ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

ชลน่าน ตอบกรณียาบ้า 10 เม็ด เผยรอ กก. 4 ฝ่ายเคาะ 3พ.ย.นี้

ชลน่าน ตอบกรณียาบ้า 10 เม็ด เผยรอ กก. 4 ฝ่ายเคาะ 3พ.ย.นี้ HealthServ.net
ชลน่าน ตอบกรณียาบ้า 10 เม็ด เผยรอ กก. 4 ฝ่ายเคาะ 3พ.ย.นี้ ThumbMobile HealthServ.net

ฮือฮาไปทั้งประเทศกรณีนพ.ชลน่าน ศรีแก้ว รมว.สธ.กล่าวถึงการปรับข้อกำหนดการครอบครองยาบ้า 10 เม็ดถือให้อยู่ในสถานะผู้เสพสารเสพติดไม่ใช่ผู้ค้า ทำให้เกิดคำถามและปฏิกิริยาตามมามากมายทั้งจากอดีตตำรวจปราบปรามยาเสพติด รัฐมนตรีกระทรวงอื่นๆ และอีกหลายฝ่ายที่เกี่ยวข้อง

เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2566  นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว ได้โพสต์ผ่านเพจ หมอชลน่านFcไม่มีดราม่า  ตอบคำถามในประเด็นที่มีผู้สอบและสงสัยต่อกรณีข่าวการปลดล็อกยาบ้าให้ครอบครองได้คนละ 10 เม็ด โดยให้คำอธิบายไว้ดังนี้

#ผู้เสพคือผู้ป่วย


มีคำถามเข้ามาในเพจ หมอชลน่านFcไม่มีดราม่า  จากผู้ใช้ fb Sao England "จริงมั้ยคะที่ว่า รมต.สธ. จะปลอดล๊อกยาเสพติดให้ครอบครองได้คนละ 10 เม็ด ไม่มีความผิดตามกฎหมาย ? "


ตอบ
 
รมว.สธ. ต้องทำหน้าที่ตามประมวลกฎหมายยาเสพติด 2564 กำหนด ให้ออกกฎกระทรวงกำหนดปริมาณยาเสพติดเพื่อสันนิษฐานว่ามีไว้ครอบครองเพื่อเสพ เพื่อแยกผู้เสพและผู้ค้ายาเสพติด เช่น ยาบ้า ไม่เกิน 10 เม็ด สันนิษฐานว่า มีไว้เพื่อเสพ ถ้าเกิน สันนิษฐานว่ามีไว้เพื่อค้า กรณีครอบครองไม่เกิน 10 เม็ด ถ้ามีพฤติกรรมว่ามีการค้า ให้ถือว่ามีครอบครองไว้เพื่อค้า
 
หลักการของประมวลกฎหมายยาเสพติด ให้ถือว่า #ผู้เสพคือผู้ป่วย ถ้าสมัครใจเข้าบำบัดรักษาฟื้นฟู ไม่เสียประวัติ ไม่มีความผิดทางอาญา เพื่อให้โอกาสคืนคนดีสู่สังคม ซึ่ง กสธ.ได้ประกาศเป็นนโยบายสำคัญเรื่องยาเสพติด ทำให้แล้วเสร็จ (Quickwin) ภายใน 100 วัน โดยจัดตั้งศูนย์บำบัดรักษา #มินิธัญญารักษ์ ครบทุกจังหวัด มีหอผู้ป่วยบำบัดรักษายาเสพติดทุกอำเภอ มีกลุ่มงานจิตเวชและยาเสพติด ทุก โรงพยาบาลชุมชน เพื่อรองรับผู้สมัครใจเข้ารับการบำบัดรักษา

ถ้าไม่สมัครใจ ไม่เข้ารับการบำบัดรักษาฟื้นฟู มีโทษตามกฎหมายกำหนด 
 
 ผู้เสพ ยาเสพติดประเภท 1 (ยาบ้า) โทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 20,000 บาท
 
 มีไว้ครอบครองเพื่อเสพ ยาบ้า โทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 40,000 บาท
 ผู้ครอบครองยาเสพติดประเภท 1 (ยาบ้า) มีไว้เพื่อค้า โทษหนัก จำคุก 1 - 15 ปี ปรับ ไม่เกิน 150,000 บาท
 
 กฎกระทรวงกำหนดจำนวนปริมาณเม็ดยาบ้า เพื่อสันนิษฐานมีไว้เพื่อเสพ อยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของคณะกรรมการจาก ป.ป.ส และ กสธ. จะประชุมพิจารณา ในวันที่ 3 พ.ย 2566 นี้ ว่าจะกำหนดกี่เม็ด เพื่อเสนอให้ รมว.สธ. ออกกฎกระทรวงต่อไป ( จำนวน 10 เม็ด เป็นข้อเสนอเบื้องต้น ยังไม่มีมติ)
 
สรุป
 
ผู้เสพยาบ้า ผู้ครอบครองยาบ้าไม่เกินกฎกระทรวงกำหนด ถือว่า #ผู้เสพเป็นผู้ป่วย ถ้าสมัครใจ เข้ารับการบำบัดรักษา ฟื้นฟู ไม่เสียประวัติ ไม่มีความผิดทางอาญา เป็นคนดีคืนกลับสู่สังคมได้
 แต่ถ้าไม่สมัครใจ กฎหมายใหม่ไม่มีบังคับบำบัดรักษา มีโทษทั้งจำทั้งปรับ ติดคุกสถานเดียวครับ
ชลน่าน ตอบกรณียาบ้า 10 เม็ด เผยรอ กก. 4 ฝ่ายเคาะ 3พ.ย.นี้ HealthServ

ชลน่านแจง รอ กก. 4 ฝ่ายเคาะ


2 พ.ย.2566 ที่ศูนย์จิตธรรมฯ รพ.ศรีธัญญา  นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ให้สัมภาษณ์ถึงข้อเสนอออกประกาศกำหรดยาบ้า 10 เม็ด เป็นผู้เสพ ว่า เราไม่ได้มีเจตนาแก้กฎกระทรวง จริงๆ คือ หลังมีกฎหมายประมวลยาเสพติด 2564 การออกกฎกระทรวงเป็นหน้าที่ รมว.สธ. ขณะนี้ยังไม่มีกฎกระทรวงมารองรับ โดยกฎหมายใหม่เน้นการให้โอกาสคนเกี่ยวข้องยาเสพติด เพราะเชื่อว่าวิธีการเดิม ใช้กฎหมายเข้มข้นบังคับบำบัดไม่ได้ผล จำนวนผู้ต้องขังเพิ่มขึ้น จำนวนผู้เกี่ยวข้องยาเสพติด ผู้เสพ ผู้ขายเพิ่มขึ้น จึงแก้กฎหมายเดิมมาเป็นประมวลกฎหมายยาเสพติด เน้นให้โอกาสคนกลับคืนสู่สังคม อยู่ในสังคม อยู่ครอบครัวได้
 
 
"หลักหารคือทำอย่างไรให้โอกาสตรงนี้ วิธีการที่มีอยู่ขณะนี้ ป้องกันปราบปรามบำบัดฟื้นฟู เป็นช่องทางคืนคนสู่สังคม เชื่อว่าบำบัดรักษาฟื้นฟูคืนคนดีสู่สังคมได้ เป็นหลักการกฎหมายฉบับนี้ คือ ผู้เสพเป็นผู้ป่วยเพื่อเข้าสู่การบำบัดรักษาฟื้นฟู และสมัครใจ ไม่บังคับบำบัด เพราะต้องการให้โอกาสเป็นคนดี ถ้าสมัครใจเข้ารับบำบัดฟื้นฟูจะไม่มีโทษอาญา ถ้าไม่บำบัดรักษามีโทษตามกฎหมายบัญญัติ จึงเป็นเหตุกำหนดปริมาณเม็ดยา เพื่อเข้าข้อสันนิษฐานว่าเป็นผู้เสพเพื่อตีเป็นผู้ป่วย นอกเหนือจากนี้สันนิษฐานเป็นผู้ค้ามีโทษหนักกว่า" นพ.ชลน่านกล่าว
 
ถามถึงข้อเสนอกำหนดปริมาณเหลือ 5 เม็ด เพราะกังวลว่าจะเพิ่มผู้ค้ารายย่อย ต้องพิจารณาไหม นพ.ชลน่านกล่าวว่า เราพร้อมพิจารณา เพราะยังไม่ประกาศ อยู่ในขั้นตอนคณะกรรมการ 4 ฝ่าย คือ มหาดไทย ตำรวจ  ป.ป.ส. ยุติธรรม และ สธ. พิจารณาร่วมกัน ยาบ้าจำนวนเม็ดยาเหมาะสมเท่าไร สธ.ใช้เหตุผลทางการแพทย์ คือ ยาบ้าออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท อันตรายต่อร่างกายและสังคม  เหตุผลอื่น มหาดไทย ตำรวจ ยุติธรรมมาเป็นเหตุผลรองรับด้านมิติเศรษฐกิจ สังคม เช่น โอกาสมีเงินจับจ่ายซื้อยาบ้ามากน้อยแค่ไหน วิธีการซื้อขาย จำนวนเม็ดยาที่ซื้อขายและเสพ การบังคับใช้กฎหมาย กระบวนการยุติธรรมที่มีอยู่พอหรือไม่ เอาคนเข้าคุกเข้าขัง กับเปลี่ยนการขังเป็นบำบัดรักษา คุกเป็นค่ายฟื้นฟูอะไรดีกว่ากัน ต้องมาชั่งใจ ซึ่ง สธ.เน้นเปลี่ยนการขังเป็นบำบัดรักษา เพราะเชื่อว่าคืนคนดีสู่สังคม เปลี่ยนคุกเป็นค่ายฟื้นฟู ให้โอกาสเปลี่ยนพฤติกรรม รักษาการมีอาชีพและสถานะสังคมที่ดี
 
ถามถึงสถานที่รองรับหลังกำหนดเม็ดยาบ้าจะดูแลเพียงพอหรือไม่ หากผู้เสพเป็นผู้ป่วยมีจำนวนมากขึ้น นพ.ชลน่านกล่าวว่า  เราถึงประกาศควิกวิน 100 วัน ให้มีมินิธัญญารักษ์ทุกจังหวัด มีหอผู้ป่วยจิตเวชและยาเสพติดทุกอำเภอ และกลุ่มงานจิตเวชทุก รพ.ชุมชน มั่นใจเครือข่ายของ สธ.พร้อมก็เกือบ 100% แล้ว ค่ายบำบัดของชุมชน เราก็มีส่วนร่วมกัลมหาดไทยเป็นศูนย์บำบัดและมีความพร้อม
 
 
"สิ่งที่อยากฝาก คือ การกำหนดจำนวนเม็ดยาสันนิษฐานว่าเสพ มากกว่านั้นสันนิษฐานว่าค้า เราใช้คำว่าสันนิษฐาน หมายความว่าต้องไปดูพฤติกรรมด้วย แม้ถือครอง 1 เม็ดแต่มีพฤติกรรมค้าก็เป็นผู้ค่า ไม่ได้สิทธิเป็นผู้ป่วย เรารักษาผู้ป่วยทุกคนก็จริง จะถือครอง 5 เม็ด 10 เม็ด 100 เม็ด หากเข้ากระบวนการรักษาเราก็รักษา แต่ต้องไปดำเนินการตามกฎหมายเรื่องการค้านำเข้าส่งออกก่อน" นพ.ชลน่านกล่าว
 
ถามว่าก่อนหน้านี้เรากำหนด 10 เม็ดก็มีเหตุผลรองรับ นพ.ชลน่านกล่าวว่า ยังไม่กำหนดกี่เม็ด ซึ่งกรรมการจะคุยกันพรุ่งนี้ ซึ่ง 10 เม็ดเป็นข้อเสนอกรรมการบางส่วนบางท่าน ซึ่งจากเดิม 15 เม็ด บางคนเสนอ 5 เม็ด 2 เม็ด ก็มาประมวลกันดูภายใต้เหตุผลดังกล่าว ซึ่งข้อสรุปก็ขึ้นกับกรรมการหากมีเหตุผลต้องหาข้อมูลเพิ่มเติมก็บังคับไม่ได้ แต่ถ้าลงตัวก็น่าจะได้ข้อสรุป

ผู้จัดการออนไลน์ 
 

สำนักข่าวไทยพีบีเอส ได้เก็บข้อมูลวิวัฒนาการ เกณฑ์ครอบครองยาเสพติด (ยาบ้า) เพื่อเข้ารับการบำบัดรักษา  ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ ได้มีการปรับเปลี่ยนการครอบครองยาเสพติด เพื่อแบ่งประเภท ผู้เสพ ผู้ติด และผู้ค้า ให้ได้รับการบำบัดรักษา
 
เริ่มเปลี่ยนสมัย นายทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ปี 2545 กำหนด ครอบครองยาบ้าไม่เกิน 15 เม็ด ให้จัดเป็นผู้เสพไม่ใช่ผู้ค้า ให้ส่งตัวไปบำบัดรักษาตามนิยามผู้เสพคือผู้ป่วย ไม่ต้องส่งไปเรือนจำในฐานะผู้ค้ายาเสพติด
 
ต่อมา นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรมว.สาธารณสุข ได้มีพูดปราศรัย ลงพื้นที่ เขตพญาไท เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2566 ว่า พรรคภูมิใจไทยจะเสนอให้มี การแก้กฎหมาย ครอบครองยาบ้า 1 เม็ด เท่ากับผู้เสพ และ 2 เม็ดขึ้นไป เป็นผู้จำหน่าย เพื่อไม่ให้ต้องไปรับโทษในเรือนจำ แต่เกิดการยุบสภาเสียก่อน
 
วันที่ 30 ต.ค.2566 นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว รมว.สาธารณสุข ได้ประกาศ ว่า กำลังอยู่ระหว่างการหารือ แก้ไขการครอบครองยาเสพติด (ยาบ้า)ร่วมกับ ป.ป.ส. หากครอบครอง 10 เม็ดขึ้นไป ถือเป็นผู้ค้า แต่หากน้อยกว่า 10 เม็ดให้เป็นผู้เสพเข้ารับการบำบัดรักษา

 
ชลน่าน ตอบกรณียาบ้า 10 เม็ด เผยรอ กก. 4 ฝ่ายเคาะ 3พ.ย.นี้ HealthServ
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด