ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

มินิธัญญารักษ์ - ขยายพื้นที่ ลดแออัด เพิ่มโอกาสเข้าถึงการรักษาฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติด

มินิธัญญารักษ์ - ขยายพื้นที่ ลดแออัด เพิ่มโอกาสเข้าถึงการรักษาฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติด HealthServ.net
มินิธัญญารักษ์ - ขยายพื้นที่ ลดแออัด เพิ่มโอกาสเข้าถึงการรักษาฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติด ThumbMobile HealthServ.net

“มินิธัญญารักษ์” เกิดขึ้นจากแนวทางใหม่ของกฏหมายที่กำหนดให้การบำบัดรักษาผู้ป่วยยาเสพติด ต้องเป็นไปในระบบสมัครใจ (ไม่บังคับ) สธ.โดยกรมสุขภาพจิตและโรงพยาบาลธัญญารักษ์ จึงได้ริเริ่มรูปแบบ "มินิธัญญารักษ์" บนแนวคิดในการมุ่งขยายพื้นที่การให้บริการ เพิ่มโอกาสการเข้าถึงบริการของผู้ป่วยยาเสพติดในแต่ละเขตสุขภาพทั้ง 12 เขต และจะช่วยลดความแออัดสำหรับผู้ป่วยที่เข้ารับการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพระยะยาวในโรงพยาบาลเฉพาะทางซึ่งมีจำนวนเตียงไม่เพียงพอสำหรับจำนวนผู้ป่วยที่มีแนวโน้มสูงขึ้นได้เป็นอย่างดี

 
                นายแพทย์ไพโรจน์ สุรัตนวนิช รองอธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า ตามประมวลกฎหมายนี้ได้มีการถ่ายโอนภารกิจด้านการบำบัดฟื้นฟูผู้เสพและผู้ติดยาเสพติดในระบบต่างๆ ให้กับกระทรวงสาธารณสุข เป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินงาน โดยมุ่งเน้นการดูแล ด้วยกลไกสาธารณสุขแทนการดำเนินคดีทางอาญา โดยถือว่า “ผู้ติดยาเสพติดเป็นผู้ป่วย” ที่ต้องได้รับการดูแลบำบัดรักษา เน้นลดอันตรายที่เกิดจากการใช้ยาเสพติด และพัฒนาคุณภาพชีวิต เพื่อให้สามารถอยู่ร่วมกันในสังคม ได้อย่างปกติสุข
 
 
                นายแพทย์ชาญชัย ธงพานิช ผู้อำนวยการโรงพยาบาลธัญญารักษ์ขอนแก่น กรมการแพทย์ จึงมีแนวคิดขยายบริการดังกล่าวสู่เขตสุขภาพ ด้วยความร่วมมือจากโรงพยาบาลชุมชนที่มีศักยภาพและความพร้อม โดยใช้แนวคิด “Mini Big C” ที่นำห้างสรรพสินค้าลงสู่ชุมชนในรูปแบบร้านสะดวกซื้อ จึงได้นำแนวคิด (Concept) ดังกล่าวมาพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยยาและสารเสพติดระยะกลาง (Intermediate Care) และระยะยาว (Long term Care) ภายใต้ชื่อ“มินิธัญญารักษ์”  และได้พัฒนารูปแบบการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาและสารเสพติดระยะยาวในโรงพยาบาลชุมชน เขตสุขภาพที่ 7, 9, 10 ซึ่งเป็นรูปแบบ Long term Care ขึ้นเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2564 ณ โรงพยาบาลกุดชุม จังหวัดยโสธร
 
 
มินิธัญญารักษ์ - ขยายพื้นที่ ลดแออัด เพิ่มโอกาสเข้าถึงการรักษาฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติด HealthServ

 ประโยชน์มินิธัญญารักษ์

 
                 ประโยชน์ที่ประชาชนและหน่วยงานต่างๆ จะได้รับ ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงบริการได้มากขึ้น สะดวกต่อการเดินทาง ลดระยะเวลาและค่าใช้จ่ายเมื่อเทียบกับการเดินทางมารับการรักษาในโรงพยาบาลเฉพาะทาง แก้ปัญหาเตียงไม่เพียงพอลดความแออัดในการอยู่บำบัดรักษา ซึ่งเป้าหมายสูงสุดคือการที่ผู้ป่วยยาเสพติดที่เข้าสู่กระบวนการบำบัดรักษา ได้รับการดูแลอย่างมีคุณภาพต่อเนื่องจนถึงการติดตามจนสามารถกลับมาประกอบอาชีพโดยสุจริตได้ นอกจากนี้ โรงพยาบาลชุมชนยังมีโอกาสในการพัฒนาศักยภาพผู้ให้การบำบัดรักษาให้มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านการบำบัดรักษาผู้ป่วยยาและสารเสพติดแบบ Residential Care  เพิ่มอัตราครองเตียงภาพรวมของโรงพยาบาล รวมถึงเพิ่มค่าความยากง่ายในการวินิจฉัยโรคร่วม (Diagnostic Related Groups : DRG)  เพิ่มคุณภาพบริการ (Case Mix Index  : CMI)  ของโรงพยาบาลชุมชนให้มากขึ้นอีกด้วย
 
 
มินิธัญญารักษ์ - ขยายพื้นที่ ลดแออัด เพิ่มโอกาสเข้าถึงการรักษาฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติด HealthServ

ผลการดำเนินงานมินิธัญญารักษ์

 
                 ผลการดำเนินงานที่ผ่านมา จากการดำเนินงานตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ถึงปัจจุบัน มีผู้ป่วยที่ผ่านการบำบัดรักษาแล้วจำนวน 149 ราย อยู่ระหว่างการบำบัดจำนวน 12 ราย ภายหลังการบำบัดผู้ป่วยได้รับทุนประกอบอาชีพจำนวน 1 ราย ผลการติดตามหลังการบำบัดฟื้นฟูฯ ผู้ป่วยยังคงอยู่ในการติดตามดูแลต่อเนื่อง (Retention rate) ร้อยละ 98.37 ผู้ป่วยสามารถเลิกยาเสพติด ไม่กลับไปเสพซ้ำ ร้อยละ 91.89 ผู้ป่วยมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ดีขึ้น มีความรับผิดชอบ ช่วยงานอาชีพในครอบครัว คะแนนคุณภาพชีวิต (Quality of life) อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 90.24 (โรงพยาบาลกุดชุม, 2566)  ทั้งนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 และ 2566 มีการเปิดบริการเพิ่มอีก 2 แห่ง คือ โรงพยาบาลคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ มีผู้ป่วยอยู่ระหว่างการบำบัดรักษาจำนวน 11 ราย  และเปิดให้บริการในวันที่ 4 กรกฎาคม 2566 ที่ผ่านมาอีก 1 แห่ง คือ โรงพยาบาลศรีเมืองใหม่ จังหวัดอุบลราชธานี
 
 
 
                 การขยายผล กระทรวงสาธารณสุข โดยสำนักงานเลขานุการคณะกรรมการบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติด ร่วมกับกรมการแพทย์ ได้ขยายผลโครงการดังกล่าวสู่โรงพยาบาลชุมชนที่มีความพร้อมทั่วประเทศ ปัจจุบันมีโรงพยาบาลชุมชนแจ้งความประสงค์เปิดให้บริการแล้วกว่า 33 แห่ง ทั้งนี้อยู่ระหว่างการเตรียมความพร้อมด้านบุคลากรซึ่งจำเป็นต้องผ่านการอบรมเฉพาะทางด้านการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาและสารเสพติด ซึ่งสถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมมราชชนนี และโรงพยาบาลธัญญารักษ์ภูมิภาคทั้ง 6 แห่ง จะดำเนินการขึ้นในเดือนกรกฎาคม 2566 นี้ ทั้ง 4 ภูมิภาค โดยได้รับสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานเลขานุการคณะกรรมการบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติด เพื่อให้บุคลากรผู้ผ่านการอบรมสามารถให้การบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยยาและสารเสพติดแบบ Residential care ได้ตามมาตรฐาน
 
มินิธัญญารักษ์ - ขยายพื้นที่ ลดแออัด เพิ่มโอกาสเข้าถึงการรักษาฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติด HealthServ
มินิธัญญารักษ์ - ขยายพื้นที่ ลดแออัด เพิ่มโอกาสเข้าถึงการรักษาฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติด HealthServ

สธ.เริ่ม Quick Win เรื่องจิตเวช/ยาเสพติด รุกขยาย มินิธัญญารักษ์ ทั่วประเทศ LINK

สธ.เริ่ม Quick Win เรื่องจิตเวช/ยาเสพติด รุกขยาย มินิธัญญารักษ์ ทั่วประเทศ มินิธัญญารักษ์ - ขยายพื้นที่ ลดแออัด เพิ่มโอกาสเข้าถึงการรักษาฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติด
สธ.เริ่ม Quick Win เรื่องจิตเวช/ยาเสพติด รุกขยาย มินิธัญญารักษ์ ทั่วประเทศ มินิธัญญารักษ์ - ขยายพื้นที่ ลดแออัด เพิ่มโอกาสเข้าถึงการรักษาฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติด
ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ขานรับนโยบายนายกฯ แก้ไขปัญหายาเสพติด เปลี่ยนผู้เสพเป็นผู้ป่วย เผยปัจจุบันมีผู้ป่วย 1.9 ล้านคน แบ่งดูแล 3 กลุ่ม “สีแดง-สีเหลือง-สีเขียว” ตามระดับความรุนแรง เพื่อคืนคนดีสู่สังคมพร้อมเดินหน้า Quick Win 100 วัน ตามนโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข จัดทำทะเบียนผู้ป่วยจิตเวชยาเสพติดเสี่ยงสูงก่อเหตุรุนแรง จัดตั้งมินิธัญญารักษ์ทั่วประเทศ พร้อมขยายระบบบำบัดผ่านเทเลเมดิซีนใน 6 เดือน ... อ่านต่อ
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด