ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

สธ.เผย ปัญหาสุขภาพจิตและการฆ่าตัวตายในไทย มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น

สธ.เผย ปัญหาสุขภาพจิตและการฆ่าตัวตายในไทย มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น HealthServ.net
สธ.เผย ปัญหาสุขภาพจิตและการฆ่าตัวตายในไทย มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ThumbMobile HealthServ.net

กระทรวงสาธารณสุข รายงานปัญหาสุขภาพจิต ว่า ในปี 2565 มีผู้ป่วยเข้ารับบริการด้านจิตเวช 2.4 ล้านคน เพิ่มขึ้นมาจากปี 2558 ที่มีจำนวนผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาเพียง 1.3 ล้านคน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 84 ในเวลา 8 ปี

ปัญหาสุขภาพจิตมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น


         กระทรวงสาธารณสุข รายงานปัญหาสุขภาพจิต ว่า ในปี 2565 มีผู้ป่วยเข้ารับบริการด้านจิตเวช 2.4 ล้านคน เพิ่มขึ้นมาจากปี 2558 ที่มีจำนวนผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาเพียง 1.3 ล้านคน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 84 ในเวลา 8 ปี 


      โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในช่วงสถานการณ์โควิด 19 ที่ผ่านมา พบว่า ภาวะเครียด ซึมเศร้า ฆ่าตัวตาย และภาวะหมดไฟ สูงขึ้นทุกรูปแบบ

        จากข้อมูลอัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จ จากกรมสุขภาพจิต ปีงบประมาณ 2562-2566  มีตัวเลขที่น่าสนใจและน่าตกใจ หลายประการ ดังนี้

         1)  แนวโน้มการฆ่าตัวตาย เพิ่มขึ้นจาก 7.26 เป็น 7.94 ต่อประชากรแสนคน  โดยกลุ่มวัยทำงานอายุ 20-59 ปี มีจำนวนคนที่พยายามฆ่าตัวตายมากสุด  แต่กลุ่มสูงอายุ 60 ปีขึ้นไป เป็นกลุ่มมีอัตราฆ่าตัวตายสำเร็จสูงสุด คือ 10.39 ต่อประชากรแสนคน

         2) ปี 2566 จำนวนคนพยายามฆ่าตัวตาย 25,578 คน โดยกลุ่มวัยรุ่น/นักศึกษา อายุ 15-19 ปี มีอัตราพยายามฆ่าตัวตายสูงสุด คือ 116.81 ต่อประชากรแสนคน 

          สอดคล้องกับข้อมูลศูนย์ความเป็นเลิศด้านนวัตกรรมดิจิทัลและปัญญาประดิษฐ์เพื่อการแพทย์ด้านจิตเวช (AIMET) ที่ประเมินว่า มีเยาวชนไทยอายุ 15 ปีขึ้นไป ตรวจพบอาการซึมเศร้าสูงถึง 2,200 ต่อประชากรแสนคน  

          ขณะที่ ประเทศไทย มีจำนวนบุคลากรด้านจิตเวช ต่อจำนวนประชากร  ที่อัตราส่วน 9 : 100,000 คน

Infographic ปัญหาการฆ่าตัวตาย สัญญาณ และทางออก

ภาพ Infographic จากกรมสุขภาพจิต เกี่ยวกับสถานการณ์ปัญหาการฆ่าตัวตาย การสังเกตผู้ที่อาจเสี่ยงฆ่าตัวตาย วิธีเลี่ยง
 
 
 
 
 
 
 
 
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด