27 ธันวาคม 2566 ที่กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการอำนวยการขับเคลื่อนนโยบายกระทรวงสาธารณสุข ครั้งที่ 7/2566 โดยมี พญ.นวลสกุล บำรุงพงษ์ คณะที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข นางสาวตรีชฎา ศรีธาดา โฆษกกระทรวงสาธารณสุข ฝ่ายการเมือง และผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุข เข้าร่วม โดยนพ.ชลน่าน ได้แถลงหลังการประชุมว่า การดำเนินงานของกระทรวงสาธารณสุขภายใต้นโยบายยกระดับ 30 บาท ซึ่งกำหนด Quick Win 100 วัน (ตั้งแต่วันที่ 22 กันยายน - 26 ธันวาคม 2566) ประสบผลสำเร็จตามเป้าหมายทั้ง 10 ประเด็น
1. โครงการพระราชดำริฯ / เฉลิมพระเกียรติ / ที่เกี่ยวเนื่องกับพระบรมวงศานุวงศ์
จัดการประชุมวิซาการพัฒนาโรงพยาบาลสมเด็จ พระยุพราช ครั้งที่ 25 ประจำปี 2566 ภายใด้แนวคิด
"คนบันดาลงาน ยุพราชบันดาลใจ ยุพราชก้าวไกลด้วย นวัตกรรม" ประยุกต์ใช้หลักการโรงพยาบาลคุณธรรม ควบคู่กับการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลสู่ความเป็นเลิศ เพื่อมุ่งสู่การเป็น "โรงพยาบาลคุณธรรม ก้าวล้ำด้วยคุณภาพและนวัตกรรม" พร้อมพัฒนาโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช 21 แห่ง และ โรงพยาบาลเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 11 แห่ง ให้เป็น โรงพยาบาลอัจฉริยะต้นแบบ (SMART Hospital)
2.โรงพยาบาล กทม. 50 เขต 50 sพ. และปริมณฑล จัดตั้งโรงพยาบาล 120 เตียง ในเขตตอนเมือง และอำเภอเมืองเชียงใหม่
พัฒนา
โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี คุ้มเกล้า สังกัดกรมการแพทย์ ซึ่งปัจจุบันเปิดให้บริการผู้ป่วยนอกทั่วไป ฝากครรภ์ ศูนย์ฟอกได 10 เตียง และ Home Health Care ให้เป็นโรงพยาบาลเขตมีนบุรีขนาด 60 เตียง ตั้งเป้า เดือนธันวาคมนี้ จะเปิดให้บริการผู้ป่วยนอกเฉพาะทาง (จักษุ หู คอ จมูก) อายุรกรรมโรคไต ศัลยกรรมทั่วไป โรคกระดูก และกุมาร เปิดบริการฉุกเฉิน 24 ชั่วโมง ให้บริการกายภาพบำบัด ทันตกรรม และผ่าตัดเล็ก เดือนมกราคม 2567 เปิดหอผู้ป่วยใน 25 เตียง พร้อมห้องผ่าตัดใหญ่ 1 เตียง ช่วงพฤษภาคม 2567 เพิ่มบริการห้องคลอด 1 ปี จะเป็นโรงพยาบาลรับส่งต่อระดับทุติยภูมิ ขยายหอผู้ป่วยในเป็น 60 เตียง โดยมี
โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี เขตคันนายาว ที่อยู่ห่าง 15 กิโลเมตร เป็นโรงพยาบาลแม่ข่าย
เปิดโรงพยาบาลราชวิถีนครพิงค์ ณ อาคาร 8 ชั้น โรงพยาบาลประสาทเชียงใหม่ เพิ่มการเข้าถึงบริการของ ประขาชนในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ โดยให้บริการ ผู้ป่วยนอกทั่วไปและเฉพาะทาง 5 สาขาหลัก ได้แก่ ศัลยกรรม ศัลยกรรมกระดูกและข้อ อายุรกรรม กุมารเวชกรรม และ สูติ-นรีเวชกรรม ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2566 ที่ผ่านมา และจะขยายเป็นโรงพยาบาลทั่วไป ขนาด 120 เตียง พร้อมจัดบริการให้ครอบคลุมทุกด้านต่อไป
3.สุขภาพจิต/ ยาเสพติด จัดตั้งศูนย์มินิธัญญารักษ์ ดูแลผู้ป่วยจิตเวชและยาเสพติดทุกจังหวัด
จัดการประชุมวิชาการยาเสพติดแห่งชาติ ครั้งที่ 23 ณ อาคารอิมแพคฟอรั่ม เมืองทองธานี จังหวัดนนทบุรี พร้อมมอบนโยบายด้านการบำบัตรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดของกระทรวงสาธารณสุข ยึดหลักการ "เปลี่ยนผู้เสพ เป็นผู้ป่วย" ให้เข้าสู่กระบวนการบำบัดและฟื้นฟู ขณะนี้ได้จัดตั้ง "มินิธัญญารักษ์" แล้ว 46 จังหวัด รวมโรงพยาบาล 76 แห่ง จำนวน 1,333 เตียง แบ่งเป็น การดูแลระยะกลาง (Intermediate Care :IMC) 42 แห่ง ดูแลระยะยาว (Long Term Care : LTC) 19 แห่ง ดูแลทั้งระยะกลางและระยะยาว 15 แห่ง รวมทั้งเปิดหอผู้ป่วยจิดเวชและ ยาเสพติดครบ 77 จังหวัด รวม 7,796 เตียง และจัดตั้งกลุ่มงานจิดเวชและยาเสพติดในโรงพยาบาลชุมชนครบ ทั้ง 755 แห่ง 4.มะเร็งครบวงจร ให้บริการวัคซีน HPV ในหญิงอายุ 11 - 20 ปีทั่วประเทศ จำนวน 1 ล้านโดส
จัดกิจกรรมคิกออฟการรณรงค์สร้างภูมิ HPV นักเรียนไทยสุขภาพดี ปลอดมะเร็ง "Save Our Children by 1 Milion HPV Vaccines" ที่โรงเรียนไทรน้อย อ.ไทรน้อย จ.นนทบุรี เริ่มฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อ HPV สำหรับนักเรียนหญิง อายุ 11-20 ปี จำนวน 1 ล้านโดส ในสถานศึกษาพร้อมกันทั่วประเทศ เพื่อป้องกันมะเร็งในสตรีไทยตามสโลแกน "สวย เริด เชิด สู้มะเร็ง" หรือ "Women Power No Cancer" โดยผลการดำเนินงานตั้งแต่วันที่ 8 - 27 พฤศจิกายน 2566 ฉีดวัคซีน HPV ไปแล้ว 501,608 โดส ซึ่งเร็วกว่ากำหนดเดิมที่คาดไว้ว่าจะถึง 5 แสนโดสแรกในช่วงพฤศจิกายน 2566
ข้อมูล ณ 27 ธันวาคม 2566 ได้ดำเนินการฉีดวัคซีนไปแล้วกว่า 1.4 ล้านโดส คิดเป็น 139.2%
จัดอบรมหลักสูตร Cancer Warriors รุ่นที่ 1 ให้กับแพทย์ พยาบาล สหวิชาชีพ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างทีมต่อสู้โรคมะเร็ง (Cancer Warriors) ในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับกระทรวง ระดับเขตสุขภาพ และระดับ จังหวัด ทำงานร่วมกันเป็นเครือข่ายในโรคมะเร็งสำคัญ 5 ชนิด คือ มะเร็งตับ มะเร็งท่อน้ำดี มะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง มะเร็งเต้านม และมะเร็งปากมดลูก รวมทั้งดูแลประชาชนให้มีความรอบรู้และมีพฤติกรรมการป้องกันมะเร็งที่ถูกต้อง ช่วยลดอุบัติการณ์การเกิดโรคและการเสียชีวิตจากโรคมะเร็งอย่างเป็นรูปธรรม ที่ โรงแรมเซ็นทรา บาย เซ็นทารา ศูนย์ราชการ และคอนเวนชันเซ็นเดอร์ แจ้งวัฒนะ กรุงเทพมหานคร
5. สร้างขวัญและกำลังใจบุคลากร โดยมีทีม Care D+ ในหน่วยบริการทุกระดับ บรรจุพยาบาล 3,000 ตำแหน่ง กำหนดตำแหน่ง พยาบาลชำนาญการพิเศษ และแพทย์ได้รับการยกเว้นให้รับเงินเดือนระหว่างลาศึกษาต่อ
เปิดโครงการอบรมขับเคลื่อนการสื่อสารสาธารณะและสังคม (Care D+) ประจำปีงบประมาณ 2567 อบรมบุคลากรสาธารณสุข เป็น "ทีมเชื่อมประสานใจ Care D+" ช่วยสื่อสารดูแลผู้ป่วยและญาติอย่างเข้าอกเข้าใจ ส่งเสริมความสัมพันธ์ อันดีระหว่างผู้ป่วย ญาติ และบุคลากรทางการแพทย์ เสมือนเป็น "ญาติเฉพาะกิจ มิตรภาพถาวร" สร้างความเข้าใจในกระบวนการรักษา จัดการภาวะวิกฤตทาง การสื่อสารอย่างมืออาชีพ โดยร่วมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พัฒนาหลักสูตร มาตรฐาน Care D+ ซึ่งมีทั้งแบบออนไซท์และออนไลน์ผ่านแพลดฟอร์ม cug.academy ล่าสุดมีบุคลากรลงทะเบียนเข้ารับการอบรมเกินเป้าหมาย 1 หมื่นคนแล้ว เริ่มอบรมชุดแรก 1 พันคนภายในเดือนธันวาคมนี้ เป็นของขวัญ ปีใหม่คนไทย และครบ 1 หมื่นคน ในเดือนเมษายน 2567
ข้อมูล ณ เดือนธันวาคม 2566 กำหนดอบรมทีม Care D+ เป็นญาติเฉพาะกิจเชื่อมประสานใจญาติ คนไข้ และบุคลากรทางการแพทย์ ในหน่วยบริการทุกระดับ จำนวน 1 พันคน แต่ดำเนินการได้เกินกว่าเป้าหมายของทั้งโครงการ 1 หมื่นคน โดยมีผู้ลงทะเบียน 16,500 คน ผ่านการอบรมแล้ว 10,127 คน, การบรรจุพยาบาลเข้าสู่ตำแหน่ง เป้าหมาย 50% บรรจุแล้ว 2,433 อัตรา จาก 3,318 อัตรา คิดเป็น 73.3%, กำหนดตำแหน่งชำนาญการพิเศษของพยาบาลวิชาชีพ 10,124 ตำแหน่ง ดำเนินการแล้ว 9,489 ตำแหน่ง คิดเป็น 93.73%
ประกาศนโยบายความมั่นคงทางการเงิน "แก้หนี้ เสริมกำลังใจ ให้คนสาธารณสุข" ร่วมกับธนาคารออมสินช่วยเหลือบุคลากรที่มีหนี้ทั้งในระบบและนอกระบบ โดยจัดทำ แผนความมั่นคงปลอดภัยทางการเงิน (Money Safety MOPH+) ใน 2 โครงการ คือ 1.โครงการสร้างความมั่นคงด้านที่อยู่อาศัย ครอบคลุมทั้งการรีไฟแนนซ์ ซื้อบ้านหลังใหม่ ปลูกสร้างบ้าน และต่อเติมซ่อมแชมบ้าน และ 2.โครงการสินเชื่อสวัสดิการและอื่น ๆ 4 รูปแบบ คือ สินเชื่อสวัสดิการ : อุปโภคบริโภค/ชำระหนี้สินเชื่อรายย่อยประเภทอื่น, สินเชื่อ Salary เปย์ เพื่อ บุคลากรกาครัฐ, สินเชื่อสวัสดิกรโดยใช้บำเหน็จตกทอด และสินเชื่อรายได้ประจำสุขใจ และเตรียมเปิดคลินิกสุขภาพทางการเงิน ในทุกโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุขทั่วประเทศ ในวันที่ 8 ธันวาคม 2566
6. สถานชีวาภิบาล จังหวัดละ 1 แห่ง เพื่อให้การดูแลผู้สูงอายุ ผู้ป่วยมีภาวะพึ่งพิง ติดบ้าน/ ติดเตียง ผู้ป่วยระยะประคับประคอง จนถึงวาระสุดท้ายของชีวิต
จัดทำโครงการ "กูฏิชีวาภิบาล" โรงพยาบาลสงฆ์ ดูแลพระสงฆ์อาพาธระยะท้าย โดยนำเทคโนโลยีสมัยใหม่ Virtual Hospital มาสนับสนุนการให้บริการ รวมทั้ง จัดการอบรมถวายความรู้เรื่องการดูแลพระสงฆ์อาพาธ ระยะท้ายให้กับพระคิลานุปัฎฐากที่ผ่านการอบรมหลักสูตร 70 ชั่วโมงของกรมอนามัย ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติในโรงพยาบาลรวม 20 วัน และถ่ายทอดองค์ความรู้ด้าน การอุปัฏฐากพระสงฆ์อาพาธที่เอื้อต่อพระธรรมวินัยให้กับบุคลากรทั่วประเทศทั้ง 13 เขตสุขภาพ พร้อมทั้งจัดตั้ง กุฏิชีวาภิบาลต้นแบบ จำนวน 4 แห่ง ได้แก่ 1.วัดท่าประชุม จังหวัดขอนแก่น (เขตสุขภาพที่ 7) 2.วัดทับคล้อ จังหวัดพิจิตร (เขตสุขภาพที่ 3) 3.วัดบุญนารอบ จังหวัดนครศรีธรรมราช (เขดสุขภาพที่ 11) และ 4.วัตสังฆทาน จังหวัดนนทบุรี (เขตสุขภาพที่ 4) จะขยายให้ครบทุกเขตสุขภาพ ภายในปี 2570 7. บัตรประชาชนใบเดียวรักษาทุกที่ ใน 4 เขตสุขภาพ และโรงพยาบาล 200 แห่งทั่วประเทศเป็นโรงพยาบาลอัจฉริยะ
จัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อขับเคลื่อนนโยบายคิจิทัลสุขภาพ "บัตรประชาชนใบเดียว รักษาได้ทุกที่" สร้างความเข้าใจให้กับ ผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลรัฐ ทั้งในและนอกสังกัด กระทรวงสาธารณสุข โรงพยาบาลเอกชน และสภาวิชาชีพทั่วประเทศ จำนวน 500 คน เพื่อเตรียมนำระบบเทคโนโลยีดิจิทัลมใช้ในการเชื่อมโยงข้อมูลสุขภาพของหน่วยบริการทุกระดับทั้งรัฐและเอกชน ให้ประชาชนเข้าถึงระบบบริการที่สะดวก รวดเร็ว อำนวยความสะดวก บุคลากรการแพทย์ในการเข้าถึงข้อมูลสุขภาพของประชาชน ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและคุณภาพของหน่วยบริการให้เป็นโรงพยาบาลอัจฉริยะ (Smart Hospital) ดำเนินการได้เกินกว่าเป้าหมาย 200 แห่งทั่วประเทศ โดยมีโรงพยาบาลที่ผ่านเกณฑ์ประเมินระดับเงิน 799 แห่ง จาก 901 แห่ง คิดเป็น 88.68% โดยต้นเดือนมกราคม 2567 ใน 4 จังหวัดนำร่อง คือ แพร่ เพชรบุรี ร้อยเอ็ด และนราธิวาส มีการเชื่อมข้อมูลครบ 100% พร้อมเปิดตัวอย่างเป็นทางการ ในวันที่ 10 มกราคม 2567 ใช้ได้ทุกสิทธิ รับบริการได้ใน โรงพยาบาลรัฐทุกสังกัด รวมถึงโรงพยาบาลเอกชน คสินิกและร้านขายยา ที่ร่วมโครงการ และ 4 เขตสุขภาพใช้ได้ทุกสถานพยาบาลในสังกัด 8. ส่งเสริมการมีบุตร โดยบรรจุเป็นวาระแห่งชาติ บูรณาการร่วมกับภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง
เร่งรัดการเพิ่มประสิทธิภาพคลินิกส่งเสริมการมีบุตรคุณภาพ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน รวมกว่า 200 แห่ง ทั่วประเทศ พร้อมให้คำปรึกษา ตรวจรักษา ป้องกันปัญหาโครงสร้างประชากรวัยแรงงานลดต่ำ และเตรียมเปิดตัว แคมเปญ "Give Birth Great World" การเกิดคือการให้ที่ยิ่งใหญ่ เป็นโครงการระดับประเทศ ด้วยการเปลี่ยน ทัศนคดิของการเกิดเป็นการให้ที่ยิ่งใหญ่ของโลก
9. เศรษฐกิจสุขภาพ มี Blue Zone (NAN MODELs & CITY MODELS) เมืองสุขภาพดี วิถีชุมชน คนอายุยืน
เปิดโครงการ HEALTHY CITY MODELs "เมืองสุขภาพดี วิถีชุมชน คนอายุยืน" สร้างต้นแบบพื้นที่อายุยืน (Blue Zone) "หนึ่งเขตสุขภาพ หนึ่งพื้นที่อายุยืน" นำร่องน่านโมเดล (Nan Healthy Cities MODELs) แห่งแรก ณ วิทยาลัยสงฆ์นครน่าน มจร.เฉลิมพระเกียรติฯ อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน ซึ่งดำเนินการ ร่วมกับ 7 จังหวัดเขตสุขภาพที่ 1 ตามแนวทางและหลักการ ในการพัฒนาแต่ละพื้นที่ให้ได้รับการรับรองเป็นเมืองสุขภาพดี ขณะนี้มีพื้นที่ชุมชนสุขภาพดีในจังหวัดนำร่องครบทั้ง 12 เขต รวม 20 เมือง
10. นักท่องเที่ยวปลอดภัย One Region One Sky Doctor
จัดตั้งพื้นที่ท่องเที่ยวและนักท่องเที่ยวมีความปลอดภัยทั้งจากอุบัติเหตุและโรคภัยต่างๆ นำร่องที่จังหวัดภูเก็ต "Safety Phuket Island Sandbox" ดำเนินการ 7 เรื่อง คือ
1.ประกาศเป้าหมาย จ.ภูเก็ต ปลอดโรคพิษสุนัขบ้า
2.ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ในผู้ให้บริการท่องเที่ยว
3.จัดตั้งทีม Sky Doctor ระบบส่งต่อผู้ป่วยทางอากาศ ครบทั้ง 13 เขตสุขภาพตามเป้าหมาย
4.พัฒนาอาสาฉุกเฉินทางทะเล/อาสาฉุกเฉินชุมชน
5.มีถนนอาหารปลอดภัย (Street Food Good Health)
6.การคัดกรองผู้เดินทางระทว่างประเทศ
7.Digital Disease Surveillance