ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

กรมวิทย์ฯจับมือ การบินพลเรือนฯ และ 4 สายการบิน ขนส่งสารชีวภาพทางอากาศ

กรมวิทย์ฯจับมือ การบินพลเรือนฯ และ 4 สายการบิน ขนส่งสารชีวภาพทางอากาศ HealthServ.net
กรมวิทย์ฯจับมือ การบินพลเรือนฯ และ 4 สายการบิน ขนส่งสารชีวภาพทางอากาศ ThumbMobile HealthServ.net

กรมวิทย์ฯ ร่วมกับ สนง.การบินพลเรือนฯ จับมือ 4 สายการบิน ร่วมพัฒนาการขนส่งตัวอย่างสารชีวภาพและเชื้อโรคทางอากาศ เพื่อให้เกิดความปลอดภัย ได้มาตรฐาน สร้างความเชื่อมั่น และสนับสนุนระบบสาธารณสุขของประเทศ


         25 กันยายน 2566 กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ เรื่อง ความร่วมมือในการขนส่งตัวอย่างสารชีวภาพและเชื้อโรคทางอากาศ ระหว่างกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย บริษัทการบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) บริษัท สายการบินนกแอร์ จำกัด (มหาชน) บริษัท ไทยแอร์เอเชีย จำกัด บริษัท ไทยสมายล์แอร์เวย์ จำกัด โดยมี
 
  • นายแพทย์ศุภกิจ ศิริลักษณ์  อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
  • นายขจรพัฒน์ มากลิ่น ผู้จัดการสำนักนิรภัยและกำกับมาตรฐานการตรวจสอบ รักษาการรองผู้อำนวยการ ปฏิบัติการแทน ผู้อำนวยการสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย
  • นายอภิธัช  ลิมปสวัสดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่สายปฏิบัติการ บริษัท ไทยสมายล์แอร์เวย์ จำกัด
  • นาวาอากาศตรี ดำรงค์ ภาสน์พิพัฒน์กุลผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการบิน บริษัท ไทยแอร์เอเชีย จำกัด
  • นายพิเชษฐ์ บุญพร้อมรักษา ผู้อำนวยการส่วนควบคุมการปฏิบัติการภาคพื้น ฝ่ายปฏิบัติการภาคพื้นและขนส่งสินค้า บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
  • นางสาวบรรจงจิตต์ กันหาเล่ห์  รักษาการผู้อำนวยการใหญ่ฝ่ายบริการภาคพื้นสินค้าและไปรษณียภัณฑ์ บริษัท สายการบินนกแอร์ จำกัด (มหาชน)
 
ทั้ง 6 ท่าน ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือฯ พร้อมด้วยคณะผู้บริหารของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ สำนักงานการบินพลเรือนฯ และผู้บริหารของทั้ง 4 สายการบิน ร่วมเป็นสักขีพยาน ณ ห้องประชุม 110 ชั้น 1 อาคาร 100 ปี การสาธารณสุขไทย กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข จังหวัดนนทบุรี
 
 
 
 นายแพทย์ศุภกิจ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เปิดเผยว่า จากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในประเทศไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2562 จนถึงปัจจุบัน ทำให้มีตัวอย่างสงสัยติดเชื้อจำนวนมากถูกส่งไปยังห้องปฏิบัติการเพื่อตรวจวินิจฉัยโดยช่องทางการขนส่งตัวอย่างมีทั้งทางบกและทางอากาศ และจากสถานการณ์ดังกล่าวได้ชี้ให้เห็นว่าระบบขนส่งตัวอย่างที่รวดเร็ว ทันต่อเหตุการณ์ และได้มาตรฐานตามหลักเกณฑ์ของพระราชบัญญัติเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ พ.ศ. 2558 และแนวทางการปฏิบัติของกฎอนามัยระหว่างประเทศ มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการควบคุม และป้องกันการแพร่ระบาดของโรค ซึ่งการขนส่งทางอากาศก็เป็นช่องทางหนึ่งที่สำคัญในการสนับสนุนระบบสาธารณสุขของประเทศไทย
 
 
 
 
 
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์เป็นหน่วยงานหลักที่มีบทบาทด้านห้องปฏิบัติการเล็งเห็นความสำคัญของการขนส่งตัวอย่างโดยเฉพาะอย่างยิ่งตัวอย่างติดเชื้อ ในปี พ.ศ. 2566 ได้จัดการฝึกอบรมเรื่องการบรรจุและขนส่งตัวอย่างติดเชื้ออันตรายสูงทางอากาศให้กับเจ้าหน้าที่หน่วยงานเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง อาทิ บริษัทสายการบินให้บริการขนส่งสินค้าทางอากาศ การท่าอากาศยานไทย โรงพยาบาล สำนักงานสาธารณสุข สำนักงานป้องกันควบคุมโรค และกองด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศและกักกันโรค ซึ่งได้จัดไปแล้ว 2 ครั้งที่ท่าอากาศยานนานาชาติสมุยและท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต เพื่อซักซ้อมแผนหน้างานจริงในพื้นที่เกาะสมุยและภูเก็ต ซึ่งเป็นพื้นที่ท่องเที่ยว สร้างแนวทางและระบบในการขนส่งตัวอย่างติดเชื้ออันตรายสูง ทางอากาศของประเทศเพิ่มความเข้าใจและความมั่นใจในความปลอดภัยของขบวนการบรรจุและขนส่งระหว่างผู้บรรจุและผู้ขนส่งตัวอย่าง อีกทั้งเป็นการเตรียมความพร้อมสำหรับรองรับกับการระบาดโรคอุบัติใหม่ อุบัติซ้ำในอนาคต
 
 
 
“การลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย และ 4 สายการบิน ให้บริการขนส่งสินค้าทางอากาศของประเทศในครั้งนี้ เป็นผลจากการหารือร่วมกัน และนับเป็นก้าวย่างอันสำคัญยิ่งที่จะทำให้เกิดการดำเนินงานแบบบูรณาการ และร่วมมือกันพัฒนาระบบการบรรจุและขนส่งตัวอย่างสารชีวภาพและเชื้อโรคทางอากาศ ให้สามารถดำเนินการตอบสนองต่อสถานการณ์ในพื้นที่ได้อย่างเป็นระบบ ถูกต้อง ปลอดภัย เป็นไปตามระเบียบข้อบังคับและกฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อมุ่งไปสู่สุขภาพที่ดีของประชาชนและได้รับบริการที่มีคุณภาพเท่าเทียมทุกพื้นที่”นายแพทย์ศุภกิจ กล่าว                               
 
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด