโยบาย 1 จังหวัด 1 โรงพยาบาล เลิกบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้า
ไทยตั้งเป้า ลดเจ็บ-ตายจากอุบัติเหตุทางถนนลงร้อยละ 50 ภายในปี 2573 ตามปฏิญญาสตอกโฮล์ม
4 มาตรการคุมแอลกอฮอล์ ปีใหม่ 2568 เน้นย้ำ “ขับไม่ดื่ม ดื่มไม่ขับ”
[ ทั้งหมด]
เนื้อหาอ่านล่าสุด
ห้องพักผู้ป่วย (ห้องพิเศษ) โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต
สิ่งที่ผู้ป่วยควรทราบ เมื่อได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคภูมิแพ้
คลินิกพิเศษเฉพาะทางนอกเวลาราชการ โรงพยาบาลอุดรธานี
MSERT ทีมกู้วิกฤตพยาบาลฉุกเฉินน้ำท่วม กรม สบส.
อบรมกู้ชีพ-ปฐมพยาบาลเบื้องต้น มีที่ไหนบ้าง 2566
เลือกเปลี่ยนรพ.ประกันสังคม ปี 2568 ได้แล้ว ผ่าน 4 ช่องทาง
โรงพยาบาลตากสิน เปิดบริการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ สิงหาคม 65
เช็คเลข อย. และตรวจสอบการขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์บริโภคต่างๆ
โรคตาแดง โรคเด็กๆ ไม่รุนแรงแต่ไม่ควรปล่อยยืดเยื้อ
ข้อมูลรายชื่อกิจการดูแลผู้สูงอายุ ที่ได้รับอนุญาตจาก กรมสบส.
ปัญหาภายในเช็คได้ด้วยสีของตกขาว
รพ.สต ในจังหวัดเชียงใหม่ ที่ถ่ายโอนไปยังอบจ.เชียงใหม่
คลินิกการแพทย์แผนจีนหัวเฉียว เปิดตัวนวัตกรรม AI สุดล้ำ พลิกโฉมวงการแพทย์แผนจีนในไทย
คลินิกพิเศษบริการเฉพาะทาง (นอกเวลาราชการ) VIP Clinic โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ
ปลัด สธ. ลงนามมอบอำนาจ 4 รองปลัด ดูแลการปฏิบัติภารกิจของหน่วยงานในสังกัด
[ทั้งหมด]
🔝