ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

ผู้การแต้ม ตั้งคำถาม แก้กฏครองยาบ้า 10 เม็ด เพื่อแก้ปัญหาหรือเพิ่มปัญหากันแน่

ผู้การแต้ม ตั้งคำถาม แก้กฏครองยาบ้า 10 เม็ด เพื่อแก้ปัญหาหรือเพิ่มปัญหากันแน่ Thumb HealthServ.net
ผู้การแต้ม ตั้งคำถาม แก้กฏครองยาบ้า 10 เม็ด เพื่อแก้ปัญหาหรือเพิ่มปัญหากันแน่ ThumbMobile HealthServ.net

พล.ต.ต.วิชัย สังข์ประไพ หรือผู้การแต้ม อดีตรองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล แสดงความเห็นต่อกรณี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข มีแนวคิดจะปรับเปลี่ยนเกณฑ์ครองยาบ้า เป็นไม่เกิน 10 เม็ด ด้วยการตั้งคำถามว่า ออกกฏกระทรวงแบบนี้ต้องการแก้ปัญหาให้ผู้เสพยาเสพติดน้อยลง หรือเพิ่มขึ้นกันแน่


ผู้การแต้ม ให้ความคิดในรายการ PPTV HD 36 เข้มข่าวเย็น  ตั้งคำถามว่า การแก้กฎกระทรวงหรือแก้ระเบียบ จะทำเพื่อ ให้ยาเสพติดน้อยลง หรือ จะทำให้คนติดยาเสพติดเพิ่มขึ้น ต้องคิดตรงนี้ก่อน
 
รู้หรือไม่ว่า ประเทศไทยขณะนี้ มีคนติดยาเสพติดทั่วประเทศประมาณ 3 ล้านคน ถ้าเกิดเสพยาบ้าวันละหนึ่งเม็ดต่อวันต่อคน ต้องมียาบ้าวันละ 3 ล้านเม็ด! ราคายาบ้าประมาณเม็ดละ 50 บาท คำนวนดูว่ามูลค่ามันจะเท่าไหร่ ปีนึงเราเผาเงินไปเท่าไหร่ 
 
ยังไม่รวมเงินที่ใช้บำบัดรักษา ในการป้องกันปราบปราม รวมใช้เงินเป็นแสนล้านบาท 
ถ้าเอาเงินแสนล้านนี้ มาดูแลพี่น้องประชาชน สาธารณสุข เราได้เยอะมากเลย
 
แต่เราไม่เคยพูดเรื่องนี้ พูดอย่างเดียวว่า คนล้นคุก คุมไม่ไหว 
มันต้องแก้ปัญหาให้คนติดคุกน้อยลง
เท่ากับว่าผลักภาระ ให้คนที่ต้องอยู่ในคุก มาอยู่ร่วมกับประชาชนที่เดือดร้อนเหรอ
 
ยาเสพติด เป็นบ่อเกิดของอาชญากรรมทุกประเภท ลักวิ่งชิงปล้น ขณะนี้คนที่อยู่ในเรือนจำ 80% เกิดจากยาเสพติดทั้งสิ้น 
 
ผู้การแต้ม ตั้งคำถาม แก้กฏครองยาบ้า 10 เม็ด เพื่อแก้ปัญหาหรือเพิ่มปัญหากันแน่ HealthServ
 
ในยุคของรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ ที่กำหนดไว้เม็ดเดียว ซึ่งผมเห็นด้วย เพราะว่าเป็นผู้เสพจริงๆ แล้วจะขยายเพดานเป็น 10 เม็ดทำไม นั่นก็แสดงว่าต้องเสพมากขึ้นสิ 
 
เคยมีการให้ข้อมูลว่า คนธรรมดาเสพกันหนึ่ง-สองเม็ด เสพมากสุดไม่เกิน 5 เม็ดต่อวัน เกิดเป็นข้อสรุปว่าสำหรับคนที่เป็นผู้เสพจริงๆ จะพกไม่เกิน 10 เม็ดต่อวัน และได้นำข้อสรุปนี้ไปให้กับกระทรวงสาธารณสุข เพื่อใช้ในการออกกฎกระทรวง
 
ถามว่า จะตามใจผู้เสพและตามใจพ่อเค้าหรือ?
 
ทำไมไม่ตามใจประชาชน ว่าจะสร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชน
 
ทำไมคุณไม่หาวิธีการจัดการไม่ให้ยาเสพติดมันมากขึ้น
 
อย่างเราก็รู้แล้วว่ายาเสพติดเนี่ยมันเข้ามาทางไหน จากเพื่อนบ้านกี่ประเทศ เข้ามาตรงไหน ทำไมเราไม่ซีน ไม่ให้เข้ามา
 
พอเข้ามาในจังหวัด ผู้ว่าต้องรับผิดชอบ นายอำเภอผู้ใหญ่บ้านกำนันตำรวจต้องรับผิดชอบ 
 
ผู้ใหญ่บ้านไม่รู้เหรอว่าบ้านไหนค้ายาเสพติด? 
ถ้าเอาจริงจัง ก็ปราบปรามได้ เมื่อปราบปรามเอาจริง ยาเสพติดแพร่ระบาดน้อยลง
 
ตอนสมัยท่านนายกทักษิณ ยาเสพติดน้อยลง การปราบปรามยาเสพติดได้ผล เพราะใช้ทุกมาตรการในการปราบปราม ในการยึดทรัพย์ในการจัดการเด็ดขาด เอาละถึงวิธีการ คนอาจจะไม่พอใจ พูดในทางทิศทางอะไรก็แล้วแต่แต่ยาเสพติดมันน้อยลง 
 
เมื่อยาเสพติดมันน้อยลง เรื่องการเสพมันจะมีปัญหาไหมล่ะ ที่เสพก็น้อยลง
 
แล้วพวกที่เสพจะทำยังไง ต้องเอาเข้าบำบัด แล้วมันต้องบำบัดจริงๆ 
 
แต่ทุกวันนี้ บำบัดจริงไหม
พอบำบัด ก็ส่งไปบำบัดตามวัด ตามหน่วยทหาร ไปฝึก ออกกำลัง ออกมามันก็เหมือนเดิม เผลอๆเมื่อไปอยู่ร่วมกัน ก็แลกข้อมูลซื้อขายกันอีก เกิดเครือข่ายมากขึ้น 
 
 
 
ในการจะแก้ปัญหา ในเรื่องการบำบัดรักษา โยนให้สาธารณสุขทำไปเลย จะออกกฎยังไงก็แล้วแต่ ให้สาธารณสุขรับผิดชอบไป 
 
แต่ทุกวันนี้ ถ้าจะไปจับเป็นผู้เสพ ตำรวจจะต้องส่งไปตรวจเลือดหาสารเสพติด แต่คุณรู้หรือไม่ว่าการส่งไป(ตรวจ) รัฐบาลไม่เคยให้เงินตำรวจเลย ตำรวจออกเงินเองทั้งสิ้น ไม่รู้จะไปเบิกใคร ไม่จับก็ไม่ได้ เมื่อก่อนส่งตรวจกับโรงพยาบาลเอกชนเพื่อรับรองผลได้ แต่ปัจจุบันนี้อัยการไม่รับแล้ว อัยการบอกจะต้องมาจากโรงพยาบาลรัฐบาล หรือที่รัฐรับรอง 
 
ในการออกกฏหมาย ได้ดูแลตำรวจ (ในประเด็นนี้บ้างไหม)
 
และที่สำคัญที่สุด การออกกฏหมายตัวนี้ น่าจะเป็นช่องทางให้ตำรวจหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหาผลประโยชน์ได้อีก 
 
จึงต้องถามท่านรัฐมนตรีว่า จะแก้ปัญหาให้ยาน้อยลง ทำให้ผู้เสพน้อย ต้องยึดหลักก่อนว่า ถ้าผู้เสพน้อยลง ตัวยาก็น้อยลง แต่ตอนนี้ยังแก้ปัญหาผู้เสพไม่ได้ จะเอาบำบัด บำบัดออกมาแล้วเลิกไหม ก็ไม่เลิก ก็ออกมาเหมือนเดิม แล้วยิ่งไปขยาย 10 เม็ด เพลิดเพลินเจริญใจเสพกัน นี่ยังไม่รวมกัญชานะ
 
 

เหตุที่การบำบัดไม่ได้ผล

 
ก่อนอื่นผมถามหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ว่าเคยไปสำรวจหรือไม่ว่า ผู้ที่บำบัดแล้ว ใน 100% หายกี่เปอร์เซ็นต์ ตามผลมั๊ย
 
"เหมือนเดิม" 
 
ผมติดตามในสลัมหรือชุมชน ผมปราบปรามยาเสพติดมา ยากมาก 100 คนเนี่ยจะเลิกได้ไม่เกิน 5 คน การบำบัดยาที่ผ่านมาเนี่ยมันไม่เคยได้ผลเลย ไม่ได้ผล
 
แต่ที่แก้กันเนี่ยเพื่ออะไร มองว่าคนล้นคุก เท่านั้นเอง ไม่ใช่อย่างอื่นเลย
 
 
 
พิธีกร ถามกรณี จากเหตุผลของทางสธ. ที่มองว่าปัจจุบันคนเสพยาเยอะ ถ้ากำหนดครอบครองแค่เม็ดเดียวแบบเดิม แล้วกวาดกันเข้าคุก ราชทัณฑ์เค้ารับไม่ไหว 
 
ผู้การแต้มชี้ว่า ต้องหาวิธีอื่น แต่ไม่ควรเอาจำนวนเม็ด มาเป็นข้อกำหนด ถึงเม็ดเดียว ถ้ามีพฤติการณ์จำหน่าย ก็คือจำหน่าย เรียกว่าเป็นความผิดในตัว เป็นหน้าที่ของตำรวจที่ต้องปฏิบัติ การจำหน่ายเป็นความผิดต่อคนๆ เดียว แต่ถ้ามีผู้ซื้อหรือจำหน่ายอีกจำนวนมากขึ้น ก็ต้องจับกุมมากขึ้น ควบคุมได้ยากขึ้น เดิมคนที่เคยซื้อแค่ทีละเม็ด ก็อาจซื้อเพิ่มอีก 9 เม็ด เป็นการเปิดช่องให้ซื้อมากขึ้น 
 
แล้วคนที่เสพๆ นี่เอาเข้าบำบัดทุกคนไหมล่ะ จนกว่าตำรวจจะจับได้ ถึงจะเข้าบำบัด แล้วบำบัดก็ไม่สมบูรณ์ แล้วคุณจะเปิดช่องให้ทำไม
 
 
PPTV HD 36 เข้มข่าวเย็น
31 ตุลาคม 2566 
 

นพ.ชลน่าน แจงกรณี 10 เม็ด

นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว ได้โพสต์ผ่านเพจ หมอชลน่านFcไม่มีดราม่า  ตอบคำถามในประเด็นที่มีผู้สอบและสงสัยต่อกรณีข่าวการปลดล็อกยาบ้าให้ครอบครองได้คนละ 10 เม็ด โดยให้คำอธิบายไว้ดังนี้

#ผู้เสพคือผู้ป่วย


มีคำถามเข้ามาในเพจ หมอชลน่านFcไม่มีดราม่า  จากผู้ใช้ fb Sao England "จริงมั้ยคะที่ว่า รมต.สธ. จะปลอดล๊อกยาเสพติดให้ครอบครองได้คนละ 10 เม็ด ไม่มีความผิดตามกฎหมาย ? "


ตอบ
 
รมว.สธ. ต้องทำหน้าที่ตามประมวลกฎหมายยาเสพติด 2564 กำหนด ให้ออกกฎกระทรวงกำหนดปริมาณยาเสพติดเพื่อสันนิษฐานว่ามีไว้ครอบครองเพื่อเสพ เพื่อแยกผู้เสพและผู้ค้ายาเสพติด เช่น ยาบ้า ไม่เกิน 10 เม็ด สันนิษฐานว่า มีไว้เพื่อเสพ ถ้าเกิน สันนิษฐานว่ามีไว้เพื่อค้า กรณีครอบครองไม่เกิน 10 เม็ด ถ้ามีพฤติกรรมว่ามีการค้า ให้ถือว่ามีครอบครองไว้เพื่อค้า


 หลักการของประมวลกฎหมายยาเสพติด ให้ถือว่า #ผู้เสพคือผู้ป่วย ถ้าสมัครใจเข้าบำบัดรักษาฟื้นฟู ไม่เสียประวัติ ไม่มีความผิดทางอาญา เพื่อให้โอกาสคืนคนดีสู่สังคม ซึ่ง กสธ.ได้ประกาศเป็นนโยบายสำคัญเรื่องยาเสพติด ทำให้แล้วเสร็จ (Quickwin) ภายใน 100 วัน โดยจัดตั้งศูนย์บำบัดรักษา #มินิธัญญารักษ์ ครบทุกจังหวัด มีหอผู้ป่วยบำบัดรักษายาเสพติดทุกอำเภอ มีกลุ่มงานจิตเวชและยาเสพติด ทุก โรงพยาบาลชุมชน เพื่อรองรับผู้สมัครใจเข้ารับการบำบัดรักษา

ถ้าไม่สมัครใจ ไม่เข้ารับการบำบัดรักษาฟื้นฟู มีโทษตามกฎหมายกำหนด 
 
 ผู้เสพ ยาเสพติดประเภท 1 (ยาบ้า) โทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 20,000 บาท
 
 มีไว้ครอบครองเพื่อเสพ ยาบ้า โทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 40,000 บาท
 ผู้ครอบครองยาเสพติดประเภท 1 (ยาบ้า) มีไว้เพื่อค้า โทษหนัก จำคุก 1 - 15 ปี ปรับ ไม่เกิน 150,000 บาท
 
 กฎกระทรวงกำหนดจำนวนปริมาณเม็ดยาบ้า เพื่อสันนิษฐานมีไว้เพื่อเสพ อยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของคณะกรรมการจาก ป.ป.ส และ กสธ. จะประชุมพิจารณา ในวันที่ 3 พ.ย 2566 นี้ ว่าจะกำหนดกี่เม็ด เพื่อเสนอให้ รมว.สธ. ออกกฎกระทรวงต่อไป ( จำนวน 10 เม็ด เป็นข้อเสนอเบื้องต้น ยังไม่มีมติ)
 
สรุป
 
ผู้เสพยาบ้า ผู้ครอบครองยาบ้าไม่เกินกฎกระทรวงกำหนด ถือว่า #ผู้เสพเป็นผู้ป่วย ถ้าสมัครใจ เข้ารับการบำบัดรักษา ฟื้นฟู ไม่เสียประวัติ ไม่มีความผิดทางอาญา เป็นคนดีคืนกลับสู่สังคมได้
 แต่ถ้าไม่สมัครใจ กฎหมายใหม่ไม่มีบังคับบำบัดรักษา มีโทษทั้งจำทั้งปรับ ติดคุกสถานเดียวครับ

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด