ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

รายงานข่าวการระบาดโรคพิษสุนัขบ้า ในไทย ปี 2567

รายงานข่าวการระบาดโรคพิษสุนัขบ้า ในไทย ปี 2567 Thumb HealthServ.net
รายงานข่าวการระบาดโรคพิษสุนัขบ้า ในไทย ปี 2567 ThumbMobile HealthServ.net

ประเทศไทยยังคงพบการระบาดโรคพิษสุนัขบ้าในหลายจังหวัดในปี 2567 เช่น จ.ระยอง กาฬสินธุ์ และหลายพื้นที่มีความน่าเป็นห่วง ขณะที่หลายภาคส่วนเร่งรณรงค์การฉีดวัคซีนในสัตว์เลี้ยงอย่างต่อเนื่องทุกปี

            ข้อมูลจากกองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค พบผู้เสียชีวิตด้วยโรคพิษสุนัขบ้าย้อนหลัง ไปตั้งแต่ ปี 2561 - 2566 พบผู้เสียชีวิตทั้งสิ้น 34 ราย โดยปีที่พบผู้เสียชีวิตมากที่สุด คือ ปี 2561 พบผู้เสียชีวิตด้วยโรคดังกล่าวจำ นวน 17 ราย ปีต่อ ๆ มายังคงพบประปราย อย่างต่อเนื่องโดยพบผู้เสียชีวิตปีละ 3 ราย จนถึงปี 2566

              โรคพิษสุนัขบ้าหรือโรคกลัวน้ำ เกิดจากเชื้อไวรัสก่อโรคในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิด เช่น สุนัข แมว วัว ควาย ลิง ชะนี เป็นต้น สำ หรับประเทศไทยพบว่าสุนัขเป็นสัตว์ที่ได้รับรายงานว่าเป็นโรคนี้มากที่สุดเมื่อเทียบ กับสัตว์ชนิดอื่น ๆ โรคนี้มีความรุนแรงมากหากติดเชื้อจนมีอาการป่วยไม่สามารถรักษาให้ หายได้ผู้ป่วยจะเสียชีวิตทุกราย เชื้อโรคพิษสุนัขบ้าติดต่อสู่คนจากการถูกสัตว์ที่เป็นโรค กัด ข่วน เลีย น้ำ ลายกระเด็นเข้าทางตา ปาก หรือบาดแผลตามผิวหนัง โดยเชื้อไวรัสจะเพิ่ม จำ นวนที่บริเวณแผลที่ถูกกัด หลังจากนั้นหลายสัปดาห์ถึงหลายเดือนจะเริ่มมีอาการป่วย อาการป่วยจะช้าหรือเร็วขึ้นอยู่กับจำ นวนเชื้อที่ได้รับและตำ แหน่งบาดแผล หากอยู่ใกล้สมอง เชื้อจะเข้าสู่ระบบประสาทส่วนกลางหรือเข้าสู่สมองได้เร็วและเสียชีวิตในที่สุด การให้ความ สำ คัญกับสัตว์เลี้ยงโดยเฉพาะสุนัขและแมวที่เลี้ยงในครัวเรือนหรือแม้แต่สุนัขจรจัด ให้เข้าถึง การฉีดวัคซีนป้องกันโรคดังกล่าวทุกปีและหากผู้ใดถูกสุนัขแมว ข่วน เลีย กัด โดยเฉพาะ เป็นสัตว์ที่ไม่ทราบประวัติการฉีดวัคซีน ควรล้างทำ ความสะอาดบริเวณที่ถูกสัมผัส และรีบพบแพทย์ทันทีเพื่อลดความเสี่ยงจากการเสียชีวิต [รายงานโรคและภัยสุขภาพที่น่าสนใจ ตามแนวชายแดน]

สถานการณ์โรคพิษสุนัขบ้า จังหวัดที่พบและจำนวนเคสที่พบ

Thai Rabies Net รายงานพื้นที่เกิดโรคพิษสุนัขบ้าสูงสุด (พบในสุนัข แมว โค กระบือ)

8 มีนาคม - 8 เมษายน 2567  • สงขลา 6 เคส  • อุบลราชธานี 5 เคส  • กาฬสินธุ์ 4 เคส • อำนาจเจริญ 3 เคส  • ชลบุรี 3 เคส  • ระยอง 3 เคส  •  จันทบุรี 2 เคส   • สุรินทร์ 2 เคส   • พัทลุง 1 เคส   • ปราจีนบุรี 1 เคส 

15 มิถุนายน - 15 กรกฎาคม 2567   • สุรินทร์ 6 เคส  • บุรีรัมย์ 3 เคส • สงขลา 2 เคส  • ชลบุรี 2 เคส  • ศรีสะเกษ 2 เคส  • อุบลฯ  2 เคส  • สมุทรปราการ  1 เคส  • นครราชสีมา  1 เคส 





รายงานผลบวกโรคพิษสุนัขบ้า

รายงานผลบวกโรคพิษสุนัขบ้า 30 วันย้อนหลัง จากระบบสารสนเทศเพื่อการเฝ้าระวังโรคพิษสุนัขบ้า (Thai Rabies Net)
 

รายงานข่าว เกี่ยวกับสถานการณ์โรคพิษสุนัขบ้า ในไทยปี 2567

อัพเดตจากกรมปศุสัตว์  สรุปภาพรวมสถานการณ์โรคพิษสุนัขบ้าระหว่างปี 2566-2567 ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2566 ถึงปัจจุบัน
  • 25 มิถุนายน 2567 มีพื้นที่ที่พบการเกิดโรค 8 จังหวัด 11 จุด ได้แก่ จังหวัดจันทบุรี บุรีรัมย์ สุรินทร์ อุบลราชธานี ศรีสะเกษ มหาสารคาม ตาก และสุพรรณบุรี
  • 15 มิถุนายน 2567 มีพื้นที่ที่พบการเกิดโรค 11 จังหวัด 22 จุด ได้แก่ จังหวัดชลบุรี ฉะเชิงเทรา สมุทรปราการ อำนาจเจริญ อุบลราชธานี ศรีสะเกษ มหาสารคาม กาฬสินธุ์ มุกดาหาร ตาก และพิจิตร
  • 1 มิถุนายน 2567 มีพื้นที่ที่พบการเกิดโรค 12 จังหวัด 22 จุด ได้แก่ จังหวัดชลบุรี ฉะเชิงเทรา สมุทรปราการ อำนาจเจริญ อุบลราชธานี ศรีสะเกษ กาฬสินธุ์ มุกดาหาร ตาก พิจิตร สมุทรสงคราม และสงขลา
  • 15 พฤษภาคม 2567 มีพื้นที่ที่พบการเกิดโรค 12 จังหวัด 19 จุด ได้แก่ จังหวัดสระแก้ว ปราจีนบุรี ชลบุรี ฉะเชิงเทรา สมุทรปราการ อุบลราชธานี นครพนม กาฬสินธุ์ มุกดาหาร ตาก สมุทรสงคราม และสงขลา
  • 1 พฤษภาคม 2567 มีพื้นที่ที่พบการเกิดโรค 9 จังหวัด 19 จุด ได้แก่ จังหวัดสระแก้ว ปราจีนบุรี ชลบุรี ระยอง อำนาจเจริญ สุรินทร์ อุบลราชธานี นครพนม และสงขลา
  • 29 เมษายน 2567 มีพื้นที่ที่พบการเกิดโรค 26 จังหวัด 157 จุด คือ ลพบุรี จันทบุรี สระแก้ว ปราจีนบุรี ชลบุรี ฉะเชิงเทรา ระยอง สมุทรปราการ นครนายก อำนาจเจริญ ชัยภูมิ บุรีรัมย์ สุรินทร์ อุบลราชธานี ศรีสะเกษ ยโสธร นครราชสีมา เลย มหาสารคาม นครพนม กาฬสินธุ์ อุตรดิตถ์ สมุทรสงคราม นครศรีธรรมราช พัทลุง และสงขลา
  • 15 เมษายน 2567 มีพื้นที่ที่พบการเกิดโรค 11 จังหวัด 31 จุด ได้แก่ จังหวัดจันทบุรี ปราจีนบุรี ชลบุรี ระยอง อำนาจเจริญ บุรีรัมย์ สุรินทร์ อุบลราชธานี กาฬสินธุ์ พัทลุง และสงขลา
  • 1 เมษายน 2567 ทั้งหมด 26 จังหวัด 142 จุด
  • 15 มีนาคม 2567 ทั้งหมด 26 จังหวัด 126 จุด
  • 1 มีนาคม 2567 ทั้งหมด 24 จังหวัด 121 จุด
  • 15 กุมภาพันธ์ 2567 ทั้งหมด 24 จังหวัด 106 จุด
  • 1 กุมภาพันธ์ 2567 ทั้งหมด 24 จังหวัด 95 จุด
  • 15 มกราคม 2567 ทั้งหมด 21 จังหวัด 79 จุด
  • 1 มกราคม 2567 ทั้งหมด 18 จังหวัด 69 จุด
  • 15 ธันวาคม 2566 ทั้งหมด 18 จังหวัด 60 จุด
  • 1 ธันวาคม 2566 มี 10 จังหวัดพื้นที่ที่พบการเกิดโรคพิษสุนัขบ้าสูงสุด 30 วันย้อนหลัง ได้แก่ จังหวัดสงขลา สุรินทร์ อุบลราชธานี ชลบุรี อำนาจเจริญ ปราจีนบุรี ยโสธร ชัยภูมิ ศรีสะเกษ และสตูล ซึ่งข้อมูลระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2566 - 1 ธันวาคม 2566 มีพื้นที่ 8 จังหวัด 24 จุด ที่พบการเกิดโรค ได้แก่ ปราจีนบุรี ชลบุรี  อำนาจเจริญ ชัยภูมิ สุรินทร์ อุบลราชธานี ยโสธร และสงขลา

พฤศจิกายน 2566 รายงาน 10 จังหวัดพบการเกิดโรคพิษสุนัขบ้า

         30 พฤศจิกายน 2566 นายสัตวแพทย์สมชวน รัตนมังคลานนท์ อธิบดีกรมปศุสัตว์ เปิดเผยถึงสถานการณ์โรคพิษสุนัขบ้า ประจำวันที่ 29 พฤศจิกายน 2566 ว่ามี 10 จังหวัดพื้นที่ที่พบการเกิดโรคพิษสุนัขบ้าสูงสุด 30 วันย้อนหลัง ได้แก่ จังหวัดสงขลา สุรินทร์ อุบลราชธานี ชลบุรี อำนาจเจริญ ปราจีนบุรี ยโสธร ชัยภูมิ ศรีสะเกษ และสตูล

         ซึ่งข้อมูลระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2566 - 29 พฤศจิกายน 2566 มีพื้นที่ 9 จังหวัด 27 จุด ที่พบการเกิดโรค ได้แก่ ปราจีนบุรี ชลบุรี ระยอง อำนาจเจริญ ชัยภูมิ สุรินทร์ อุบลราชธานี ยโสธร และสงขลา
 
        ปัจจุบันยังคงมีประกาศเขตโรคระบาดสัตว์ 49 จุด ในพื้นที่ 14 จังหวัด คือ ลพบุรี ปราจีนบุรี ชลบุรี ฉะเชิงเทรา ระยอง อำนาจเจริญ ชัยภูมิ สุรินทร์ อุบลราชธานี ยโสธร อุตรดิตถ์ สมุทรสงคราม นครศรีธรรมราช และสงขลา ซึ่งขณะนี้ กรมปศุสัตว์ยังได้เร่งรัดควบคุมโรคทุกจุดเกิดโรค โดยฉีดวัคซีนรอบจุดเกิดโรค (ring vaccination) ร่วมในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคได้ หากพบสัตว์แสดงอาการสงสัยเป็นโรคพิษสุนัขบ้าสามารถแจ้งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์อำเภอหรือปศุสัตว์จังหวัดได้ทุกพื้นที่ หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สายด่วนกรมปศุสัตว์ เบอร์โทรศัพท์ 06 3225 6888 ตลอด 24 ชั่วโมง

9 กุมภาพันธ์ 2567 ปศุสัตว์ระยอง รายงานการระบาดในจังหวัดระยอง 3 เคส

       9 ก.พ. 2567 พบ โรคพิษสุนัขบ้า ระบาดแล้ว ในเขต อ.เขาชะเมา อ.บ้านฉาง และ อ.นิคมพัฒนา จ.ระยอง 
 เดือนกุมภาพันธ์ 2567 พบรายงานการระบาดของโรคพิษสุนัขบ้าระบาดในจังหวัดระยองแล้ว 3 เคส ได้แก่
1. สุนัขจรจัด ม.4 ต.เขาน้อย อ.เขาชะเมา
2. สุนัขจรจัด ม.3 ต.สำนักท้อน อ.บ้านฉาง
3. สุนัขจรจัด ม.3 ต.นิคมพัฒนา อ.นิคมพัฒนา 

           ทั้งนี้ สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดระยอง พร้อมด้วย สำนักงานปศุสัตว์อำเภอในพื้นที่เกิดโรค ร่วมกับ เจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ที่พบโรค ได้แก่ อบต.เขาน้อย อบต.สำนักท้อน ทต.สำนักท้อน อบต.นิคมพัฒนา เจ้าหน้าที่สาธารณสุขอำเภอ ผู้นำท้องที่ และเจ้าหน้าที่อสม. ร่วมกันดำเนินการฉีดวัคซีนป้องกันโรคแก่สุนัขและแมวทุกตัวในพื้นที่เสี่ยงรัศมี 5 กม. รอบจุดเกิดโรค พร้อมสั่งกักโรคสัตว์ที่มีความเสี่ยงสูง เพื่อดูอาการอย่างเข้มงวด สำหรับคนที่มีความเสี่ยงสัมผัสสัตว์ติดเชื้อได้แจ้งให้รีบพบแพทย์แล้ว

           จากการลงพื้นที่สอบสวนโรค พบว่า สุนัขทั้งหมดไม่เคยได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้ามาก่อนคือปัจจัยเสี่ยงหลักที่ทำให้เกิดโรคระบาดดังกล่าว 

           จึงขอเน้นย้ำเจ้าของนำสุนัขและแมวของตนฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าเป็นประจำทุกปี เนื่องจากโรคพิษสุนัขบ้าเป็นโรคติดต่อจากสัตว์สู่คน โดยมีสุนัขและแมวเป็นพาหะนำโรคหลัก หากมีอาการระบบประสาทแล้ว ไม่ว่าคนหรือสัตว์จะเสียชีวิตทุกราย แต่สามารถป้องกันได้โดยการฉีดวัคซีนให้สุนัขและแมวอย่างสม่ำเสมอ กรณีเริ่มฉีดครั้งแรก ควรได้รับเข็มกระตุ้นในอีก 2-4 สัปดาห์ถัดไป แล้วฉีดเข็มกระตุ้นเป็นประจำทุก 1 ปี ทั้งนี้ วัคซีนพิษสุนัขบ้าฟรีสามารถสอบถามได้ที่อปท.ในพื้นที่นั้น

7 มีนาคม 2567 โรคพิษสุนัขบ้าในสัตว์พื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์ พบการระบาด 6 พื้นที่รวม 2 อำเภอ

          7 มีนาคม 2567 ณ ห้องประชุมสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดกาฬสินธุ์  นายธวัชชัย   รอดงาม  รองผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นประธานการประชุมติดตามสถานการณ์การระบาดของโรคพิษสุนัขบ้าในสัตว์ พื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์  โดยมีปศุสัตว์จังหวัดกาฬสินธุ์  ท้องถิ่นจังหวัดกาฬสินธุ์  ผู้แทนสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์ ผู้แทนประชาสัมพันธ์จังหวัดกาฬสินธุ์  และเจ้าหน้าที่สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดกาฬสินธุ์ เข้าร่วมประชุม   ซึ่งที่ประชุมได้รายงานสถานการณ์การระบาดของโรคพิษสุนัขบ้าในสัตว์พื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์ ว่า ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567  สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดกาฬสินธุ์ได้รับรายงานการตรวจพบเชื้อโรคพิษสุนัขบ้าในสัตว์ และประกาศกำหนดเขตโรคระบาดชั่วคราว ตามพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2558 รวม 6 พื้นที่ ได้แก่ 
  • วันที่ 13 ธันวาคม 2566 พบรายงานการเกิดโรค ณ บ้านยางคำเหนือ หมู่ที่ 12 ตำบลอิตื้อ อำเภอยางตลาด
  • วันที่ 16 มกราคม 2567 พบรายงานการเกิดโรค ณ บ้านโพนสิมเหนือ หมู่ที่ 14 ตำบลหัวนาคำ อำเภอยางตลาด 
  • วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2567 พบรายงานการเกิดโรค ณ บ้านโคกกลาง หมู่ที่ 4 ตำบลหัวหิน อำเภอห้วยเม็ก
  • วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2567 พบรายงานการเกิดโรค ณ บ้านดอนยานาง หมู่ที่ 5 ตำบลดอนสมบูรณ์ อำเภอยางตลาด
  • วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2567 พบรายงานการเกิดโรค ณ บ้านท่าเรือ หมู่ที่ 3 ตำบลนาเชือก อำเภอยางตลาด
  • วันที่ 5 มีนาคม 2567 พบรายงานการเกิดโรค ณ บ้านท่าเรือ หมู่ที่ 3 ตำบลนาเชือก อำเภอ ยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์
 
           สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดกาฬสินธุ์ ได้ดำเนินการมาตรการการเมื่อเกิดโรคระบาดในสัตว์ ดังนี้ ดำเนินการรายงานการตรวจพบเชื้อในสัตว์ และประกาศ กำหนดเขตโรคระบาดชั่วคราว ตามระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2558  ภายใน 24 ชั่วโมงหลังผลการ ตรวจทางห้องปฏิบัติการออก ต่อสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์และท้องถิ่นจังหวัดกาฬสินธุ์   และคณะทำงานสอบสวนโรคสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดกาฬสินธุ์ดำเนินการสอบสวนโรค ค้นหา สัตว์ และผู้สัมผัสเสี่ยงสูง พร้อมทั้งจัดทำรายงานสอบสวนโรครายงานต่อปศุสัตว์เขต ๔ และอธิบดีกรมปศุสัตว์ ภายใน 72 ชั่วโมง หลังผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการออก  รวมทั้งได้ดำเนินการฉีดวัคซีนเพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกันในสัตว์โดนกัด และสัตว์กลุ่มเสี่ยงตามพื้นที่รัศมี 5 กิโลเมตรจากจุดเกิดโรค  และดำเนินการสั่งกักสัตว์กลุ่มเสี่ยงเพื่อสังเกตอาการเป็นเวลา 180 วัน 
 
          นายธวัชชัย   รอดงาม  รองผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์  กล่าวว่า  ได้มอบหมายสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดกาฬสินธุ์   ร่วมกับสำนักงานท้องถิ่นจังหวัดกาฬสินธุ์   จัดทำแผนล่วงหน้าเพื่อจัดหาวัคซีนมาฉีดให้กับสุนัขและแมว โดยในปีงบประมาณ พ.ศ.2568  ต้องฉีดให้ครอบคลุมในพื้นที่เสี่ยงทั้ง 6 พื้นที่  เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการระบาดซ้ำขึ้นอีก 

22 มีนาคม 2567 ปศุสัตว์ระยอง พบ โรคพิษสุนัขบ้าระบาดในเขต อ.บ้านค่าย และ อ.บ้านฉาง

       22 มีนาคม 2567  ข่าวแจ้งเตือนโรคระบาดสัตว์  สำนักงานปศุสัตว์ จังหวัดระยอง รายงานพบการระบาดของโรคพิษสุนัขบ้าระบาดในจังหวัดระยองแล้ว 3 พื้นที่ ได้แก่
1. พื้นที่หมู่ 10 ตำบลบางบุตร อำเภอบ้านค่าย
2. ชุมชนห้วยโป่งใน ตำบลห้วยโป่ง อำเภอเมืองระยอง
3. ชุมชนคลองบางไผ่ หมู่ 4 ตำบลสำนักท้อน อำเภอบ้านฉาง

       ทั้งนี้ สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดระยอง พร้อมด้วย สำนักงานปศุสัตว์อำเภอในพื้นที่เกิดโรค ร่วมกับ เจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ที่พบโรค ได้แก่ อบต.บางบุตร ทม.มาบตาพุด และ อบต.สำนักท้อน เจ้าหน้าที่สาธารณสุขอำเภอ เจ้าหน้าที่รพ.สต. ผู้นำท้องที่ เจ้าหน้าที่อสม. และเจ้าหน้าที่อาสาปศุสัตว์ ร่วมกันดำเนินการฉีดวัคซีนป้องกันโรคแก่สุนัขและแมวทุกตัวในพื้นที่เสี่ยงรัศมีรอบจุดเกิดโรค พร้อมสั่งกักโรคสัตว์ที่มีความเสี่ยงสูง เพื่อดูอาการอย่างเข้มงวด สำหรับคนที่มีความเสี่ยงสัมผัสสัตว์ติดเชื้อได้แจ้งให้รีบพบแพทย์แล้ว

       ขอเน้นย้ำเจ้าของนำสุนัขและแมวของตนฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าเป็นประจำทุกปี เนื่องจากโรคพิษสุนัขบ้าเป็นโรคติดต่อจากสัตว์สู่คน โดยมีสุนัขและแมวเป็นพาหะนำโรคหลัก ทั้งนี้ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิดสามารถติดเชื้อได้ หากมีอาการระบบประสาทแล้วไม่ว่าคนหรือสัตว์จะเสียชีวิตทุกราย แต่โรคนี้สามารถป้องกันได้โดยการฉีดวัคซีนให้สุนัขและแมวอย่างสม่ำเสมอ
       กรณีเริ่มฉีดครั้งแรก ควรได้รับเข็มกระตุ้นในอีก 2-4 สัปดาห์ถัดไป แล้วจึงฉีดประจำปีๆละ 1 ครั้ง (วัคซีนพิษสุนัขบ้าฟรีสามารถสอบถามได้ที่อปท.ในพื้นที่นั้น)
        ขอให้ประชาชนหลีกเลี่ยงการสัมผัสสุนัขและแมวที่ไม่ทราบประวัติวัคซีนทุกกรณี เพื่อลดความเสี่ยงการสัมผัสและติดเชื้อพิษสุนัขบ้าในคน
       สำหรับอาการโรคพิษสุนัขบ้าในสัตว์ที่ต้องเฝ้าระวัง เช่น อาการพฤติกรรมเปลี่ยน เสียงเห่าเปลี่ยน ดุร้าย น้ำลายไหลยืด กลืนลำบาก เดินโซเซ ไร้จุดหมาย ซึม แยกตัว หากพบสัตว์มีอาการเหล่านี้ ให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่อปท.หรือเจ้าหน้าที่​ปศุสัตว์​ในพื้นที่โดยเร็ว 

25 มีนาคม 2567 กรมปศุสัตว์ พบโรคพิษสุนัขบ้าใน 26 จังหวัด

       25 มีนาคม 2567 นายสัตวแพทย์สมชวน รัตนมังคลานนท์ อธิบดีกรมปศุสัตว์ เปิดเผยถึงสถานการณ์โรคพิษสุนัขบ้า ประจำวันที่ 22 มีนาคม 2567 ว่ามีการส่งตัวอย่างส่งตรวจสะสมปี 2567 จำนวน 1,505 ตัวอย่าง ผลบวกสะสมจำนวน 110 ตัวอย่าง ชนิดสัตว์ที่เกิดโรค แบ่งเป็นสุนัข 104 โค 4 กระบือ 2 โดยมีพื้นที่ที่พบการเกิดโรค 14 จังหวัด 34 จุด ได้แก่ จังหวัดจันทบุรี สระแก้ว ชลบุรี ฉะเชิงเทรา ระยอง อำนาจเจริญ บุรีรัมย์ สุรินทร์ อุบลราชธานี เลย มหาสารคาม นครพนม กาฬสินธุ์ และสงขลา
 
       ปัจจุบันมีพื้นที่ควบคุมที่พบการเกิดโรค 45 จุด ประกอบด้วย จังหวัดอุบลราชธานี สงขลา กาฬสินธุ์ จันทบุรี ชลบุรี ระยอง อำนาจเจริญ พัทลุง กรุงเทพมหานคร ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี สระแก้ว บุรีรัมย์ สุรินทร์ เลย นครพนม มหาสารคาม มีพื้นที่เฝ้าระวังการเกิดโรค 65 จุด ประกอบด้วย จังหวัดสงขลา ชลบุรี อุบลราชธานี นครนายก บุรีรัมย์ เลย ระยอง อำนาจเจริญ กาฬสินธุ์ ปราจีนบุรี สระแก้ว สุรินทร์ มหาสารคาม ฉะเชิงเทรา สมุทรปราการ นครราชสีมา ศรีสะเกษ สมุทรสงคราม นครศรีธรรมราช และพบจุดเกิดโรคพิษสุนัขบ้าเพิ่มที่จังหวัดปราจีนบุรี เป็นสุนัขมีเจ้าของ ไม่ทราบประวัติการฉีดวัคซีน 1 ตัว และจังหวัดสงขลา เป็นสุนัขไม่มีเจ้าของ ไม่ทราบประวัติการฉีดวัคซีน 1 ตัว
 
       สำหรับสถานการณ์โรคพิษสุนัขบ้าระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2566 – 22 มีนาคม 2567 ทั้งหมด 26 จังหวัด 139 จุด คือ ลพบุรี จันทบุรี สระแก้ว ปราจีนบุรี ชลบุรี ฉะเชิงเทรา ระยอง สมุทรปราการ นครนายก อำนาจเจริญ ชัยภูมิ บุรีรัมย์ สุรินทร์ อุบลราชธานี ศรีสะเกษ ยโสธร นครราชสีมา เลย มหาสารคาม นครพนม กาฬสินธุ์ อุตรดิตถ์ สมุทรสงคราม นครศรีธรรมราช พัทลุง และสงขลา ซึ่งขณะนี้ กรมปศุสัตว์ยังได้เร่งรัดควบคุมโรคทุกจุดเกิดโรค โดยฉีดวัคซีนรอบจุดเกิดโรค (ring vaccination) ร่วมในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคได้ หากพบสัตว์แสดงอาการสงสัยเป็นโรคพิษสุนัขบ้าสามารถแจ้งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์อำเภอหรือปศุสัตว์จังหวัดได้ทุกพื้นที่ หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สายด่วนกรมปศุสัตว์ เบอร์โทรศัพท์ 06 3225 6888 ตลอด 24 ชั่วโมง 

23 เมษายน 67 สถานการณ์โรคพิษสุนัขบ้า (กรมปศุสัตว์รายงาน) LINK

23 เมษายน 2567  นายสัตวแพทย์สมชวน รัตนมังคลานนท์ อธิบดีกรมปศุสัตว์ เปิดเผยถึงสถานการณ์โรคพิษสุนัขบ้า ว่า
  • มีการส่งตัวอย่างส่งตรวจสะสมปี 2567 จำนวน 2,143 ตัวอย่าง ผลบวกสะสมจำนวน 135 ตัวอย่าง
  • ชนิดสัตว์ที่เกิดโรค แบ่งเป็นสุนัข 129 โค 4 กระบือ 2
  • โดยมีพื้นที่ที่พบการเกิดโรค 10 จังหวัด 23 จุด ได้แก่ จังหวัดสระแก้ว ปราจีนบุรี ชลบุรี ระยอง อำนาจเจริญ สุรินทร์ อุบลราชธานี นครพนม กาฬสินธุ์ และสงขลา
  • ปัจจุบันมีพื้นที่ควบคุมที่พบการเกิดโรค 24 จุด ประกอบด้วย จังหวัดอุบลราชธานี สงขลา ระยอง ชลบุรี ปราจีนบุรี สระแก้ว สุรินทร์ อำนาจเจริญ กาฬสินธุ์ นครพนม
  • มีพื้นที่เฝ้าระวังการเกิดโรค 111 จุด ประกอบด้วย จังหวัดสงขลา อุบลราชธานี ชลบุรี กาฬสินธุ์ ระยอง อำนาจเจริญ บุรีรัมย์ เลย นครนายก จันทบุรี ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี สระแก้ว สุรินทร์ มหาสารคาม พัทลุง กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ นครราชสีมา ศรีสะเกษ นครพนม สมุทรสงคราม นครศรีธรรมราช 

       สำหรับสถานการณ์โรคพิษสุนัขบ้าระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2566 – 23 เมษายน 2567 ทั้งหมด 26 จังหวัด 156 จุด คือ ลพบุรี จันทบุรี สระแก้ว ปราจีนบุรี ชลบุรี ฉะเชิงเทรา ระยอง สมุทรปราการ นครนายก อำนาจเจริญ ชัยภูมิ บุรีรัมย์ สุรินทร์ อุบลราชธานี ศรีสะเกษ ยโสธร นครราชสีมา เลย มหาสารคาม นครพนม กาฬสินธุ์ อุตรดิตถ์ สมุทรสงคราม นครศรีธรรมราช พัทลุง และสงขลา

       กรมปศุสัตว์ยังได้เร่งรัดควบคุมโรคทุกจุดเกิดโรค โดยฉีดวัคซีนรอบจุดเกิดโรค (ring vaccination) ร่วมในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคได้

       หากพบสัตว์แสดงอาการสงสัยเป็นโรคพิษสุนัขบ้าสามารถแจ้งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์อำเภอหรือปศุสัตว์จังหวัดได้ทุกพื้นที่ หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สายด่วนกรมปศุสัตว์ เบอร์โทรศัพท์ 06 3225 6888 ตลอด 24 ชั่วโมง

29 เมษายน 2567 พื้นที่พบการเกิดโรค 9 จังหวัด 21 จุด

 นายสัตวแพทย์สมชวน รัตนมังคลานนท์ อธิบดีกรมปศุสัตว์ เปิดเผยถึงสถานการณ์โรคพิษสุนัขบ้า ประจำวันที่ 29 เมษายน 2567 ว่ามีการส่งตัวอย่างส่งตรวจสะสมปี 2567 จำนวน 2226 ตัวอย่าง ผลบวกสะสมจำนวน 136 ตัวอย่าง ชนิดสัตว์ที่เกิดโรค แบ่งเป็นสุนัข 130 โค 4 กระบือ 2 โดยมีพื้นที่ที่พบการเกิดโรค 9 จังหวัด 21 จุด ได้แก่ จังหวัดสระแก้ว ปราจีนบุรี ชลบุรี ระยอง อำนาจเจริญ สุรินทร์ อุบลราชธานี นครพนม และสงขลา
 
         ปัจจุบันมีพื้นที่ควบคุมที่พบการเกิดโรค 20 จุด ประกอบด้วย จังหวัดอุบลราชธานี ปราจีนบุรี ระยอง สงขลา ชลบุรี สระแก้ว สุรินทร์ อำนาจเจริญ นครพนม มีพื้นที่เฝ้าระวังการเกิดโรค 116 จุด ประกอบด้วย จังหวัดสงขลา อุบลราชธานี ชลบุรี กาฬสินธุ์ อำนาจเจริญ ระยอง บุรีรัมย์ เลย นครนายก จันทบุรี ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี สระแก้ว สุรินทร์ มหาสารคาม พัทลุง กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ นครราชสีมา ศรีสะเกษ นครพนม สมุทรสงคราม นครศรีธรรมราช
 
        สำหรับสถานการณ์โรคพิษสุนัขบ้าระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2566 – 29 เมษายน 2567 ทั้งหมด 26 จังหวัด 157 จุด คือ ลพบุรี จันทบุรี สระแก้ว ปราจีนบุรี ชลบุรี ฉะเชิงเทรา ระยอง สมุทรปราการ นครนายก อำนาจเจริญ ชัยภูมิ บุรีรัมย์ สุรินทร์ อุบลราชธานี ศรีสะเกษ ยโสธร นครราชสีมา เลย มหาสารคาม นครพนม กาฬสินธุ์ อุตรดิตถ์ สมุทรสงคราม นครศรีธรรมราช พัทลุง และสงขลา ซึ่งขณะนี้ กรมปศุสัตว์ยังได้เร่งรัดควบคุมโรคทุกจุดเกิดโรค โดยฉีดวัคซีนรอบจุดเกิดโรค (ring vaccination) ร่วมในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคได้ หากพบสัตว์แสดงอาการสงสัยเป็นโรคพิษสุนัขบ้าสามารถแจ้งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์อำเภอหรือปศุสัตว์จังหวัดได้ทุกพื้นที่ หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สายด่วนกรมปศุสัตว์ เบอร์โทรศัพท์ 06 3225 6888 ตลอด 24 ชั่วโมง

25 มิถุนายน 2567 พื้นที่พบการเกิดโรค 8 จังหวัด 11 จุด

 นายสัตวแพทย์สมชวน รัตนมังคลานนท์ อธิบดีกรมปศุสัตว์ เปิดเผยถึงสถานการณ์โรคพิษสุนัขบ้า ประจำวันที่ 25 มิถุนายน 2567 ว่ามีการส่งตัวอย่างส่งตรวจสะสมปี 2567 จำนวน 2976 ตัวอย่าง ผลบวกสะสมจำนวน 174 ตัวอย่าง ชนิดสัตว์ที่เกิดโรค แบ่งเป็นสุนัข 155 โค 13 แมว 3 กระบือ 3 โดยมีพื้นที่ที่พบการเกิดโรค 8 จังหวัด 11 จุด ได้แก่ จังหวัดจันทบุรี บุรีรัมย์ สุรินทร์ อุบลราชธานี ศรีสะเกษ มหาสารคาม ตาก และสุพรรณบุรี
 
           ปัจจุบันมีพื้นที่ควบคุมที่พบการเกิดโรค 11 จุด ประกอบด้วย จังหวัดศรีสะเกษ สุรินทร์ จันทบุรี ชลบุรี บุรีรัมย์ อุบลราชธานี มหาสารคาม ตาก สุพรรณบุรี มีพื้นที่เฝ้าระวังการเกิดโรค 163 จุด ประกอบด้วย จังหวัดสงขลา นครศรีธรรมราช พัทลุง สมุทรสงคราม ตาก พิจิตร เลย กาฬสินธุ์ นครพนม มหาสารคาม มุกดาหาร ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ สุรินทร์ อำนาจเจริญ อุบลราชธานี จันทบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี นครนายก ปราจีนบุรี ระยอง สมุทรปราการ สระแก้ว กรุงเทพมหานคร
 
           สำหรับสถานการณ์โรคพิษสุนัขบ้าระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2566 – 25 มิถุนายน 2567 ทั้งหมด 30 จังหวัด 184 จุด คือ ลพบุรี จันทบุรี สระแก้ว ปราจีนบุรี ชลบุรี ฉะเชิงเทรา ระยอง สมุทรปราการ นครนายก อำนาจเจริญ ชัยภูมิ บุรีรัมย์ สุรินทร์ อุบลราชธานี ศรีสะเกษ ยโสธร นครราชสีมา เลย มหาสารคาม นครพนม กาฬสินธุ์  มุกดาหาร ตาก อุตรดิตถ์ พิจิตร สมุทรสงคราม สุพรรณบุรี นครศรีธรรมราช พัทลุง และสงขลา ซึ่งขณะนี้ กรมปศุสัตว์ยังได้เร่งรัดควบคุมโรคทุกจุดเกิดโรค โดยฉีดวัคซีนรอบจุดเกิดโรค (ring vaccination) ร่วมในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคได้ หากพบสัตว์แสดงอาการสงสัยเป็นโรคพิษสุนัขบ้าสามารถแจ้งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์อำเภอหรือปศุสัตว์จังหวัดได้ทุกพื้นที่ หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สายด่วนกรมปศุสัตว์ เบอร์โทรศัพท์ 06 3225 6888 ตลอด 24 ชั่วโมง

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด