ล่าสุด กทม. จึงได้เชิญ บริษัทรับ-ส่งอาหารและสินค้า หรือ ไรเดอร์ 12 บริษัทมาพูดคุยเพื่อวางแนวทางแก้ไขปัญหา Rider ขับขี่รถจักรยานยนต์บนทางเท้า ซึ่งยังพบได้เป็นส่วนใหญ่ ขณะที่กลุ่มวินมอเตอร์ไซด์มีผู้ฝ่าฝืนลดลงเป็นอย่างมาก
ตอนนี้ขยายจุดตรวจจับเพิ่มเป็น 10 จุด ได้แก่
1.ปากซอยเพชรบุรี 9
2.สุขุมวิท 26
3.พัฒนาการ 44
4.ปากซอยลาดพร้าว 25
5.ประเสริฐมนูกิจ บึงพระราม
6.ซอยจรัญสนิทวงศ์ 37
7.หน้าโรงเรียนนิเวศน์วารินทร์
8.ปั๊มน้ำมันปตท. เทพรักษ์
9.เพชรเกษม 28
10.หน้าซอยเสือใหญ่
และจะขยายเพิ่มขึ้นอีกในอนาคต
เปิดตัวระบบเมื่อมิถุนายน 66 ที่ผ่านมา 5 จุดนำร่อง
กรุงเทพมหานคร เปิดตัวโครงการ AI กล้อง CCTV จับผิดมอเตอร์ไซค์ขี่มอเตอร์ไซค์บนทางเท้า โดย นายสิทธิชัย อรัณยกานนท์ ผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2566 โดยนำสื่อมวลชนเยี่ยมชมการใช้เทคโนโลยี AI ร่วมกับระบบกล้อง CCTV บริเวณปากซอยรัชดาภิเษก 36 (ซอยเสือใหญ่อุทิศ) ระบุว่า เบื้องต้นทดลองติดตั้ง 5 จุด ประกอบด้วย
1. ปากซอยรัชดาภิเษก 36 (ซอยเสือใหญ่อุทิศ) เขตจตุจักร
2. โรงเรียนนิเวศน์วารินทร์ เขตบางเขน
3. ปากซอยเพชรเกษม 28 เขตภาษีเจริญ
4. ถนนเทพารักษ์ เขตบางเขน
5. ปากซอยเพชรบุรี 9 เขตราชเทวี
โดยมีเป้าหมายติดตั้งให้ครบ 100 จุดทั่วกรุงเทพฯ
ระบบ AI อัจฉริยะทำงานอย่างไร
ใช้กล้อง AI ตรวจจับรถจักรยานยนต์ขับขี่ จอดบนทางเท้า มีระบบการทำงาน โดยเมื่อกล้องตรวจจับความผิดได้ว่ามีการขับขี่บนทางเท้า ระบบจะประมวลภาพหาข้อมูลเจ้าของรถ แล้วส่งใบแจ้งค่าปรับถึงผู้กระทำผิด ให้ไปจ่ายค่าปรับต่อไป
กล้อง CCTV กทม.จับผู้ขับขี่บนทางเท้า
ระบบ AI ประมวลภาพ ระบุข้อมูลเจ้าของทะเบียนรถ ตามข้อมูลกรมขนส่งทางบก
ข้อมูลส่งเข้าศูนย์บัญชาการ
เทศกิจส่งหนังสือแจ้งเก็บค่าปรับ ถึงผู้กระทำผิด ไปจ่ายค่าปรับที่สำนักงานเขต
สำหรับการชำระค่าปรับ ขณะนี้ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจมีการทำ MOU กับกรมการขนส่งทางบกอยู่แล้ว หากภายใน 30 วันไม่มาชำระค่าปรับ จะส่งเรื่องให้เจ้าหน้าที่ตำรวจเพื่อประสานความร่วมมือกับกรมการขนส่งทางบก ในขณะที่การต่อทะเบียนปลายปี หากยังไม่ได้จ่ายค่าปรับเขาก็ต้องไปจ่ายค่าปรับก่อนที่จะมาต่อทะเบียน แต่ในอนาคต กทม. อาจจะมีการทำ MOU โดยตรงกับกรมการขนส่งทางบก เพื่อที่จะไม่ต้องส่งผ่านทางเจ้าหน้าที่ตำรวจซึ่งส่วนนี้กำลังอยู่ระหว่างการเจรจาและจะพิจารณาดำเนินการต่อไป
ฐานความผิดในการขับขี่มอเตอร์ไซค์บนทางเท้า เป็นความผิดในคดีจราจรทางบก และเป็นความผิดทางคดีอาญา มีโทษปรับ 5,000 บาท ตามพระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. 2535
การจับปรับ หรือใช้กฎหมายบังคับเพียงอย่างเดียวยังไม่ใช่เป้าหมายหลัก การใช้วิธีการสื่อสาร ทำความเข้าใจกัน เพื่อร่วมกันรับผิดชอบในสังคม จะทำให้ทางเท้าในเมืองนี้ มีความปลอดภัยขึ้นได้